เข้าใจง่าย! การหักค่าตอบแทนในการทำงาน - กฏหมาย


3,395 ผู้ชม


  การหักค่าตอบแทนในการทำงาน - กฏหมาย

กฎหมายแรงงาน : การหักค่าตอบแทนในการทำงาน

 

มาตรา 76   ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ

(1)  ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไง้

(2)  ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงาน

(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง

(4.) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(5)  เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม

การหักตาม (2) (3) (4) (5)  ในแต่ละกรณีห้ามหักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

บทบัญญัติข้างต้นห้ามนายจ้างหักค่าตอบแทนในการทำงานซึ่งหมายถึงค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด  และค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่าให้หักได้ทั้งหมด  5 ประเภท

ประเภทแรก หักเพื่อชำระภาษีเงินได้ นายจ้างจะหักเท่าใดก็ได้และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การหักเพื่อชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ เช่น ห้ามหักเพื่อเป็นเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคม หรือหักเพื่อชำระเป็นเงินสะสม เข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามกฎหมาย นี้ เป็นต้น การหักประเภทแรกนี้ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและกฎหมายไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ได้หักได้ไว้

ประเภทสอง หักเพื่อชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานโดยปกติลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะต้องชำระค่าบำรุงให้แก่สหภาพแรงงงาน ค่าบำรุงของสหภาพแรงงานนั้น มีวิธีการชำระ 2 วิธีการคือ ลูกจ้างนำค่าบำรุงนั้นไปส่งให้แก่สหภาพงานเอง และขอให้นายจ้างหักจากค่าจ้งของลูกจ้างส่งให้แก่นายจ้าง (ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Checkoff)  การหักค่าจ้างเพื่อชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานนั้น กฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือไม่ แต่โดยปกติแล้วก็จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหาภาพแรงงานด้วย จำนวนเงินที่หักก็ต้องไม่เกินร้อยละสิบ

ประเภทที่สาม  การหักเพื่อชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ที่มีลักษณะเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ในกรณีที่ลูกจ้างมีหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นเงินที่ส่งให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์หรือกู้หนี้ยืมสินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ถ้าลูกจ้างยินยอมให้หักก็หักได้ แต่หักได้ไม่เกินร้อยละสิบของค่าจ้าง ส่วนการหักเพื่อการชำระหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว หมายถึง สวัสดิการใดๆ ก็ตามที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างโดยนายจ้างไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนเลย เช่น นายจ้างให้ลูกจ้าง กู้ยืมเงินและให้ลูกจ้างผ่อนส่งโดยนายจ้างมิได้คิดดอกเบี้ยแม้สตางค์เดียว ถ้านายจ้างได้ให้ลูกจ้างกู้ยืมเงิน แต่ได้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าท้องตลาดไม่ว่าจะต่ำมากน้อยเพียงใดก็ต้องถือว่าไม่ใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แกลูกจ้างฝ่ายเดียว การหักหนี้เช่นว่านี้จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนจึงจะหักได้และหักได้ไม่เกินร้อยละสิบ

ประเภทที่สี่ การหักเพื่อเป็นเงินประกันการทำงานตามมาตรา 10 ซึ่งจะหักได้ก็ต่อเมื่อเป็นลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนดว่าลูกจ้างประเภทนั้นนายจ้างเรียกเงินประกันได้ส่วนการหักเพื่อชำระค่าเสียหายให้แก่นายจ้างนั้น ลูกจ้างต้องได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ไม่ว่าการหักเพื่อเป็นเงินประกันก็ดี หรือหักเงินเพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่นายจ้างก็ดี จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้าง

ประเภทที่ห้า  การหักเพื่อเป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนและสะสมซึ่งปกติแล้วลูกจ้างก็ต้องให้ความยินยอมในการหักอยู่แล้วและหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนค่าตอบแทนดังกล่าวข้างต้น

กฎหมายบัญญัติไว้ในวรรคสองด้วยว่า การหักเงินทั้งหมดนั้นหักได้แต่ละข้อไม่เกินร้อยละ 10 แต่รวมแล้วไม่เกินร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม ประโยคสุดท้ายในมาตรานี้ก็ทำให้ลูกจ้างหรือนายจ้างสบายใจก็คือ “เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง” นั้นแสดงว่าถ้าลูกจ้างยินยอมแล้วจะหักเกินร้อยละ 10 ก็ได้  หักเกินร้อยละ 20 ก็ได้ ต้องจัดทำเป็นหนังสือให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ

ข้อมูลอ้างอิง : คำอธิบายกฎหมายแรงงาน  พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม

โดย : ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ

    การหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของลูกจ้าง จะหักจากรายได้ของเงินเดือนสุทธิที่ได้รับเท่านั้น ไม่รวมถึง เงินล่วงเวลา(OT) ส่วนเงินเบี้ยเลี้ยงที่ได้เป็นครั้งคราวไม่นับเป็นเงินรายได้ประจำไม่ต้องนำ มาหัก แต่ถ้าเงินเบี้ยเลี้ยงที่ได้เป็นประจำทุกเดือนถือว่าเป็นเงินรายได้ประจำ ต้องนำมาหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วย ได้นำข้อมูลที่ทาง ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม ตอบผู้อื่นมาให้คุณได้ศึกษา
จาก https://www.sso.go.th/webboard.php?cat_id=60&mod=view&qid=90
เรียน ผู้ประกันตน (พนักงาน)
                  สำนักงานประกันสังคม ขอเรียนว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 ค่าจ้าง หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้ความหมายรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างทำ ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณหรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีใดและไม่ว่าจะเรียกชื่อ อย่างไร เพื่อให้ครอบคลุมความหมายของคำว่า ค่าจ้าง ขอให้ท่านทำความเข้าใจด้วยว่าเงินใดจะเป็นค่าจ้างหรือไม่นั้นจะต้องดูเจตนา และลักษณะการจ่ายประกอบ ดังนี้
1. เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง
2. จ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันเวลาปกติ
3. การจ่ายไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกจ้างจะนำไปใช้และไม่มีเงื่อนไขในการจ่าย
4. ต้องไม่ใช่เงินรางวัลหรือสวัสดิการหรือเงินจูงใจ
                ทั้งนี้ การจะพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะของรายได้ต่างๆ ว่าจะนำมาคำนวณเงินสมทบหรือไม่นั้นจะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานประกอบการ พิจารณาด้วย เนื่องจากหากรายได้มีเงื่อนไขเหมือนกันแต่มีเงื่อนไขหักจ่ายที่แตกต่างกัน โดยเงื่อนไขดังกล่าวหากเข้าองค์ประกอบนิยามคำว่า ค่าจ้าง ของสำนักงานประกันสังคมก็ต้องนำมาคำนวณเงินสมทบ และตามที่ท่านแจ้งมานั้น ไม่มีรายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายเงินดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมจึงขอให้แนวทางในการพิจารณา ดังนี้
              เงินเดือน ถือเป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 เนื่องจากเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ของลูกจ้าง
ค่าจ้างรายวันและค่าจ้างเหมา หากเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานเป็นปกติของ ลูกจ้าง ก็ถือว่าเป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ต้องนำมาคำนวณเงินสมทบ
               เงินโบนัส ที่นายจ้างจ่ายให้พนักงานทุกปีนั้น มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อตอบแทนผลงานที่พนักงานทำให้บริษัท เป็นการจัดสวัสดิการเพื่อขวัญและกำลังใจของพนักงานจึงไม่ใช่ค่าจ้าง
ค่า ล่วงเวลา (O.T) นั้น ไม่ถือเป็นค่าจ้างเนื่องจากค่า O.T. เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้กับพนักงานนอกเวลาทำงานปกติของพนักงาน เบี้ยขยัน หากการจ่ายเบี้ยขยันมีเงื่อนไขว่า พนักงานที่ไม่ลา ขาด สาย ลาป่วยหรือได้รับการร้องจากลูกค้าหรือผู้ควบคุมงานจะไดรับเบี้ยขยัน การจ่ายเบี้ยขยันดังกล่าวถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างให้เพื่อตอบแทนความขยัน หรือเพื่อจูงใจในการทำงาน ไม่ใช่เป็นการตอบแทนการทำงานปกติ จึงไม่เป็นค่าจ้าง หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเงินใดที่ต้องนำมาคำนวณเงินสมทบ หรือไม่สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือกองเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม หมายเลขโทรศัพท์ 0-2956-2269
หากนายจ้างนำเงินที่มิใช่เงินเดือนมาคำนวณ เงินสมทบนำส่งสำนักงานประกันสังคม สามารถขอเงินดังกล่าวคืนได้ โดยนายจ้างต้องเป็นผู้ดำเนินการขอเงินส่วนที่เกินคืน จากนั้นนายจ้างเป็นคนนำเงินดังกล่าวไปคืนให้กับลูกจ้างต่อไป
                   ทั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กระทรวงแรงงาน 1506 กด 1 สำนักงานประกันสังคม หรือที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ที่ท่านสะดวกในการติดต่อ
ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม
17 พฤษภาคม 2550

--------------------

กฎเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสและการหักค่าจ้าง
 กฎเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสเป็นอย่างไร / การนำสถิติการลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน สายและขาดงานมาหักเปอร์เซ็นต์จากฐานเงินเดือน ได้หรือไม่ / ทำงานผิดพลาดบริษัทฯหักเงินทุกคนในแผนก
ผิดถูกอย่างไร 
เข้าใจง่าย! การหักค่าตอบแทนในการทำงาน - กฏหมาย
Q : 1. อยากทราบระเบียบในการคิดคำนวณโบนัสพนักงาน ว่าจริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของแต่ละบริษัทหรือไม่ เนื่องจากฝ่ายบุคคลของที่ทำงาน นำสถิติการลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน รวมทั้งกรณีมาสาย และขาดงาน มาหักเปอร์เซ็นต์จากฐานเงินเดือนอีก ทั้งที่ไม่ได้ขอลาเกินจำนวนวันที่กำหนด (และถูกหักเงินไปแล้ว กรณีมาสาย หรือขาดงานโดยไม่ส่งใบลา)เข้าใจง่าย! การหักค่าตอบแทนในการทำงาน - กฏหมาย
2. เวลาบริษัทมีนโยบายขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน จะไม่ยอมรวมในฐานเงินเดือน แต่จะบวกเพิ่มในช่องเงินพิเศษ1, 2, 3 ฯลฯ ไป ทำให้เงินโบนัสยังอยู่ที่ฐานเงินเดือนซึ่งน้อยนิดเช่นเดิมมาหลายปีแล้วค่ะ ตรงนี้บริษัทมีสิทธิ์ทำได้หรือไม่คะ เพราะเมื่อบวกกับการหักเปอร์เซ็นต์ค่าขาด ลา มาสายที่กล่าวไปเบื้องต้น กับภาษีแล้ว สรุปเงินแทบไม่เหลือใช้ทำอะไรได้เลยค่ะเข้าใจง่าย! การหักค่าตอบแทนในการทำงาน - กฏหมาย
3. เมื่อไม่นานมานี้ มีการทำงานผิดพลาด ทำให้แผนกของดิฉันถูกหักเงินทุกคน คนละเท่าๆ กัน และถูกหักซ้ำอีก เมื่อมีจุดบกพร่องเล็กน้อยเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นไม่นาน ทำให้แย่กันไปเลยค่ะ และบางคนที่ไม่ได้ทำผิด ก็รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมเลยที่ต้องถูกหักเงินไปด้วยหลายพันบาท แต่บริษัทยืนยันว่าต้องร่วมกันรับผิดชอบค่ะ
A : จากคำถามของคุณเอ ทั้ง 3 ข้อ มีความเกี่ยวข้องกัน ขอสรุปประเด็นคำถามเป็น 3 เรื่อง ดังต่อไปนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ระเบียบในการคิดคำนวณโบนัสเป็นอย่างไร มีกฎเกณฑ์ของแต่ละบริษัทฯหรือไม่
คำตอบ : ระเบียบในการคิดคำนวณโบนัสไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับนโยบายและผลประกอบการของแต่ละบริษัทฯ โดยทั่วไปหากบริษัทฯ ที่มีนโยบายการจ่ายเงินโบนัส บริษัทฯจะแจ้งหรือประกาศให้พนักงานทราบ และการจ่ายจะพิจารณาจากผลประกอบการ ส่วนรูปแบบและวิธีการจ่ายเงินโบนัส มีหลายวิธีบางองค์กรจะพิจารณาจ่ายตามผลงาน บางองค์กรพิจารณาจากอายุการทำงาน เป็นต้น
คำอธิบายเพิ่มเติม : หากบริษัทฯ จัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ว่าจะจ่ายเงินโบนัส เมื่อมีเหตุจำเป็นไม่สามารถจ่ายได้ บริษัทฯ ต้องยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้แทนลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงงาน และต้องดำเนินการเจรจาหาข้อยุติร่วมกันทั้งสองฝ่าย ดูรายละเอียดการปฏิบัติได้จากมาตรา 5,11,12,18 และมาตรา 131 กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ประเด็นที่สอง ทางบริษัทฯ นำสถิติการลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน สายและขาดงานมาหักเปอร์เซ็นต์จากฐานเงินเดือนอีก ได้หรือไม่ ทั้งๆ ที่การลาและการหยุดพักร้อนก็ไม่เกินจำนวนวันที่กำหนด และการมาทำงานสาย การขาดงานได้ถูกหักเงินไปแล้ว
คำตอบ : ก่อนอื่นขอให้เข้าใจก่อนว่าการลา และการหยุดไม่เหมือนกัน การลา ประกอบด้วย ลาป่วย ลาเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ลากิจ ลาเพื่อทำหมัน ลาคลอด ลารับราชการทหารตามหมายเรียก และลาเพื่อฝึกอบรม โดยการลาทุกชนิดต้องได้รับอนุมัติจากบริษัทฯ ก่อนการลา ยกเว้นลาป่วยแต่เมื่อกลับมาทำงานต้องส่งใบลาป่วยพร้อมแนบใบรับรองแพทย์หากลา ป่วย 3 วันขึ้นไป ส่วนการหยุด ประกอบด้วย วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือหยุดพักร้อน และวันหยุดตามประเพณี โดยวันหยุดดังกล่าว นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดให้พนักงานหยุด ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานฯ และการหยุดพักร้อนต้องได้รับอนุมัติจากนายจ้างก่อนทุกครั้ง
การนำสถิติการลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน สายและขาดงานมาหักเปอร์เซ็นต์จากฐานเงินเดือนอีก ได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เนื่องจากการมาทำงานสาย การขาดงานได้ถูกหักเงินไปแล้ว ก็ถือว่าจบกันไป นายจ้างหักค่าจ้างได้ตามเวลาที่ลูกจ้างมาสายและขาดงาน ยิ่งไปกว่านั้น กรณีของคุณเอ บริษัทฯ ไม่มีสิทธิ์นำเรื่องการพักร้อน มาหักเงินเดือน ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่า พักร้อนเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจัดให้ลูกจ้าง โดยต้องจัดให้พักร้อนอย่างน้อยปีละ 6 วันทำงาน หากลูกจ้างใช้วันพักร้อนไม่หมด นายจ้างต้องคืนเป็นเงินให้กับลูกจ้างหรือสะสมไปใช้ในปีถัดไปได้ อ้างอิงจากมาตรา 30 กฏหมายคุ้มครองแรงงานฯ โดยหลักการบริหารทรัพยากรบุคคล หากจะนำสถิติสาย ขาด ลา มาใช้อีกต้องไม่เกี่ยวข้องกับการหักเงินจากฐานเงินเดือน แต่จะนำมาใช้เพื่อพิจารณาประกอบการประเมินผลงาน
คำอธิบายเพิ่มเติม : เกี่ยวกับการหักค่าจ้างเงินเดือน ว่านายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้หรือไม่ หักได้ในกรณีไหนบ้าง มีหลักกฎหมายคุ้มครองในเรื่องนี้อยู่ตามมาตรา 76 จะหักค่าจ้างได้ใน 5 กรณี ยกตัวอย่างเช่น หักเพื่อชำระค่าภาษีเงินได้ หักเพื่อชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หักเพื่อสวัสดิการเช่นลูกจ้างขอกู้เงิน เป็นต้น
ข้อสังเกต : มีหลายองค์กรที่ลงโทษทางวินัย โดยหักค่าจ้างเงินเดือน และจัดทำหนังสือให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อยินยอม หากลูกจ้างเอาความ นายจ้างจะเสียเปรียบ การลงโทษด้วยการหักค่าจ้าง ขอให้พิจารณาจากมูลเหตุข้อเท็จจริง ว่าความผิดนั้นๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกิจการของนายจ้าง เป็นมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งต้องชัดเจนและพิสูจน์ได้ว่ามีความเสียหายจริง ความผิดวินัยข้อนี้หากร้ายแรง ตามมาตรา 119 กฎหมายคุ้มครองแรงงานฯ นายจ้างพิจารณาถึงขั้นเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย อย่าไปเสียเวลาลงโทษด้วยการหักค่าจ้าง แต่การพิจารณาถึงขั้นเลิกจ้าง ต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง มิเช่นนั้นอาจเข้าข่ายการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
กรณีของคุณเอที่ถามว่าใน แผนกมีการทำงานผิดพลาด ทำให้พนักงานทุกคนในแผนกถูกหักเงินคนละเท่าๆ กัน และถูกหักซ้ำอีก บางคนที่ไม่ได้ทำผิดก็ถูกหักเงินไปด้วย โดยบริษัทฯ ให้รับผิดชอบร่วมกัน คำถามนี้ ตอบได้ทันทีว่า ทางบริษัทฯ กระทำไม่ถูกต้อง ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วตามเหตุผลข้างต้น
ประเด็นที่สาม : บริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสโดยอิงจากฐานเงินเดือนเดิม ถูกต้องหรือไม่
คำตอบ ต้อง เข้าใจก่อนว่าค่าจ้าง หมายถึงเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน หากต้องการรายละเอียดให้หาอ่านได้จากมาตรา 5 กฎหมายคุ้มครองแรงงานฯ จากคำถาม บริษัทฯ ไม่นำเงินเดือนที่ขึ้นมารวมในฐานเงินเดือนปัจจุบัน โดยนำไปบวกในช่องเงินพิเศษ 1,2,3 ทำให้เงินโบนัสไปอิงกับตัวเลขฐานเงินดือนเดิม ซึ่งเป็นมาหลายปีแล้ว อย่างนี้บริษัทฯ กระทำไม่ถูกต้อง
แม้ว่าบริษัทฯ จะนำเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นไปบวกในช่องเงินพิเศษก็ไม่มีผล อะไรก็ตามที่เป็นค่าตอบแทนในการทำงาน เป็นค่าจ้างเงินเดือนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร และโดยปกติแล้วหากกิจการมีผลประกอบการดี พนักงานก็จะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนมากน้อยแตกต่างกันไป การจ่ายเงินโบนัสจะอิงกับฐานเงินเดือนปัจจุบัน ส่วนวิธีการจ่ายโบนัส มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร

อัพเดทล่าสุด