วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง สมุนไพรไทยรักษาโรคภูมิแพ้


2,247 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง สมุนไพรไทยรักษาโรคภูมิแพ้  

การรักษาโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เมื่อหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ และรับประทานยาแก้แพ้ก็จะสามารถควบคุมอาการได้ สำหรับผู้ที่มีอากรคัดจมูกมากอาจจะต้องให้ยาลดอาการคัดจมูก( Decongestant) สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังอาจจะต้องใช้ยาหยอดจมูก steroid หลักการรักษาประกอบด้วย

  1. หลีกเลี่ยงหรือป้องกันสารที่เป็นภูมิแพ้้การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ได้กล่าวในหัวข้อของการแพ้สารก่อภูมิแต่ละชนิด สำหรับเครื่องฟอกอากาศก็มีประโยชน์ บางชนิดใช้ไฟฟ้า บางชนิดใช้ fiberglass ซึ่งก็สามารถลดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศลง และอาจจะใช้เสริมกับระบบเครื่องปรับอากาศ ก่อนที่ท่านจะซื้อจะต้องเช่า 1-2 เดือนลองใช้กับห้องที่ค่อนข้างมิดชิดแล้วดูว่าอาการภูมิแพ้ลดลงหรือไม่ และต้องคำนึงอีกข้อหนึ่งคืออัตราการไหลของอากาศต้องมากพอที่จะฟอกอากาศ ถ้าอัตราการไหลต่ำก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ควรใช้โอโซนเพราะจะระคายเคืองเยื่อจมูก
  2. การใช้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อลดอาการ หรือป้องกันอาการ ยาที่ใช้รักษามีดังนี้
  1. การรักษาโดยการฉีดภูมิแพ้ Immunotherapy ผู้ป่วยจะได้รับสารก่อภูมิแพ้เพื่อให้ร่างการสร้างภูมิชนิด IgG การฉีดจะเลือกฉีดเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ได้ทดสอบทางผิวหนังแล้วว่าแพ้ และจะค่อยเพิ่มขนาดยาตามตารางเวลา หลังจากฉีดแต่ละครั้งควรอยู่ในสถานพยาบาลครึ่งชั่วโมง และระหว่างการรักษาไม่ควรรับประทานยา beta-block และยา monoamine oxidase
    inhibitors (MAOIs) ผลข้างเคียงจากการฉีดก็มีผื่นเฉพาะที่แดง คันผื่นจะอยู่นาน 4-8 ชั่วโมง ส่วนข้างเคียงอีกชนิดหนึ่งคืออาการคัดจมูก แน่นหน้าอก คัดจมูกและน้ำมูกไหล อาการเหล่านี้มักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีด

การรักษาอื่นที่บรรเทาอาการได้แก่

  • การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ
  • การดมไอน้ำร้อนครั้งละ10-15 นาทีวันละ 2-4ครั้ง

แหล่งข้อมูล https://www.siamhealth.net

......................................................................................................................

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ : หอบหืด โรคภูมิแพ้ วัณโรค

โรค หืด หอบ

โรคหอบหืด (ASTHMA)

คือโรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากความไวผิดปกติของหลอดลม ต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้ท่อทางหายใจเกิดการตีบแคบ และทำให้หายใจลำบาก

อาการ

เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นหลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ เยื่อบุหลอดลมจะบวมทำให้หลอดลมตีบแคบลง ขณะเดียวกันการอักเสบทำให้หลอดลมมีความไวต่อการกระตุ้นและตอบสนองโดยการหด เกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบแคบลงไปอีก นอกจากนี้หลอดลมที่อักเสบจะมีการหลั่งเมือกออกมามาก ทำให้ท่อทางเดินหายใจตีบแคบ นอกจากนี้กล้ามเนื้อท่อทางเดินหายใจยังเกิดการหดตัว ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดอาการ หายใจลำบาก ไอ หายใจมีเสียงวี๊ซ หายใจถี่ และรู้สึกแน่นหน้าอก ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบริมฝีปากและเล็บมีสีเขียวคล้ำ

สาเหตุ

หลอดลมของผู้เป็นโรคหอบหืดมีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น (STIMULI) สิ่งกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดอาการหอบหืดได้แก่
สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น , ไรฝุ่น , ขนสัตว์ , ละอองเกสร
สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ , มลพิษในอากาศ , กลิ่น , ควัน
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด , ความโกรธ , ความกลัว , ความดีใจ
การออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ
ยา เช่น ยาแอสไพริน , ยาลดความดันบางกลุ่ม
อาหาร เช่น อาหารทะเล , ถั่ว , ไข่ , นม , ปลา , สารผสมในอาหาร เป็นต้น

คำแนะนำ

1. เด็กควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่นปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด
2. รับประทานอาหารที่มี แมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน
3. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง
4. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูดเช่น เบนโซเอท ซัลไฟท์
5. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine , brilliant blue
6. งดนมวัว ธัญพืช ไข่ ปลา ถั่วลิสง
7. รับประทานยาและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ

โรคภูมิแพ้

        โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิ แพ้ (Allergen) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป

        โรคภูมิแพ้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ "สิ่งกระตุ้น" มานานเพียงพอ อย่างไรก็บางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้

        โรคภูมิแพ้นั้นมิใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้ อาจพบว่าในครอบครัวนั้นมีสมาชิกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลายคน

        ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัว สามารถกระตุ้นอวัยวะต่างๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

สารบัญ [ซ่อนสารบัญ]
1 อวัยวะที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้
2 สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่วๆ ไป
3 การสอบประวัติและวิเคราะห์โรค
4 วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้

[แก้ไข] อวัยวะที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้
ทางลมหายใจ

        ถ้าสิ่งกระตุ้นผ่านเข้ามาทางลมหายใจ ตั้งแต่รูจมูกลงไปยังปอด ก็จะทำให้เป็นหวัด คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันคอ เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ เสียงแหบแห้ง และลงไปยังหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบตัน เป็นหอบหืด

ทางผิวหนัง

        ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางผิวหนัง จะทำให้เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย

ทางอาหาร

        ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่นๆ ได้ เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม

ทางตา

        ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางตา จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา หนังตาบวม น้ำตาไหล

[แก้ไข] สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่วๆ ไป
        สารก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็น "ตัวการ" ของโรคภูมิแพ้ ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่

ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่นบ้าน
        มักปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

เชื้อรา
        มักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น

อาหารบางประเภท
        อาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารอีกจำพวกที่พบได้บ่อยคือ แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันได้บ่อยๆ เด็กบางคนอาจแพ้ไข่แมงดาทะเลอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออกเป็นต้น

        อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักกาดดอง เต้าเจี้ยว น้ำปลา เป็นต้น เด็กบางคนอาจแพ้เห็ดซึ่งจัดว่าเป็นราขนาดใหญ่ เด็กบางคนแพ้ไข่ขาว อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันบนใบหน้าได้ บางคนอาจจะแพ้ผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด เช่น ทุเรียน ลำใจ สตรอเบอรี่ กล้วยหอม และอื่นๆ

ยาแก้อักเสบ
        ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยๆ นั้นได้แก่ ยาปฎิชีวนะ พวกเพนนิซฺลิน เตตราไวคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้แก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันจองผิวหน้า พวกเซรุ่มหรือวัคซีนเป็นกันโรคโดยเฉพาะวัคซีนสกัดจากเลือดม้า เช่น เซรุ่มต้านพิษงู แพ้พิษสุนัขบ้า เป็นต้น

แมลงต่างๆ
        แมลงที่มักอาศัยอยู่ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และแมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มดนานาชนิด เป็นต้น

เกสรดอกหญ้า ดอกไม้ ตอกข้าว วัชพืช
        สิ่งเหล่านี้มักปลิวอยู่ในอากาศตามกระแสลม ซึ่งสามารถพัดลอยไปได้ไกลๆ หรืออาจเป็นลักษณะขุยๆ ติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง เกสรดอกหญ้าที่ปลิวมาตามสายลม

ขนสัตว์
        ขนของสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนกระต่าง ขนนกหรือขนเป็ด ขนไก่ที่ตากแห้งใช้ยัดที่นอนและหมอน สำหรับนุ่น ฟองน้ำ ยางพารา ใยมะพร้าว เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานานก็จะสามารถเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้เช่นกันครับ

[แก้ไข] การสอบประวัติและวิเคราะห์โรค
        แพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก เพื่อเป็นแนวทางที่จะทราบว่าผู้ป่วยมีอาการ ณ สถานที่ใดได้บ้าง

ทดสอบทางผิวหนัง

        แพทย์จึงใช้วิธีทดสอบทางผิวหนัง (Skin Tests) ซึ่งวิธีนี้จะนำเอาน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้ทางอ้อม โดยนำน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนังบริเวณท้องแขนซึ่งทำความ สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำสกัดนั้นมาจากสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยๆ เช่น ฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อราในบรรยากาศ แมลงต่างๆ ในบ้าน เช่น แมลงสาบ ยุง เกสรดอกไม้ และอื่นๆ เมื่อหยอดน้ำสกัดบนท้องแขนแล้ว ใช้ปลายเข็มที่สะอาดกดลงบนผิวหนังเพื่อให้น้ำยาซึมซับลงไป แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ตุ่มใดที่ผู้ป่วยแพ้ ก็จะเป็นรอยนูนคล้ายรอยยุงกัด แพทย์จะทำการวัดรอยนูนและรอยแดงของแต่ละตุ่มที่ปรากฏซึ่งทำให้ทราบได้ทันที ว่าเจ้าตัวเล็กแพ้สารใดบ้าง ตุ่มใดที่ไม่แพ้ก็จะไม่มีรอยนูนแดง สำหรับวิธีทดสอบทางผิวหนังทำได้ตั้งแต่เจ้าตัวเล็กอายุได้ไม่กี่เดือนจนถึง เป็นผู้ใหญ่

หมายเหตุ

        ก่อนที่ผู้ป่วยจะทำการทดสอบ ต้องหยุดรับประทานยาแก้แพ้จำพวกยาด้านฮิสตามีนก่อนการทดสอบอย่างน้อย 48 ชั่วโมง มิฉะนั้นฤทธิ์ยาแก้แพ้จะไปบดบัง ทำให้หาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ไม่พบ

[แก้ไข] วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้
        โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย บางคนอาจมีอาการภูมิแพ้ในระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบ โรคภูมิแพ้นั้นเป็นโรคที่สามารถพิสูจน์หาสาเหตุของโรคและสามารถรักษาให้หาย ได้ ผู้ป่วยบางคนเริ่มจากอาการแพ้อากาศเรื้อรัง เยื่อจมูกอักเสบ เมื่อไม่ได้ใส่ใจรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นโรคหอบหืด โรคผื่นคันผิวหนัง เช่น เป็นลมพิษ ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคอ่อนเพลียต่างๆ เป็นต้น

        บางคนเชื่อว่า ถ้าเด็กเป็นโรคหอบหืดตั้งแต่เล็กพอโตขึ้นอาจหายไปเองได ้และไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก

        เพราะโรคนี้อาจทำให้เค้าเจริญเติบโตช้า การปรับตัวเข้ากับสังคมเพื่อนๆ และสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี เกิดปมด้อย เจ้าตัวเล็กอาจขาดความมั่นใน ส่วนเด็กที่แพ้อากาศ ถ้าไม่รักษาต่อมาก็อาจกลายเป็นโรคหอบหืดที่มีอาการของโรคแรงขึ้นเรื่อยๆ ได้ครับ

        หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าเจ้าตัวเล็กนั้นเป็นโรคภูมิแพ้ คุณควรจะนำเค้าไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาว่าเค้าแพ้อะไรบ้าง การดูแลรักษาเค้าในเบื้องต้นนั้นทำได้โดยการพยายามหลีกเลี่ยงสารที่เค้าแพ้ ครับ ซึ่งจะทำให้อาการของโรคนั้นลดลงหรือหมดไปได้ครับ

        ปัจจุบันยารักษาโรคภูมิแพ้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั้นมีหลายประเภท ทั้งยารับประทาน ยาสูดเข้าหลอดลม ยาพ่นจมูก ยาหยอดตา และยาทาผิวหนัง

หาต้นเหตุและหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้

        วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ทีดีที่สุดคือการค้นหาสาเหตุของการแพ้นั้นให้พบ เช่น การสอบถามประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก ตรวจร่างกายและทดสอบทางผิวหนัง เมื่อทราบว่าแพ้สารใดแล้ว ควรหลีกเลี่ยงสารที่ให้เกิดภูมิแพ้ที่ถูกต้องและอาการของโรคภูมิแพ้ก็จะ ทุเลา

        ในทางปฏิบัตินั้นการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นทำได้ยาก เพราะชีวิตประจำวันนั้นต้องเผชิญกับสารก่อภูมิแพ้กระจายอยู่รอบๆ ตัว เช่นฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อรา และอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การรักษาอาการของโรคอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งจำ เป็นและได้มักจะได้ผลดี แพทย์อาจให้รับประทานยาแพ้แพ้ แก้หอบ แก้ไอร่วมด้วย เป็นต้น

ฉีดวัคซีนให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทาน

        มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อีกประการหนึ่งที่เป็นการรักษาได้ผลดีพอสมควร ได้แก่การหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ให้พบแล้วนำสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจพบนี้นำมา ผลิตวัคซีนให้ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานสารที่แพ้ (อิมมูโนบำบัด) คือ รักษาให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานสารที่แพ้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรักษาเพื่อ ลดภูมิไว คือให้ร่างกายลดความไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค

แหล่งข้อมูล https://www.herbsthai.com

อัพเดทล่าสุด