รูปวันสงกรานต์แบบไทย รูปวันสงกรานต์ รูปภาพวันสงกรานต์ วันสงกรานต์ 2554
อย่าเก็บความสนุกไว้คนเดียว! สงกรานต์ปี้นี้ สนุก! ท่องเที่ยว เปิดพื้นที่ 'มุมภาพจากทางบ้าน' ให้เพื่อนๆ ชา่วสนุก! ที่ไม่ว่าจะเดินทางไปเล่นน้ำสงกรานต์พื้นที่ไหน จังหวัดไหน เก็บภาพบรรยากาศสนุกๆ มาร่วมโพสต์แบ่งปันให้เพื่อนๆ ติดตามได้ทุกวัน
เทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความงดงามอ่อนโยนและเอื้ออาทร เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ความอบอุ่น สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างเด่นชัด ซึ่งในแต่ละปีช่วงเทศกาลสงกรานต์จะเป็นช่วงวันหยุดยาวที่หลายคนได้พักผ่้อนอ ยู่บ้าน หรือเดิืนทางกลับบ้านในต่างจังหวัด ไปอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่เพื่อให้เป็นสิริมงคลในชีวิต รวมถึงเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน หรือเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อชาร์จพลังกับวันหยุดยาว แต่สำหรับคนที่ยังไม่มีโปรแกรมว่าปีนี้จะไปเล่นสงกรานต์ดับร้อนที่ไหนดี สนุก! ท่องเที่ยว ก็ได้รวบรวมสถานที่เล่นน้ำสุดฮอตจากทั่วประเทศมาเป็นของขวัญปีใหม่สไตล์ไทยๆ ให้ผู้อ่านได้เย็นฉ่ำหัวใจกันทุกคนแล้ว
ประกาศสงกรานต์ :
ปีนี้ วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2554 เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 เวลา 13 นาฬิกา 25 นาที 25 วินาที
นางสงกรานต์ :
ทรงนามว่า กิริณีเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาถือขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายถือปืน มีช้างเป็นพาหนะ
เกณฑ์นาคให้น้ำ - ปีเถาะ นาคราชให้น้ำ 5 ตัว
เกณฑ์ธัญญาหาร - ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร ผลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ - น้ำฝนปีนี้ วันพุธ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า
ตำนานนางสงกรานต์
นางสงกรานต์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใด นางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆ ก็จะเป็นผู้อัญเชิญพระเศียร ท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์
จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญา แต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำจึงได้ชื่อว่า "นางสงกรานต์" ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง
งานสำคัญบุญสงกรานต์
วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง
เริ่มจากตอนเช้ามีการยิงปืนขับไล่เสนียดจัญไร ให้ล่วงลับไปกับสังขานต์ และในแต่ละบ้านมีการทำความสะอาด ตลอดจนตามถนนและตรอกซอยเข้าบ้าน จากนั้นก็ทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย สระเกล้าดำหัวให้สะอาดมีจิตใจผ่องใส หลังจากนั้นไปเที่ยวตามหมู่บ้านหรือในปัจจุบันนิยมไปเที่ยวตามสถานที่ท่อง เที่ยวต่างๆ เรียกว่า "ไปแอ่วปีใหม่" วันนี้มีการเล่นรดน้ำกันแล้ว
วันที่ 14 เมษายน วันเนา หรือวันเน่า
วัน "ขนทราย" หรือ วันเนาว์ วันปู๋ติ วันนี้จะทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นมงคล ไม่ด่่าทอหรือทะเลาะวิวาท ตอนเช้าไปจ่ายของและอาหาร เตรียมทำบุญถวายพระในวันรุ่งขึ้น วันเตรียมอาหารและเครื่องไทยทานเรียกว่า "วันดา" (คำวันสุกดิบทางภาคอื่น) และทุกบ้านจะทำกับข้าวที่สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน เช่น แกงเส้นร้อน แกงอ่อม ฯลฯ หรือไม่ก็จำพวกห่อนึ่ง เช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งปลา ฯลฯ พร้อมทั้งตระเตรียมอาหารหวาน และเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม
ตอนบ่ายมีการขนทรายจากแม่น้ำนำไปไว้ที่วัดใกล้บ้าน โดยก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ทรายจะถูกประดับตกแต่งด้วยตุง (ธง) ทำด้วยกระดาษสีตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม และรูปอื่นๆ ชายธงมีการทานช่อ (ทำด้วยกระดาษสีต่างๆ) ตัดเป็นลวดลายติดปลายไม้สำหรับปักที่กองเจดีย์ทรายการทานธงและทานช่อนี้ ด้วยถือคติว่า ผู้บริจาคทานเมื่อตายไปแล้วจะได้อาศัยชายธง หอบหิ้วให้พ้นจากนรกได้ อานิสงส์การทานตุงหรือช่อนี้มีอยู่ในพระธรรมเทศนาใบลานตามวัดทั่วไป เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น มีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย ในวันเดียวกันนี้มีการเล่นน้ำกันอย่างหนัก และเป็นที่สนุกสนานโดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว
ทุกๆ ปี เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวเหนือมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติ คือ "สุมาคารวะ" ลูกหลานจะมาขอขมาลาโทษในความผิดต่างๆ ที่เคยกระทำมาต่อญาติผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อยอันมีต่อผู้ใหญ่ เรียกกันว่า "การไปดำหัว" หรือประเพณีดำหัว การไปดำหัวของคนไทยภาคเหนือ มักจะเริ่มกันใน "วันพญาวัน" (คือวันเถลิงศก)
วันที่ 15 เมษายน วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก
ตอนเช้าจัดเตรียมอาหารคาวหวานใส่สำรับไปถวายพระที่วัด และทำบุญตักบาตรและนำไปให้ผู้เฒ่า ผู้แก่ ครูอาจารย์ หรือบุคคลที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่าไปทานขันข้าว (ตานขันข้าว) การทานขันข้าวนี้ นอกจากจะทานให้พระ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือดังกล่าวแล้วก็มีการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ถึงญาติพี่น้อง บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพระที่วัดจะแยกย้ายกันนั่งประจำที่บริเวณวัดเพื่อให้ศีลให้พรแก่ผู้ไปทาน ขันข้าว
เสร็จจากการทำบุญตักบาตร ก็มีการถวายทานเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีการสรงน้ำพระพุทธเจดีย์ มีการค้ำต้นโพธิ์ภายในวัดและหมู่บ้าน มีการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เช่น เชียงใหม่ก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป เสตังคมณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น พระเจ้าทองทิพย์ และ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ส่วนตามจังหวัดต่างๆ ก็จะมีการไปสักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญประจำบ้านเมืองตนเช่นเดียวกัน เช่น ลำปาง ก็ไปสรงน้ำพระแก้วมรกตที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองน่านที่วัดพระธาตุแช่แห้ง และที่แพร่ก็ไปสรงน้ำ ที่พระธาตุช่อแฮ เป็นต้น
ตอนบ่ายก็จะเริ่มการดำหัว และจะทำเรื่อยไปจนถึงวันรุ่งขึ้น หรือวันปากปี
วันที่สี่ เป็นวันปากปี มีการดำหัวตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงและห่างไกล ซึ่งมีพระในวัดและในหมู่บ้านนั้นนำไป การไปดำหัวตามวัดนี้มักจะแบ่งแยกกันเป็นสายๆ เพราะบางวัดที่อยู่ห่างไกลก็ไม่ได้ไปกันอย่างทั่วถึงนอกจากวัดที่คนนิยมไป กันอย่างสม่ำเสมอ เรียกตามภาษาเมืองว่า "ไปเติงกั๋น" หรือไปวัดของเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด หรือพระเถระผู้ใหญ่
กิจกรรมวันสงกรานต์
ทำบุญตักบาตร
สงกรานต์ วันต้นหรือวันมหาสงกรานต์ ชาวบ้านลุกขึ้นแต่ไก่ขัน เพื่อเตรียมไปตักบาตรถวายพระ พอหุงหาอาหารเสร็จ ก็จัดเตรียมอาหารและสิ่งของถวายพระบรรจุลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามอย่างดี แล้วแต่จะมี แล้วเอาวางเรียงลงในถาด หรือภาชนะอย่างอื่นๆ ที่นิยมในท้องถิ่น เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน
สงกรานต์ก่อพระเจดีย์ทราย
ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะต้องก่อในวันสงกรานต์ ถึงวันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับสงกรานต์ก็มีก่อกัน และไม่จำเป็นต้องก่อที่ในวัดบางแห่งที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ตอนเหนือๆ ก่อพระเจดีย์ทรายที่หาดทรายในแม่น้ำก็มี เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ในวันก่อเขามีทำบุญเลี้ยงพระที่หาดทรายด้วย เรียกกันว่า ก่อพระทรายนำไหล เสร็จแล้วก็มีเลี้ยงพระและเลี้ยงดูกันส่วนทางภาคอีสาน บางแห่งเขาทำบุญสงกรานต์เป็นสองระยะ ระยะแรกทำบุญตักบาตรกลางลานในวันตรุษ ระยะหลังทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์ ทางอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการทำบุญตักบาตรกลางบ้านเหมือนกัน คือเลี้ยงพระกันที่สองข้างถนน จึงเห็นได้ว่าการตักบาตรจะทำกันที่ไหนก็ได้ แล้วแต่สะดวกและนัดกัน ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการก่อพระเจดีย์ทรายเป็นสองตอน ตอนที่หนึ่งก่อที่ลานวัดในวันตรุษ และอีกตอนหนึ่งก่อที่ลานบ้านในวันมหาสงกรานต์ การก่อพระเจดีย์ทรายที่กลางลานบ้านเขาก่อแต่องค์เดียวเป็นส่วนรวม จะขนาดเล็กขนาดใหญ่ก็แล้วแต่กำลังที่จะไปหาบขนเอาทรายมาได้มากน้อยเท่าไหร่ สำหรับก่อทรายที่จะนำมาก่อนั้นเอามาจากลำห้วยลำธาร หรือตามหาดทรายในแม่น้ำ แล้วแต่จะสะดวก การขนทรายก็ไม่ต้องจ้างใครที่ไหน พวกหนุ่มๆ สาวๆ และเด็กๆ นั่นแหละเป็นผู้โกยไปขนใส่กระบุงหาบคอนกันมาเวลาเย็น
ปล่อยนกปล่อยปลา
เรื่อง ปล่อยนกปล่อยปลา ที่มักทำกันในวันสงกรานต์ เพราะก่อนหน้าวันสงกรานต์เป็นหน้าแล้งอากาศร้อนจัดน้ำแห้งขอดขาดตอนเป็น ห้วงๆ คงเหลือแต่ที่มีแอ่งและหนองน้ำ ปลาก็ตกคลัก อีกไม่ช้าพอน้ำแห้งหมด ปลาเหล่านั้นก็จะต้องตาย ชาวบ้านจึงพากันไปจับปลาที่ตกคลัก ถ้าเป็นลูกปลาจะกินไม่ได้เนื้อได้หนังอะไรก็เลี้ยงไว้ในตุ่มเอาบุญ แล้วนำไปปล่อยในวันสงกรานต์ จึงเกิดเป็นประเพณีปล่อยปลา และลามมาถึงปล่อยนกด้วย
บังสุกุลอิฐ
นอก จากปล่อยนกปล่อยปลาในวันสงกรานต์แล้ว ยังมีประเพณีบังสุกุลอัฐญาติผู้ใหญ่ การบังสุกุลนั้นทำแต่ครั้งเดียวจะทำในวันสงกรานต์วันไหนแล้วแต่จะสมัครใจและ นัดหมายกัน โดยมากทำในวันสรงน้ำพระหรือไม่ก็ทำกันในวันท้ายวันสงกรานต์ ถ้าจะทำกันในวันแรกของสงกรานต์ เมื่อพระฉันเพลแล้ว ให้เสร็จธุระกันไปก็ได้ตามประเพณีแต่ก่อนเขาไม่เอาอัฐิเข้าบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านมักฝังญาติผู้ใหญ่ไว้ใต้โคนต้นโพในวัด ฝังไส้ตรงเหลี่ยมไหนรากไหนของต้นโพเขาจำเอาไว้ และนิมนต์พระไปบังสุกุลที่ตรงนั้น
ทางภาคกลางมีประเพณีอันเนื่องด้วยสงกรานต์อีกอย่างหนึ่งคือ ห้ามตักน้ำตำข้าวเก็บผักหักฟืน อันเป็นงานประจำวันครัวเรือนและเป็นงานอยู่ในหน้าที่ของผู้หญิงจะต้องเตรียม หาสำรองเอาไว้ให้พร้อม
ก่อนถึงวันสงกรานต์จะได้ไม่กังวล
สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ
การ สรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการรดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี
สรงน้ำพระเสร็จแล้ว ก็ชวนกันเล่นสนุก สาดน้ำ และเลี้ยงกันที่ลานวัด ของที่เลี้ยงมีขนมปลากริมไข่เต่า และลูกแมงลักน้ำกะทิ ซึ่งชาวบ้านเรี่ยไรออกเงินและจัดทำเอามาเลี้ยงกันด้วยความสามัคคี
เหตุที่มีการสรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำในวันสงกรานต์ เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าการสาดน้ำจะช่วยให้ฝนฟ้าตกบริบูรณ์ประการหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำการเพาะปลูก ทำไร่ไถนาก็ได้ผลประการหนึ่ง และถือกันว่าน้ำเป็นเครื่องชำระมลทินให้สะอาดอีกประการหนึ่ง เหตุนี้น้ำจึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆ อาบน้ำ ซัดน้ำ หรือรดน้ำ เมื่อทำพิธีสมรส อาบน้ำเมื่อตาย อาบน้ำเมื่อโกนจุก หรือบวชนาค ฯลฯ
สงกรานต์รดน้ำดำหัว
เครื่องดำหัวของภาคพายัพ ที่เขานำไปรดน้ำผู้ใหญ่ในวันพญาวัน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนและผ้าใหม่สำหรับผลัด เขายังมีหมากพลูไปด้วย เพราะหมากพลูเป็นเครื่องแสดงความเคารพนับถือและเป็นเครื่องแสดงไมตรีจิตด้วย อีกโสดหนึ่งและยังมีน้ำส้มป่อยและน้ำอบ น้ำส้มป่อยเป็นของใช้แทนสบู่ที่เมื่อก่อนยังไม่มีสิ่งนี้ สำหรับสระผมและชำระร่างกาย ผู้ใหญ่เมื่อรับเครื่องดำหัวแล้ว ก็เอาน้ำส้มป่อยและน้ำอบประพรมบนศีรษะพอเป็นกิริยาว่า ได้ดำน้ำสระหัวแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้ศีลให้พรกันตามประเพณี
อนึ่งในวันนี้บางคนยังนำเสื้อผ้าของเขาสำรับหนึ่ง ต่างคนเอาบรรจุลงขันของตน พร้อมด้วยเครื่องบริขาร มีกล้วย มีอ้อย มีใบขนุน มีใบแก้วเป็นต้น นำไปตั้งที่ลานวัดภายในมณฑลวงด้ายสายสิญจน์ แล้วพระสงฆ์จะประพรมเสื้อผ้าเหล่านั้นด้วยน้ำมนต์ เพื่อความบริสุทธิ์ของเสื้อผ้าเพื่อใช้ในปีใหม่ เสร็จแล้วนำกลับมาเก็บไว้อย่างนั้น
เล่นน้ำให้ชุ่มฉ่ำ...เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์์ ปี 2554
* ชื่องาน : เทศกาล "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์" กรุงเทพมหานคร
* วันที่จัดงาน : วันที่ 9 - 17 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ตลอดจนบริเวณ 9 พระอารามหลวง และพื้นที่รอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร
* กิจกรรม : จัดกิจกรรมสงกรานต์ (จำลองสงกรานต์ 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้) กิจกรรมสรงน้ำพระ การสาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรม ณ สวนนาคราภิรมย์ ระหว่างวันที่ 10-15 เมษายน 2554 เวลา 10.00 น.- 20.00 น. (พิธีเปิดงานในวันที่ 9 เมษายน 2554)
กิจกรรมไหว้พระ 9 วัดประจำรัชกาลและพระอารามหลวง จำนวน 13 วัด ได้แก่ วัดพระพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดกัลยาณมิตร วัดระฆังโฆสิตาราม วัดสุทัศเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสระเกศ วัดชนะสงคราม วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ในระหว่าง วันที่ 9-17 เมษายน 2554 เวลา 10.00 น. -18.00 น. ผู้เข้าร่วมงานขอรับ Passport เพื่อประทับตราครบทุกวัด สามารถขอรับของที่ระลึกได้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บริเวณด้านหน้าวิหารพระนอน
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
กองสร้างสรรค์กิจกรรม ททท.โทรศัพท์ 0 2250 5500 ต่อ 3470-3,
ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2250 5500 โทรสาร 0 2250 5511
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org อีเมล์ : [email protected]
ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
* ชื่องาน : ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
* วันที่จัดงาน : วันที่ 13 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : รอบเกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดทองบ่อ ตำบลเสากระโดง อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
* กิจกรรม : ทำบุญตักบาตรหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ปล่อยนก ปล่อยปลา รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ชมขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า เล่นน้ำสงกรานต์กับช้าง ชมประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ การแต่งกายแบบมอญ ร่วมทำบุญ ตักบาตรแบบมอญ สรงน้ำพระจากราง ไม้ไผ่ ที่วัดทองบ่อ
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
กองการศึกษา สำนักงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0-3525-2168,
ททท. สำนักงานพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0 3524 6076-7 โทรสาร 0 3524 6078
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/ayutthaya อีเมล์ : [email protected]
ประเพณีมหาสงกรานต์จังหวัดสุพรรณบุรี
* ชื่องาน : ประเพณีมหาสงกรานต์จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2554
* วันที่จัดงาน : วันที่ 12-14 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณคลองส่งน้ำชลประทาน ถนนเณรแก้วด้านทิศใต้
* กิจกรรม : ขบวนอัญเชิญหลวงพ่อโตทองคำและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดสุพรรณบุรี การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ขบวนแห่เทพีสงกรานต์ ขบวนรถบุปชาติจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน และการเล่นน้ำสงกรานต์กับศิลปินชาวสุพรรณ
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ททท. สำนักงานสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 6030,0 3553 5789,0 3553 6189 โทรสาร 0 3553 6030
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/suphanburi อีเมล์ : [email protected]
งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
* ชื่องาน : งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
* วันที่จัดงาน : วันที่ 22-24 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
* กิจกรรม : ขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ ขบวนนางสงกรานต์ ขบวนรถบุปชาติ การละเล่นสะบ้าของชาวไทยรามัญ การละเล่นพื้นบ้าน ประกวดหนุ่มลอยชาย การเล่นน้ำสงกรานต์แบบชาวไทยรามัญ
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ที่ว่าการอำเภอพระประแดง โทรศัพท์ 02463 4891 ต่อ 129-130,
ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2250 5500 โทรสาร 0 2250 5511
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org อีเมล์ : [email protected]
ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดชลบุรี
* ชื่องาน : ประเพณีสงกรานต์เกาะสีชัง
* วันที่จัดงาน : วันที่ 13 - 18 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : เกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จังหัดชลบุรี
* กิจกรรม : ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ พิธีกองข้าวบวงสรวง รดน้ำขอพร การก่อเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน แข่งเรือกระทะ และการเล่นน้ำสงกรานต์ "อุ้มสาวลงน้ำ"
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
เทศบาลเกาะสีชัง โทรศัพท์ 0 3821 6141,
ททท. สำนักงานพัทยา โทรศัพท์ 0 3842 7667, 0 3842 8750, 0 3842 3990 โทรสาร 0 3842 9113
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/pattaya อีเมล์ : [email protected]
งานมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย ประจำปี 2554
* ชื่องาน : งานมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย ประจำปี 2554
* วันที่จัดงาน : วันที่ 12 - 15 เมษายน 2553
* สถานที่จัดงาน : บริเวณวัดโพธิ์ชัย และหาดจอมมณี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
* กิจกรรม :
การทำบุญตักบาตร พิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใส กิจกรรมส่งเสริมการเล่นน้ำสงกรานต์ การแสดงสืบสานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง 3 ชาติ
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
เทศบาลเมืองหนองคาย โทร. 042 - 2411-507,
ททท. สำนักงานอุดรธานี โทรศัพท์ 0 4232 5406-7 โทรสาร 0 4232 4508
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/udonthani อีเมล์ : [email protected]
งานประเพณีสะรีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
* ชื่องาน : งานประเพณีสะรีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
* วันที่จัดงาน : วันที่ 12 - 15 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
* กิจกรรม : การจัดขบวนแห่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การแสดงพื้นเมือง การสาธิตศิลปะพื้นบ้าน การเล่นน้ำสงกรานต์ปีใหม่เมืองรอบคูเมือง ถนนวัฒนธรรมคนเมืองอาหารนานาชาติ
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5325 9000,
ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5324 8604, 0 5324 8607,0 5330 2500 โทรสาร 0 5324 8605, 0 5330 2501
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/chiangmai อีเมล์ : [email protected]
งานประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสน ประจำปี 2554
* ชื่องาน : งานประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสน ประจำปี 2554
* วันที่จัดงาน : วันที่ 12-18 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณริมแม่น้ำโขงหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
* กิจกรรม : พิธีสรงน้ำพรพุทธรูปประจำเมือง ขบวนแห่สงกรานต์และรถบุปผาชาติ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยและประเทศเพื่อนบ้าน การแข่งขันกีฬาชกมวยไทย/มวยทะเล/เปตอง/ฟุตบอล/ เรือพายขนาด 22 ฝีพาย (ประเทศเพื่อนบ้านร่วมส่งแข่งขัน)
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ที่ว่าการอำเภอเชียงแสน โทร. 0 5377 7110 ต่อ 16
เทศบาลตำบลเวียง เชียงแสน โทร. 0 5377 7018
งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูณ-เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว ประจำปี 2553
* ชื่องาน : งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูณ-เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว ประจำปี 2554
* วันที่จัดงาน : วันที่ 8 - 15 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : ลานกีฬาต้านยาเสพติด ลานน้ำพุ ถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น
* กิจกรรม : การออกร้านจำหน่ายสินค้าโอทอป การประกวดเกวียนบุปชาติ ขบวนแห่สงกรานต์ การแสดงหมอลำซิ่ง การเล่น Human Wave คลื่นมนุษย์ที่ยาวทีสุดในโลกการแสดงคอนเสริต์หมอลำ กิจกรรมถนนข้าวเหนียว ม่านน้ำพุ การเล่นน้ำสงกรานต์ถนนข้าวเหนียว
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
สำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น โทรศัพท์ 043-221202, 043-224818, 043-224390, 043-224301
[กองสวัสดิการสังคม โทรศัพท์ ต่อ 1901-1902, สำนักการศึกษา ต่อ 1604-1605]
สำนักการสาธารณสุขฯ โทรศัพท์ 043-225515
สำนักการคลัง โทรศัพท์ 043-224030
กองวิชาการ 043-224667,
ททท. สำนักงานขอนแก่น โทรศัพท์ 0 4324 4498-9 โทรสาร 0 4324 4497
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/khonkaen อีเมล์ : [email protected]
งานเทศกาลมหาสงกรานต์โคราช ประจำปี 2554
* ชื่องาน : งานเทศกาลมหาสงกรานต์โคราช ประจำปี 2554
* วันที่จัดงาน : วันที่ 13 - 15 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถนนรอบคูเมืองเขตเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
* กิจกรรม : ทำบุญตักบาตร การรดน้ำขอพร ขบวนรถแห่สงกรานต์ การสรงน้ำพระฯ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงและจำหน่ายสินค้าของดีเมืองโคราชและการแสดงดนตรีพื้นบ้าน
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ททท. สำนักงานนครราชสีมา โทร. 0 4421 3030, 0 4421 3666
เทศบาลนครนครราชสีมา โทร. 0 4424 5933, 0 4424 4763
สงกรานต์นครพนม-รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย-ลาว จังหวัดนครพนม
* ชื่องาน : สงกรานต์นครพนม-รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย-ลาว จังหวัดนครพนม
* วันที่จัดงาน : วันที่ 12 - 15 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณลานกันเกรา หาดทรายทองศรีโครบูรณ์ และอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
* กิจกรรม : จัดพิธีฮดสรง (สรงน้ำ) พระธาตุประจำวันเกิด พิธีตบปะทาย(ก่อเจดีย์ทราย) การเล่นน้ำสงกรานต์ถนนข้าวปุ้น การแสดงวัฒนธรรมชนเผ่า ขบวนแห่สงกรานต์ตามวิถีดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเรณูนคร การแสดงศิลปวัฒนธรรม การละเล่น พื้นเมือง การแสดงประติมากรรมทราย
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ททท. สำนักงานนครพนม โทรศัพท์ 0 4251 3490-1 โทรสาร 0 4251 3492
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/nakhonphanom อีเมล์ : [email protected]
งานประเพณีมหาสงกรานต์ ประจำปี 2553 จังหวัดสุโขทัย
* ชื่องาน : งานประเพณีมหาสงกรานต์ ประจำปี 2554 จังหวัดสุโขทัย
* วันที่จัดงาน : วันที่ 7 19 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระยาลิไทย อำเภอศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วัดตะพังทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
* กิจกรรม : การแสดงพื้นบ้าน ขบวนแห่ช้างพ่อเมือง การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การละเล่นสาดน้ำสงกรานต์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายอาหารไทย ขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนแห่ล้อเกวียนโบราณ ชมบรรยากาศ สงกรานต์ปีใหม่ไทยโบราณ
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว โทร. 055-671122
เทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย โทร. 055-697153, 055-950625
เทศบาลเมืองเก่า โทร. 055-697322-4, 055-697499
เทศบาลเมืองสวรรคโลก โทร. 055-642155, 055-641373,
ททท. สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228-9 , 0 5561 6366 โทรสาร 0 5561 6230
เว็บไซต์ : https://www.tourismthailand.org/sukhothai อีเมล์ : [email protected]
งานเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนคร
* ชื่องาน : งานเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนคร
* วันที่จัดงาน : วันที่ 11 - 15 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
* กิจกรรม : ประเพณีบูชาพระธาตุปีใหม่สงกรานต์ ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ ขบวนแห่นางดาน และพิธีโล้ชิงช้าตียัมปวาย งานมหกรรมขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง งานมหกรรมขนมจีนฟรี การประกวดพระเครื่อง ไหว้พระชมเมืองและเล่นน้ำสงกรานต์
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
เทศบาลเมือง นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0 7534 2880-2,
ททท. สำนักงานนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0 7534 6515-6 โทรสาร 0 7534 6517
Songkran On The Beach & Phuket Bike Week 2010 จังหวัดภูเก็ต
* ชื่องาน : Songkran On The Beach & Phuket Bike Week 2010 จังหวัดภูเก็ต
* วันที่จัดงาน : วันที่ 10 - 13 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณสวนสาธารณะโลมา และเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
* กิจกรรม : ชมนิทรรศการ งานภูเก็ตไบค์วีค 2010 ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์รอบหาดป่าตอง การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การแสดงทางวัฒนธรรมและการละเล่นแบบไทย การเล่นน้ำสงกรานต์หาดป่าตอง
* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ททท. สำนักงานภูเก็ต โทรศัพท์ 0 7621 1036 , 0 7621 2213 โทรสาร 0 7621 3582
งานหาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ปี 2554 จังหวัดสงขลา
* ชื่องาน :หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ปี 2554 จังหวัดสงขลา
* วันที่จัดงาน : วันที่ 9 - 15 เมษายน 2554
* สถานที่จัดงาน : บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ถนนเสน่หานุสรณ์ และถนนธรรมนุญวิถี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
* กิจกรรม : การประกวดนางสงกรานต์ การเล่นน้ำสงกรานต์ในยามค่ำคืนและสงกรานต์ทางน้ำ ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ หลวงปู่ทวด รดน้ำผู้สูงอายุ
เรียบเรียงโดย: สนุก! ท่องเที่ยว
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย www.songkran.net และกระทรวงวัฒนธรรม
มาร่วมโพสต์บรรยากาศการเล่้นน้ำสงกรานต์สุดสนุกในพื้นที่ ' มุมภาพจากทางบ้าน' ด้านล่างนี้ได้เลย
Source: https://travel.sanook.com/