ข่าวแรงงาน นักวิชาการแรงงาน ชี้ค่าแรง 300 ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น


699 ผู้ชม


ข่าวแรงงาน  นักวิชาการแรงงาน ชี้ค่าแรง  300 ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น

โพล เผย แรงงานชี้ค่าแรง 300 ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น

โพล เผย แรงงานชี้ค่าแรง 300 ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
          กรุงเทพโพลล์ เผย แรงงานส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันแล้ว บอกเห็นด้วย แต่ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น 
          วันนี้ (27 เมษายน) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาน ในเรื่อง ชีวิตของแรงงานหลังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,180 คน ผลปรากฎ ดังนี้
   ผู้ใช้แรงงาน ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันหรือไม่
                ร้อยละ 79.1 ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน
                ร้อยละ 20.9 ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด ยังไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน
                   สาเหตุที่ยังไม่ได้รับ เนื่องจาก กิจการยังไม่ปรับอนุมัติให้
   สำหรับผู้ใช้แรงงานที่ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน แล้วชีวิตเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
                ร้อยละ 82.4 กล่าวว่า ชีวิตการทำงานยังคงเหมือนเดิม
                ร้อยละ 15.4  กล่าวว่า ต้องทำงานหนักขึ้น
                ร้อยละ 1.3  กล่าวว่า ต้องทำงานน้อยลง
   ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จะทำให้กิจการประสบภาวะขาดทุนจนถึงขั้นเลิกหรือไม่
                ร้อยละ 49.9 ไม่เชื่อว่า การขึ้นค่าจ้าง 300 บาท จะทำให้กิจการประสบภาวะขาดทุน จนถึงขั้นล้มเลิกกิจการ
                ร้อยละ 23.0 เชื่อว่า กิจการจะมีกำไรเพิ่มมากขึ้น
                ร้อยละ 26.9 เชื่อว่า มีผลทำให้กำไรของกิจการลดลง
                ร้อยละ 1.4 เชื่อว่า การขึ้นค่าจ้าง จะทำให้กิจการขาดทุน
                ร้อยละ 0.8  เชื่อว่า การขึ้นค่าจ้าง อาจส่งผลถึงขั้นเลิกกิจการ
   ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นหรือไม่ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้
                ร้อยละ 60.7 เห็นว่า ชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้น
                ร้อยละ 36.5 เห็นว่า ชีวิตความเป็นอยู่ยังคงเหมือนเดิม
                ร้อยละ 2.8 เห็นว่า ชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง
   เห็นด้วยหรือไม่ กับการเพิ่มค่าจ้าง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ
                ร้อยละ 93.2 เห็นด้วย
                ร้อยละ 6.8 ไม่เห็นด้วย
   เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาปรับปรุงดูแล แก้ไขมากที่สุด 
                ร้อยละ 32.3 เรื่องสวัสดิการ
                ร้อยละ 29.7 ให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายแรงงาน
                ร้อยละ 14.9 ให้รัฐบาลช่วยดูแลคุณภาพชีวิต
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

อัพเดทล่าสุด