โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ฝุ่นละออง รักษาโรคภูมิแพ้อากาศ


2,590 ผู้ชม


โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ฝุ่นละออง รักษาโรคภูมิแพ้อากาศ 

 

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (ATOPIC DERMATITIS)

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ คืออะไร
           เป็น โรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ พบบ่อยในเด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ผู้ป่วยมักมีประวัติเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ  จาม บ่อย ๆ หรือหอบหืด โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ตอนเช้ามืดคนในครอบครัวผู้ป่วยมักมีประวัติโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ แพ้อากาศ ไอจามบ่อย ๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารหรือสารเคมีอย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไว (sensitive) ต่อ สภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งสภาพร้อน เย็น แห้ง ชื้น เชื้อโรคและสารเคมีที่ระคายผิวหนัง อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเลยก็เป็นโรคนี้ได้เช่น เดียวกัน ทั้งนี้เพราะความผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ในยีนของครอบครัวผู้ป่วยโดยไม่เกิด อาการก็ได้
อาการและลักษณะของผื่นแพ้
           ผื่น ผิวหนังอักเสบในโรคนี้อาการคันมาก ลักษณะเป็นผื่นแดงหรือมีตุ่มแดงนูน ตุ่มน้ำใส ซึ่งเมื่อแตกออกเป็นน้ำเหลืองไหลเยิ้มแล้วกลายเป็นสะเก็ดแข็ง ถ้าผื่นนี้เป็นมานานเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะพบเป็นแผ่นหนาแข็ง มีขุย ตำแหน่งที่พบผื่นแตกต่างกันได้ตามวัยของผู้ป่วยในเด็กเล็ก ช่วงขวบปีแรก ผื่นผิวหนังอักเสบจะพบมากบริเวณใบหน้า ศีรษะ เด็กมักจะเอาแก้มหรือศีรษะถูกไถกับหมอน ผ้า ที่นอน เพราะผื่นคันมากในเด็กวัยเรียน และผู้ใหญ่ ผื่นผิวหนังอักเสบพบมากในบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา คอ ใบหน้า และผิวหนังตำแหน่งที่มีการเสียดสีแต่ในรายที่เป็นมากๆ ผื่นเกิดทั่วร่างกายได้

มีวิธีทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังชนิดนี้หรือไม่ ?
            การ วินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ อาศัยประวัติที่ผู้ป่วยมีอาการคันตามตัว เป็นผื่นผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่าง ๆ ผู้ปกครองและผู้ป่วยมักมีคำถามเสมอว่ามีวิธีทดสอบหรือไม่ว่าผู้ป่วยแพ้อะไร เช่น การสะกิดฉีด หรือแปะยา ทดสอบใต้ผิวหนัง หรือใช้วิธีการเจาะเลือดตรวจว่าผู้ป่วยแพ้อะไร คำตอบคือ ไม่มีวิธีการทดสอบดังกล่าวที่จำเป็นต้องทำในการดูแลผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยและญาติควรสังเกตตัวเองว่าเมื่อสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมชนิดใดแล้วทำ ให้ผิวหนังอักเสบเห่อขึ้น ก็ควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมเหล่านั้น
อะไรบ้างที่ทำให้ผื่นนี้กำเริบมากขึ้น ?
           1. สภาวะแวดล้อม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น
           2. เชื้อ โรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา อาจแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกำเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
           3. ฤดู กาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้น ในช่วงฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศแห้ง เย็น ทำให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและเป็นผื่น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เหงื่อออกมาก เกิดอาการคันและเกิดผื่นเช่นเดียวกับในฤดูหนาว
           4. เสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม  และเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์ จะทำให้เกิดการคันเพิ่มเติม
           5. สบู่ ครีม โลชั่น และผงซักฟอกที่ใช้เป็นประจำ สารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ละลายไขมัน หรือ/และอาจมีส่วนประกอบที่ก่ออาการระคายเคืองแก่ผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน และเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้ง่าย
           6. อาหาร ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 10% พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นแย่ลง มักพบในผู้ป่วยเด็ก เช่น นม ไข่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์บางประเภท
           7. จิตใจที่วิตกกังวลความเครียดก็สามารถทำให้โรคกำเริบได้

วิธีการดูแลและรักษา
           1. หลีก เลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้น เช่นไม่อยู่ในห้องปรับอากาศที่เย็นจัด ไม่อาบน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นหรือร้อนจัด และควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก
           2. ควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน ลดอาการคัด เมื่อมีอาการคันควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน วันละ 2-3 ครั้งติดต่อ เว้น 5-7 วัน เพื่อลดอาการคัน เพราะอาการคัดทำให้ผู้ป่วยต้องแกะเกาผิวหนัง ผื่นผิวหนังที่อักเสบจะกำเริบขึ้นได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่คลอเฟนนิลามีน สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ข้อที่ควรระวังคือ ยานี้มีผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน
           3. ยา ทากลุ่มสเตรียรอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผื่นผิวหนัง ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะโรคกลุ่มนี้ต้องใช้ยานาน อาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง
           4. กรณี ที่มีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

.............................................................................................

ระวังอันตรายที่มากับ โรคภูมิแพ้จมูก หรือ โรคภูมิแพ้อากาศ

ภูมิแพ้


ระวังอันตรายที่มากับ โรคภูมิแพ้จมูก
(ไทยรัฐ)

           ฮัดเช้ย!...จาม บ่อย ๆ ติดต่อกัน อีกทั้งมีอาการคัดจมูกร่วมด้วย ระวังโรคภูมิแพ้จมูกถามหา โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาวมักจะมีอาการกำเริบมากขึ้น...

           โรคภูมิแพ้จมูก (Allergic Rhinitis) หรือที่เรียกว่า "แพ้อากาศ" นี้ พญ.มนิณทร วรรณรัตน์ กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเวชธานี ได้ให้ข้อมูลว่า เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น มากกว่า 80% ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มีอาการก่อนอายุ 20 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย โรคภูมิแพ้จมูกนี้มีอาการเรื้อรัง สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ป่วย และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น
           ภูมิแพ้จมูกเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งการทำงานต้องผ่านกระบวนการระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและการทำงานต้องผ่านขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง กับทางเดินอาหารซึ่งเมื่อเปรียบเทียบดูแล้ว
          
           ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก จะมีปฏิกิริยาตอบสนองไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย สารอิมมูโนโกลบูลินอี (Immunoglobulin E: IgE) ที่ถูกสร้างขึ้นจะเข้าทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ที่หายใจเข้าไป เป็นผลให้เซลล์บางชนิดภายในจมูก มีการแตกตัวและหลั่งสารเคมีออกมาทำให้เกิดการอักเสบ และมีอาการต่าง ๆ ของโรคตามมา
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้จมูก
           กรรมพันธุ์ ถ้าพบว่าบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึง 50% และถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้นถึง 70% และมักจะมีอาการเร็วสิ่งแวดล้อม สารก่อภูมิแพ้มักจะเป็นสารที่เด็กได้รับเข้าไป ซึ่งอาจเป็นจากการหายใจ สัมผัส รับประทาน หรือฉีดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งแบ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่น ฝุ่น, ไรฝุ่น, แมลงสาบ, รังแคหรือขนของแมวและสุนัข, เชื้อราในอากาศ, ควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน เช่น ละอองหญ้า, เกสรดอกไม้, ฝุ่นละออง, ควันจากรถยนต์, ควันไฟจากการหุงต้มอาหาร, ก๊าซพิษปัจจัยอื่นๆ เช่น ทารกที่ได้รับนมมารดาเพียงอย่างเดียวเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน พบว่ามีโอกาสเกิดภูมิแพ้น้อยลง, ทารกที่ได้รับอาหารเสริมตั้งแต่อายุ 4 เดือนมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่ไม่ได้รับอาหารเสริมถึง 3 เท่า
อาการของโรค
           ผู้ ป่วยจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จามบ่อย คันในจมูก และมีเสมหะไหลลงคอ โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นตลอดปี หรือเพียงบางฤดูกาลก็ได้ โดยเฉพาะฤดูฝนหรือฤดูหนาว บางรายอาจมีอาการทางตาร่วมด้วย เช่น คันตา เคืองตา ตาบวม น้ำตาไหล อันเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุภายในตา ที่เรียกว่า Allergic conjunctivitis ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเฉพาะบางเวลา เช่น ตอนเช้าหรือกลางคืน ประมาณวันละ1-2 ชั่วโมง
อาการของโรคนี้ต่างจากอาการหวัดอย่างไร
           อาการ ของโรคภูมิแพ้จมูกมักมีอาการเรื้อรังเป็นๆ หาย ๆ อาการเด่น คือ มีน้ำมูกใส จาม และคัดจมูก คันจมูก บางครั้งอาจมีอาการคันตาร่วมด้วย โดยมักไม่มีไข้ อาจมีอาการไอเรื้อรังด้วย เนื่องจากมีเสมหะไหลลงคอทำให้ระคายคอ แต่หากมีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกายร่วมด้วยน่าจะเป็นหวัดมากกว่า นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก มักมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิแพ้ด้วย เช่น โรคภูมิแพ้จมูก โรคหอบหืด แพ้อาหาร ลมพิษเรื้อรัง ผื่นแพ้ 
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคภูมิแพ้จมูก
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ฝุ่นละออง รักษาโรคภูมิแพ้อากาศ	โรคไซนัสอักเสบ
           ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่ในกระดูกบริเวณใกล้จมูกมีส่วนท่อต่อกับจมูก ทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้ เมื่อเยื่อบุภายในจมูกบวมอักเสบ จะทำให้ท่อต่อนี้อุดตัน เกิดการติดเชื้อในโพรงไซนัส เกิดเป็นโรคไซนัสอักเสบ โดยมีอาการปวดบริเวณไซนัส ปวดศีรษะ น้ำมูกเขียว บางครั้งมีเสมหะไหลลงคอ หูชั้นกลางอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวดหู หูอื้อ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจมีหนองไหลออกจากหูเนื่องจากมีเยื่อแก้วหูทะลุ
           นอนกรน ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูกจะมีเยื่อบุจมูกบวม บางครั้งอาจมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โตร่วมด้วย มีผลทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกอุดกั้น และมีอาการกรนเกิดขึ้น ถ้าอาการรุนแรงอาจมีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอน ออกซิเจนต่ำ และมีผลต่อสมอง ทำให้เด็กสมาธิสั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ได้

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ฝุ่นละออง รักษาโรคภูมิแพ้อากาศ	การรักษาและการป้องกัน
           ใน ครอบครัวที่ทารกมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ ควรส่งเสริมให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้แก่ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนาน 30 นาที ความถี่ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อก่อให้เกิดการปฏิชีวนะการทำงานของหน่วยงานราชการและการทำงานที่มาพร้อม กับการส่งเสริมการทำงานที่มีประสิทธิภาพและกรทำงานที่ก่อให้เกิดการสร้าง สรรค์ที่พร้อมจะทำให้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย 
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ฝุ่นละออง รักษาโรคภูมิแพ้อากาศ	การดูแลสิ่งแวดล้อม
           ห้อง นอนควรใช้เครื่องนอนที่เหมาะสม ไม่ควรใช้หมอนหรือที่นอนที่ทำจากนุ่น และควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ งดใช้พรม ไม่สะสมหนังสือ ของเล่นหรือตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ทำความสะอาดที่นอน หมอน ผ้าห่มเป็นประจำ โดยใช้การซักด้วยน้ำร้อน 60 องศา นาน 15-20 นาที เพื่อฆ่าตัวไรฝุ่น และตากแดดให้แห้ง ควรทำความสะอาด ดูดฝุ่น เช็ดถูพื้นเรือน ผ้าม่าน และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ งดการสูบบุหรี่ในบ้าน ไม่ควรใช้แป้งฝุ่น สเปรย์ปรับอากาศ และยาจุดกันยุง อาจเลือกใช้ผ้าใยสังเคราะห์พิเศษเพื่อคลุมที่นอนและหมอน เพื่อป้องกันไรฝุ่น หรือใช้เครื่องกรองอากาศชนิดที่เป็น HEPA Filter ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น แมว สุนัข
           การ กำจัดขยะและเศษอาหารต่าง ๆ ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น ท่อไอเสียรถยนต์ การล้างจมูก ในกรณีมีน้ำมูกปริมาณมากหรือเป็นไซนัสอักเสบ กรณีที่พยายามหลีกเลี่ยง และพยายามออกกำลังกายแล้วอาการยังมีอยู่แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางและรับการ รักษาดังนี้
           ยา ต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้แบบรับประทาน ยาลดจมูกบวม แก้คัดจมูก การให้ยาพ่นจมูกเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภูมิแพ้ การให้การรักษาโดยวิธี Desensitization (การให้วัคซีนภูมิแพ้) เป็นการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ต้นเหตุ และพบว่ามีอัตราการหายขาด 60–80 % ในรายที่มีโรคแทรกซ้อนของภูมิแพ้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ให้รีบรับการรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยการให้ยาปฏิชีวนะ

แหล่งข้อมูล https://health.kapook.com/

https://www.si.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด