ข้อมูลการเลี้ยงกระต่าย การเลี้ยงกระต่ายให้เชื่อง หนังสือการเลี้ยงกระต่าย


4,144 ผู้ชม


หลักการเลี้ยงกระต่าย ข้อมูลการเลี้ยงกระต่าย การเลี้ยงกระต่ายให้เชื่อง หนังสือการเลี้ยงกระต่าย

ข้อมูลการเลี้ยงกระต่าย 

วิธีการเลี้ยงกระต่าย
วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์กระต่าย ถ้าเราอยากให้กระต่ายของเราสมบูรณ์ แข็งแรง น่ารัก เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายเสียก่อน ว่าเค้าชอบอะไรไม่ชอบอะไร อะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ 
น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ ถ้าหากกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอมทานอาหารอะไรเลย จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็น นอกจากนี้อาทิตย์หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่ายได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร เช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการเครียดและเป็นผลดีต่อกระต่ายแม่พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายมีคุณภาพที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อนข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้างขนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันได้
อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนพอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีน 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆเพิ่มเติมอีกได้ โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับอาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆและเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาด เมื่อกระต่ายอายุมากขึ้น การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการให้อาหารกระต่ายก็คือการให้อาหารมากเกินไป ถ้าเราให้อาหารเค้ามากเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็ต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน 
• กระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ 
• กระต่ายหูตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอป และอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ 
• กระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ 
หญ้าขนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี ซึ่งช่วยให้กระต่ายมีระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอดเวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายทานควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อย 30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือแช่ให้นานกว่านั้น เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตายได้ในทันที นอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับกระต่ายพันธุ์ขน เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการขนพันกันแล้ว หญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย 
หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้ อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกินอาหารของกระต่าย แต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูง ซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย อาจะทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะกระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและอวัยวะภายในอื่นๆ กระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหล และตายอย่างเฉียบพลันในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่าย เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆ 
ผลไม้ กระต่ายสามารถทานผลไม้ได้บางชนิดเท่านั้น เช่น แอ็บเปิ้ล กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฝรั่ง ส้ม แครอท สับปะรด สำหรับผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เช่น แตงโม แตงกวา ไม่สมควรให้เพราะอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กที่เพิ่งเริ่มหัดทานอาหารอื่น นอกจากนมแม่ อายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะว่ากล้วยน้ำว้ามีโปรตีน แคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของกระต่ายเด็ก มะละกอเป็นผลไม้ที่มีความจำเป็นสำหรับกระต่ายมาก เพราะว่าช่วยป้องกัน อาการเกิดก้อนขนไปอุดทางเดินอาหาร (Hair Ball) มะละกออบแห้ง เพียงชิ้นเล็กๆ ต่อวัน เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นกิจวัตร นอกจากนี้ น้ำสับปะรดยังช่วยบรรเทาอาการเกิดก้อนขน ด้วยเช่นกัน 
สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะ ซึ่งอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกตง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง 
อาหารเสริม เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อพันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม 
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ภาชนะที่ใส่อาหาร เช่น ภาชนะดินเผา กระเบื้องเคลือบหรือกล่องใส่อาหารอัตโนมัติ และกระบอกน้ำหรือถังจ่ายน้ำอัตโนมัติ ควรจะดูแลเรื่องความสะอาดอย่างดีและพิเศษที่สุด ภาชนะควรทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้ง เพื่อล้างคราบสกปรกเช่นปัสสาวะและอุจจาระที่อาจจะกระเด็นหรือตกค้างอยู่ โดยส่วนตัวอยากแนะนำให้ใช้ภาชนะที่ทำความสะอาดและแห้งได้ง่าย เพื่อลดโอกาสที่กระต่ายจะเกิดอาการท้องเสีย จากเชื้อรากรณีที่ภาชนะไม่แห้งสนิทได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะต้องหมั่นสังเกตกระบอกน้ำ ว่ากระต่ายสามารถเลียหรือดูดน้ำได้หรือไม่ โดยดูดจากปริมาณน้ำที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นจุกน้ำอัตโนมัติ ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตตลอดเวลา หากจุกน้ำรั่วหรืออุดตันก็อาจจะส่งผลเสียหรืออันตรายกับชีวิตน้อยๆเหล่านี้ได้ 
สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า สุขอนามัยของภาชนะอาหารและกระบอกน้ำ มีความสำคัญพอๆกันกับความสะอาดของอาหารที่ให้กระต่ายทาน
หมายเหตุ ตัวเลขปริมาณอาหาร เป็นตัวเลขโดยประมาณ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามพฤติกรรมการกินของกระต่ายแต่ละตัว

การเลี้ยงกระต่ายให้เชื่อง 


ระบบชีวิตของเค้าเป็นมายังไง ค่อนข้างแก้ได้ยากน่ะค่ะอยู่ดีๆก็ไปอุ้มเค้าสูงจากพื้นไม่ค่อยเหมาะนะคะเพราะโดยปกติธรรมชาติของเค้าก็ไม่ชอบถูกอุ้มให้ลอยจากพื้นค่ะอาจเป็นเพราะเค้ากลัวว่านกใหญ่มาจับเค้าไปเป็นของเล่นก็ได้
แต่กระต่ายนั้น เชื่องได้หรือไม่ ... เอ .....ดูจากกระต่ายอิฮั้น เค้าก็ไม่ค่อยเชื่องหรอกค่ะ มาเมื่อหิว มาเมื่อให้เราโอ๋ มาเพื่อขอความรัก มาเพื่อเรียกร้องความสนใจ
แต่เรียกให้คอจะแหบแห้ง ไม่มาค่ะ
วิธีที่ทำให้เรารู้สึกว่าเค้าเชื่องนะคะ คือเราต้องทำให้เค้าไว้ใจในตัวเราก่อนค่ะ แล้วเค้าคงจะมาหาเราบ้างการเดินเข้าไปตีสนิทกับเค้า อย่าเข้าไปบุ่มบ่ามเสียงดัง จับเค้าอุ้มให้เดินไปเงียบๆ ส่งเสียงเรียกชื่อเค้าให้ชิน ให้เค้าจำเสียงเราได้คุยกับเค้าหนุงหนิงๆหน่อย ลูบหัว ลูบตัวเค้า เกาคางให้เค้าทำเรื่อยๆเลยค่ะ แรกๆอาจจะรำคาญลุกหนีบ้าง แต่ว่าทำบ่อยๆๆๆๆๆสิคะ กระต่ายน่ะเค้าชอบการสัมผัสที่สุดเลยค่ะ
ถ้านอนแผ่เชิญชวนได้เช่นนี้ก็ถือว่าเค้าอุ่นใจแล้วมั้ง(ที่จริงมันไปขุดดินจนเหนื่อยสุดขีดตะหาก 555) 
มาเข้าใจภาษากายและการแสดงอารมณ์ของกระต่ายกันดีกว่า (Understanding Your Rabbit's Body Language and the Emotional Message) --------------------------------------------------------------------------------
น.ส. สรญา ณ ระนอง 
หากคุณเลี้ยงกระต่ายไว้เป็นเพื่อนของคุณแล้ว คุณเข้าใจพวกเขาดีแค่ไหน ??? พฤติกรรมแปลก ๆ บางอย่างเกิดขึ้นเพราะอะไร ??? คุณอยากทราบสิ่งที่เพื่อนของคุณอยากจะบอกคุณใช่ไหม ??? 
กระต่ายมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ มากมาย เช่น ช่วงเวลาของการเล่น ช่วงเวลาของการพักผ่อน ช่วงเวลาของการทำงาน เป็นต้น
*ช่วงเวลาของการเล่น กระต่ายที่ชอบเล่น จะสนุกกับการวิ่ง การกระโดดโลดเต้น และผลักของเล่นของมัน *ช่วงเวลาของการนอน กระต่ายมักจะร่าเริงในช่วงเช้าและเย็น มันจะหลับในช่วงเวลากลางวัน และสิ่งที่มีความสุขสุด ๆ ของมันคือ การชอบงีบหลับในตอนบ่าย *ช่วงเวลาการทำงาน กระต่ายเป็นสัตว์ที่ชอบการทำงานและมีความอุตสาหะ มันพอใจกับการได้ทำงานในบ้านของคุณ ถ้าคุณไม่ให้งานมันทำ มันจะกลายเป็นกระต่ายที่ซึมเศร้า ซึ่งนั่นหมายความว่ามันจะทำลายบ้านของคุณ *กระต่ายอยากถ่ายทอดอารมณ์ของมันให้คุณรับทราบว่ามันต้องการอะไร ??? มันต้องการพูดคุยกับคุณและเพื่อน ๆ ของมัน หากกระต่ายอยู่ในภาวะที่ต่างกัน หรือสถานการณ์ที่ผิดปกติ มันก็จะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างออกไป คือ
การแสดงพฤติกรรมของกระต่าย  สิ่งที่มันต้องการบอกให้คุณรู้ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
***การมีความรักและต้องการความเอาใจใส 
-หัวตก  อยากให้เพื่อนของมันหรือคุณมาทำความสะอาดให้มัน  -เลียคุณ  มันชอบคุณมากเลย มันอยากจะเป็นเพื่อนกับคุณ  -เอาจมูกมาดุนคุณ  อยากให้คุณมากอดและลูบหัวของมัน  -หายใจแรง ๆ ใส่ขาของคุณ  ให้ความสนใจกับมันหน่อยนะ 
***ความสำราญใจ 
-กัดฟันเสียงดังกริ๊ก  อืม !!! มันชอบสิ่งที่ทำอยู่จังเลย -นอนราบลงเพื่อพักผ่อน  ชีวิตของมันช่างดีจังเลย -นอนตะแคงหรือหงายหลัง  ชีวิตของมันช่างดีมาก ๆ เลย -นอนหลับ มันอยากพักผ่อน -หูลู่ไปด้านหลัง มันมีความสุขและรู้สึกมั่นคงจังเลย 
***ความสงสัยและอยากรู้อยากเห็น 
-หูลู่ไปด้านหน้า มันได้ยินเสียงอะไรบางอย่างอยู่ที่ตรงนั้น มันคืออะไรอ่ะ ??? -หูลู่ไปด้านหลัง,ตัวเอียงไปด้านหน้า  มันกลัวที่จะเข้าใกล้  -นั่งยอง ๆ  ฉันแค่อยากจะเห็นของในกล่องนั้น 
***การป้องกันตัวเองและการก้าวร้าว 
-หูลู่ไปด้านหลัง,คางยื่นไปด้านหน้า,ยกหางขึ้น ควรระวังมากกว่านี้นะ -หูข้างหนึ่งลู่ไปด้านหน้า อีกข้างลู่ไปด้านหลัง มันได้ยินสิ่งที่คุณพูดนะ แต่ตอนนี้ ยังไม่อยากสนใจอ่ะ -ทำจมูกฮึดฮัดและคำราม  มันไม่มีความสุขอย่างมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น -การงับ  เรื่องของมัน คุณอย่าไปยุ่งนะ -การเข้าปะทะ  นี่แน่ะได้ตัวคุณแล้ว ฮ่า ๆ มันแค่ล้อคุณเล่นนะ -ตีคุณด้วยอุ้งเท้าหน้า  หยุดเถอะ!!! มันไม่ชอบที่คุณทำเลย 
*****การขออ้อนวอนขนม  กระต่ายมีการแสดงออกในการขอขนมที่แย่กว่าสุนัขมาก การให้ขนมมากเกินไป เพราะจะทำให้มันอ้วนและไม่แข็งแรงเท่ากับกระต่ายที่มีพฤติกรรมเรียบร้อย***** 
***การตื่นเต้น,มีความสุข,สนุกสนาน 
-เดินรอบ ๆ ตัวคุณ  คุณคือของรักของฉันนะ -กระโดดโลดเต้น ความอิสระนี้ยอดเยี่ยมจริง ๆ เลย -ผงกหัวเร็ว ๆ  ดีจังเลย!!! ที่ได้พบคุณ -ผลักของเล่น  มันอยู่ในอารมณ์ที่อยากเล่นสุด ๆ  
***ความกลัว,ความไม่พอใจ 
-เดินด้วยขาหลัง  ที่นี่มีบางอย่างผิดปกติ -ตัวแข็ง  มันหวังว่าจะไม่มีใครเห็นมันอยู่ตรงนี้ -วิ่ง  มันต้องการออกจากที่นี่เร็ว ๆ  -หลบ,ซ่อน  มันไม่มั่นใจว่าจะปลอดภัยหากออกมาให้เห็น -เดินด้วยฝีเท้าหนักเวลาโกรธ  มันรู้สึกกลัว,แสดงอาการประหลาด ๆ หรือพยายามจะบอกคุณว่าสิ่งนี้อันตรายในความคิด ของมัน -การหนีบคนที่อุ้มมัน  ช่วยวางมันลงเถอะนะ  
***การได้รับความเจ็บปวด 
-กัดฟันเสียงดังมาก ๆ  มีบางอย่างที่เจ็บปวดมากในร่างกายของมัน -มันอยู่นิ่ง ๆ ในช่วงเวลาปกติและเวลาอาหารไม่มีการเคลื่อนที่ไปไหนเลย มันรู้สึกแย่มาก กระเพาะอาหารของมันผิดปกติ -ตาถลน มันไม่มีความสุขกับการอยู่ที่นี่!!! 
***การแสดงออกเกี่ยวกับอาณาเขตของมัน 
-การพูดคุยกับเพื่อน ๆ  นี่ฉันเองนะ!!! -การทำร้ายคนหรือกระต่ายตัวอื่น ๆ ที่รุกล้ำอาณาเขตของมัน  มันอยากให้ทุกคนรู้ว่านี่มันถิ่นของมันนะ -การฉี่  ตัวผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมันจะมีการทำ เครื่องหมายตัวเมียของมันโดย การฉี่ ซึ่งจะคล้ายกับการกำหนด อาณาเขต เช่นเดียวกับตัวเมีย 
แหล่งอ้างอิง : https://www.veterinarypartner.com/Content.plx?P=A&S=0&C=0&A=667 https://www.rabbit.org/behavior/body-language.html https://www.rabbit.org/journal/2-8/honorary-rabbit.html https://www.adoptarabbit.com/articles/2003/RabbitSpeak.pdf https://www.adoptarabbit.com/articles/packet/behavior.html 

หนังสือการเลี้ยงกระต่าย

การเลี้ยงกระต่าย โดย สุวรรณ อ่อนวิมล
หนังสือที่ให้คำแนะนำเบื้องต้นในการเลี่ยงกระต่าย เริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักกับสายพันธุ์ อุปกรณ์การเลี้ยง อาหาร น้ำ การผสมพันธุ์ การตั้งท้องและการคลอด รวมไปถึงการดูแลหลังคลอด

อัพเดทล่าสุด