อาการโรคภูมิแพ้ สมุนไทยแก้โรคภูมิแพ้ ยารักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
-
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic cezema)
My Catagory 2009-03-01, 20:05:49
-
โรคภูมิแพ้ผิว หนัง (Atopic cezema) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ระคายเคืองต่อ ผิวหนัง อุบัติการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง พบประมาณร้อยละ 4.3 ของผู้ป่วยเด็กที่มารับการตรวจที่ โรงพยาบาล เป็นโรคที่เกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ การเกิดโรคในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ไปบ้างตามเชื้อชาติ และสภาพแวดล้อม ผู้ป่วยโรคภูมิผิวหนังมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไปตามอายุ ความรุนแรง ของโรคในผู้ป่วยแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ได้รับ การถ่ายทอดมา ว่ามีความผิดปกติมากหรือน้อย และยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบตัวของ ผู้ป่วยด้วย
ลักษณะอาการของโรค คือ
1. คันตามผิวหนังมาก ทั้งๆ ที่ผิวหนังไม่มีผื่นอะไร อาการคันมักเป็นมากในเวลา กลางคืน จนรบกวนการนอนของผู้ป่วยและคนใกล้เคียง
2. เป็นผื่นหรือตุ่มใสเล็กๆ เหมือนมีน้ำอยู่ในภายใน หรือเป็นปื้นหนาเห็นร่องของ ผิวหนังชัดเจนหรืออาจเป็นขุยลอกเป็นหย่อมๆ
3. การกระจายของผื่นมักจะอยู่ในตำแหน่งที่จำเพาะ เช่น บริเวณข้อพับต่างๆ ของ ร่างกาย, แก้ม, ด้านนอกของแขน
4. อาการดังกล่าวจะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง และกำเริบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง, อากาศหนาวเย็น, แห้งหรือร้อน
5. มีประวัติการเจ็บป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูก หอบ หืด ของคนในครอบครัวหรือตัวผู้ป่วยเอง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีลักษณะบางอย่างที่ชวนให้สงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ผิว หนัง ลักษณะเหล่านี้ได้แก่ ขอบรอบตาสีเข้มขึ้น, ขอบตาล่างเป็นกระเปาะ, ริมฝีปากบนอักเสบ แดงเป็นขุย หรือมุมปากอักเสบเป็นๆ หายๆ โรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจึงมีคำถามว่า ผู้ป่วยจะเริ่ม มีอาการเมื่อใด ? คำตอบคือ อาการและอาการแสดงของโรคส่วนใหญ่เริ่มปรากฏตั้งแต่วัยเด็ก
จาก การศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ร้อยละ 60 เริ่มมีอาการในขวบปีแรก โดยผู้ป่วย ที่เริ่มเป็นในขวบปีแรก ผื่นมักเกิดที่แก้ม 2 ข้าง เพราะเด็กนอนคว่ำ ใบหน้าจึงถูกับที่นอน ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง และร้อยละ 85 แสดงอาการใน 5 ปีแรก โดยผู้ป่วยที่เริ่มเป็นในวัย 1-5 ปี ผื่นจะเกิดที่บริเวณแขนขาด้านนอก เพราะเด็กวัยนี้คลาน และเดินได้แล้ว ผื่นผิวหนังอักเสบจะส่วนใหญ่จึงเกิดที่แขนขาด้านนอกบริเวณที่มีการ เสียดสี ส่วนร้อยละ 15 เริ่มมีอาการเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาวหรือเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กวัยรุ่น-ผู้ใหญ่ ผื่นผิวหนังอักเสบจะเกิดที่ข้อพับ, แขน, ขา และลำคอ บ่อยกว่าบริเวณใบหน้า ซึ่งผู้ที่มีผื่น ผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ในตำแหน่งดังกล่าว ร่วมกับมีประวัติโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุอื่นๆ ของคนในครอบครัวหรือตัวผู้ป่วยเอง ควรสงสัยว่าผู้ป่วยเป็น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
ปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิเเพ้ผิวหนังกำเริบ
1. จิตใจที่วิตกกังวล เครียด อารมณ์หงุดหงิด ขุ่นมัว แพทย์แผนปัจจุบันยอมรับ ว่าจิตใจผู้ป่วยมีอิทธิพลต่อโรคและความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ มีผลทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการคันตามผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยต้องแกะเกาผื่นผิวหนัง การอักเสบของ ผิวหนังจะเป็นมากขึ้น เกิดเป็นวงจรร้ายที่ทำให้การอักเสบของผื่นผิวหนังไม่หาย
2. ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
2.1 สิ่งมีชีวิตรอบตัวผู้ป่วย สิ่งมีชีวิตรอบตัวผู้ป่วยบางชนิดทำให้โรคของผู้ป่วย กำเริบได้ ทั้งนี้รวมถึงเชื้อโรคบนผิวหนังผู้ป่วยด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผิวหนังมีอาการผื่นผิวหนังอักเสบมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยเป็นไข้หวัด โรคติดเชื้อส่า โรคกลาก และโรคติดเชื้อแบคทีเรีย มีผู้ทำการศึกษาดูจำนวนเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังของผู้ป่วยโรค ภูมิแพ้ผิวหนังพบเชื้อแสต็ฟไฟโลคอคัสถึง 90% ในขณะที่คนปกติพบเชื้อชนิดนี้เพียง 5% เท่านั้น หลักฐานทางห้องปฏิบัติการบ่งชี้ว่า เชื้อต่างๆ เหล่านี้ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนัง กำเริบได้ สัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ เช่น หมา, แมว, นก, ไก่ รวมทั้งแมลงชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่บน ตัวของสัตว์เลี้ยง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ของผู้ป่วยกำเริบ บุคคลที่ ใกล้ชิดผู้ป่วย ได้แก่ บิดา มารดา พี่น้อย สามี ภรรยา บุคคลเหล่านี้มีบทบาททั้งทางตรงและ ทางอ้อมต่อโรคของผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ ไม่แสดงท่า รังเกียจ หรือกระทำใดๆ อันจะเป็นการเพิ่มความเครียดให้แก่ผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทาง อ้อม เพราะจะเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบ
2.2 อาหาร เป็นเรื่องที่เชื่อกันมานานว่าอาหารเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนัง กำเริบ อาหารเหล่านี้ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์บางชนิด ไข่ นม เป็นต้น จากผลการ ศึกษาทดลองโดยให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังรับประทานอาหารที่สงสัยว่า เป็นปัจจัยที่ กระตุ้นให้โรคกำเริบ พบว่าร้อยละ 63 ของผู้ป่วยมีอาการของโรคภูมิแพ้เกิดขึ้น ชนิด อาหารที่กระตุ้นให้โรคกำเริบได้แก่ ไข่ ถั่ว นม ปลา ซีอิ๊ว และข้าวสาลี จากการติดตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไป 1-2 ปี ภายหลังจากหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ พบว่าร้อยละ 42 ของผู้ป่วยหายจากการแพ้อาหารที่เคยแพ้ และการทดสอบทางผิวหนังทุกชนิดไม่สามารถ บอกได้ว่าผู้ป่วยแพ้อาหารอะไร วิธีการที่ดีที่สุดวิธีเดียวคือ ทดลองให้ผู้ป่วยรับประทาน อาหารที่สงสัยว่าแพ้แล้วติดตามดูว่าเกิดอาการผื่นผิวหนังอักเสบขึ้นหรือไม่
2.3 สารเคมี เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้ สารเคมีที่ ผู้ป่วยต้องเกี่ยวข้องด้วยบ่อยๆ ได้แก่ สบู่ ดีเตอร์เจนต่างๆ เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถ้าผู้ป่วยต้องสัมผัสบ่อยๆ และนาน อาจระคายเคืองต่อผิวหนังได้ สำหรับ สบู่ที่ผู้ป่วยใช้ชำระร่างกาย ควรเลือกชนิดที่มีความเป็นด่างน้อยๆ หรือใช้สบู่พิเศษสำหรับ ผิวหนังที่ไว เป็นต้น เด็กบางคนที่ชอบว่ายน้ำ คลอรีนในสระว่ายน้ำ อาจระคายเคืองต่อ ผิวหนังของเด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการลงสระว่าย น้ำที่เพิ่งเปลี่ยนน้ำและใส่คลอรีนใหม่ๆ เพราะความเข้มข้นของคลอรีนในระยะนั้นจะสูง การอาบน้ำชำระร่างกายของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิพอ เหมาะ ไม่ ร้อนเกินไป เพราะน้ำที่ร้อนชะล้างไขมันบนผิวหนังของผู้ป่วยไปได้มาก ทำให้ผิวหนัง แห้ง และเกิดอาการคันได้ง่าย ฝุ่นละอองในอากาศ เป็นปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบ จากการศึกษาพบ ว่าไรในฝุ่นบ้าน, สารก่อภูมิจากสัตว์เลี้ยง, เชื้อราในอากาศ สามารถกระตุ้นให้ผื่นผิวหนัง ของผู้ป่วยเห่อได้ กลไกที่สารเหล่านี้ทำให้โรคกำเริบยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ว่าผ่านทาง ระบบทางเดินลมหายใจ หรือผ่านเข้าสู่ผิวหนังโดยตรง
2.4 ปัจจัยทางฟิสิกส์ ได้แก่ อุณหภูมิ ที่เปลี่ยนแปลงมากๆ ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนัง กำเริบได้ สังเกตได้ว่าทั้งในฤดูร้อนและหนาวโรคภูมิแพ้ผิวหนังมักกำเริบ เกิดผื่นคันแดง ในบริเวณข้อพับหรือบริเวณนอกร่มผ้า ความชื้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในบรรยากาศ สามารถกระตุ้นให้โรค ภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้ ถ้าความชื้นในอากาศมากเหงื่อของผู้ป่วยจะไม่ระเหย ทำให้เกิด ความอับชื้นของผิวหนังบริเวณข้อพับต่างๆ ผิวหนังบริเวณข้อพับก็เกิดอักเสบได้ง่าย ในทางตรงข้ามความชื้นในอากาศลดลง เช่น ในฤดูหนาว ผิวหนังเสียน้ำให้กับอากาศ รอบตัวมากกว่าปกติ ผิวหนังของผู้ป่วยจะแห้งเกิดการอักเสบระคายและคันง่าย แสงแดด โดยปกติแสงแดดยามเช้ามีประโยชน์ต่อผิวหนังและสุขภาพ แต่แสงแดด ที่จัดมาก จะระคายผิวหนังของผู้ป่วย ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการแพ้แสงแดดได้ เหงื่อ เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทั้งนี้เพราะ เหงื่อทำให้ผิวหนังเปียกชื้น และดูดซับฝุ่นละอองจากอากาศได้ง่าย นอกจากนี้การออก เหงื่อมักเกิดในสภาพที่อากาศร้อน ซึ่งมีผลทำให้เกิดการอุดตันของต่อมเหงื่อร่วมด้วย เหงื่อจะถูกดูดซึมเข้าไปในผิวหนัง ก่อการระคายเคืองต่อผิวหนัง เกิดผดผื่นคัน ผู้ป่วยจะ แกะเกาผิวหนังบริเวณนั้นเกิดผื่นผิวหนังอักเสบเพิ่มขึ้น
การรักษาโรคภูมิเเพ้ผิวหนัง
1. ระยะที่เกิดการอักเสบของผิวหนัง เป็นระยะที่ผิวหนังของผู้ป่วยทนต่อสภาพแวดล้อมไม่ได้แล้ว จึงเกิดอาการอักเสบบวม แดงเป็นขุย หรือมีน้ำเหลืองเยิ้ม ร่วมกับการมีอาการคันมาก การแกะเกาของผู้ป่วย เป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผิวหนังอักเสบเพิ่มมากขึ้น ถ้าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบนผิวหนังผู้ป่วย เข้าซ้ำเติม จะทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อหนอง ที่เรียกว่า ไฟลามทุ่ง การดูแล รักษาขึ้นอยู่กับสภาพของผิวหนังผู้ป่วยในขณะนั้น
ระยะผิวหนังอักเสบเป็น หนอง ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อ แบคทีเรียโดยเร็ว ยาแก้คันและยาลดไข้แก้ปวดจะช่วยลดอาการคัน และอาการไข้ของ ผู้ป่วย ผิวหนังที่มีน้ำเหลืองเยิ้มต้องใช้น้ำเกลือเช็ดล้างน้ำเหลืองออกบ่อยๆ เพื่อช่วยลด อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง การติดเชื้อแบคทีเรียจะถูกกำจัดไปด้วยาปฏิชีวนะภายใน 5-7 วัน ต่อจากนั้นจึงพิจารณาให้ยากดภูมิแพ้กลุ่มสเตียรอยด์ ทั้งชนิดรับประทานและ ชนิดทา
ระยะผิวหนังอักเสบแดงมีน้ำเหลืองเยิ้มแต่ไม่มีหนองระยะนี้ควรใช้ ยากลุ่มสเตีย รอยด์ชนิดรับประทาน ร่วมกับน้ำเกลือชะแผลบ่อยๆ จึงใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทา ทาผื่น ผิวหนังวันละ 2 ครั้ง นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถ้ามีอาการคันควรให้รับประทานยาแก้ คัน กลุ่มยาต้านฮีสตามีนร่วมด้วย เพื่อลดอาการคัน
ระยะผิวหนังอักเสบแดงเป็น ขุยไม่มีน้ำเหลือง ระยะนี้การใช้ยาทาเฉพาะที่กลุ่ม สเตียรอยด์ สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ในขณะที่ผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรงควร ปรึกษาแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาปรับยาให้เหมาะกับอาการของโรค เนื่องจากยาที่ ใช้มีผลข้างเคียงสูง การใช้ยาจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ระยะที่การอักเสบของ ผิวหนังไม่รุนแรง การใช้ยาแก้คันกลุ่มยาต้านฮีสตามีนร่วมกับยาสเตียรอยด์ชนิดทา อาจควบคุมอาการอักเสบของผิวหนังได้เนื่องจากผู้ป่วยโรค ภูมิแพ้ผิวหนัง มักมีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วย จำเป็นต้องใช้ยาแก้คันกลุ่มยาต้านฮีสตามีน และยาทากลุ่มสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ดังนั้นทั้งผู้ป่วยและผู้อยู่ใกล้ชิดควรหาความรู้เรื่องยาต้านฮีสตามีน และยาทากลุ่มสเตีย- รอยด์ โดยสามารถสอบถามจากแพทย์ดูแลรักษา หรือหาซื้อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ในที่นี้ จะกล่าวถึงยา 2 กลุ่มนี้พอสังเขป
ยาต้านฮีสตามีน เป็นยาสามัญประจำบ้านชนิดหนึ่งมีฤทธิ์ แก้แพ้ แก้คัน และลด น้ำมูก เนื่องจากฤทธิ์ของยากว้างขวางมาก จึงมีการนำยานี้มาใช้รักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคไข้หวัด โรคลมพิษ โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูก และโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
1. ยาต้านฮีสตามีนที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมมาก ยากลุ่มนี้มีใช้ในวงการแพทย์มานาน ฤทธิ์ของยาเหมือนกัน คือ ลดน้ำมูก แก้คัน แก้แพ้ ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบได้บ่อย แต่มิได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย ฤทธิ์ในการลดน้ำ มูกและแก้คันดีมาก ราคาถูก ผลข้างเคียงที่รุนแรงอื่นพบน้อย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังควร ใช้ยาชนิดนี้ระงับอาการคันก่อน ถ้าพบมีอาการง่วงซึมมาก ให้เปลี่ยนไปใช้ยาต้านฮีสตา- มีนในกลุ่มที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมน้อย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Chlorpheniramine มีทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ฤทธิ์ในการแก้แพ้ แก้คัน ลดน้ำมูกดีมาก ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบได้บ่อย ผู้ป่วยที่รับประทานยาชนิดนี้ แล้วต้องระมัดระวังในการขับรถหรือควบคุมเครื่องยนต์ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เด็กๆ ที่รับประทานยานี้แล้วอาจมีอาการง่วงนอน ทำให้เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง ผลข้าง เคียงนี้มิได้พบในผู้ป่วยทุกราย ผู้ป่วยที่รับประทานยานี้ควรสังเกตว่าตัวเองมีอาการข้าง เคียงดังกล่าวหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่มีหรือมีน้อยและไม่รบกวนการเรียนและการทำงานก็ สามารถจะใช้ยานี้ระงับอาการคันจากโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ ถ้าอาการข้างเคียงมีมากจน ไม่สามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ก็ควรเปลี่ยนไปใช้ยาขนานอื่นโดยปรึกษา แพทย์ Brompheniramine เป็นยาต้านฮีสตามีนในกลุ่มเดียวกับ Chlorpheniramine แต่อาการข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบน้อยกว่าราคาถูกพอๆ กัน ขนาดที่ใช้ ผู้ใหญ่ให้รับประ- ทาน 1 เม็ด (4 มก.) วันละ 2-4 ครั้ง ห่างกัน 6 ซม. ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีอาการคันมากหรือ น้อย
2. ยาต้านฮีสตามีนที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมน้อย ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มนี้ ได้รับการ พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้มีผลข้างเคียงง่วงน้อยลง ฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ในการลดน้ำมูก แก้คัน ใกล้เคียงกับยากลุ่มแรก ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบน้อย แต่ยังพบได้ในผู้ป่วยบางราย ข้อจำกัดของยากลุ่มนี้ คือ ราคาสูงกว่ากลุ่มแรก 20-30 เท่า ด้วยเหตุนี้จึงควรลองใช้ยาใน กลุ่มแรกก่อน ถ้ามีผลข้างเคียงจึงเปลี่ยนมาใช้ยากลุ่มหลัง ยากลุ่มนี้มีหลายตัว อาทิ astemzole, terfenadine และ loratadine ขนาดของยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน ผู้ป่วยควร ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลว่าน่าจะใช้ยาชนิดใดในขนาดเท่าใด ยาก ลุ่มสเตียรอยด์ ยานี้มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง โดยการกดระบบ ภูมิคุ้มกัน ทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังหดตัว ยาทาสเตียรอยด์ใช้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค มีหลายชนิดแบ่งตามระดับความแรงของยาออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ อ่อน ปานกลาง แรง และแรงมาก สำหรับชาวบ้านทั่วไปไม่แนะนำให้ซื้อยาทาสเตีย- รอยด์ใช้เอง เพราะอาจเกิดอันตรายจากผลข้างเคียงของยาได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผิวหนังมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ ควบคุมและรักษาอาการอักเสบของผิวหนังเป็นระยะ เวลานาน จึงขอแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติพี่น้องเรียนรู้การใช้ยานี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฤทธิ์ อ่อน และควรหายานี้ติดไว้ในบ้าน เมื่อเกิดอาการผิวหนังอักเสบ แดงคันเล็กๆ น้อยๆ ผู้ป่วยสามารถใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดอ่อน รักษาผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่จำ เป็นต้องไปพบแพทย์ทุกครั้ง ถ้าผื่นยุบลงและหายไปให้ทายาต่ออีก 1 วัน ถ้าอาการผื่นผิว หนังอักเสบไม่ดีขึ้น 2-3 วัน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ต่อไป ผลข้างเคียงของยาทาสเตียรอยด์ที่พบบ่อยๆ คือ ผิวหนังบางลง, ผิวหนังแตก, เกิดการติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เกิดดวงขาวในตำแหน่งที่ทายา เป็นต้น ผู้ป่วยต้องสังเกตผิวหนังบริเวณที่ยาทาเสมอๆ ถ้าสงสัยว่าจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ควรหยุดยาแล้วไปปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแล
2. ระยะที่ไม่มีการอักเสบของผิวหนัง เป็นระยะที่ผิวหนังของผู้ป่วยไม่มี อาการอักเสบให้เห็น แต่ผิวหนังผู้ป่วยยังคงไวต่อสิ่งกระตุ้นอยู่ ถ้าผู้ป่วยมีอาการคันบน ผิวหนังปกติ ควรรับประทานยาแก้คันติดต่อกันอีกจนกว่าจะไม่มีอาการคันเหลืออยู่ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคกำเริบด้วย เพื่อป้องกันการเกิด ผิวหนังอักเสบซ้ำซาก
การป้องกันการเกิดผิวหนังอักเสบ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิว หนัง มีผิวหนังที่อ่อนแอทนต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวได้น้อย กว่าคนปกติ การแก้ไขคุณลักษณะของผิวหนังผู้ป่วย ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดามารดา นั้นทำไม่ได้ ดังนั้นแนวทางในการดูแลรักษาและป้องกันไม่ให้ผิวหนังของผู้ป่วยเกิดการ อักเสบบ่อยๆ คือ การควบคุมและหลีกเลี่ยงปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ระคายต่อผิวหนัง ผู้ป่วย มีหลักและแนวปฏิบัติดังนี้
1. ทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหวังพึ่งแพทย์และยา แต่กลับมองข้ามปัจจัย สำคัญคือ จิตใจของตนเอง ผู้ป่วยควรหาความรู้และทำความเข้าใจธรรมชาติของโรค เมื่อเกิดความเข้าใจแล้วจะทำให้ยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ แต่ไม่ใช่ยอมแพ้ ควรฝึกหัดบังคับ จิตใจของตนเองให้สงบเย็นอยู่เสมอ พยายามไม่ให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด ไม่รุ่มร้อนหรือ โกรธง่าย ไม่ทำร้ายผิวหนังของตนเองด้วยการแกะเกา ขีดข่วน จิตใจที่สงบเย็นจะช่วยลด ความตึงเครียดทั้งทางกายและทางใจ ลดการออกเหงื่อทำให้อาการคันลดลง การรับประ- ทานยาต้านฮีสตามีน เพื่อลดอาการคันร่วมกับการฝึกหัดจิตใจ ช่วยลดอาการคันของ ผู้ป่วยได้อย่างมาก
2. สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยที่ต้องการพิจารณา มีดังนี้
เสื้อผ้า ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่หนามีขน (wool) เพราะทำให้เกิดอาการ คันและผิวหนังอักเสบได้ง่าย
สบู่ ควรเลือกใช้สบู่ที่ไม่เป็นด่างมากนัก หรือใช้สบู่พิเศษที่ทำไว้สำหรับผู้ป่วยที่มี ผิวหนังแพ้ง่าย การอาบน้ำไม่ควรฟอกสบู่มากจนเกินไป เพราะทำให้ไขมันบนผิวหนังลด น้อยลง ในรายที่ผิวหนังเกิดการอักเสบมากควรงดการใช้สบู่ แล้วใช้น้ำเกลือเช็ดล้างน้ำ เหลืองบนผิวหนังที่อักเสบออกเพื่อป้องกันการกระจายของผื่นผิวหนังอักเสบ
อาหาร ดังได้กล่าวในตอนต้นว่า อาหารบางชนิดอาจทำให้ผื่นผิวหนังกำเริบได้ ผู้ป่วยและบิดามารดาของผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ควรสังเกตว่าอาการผิวหนังอักเสบกำเริบมากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารชนิดใด โดยเฉพาะอาหารประเภท ไข่, ซีอิ๊ว, ปลา เป็นต้น ถ้าพบ ความสัมพันธ์ดังกล่าวชัดเจน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนั้นเสีย
กีฬา ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้ แต่ควรเลือก กีฬาให้เหมาะสมกับตัวเอง กีฬาที่ออกเหงื่อมาก แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันมากๆ ไม่เหมาะสม กับผู้ป่วย กีฬาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง คือ กีฬาว่ายน้ำ เพราะผิวหนังผู้ป่วยอยู่ ในสภาพเย็น ออกเหงื่อไม่มากเหมือนกีฬากลางแจ้งอื่นๆ แต่ความหลีกเลี่ยงการลงสระน้ำ ในขณะที่เพิ่งเปลี่ยนน้ำใหม่ เพราะเป็นเวลาที่คลอรีนในสระน้ำมีความเข้มข้นสูง อาจระ- คายผิวหนังผู้ป่วย และเมื่อขึ้นจากสระน้ำแล้วควรรีบอาบน้ำชำระร่างกาย ชะโลมผิวหนัง ด้วยน้ำมันหรือวาสลีน เพื่อคืนความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง มิฉะนั้นอาจเกิดอาการคัน และ ผิวหนังอักเสบจากผิวหนังที่แห้งได้การงาน หน้าที่การงานบางอย่างที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี หรือสภาพแวดล้อมที่ รุนแรงทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดอาการผิวหนังอักเสบกำเริบได้ จึงควรพิจารณา เลือกงานให้เหมาะสมกับตนเองถ้าสามารถทำได้ แต่กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรพิจารณา ปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมหรือหาเครื่องป้องกันต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถ ทำงานต่อไปได้
ผู้ที่สามารถปฏิบัติตัวได้ดี อาการผิวหนังอักเสบจะเกิดขึ้นน้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลย โดยธรรมชาติแล้วผิวหนังของผู้ป่วยสามารถที่จะปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก อาการผิวหนังอักเสบจะดีขึ้นและไม่มีอาการเมื่อผู้ป่วย อายุมากขึ้นที่มา
นพ.ป่วน สุทธพินิจธรรม, ภาควิชจิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. "ลมพิษ."สารพันปัญหาผิวพรรณ ฉบับพิเศษประชาชาติธุรกิจ.(จุลสาร)https://www.md.chula.ac.th/th/public/medinfo/allergic/all61.html - แหล่งข้อมูล https://sickandthecity.allblogthai.com