โรคภูมิแพ้อากาศ โรคภูมิแพ้ dmc ตั้งแต่เด็ก กินวิตามินอะไรดีเพื่อต้านทานโรคภูมิแพ้ผิวหนัง


1,185 ผู้ชม


โรคภูมิแพ้อากาศ โรคภูมิแพ้ dmc ตั้งแต่เด็ก กินวิตามินอะไรดีเพื่อต้านทานโรคภูมิแพ้ผิวหนัง  

โรคภูมิแพ้/เกือบไป/หูไม่ค่อยได้ยิน

 

 

คำถามจากทางบ้าน:

 

        ลูกชายของลูก อายุ ๙ ขวบ เขามีบุพกรรมใดจึงเป็นโรคภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก มักจามบ่อย นํ้ามูกไหล เขาเรียนหนังสือค่อนข้างเก่ง แต่ดื้อมาก ๆ ไม่ค่อยอยู่นิ่ง แม้กระทั่งมาทำบุญที่วัด บอกให้นั่งสมาธิก็จะนั่งได้ไม่เกิน ๕ นาที เป็นเพราะเขาประกอบเหตุมาอย่างไร และจะแก้ไขได้อย่างไรคะ และเขามีบารมีทางบวชมาหรือไม่คะ

 

        วิบาก กรรมใดทำให้ในปีสุดท้ายที่เรียนอยู่ต่างประเทศ ลูกมีอาการป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อย่างหนัก หายใจทางจมูกไม่ได้เลย แต่ต่อมาก็หายไปเองเพราะบุญใดคะ

 

        ตอน “บุญมี” คลอดใหม่ๆ ตัวเล็กนิดเดียว ไม่ขยับตัว ไม่ร้องไห้ ไม่หายใจ จนพยาบาลทำคลอดคิดว่า เด็กคงจะตายแล้ว ก็เลยเก็บร่างของเขาใส่ในถุงดำ เตรียมปิดปากถุงพร้อมที่จะนำไปทิ้ง แต่ขณะที่พยาบาลกำลังแจ้งให้ญาติๆ ทราบว่า เด็กที่คลอดเสียชีวิตแล้ว  ก็บังเอิญสังเกตเห็นถุงดำนั้น คล้ายกับมีอะไรดิ้นดุ๊กดิ๊กอยู่ข้างใน จึงได้เปิดปากถุงดำออก ไม่น่าเชื่อว่าเด็กในถุงกลับดิ้นได้ จึงได้รู้ว่ายังมีชีวิตอยู่ พยาบาลทั้งตกใจและดีใจ จึงรีบนำเด็กออกมาทำความสะอาด แล้วเข้าตู้อบจนกระทั่งปลอดภัย เขาจึงรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด

 

        เป็นเพราะบุพกรรมใด บุญมีตอนคลอดใหม่ๆ ถึงไม่ร้องไห้ ไม่ระดุกกระดิกตัวเลย จนถูกเก็บใส่ถุงดำและเกือบจะถูกโยนทิ้งครับ 

        ทำไมลูกสาวคนโต หูข้างซ้ายไม่ค่อยได้ยินมาแต่กำเนิด จะแก้ไขได้อย่างไรครับ

ที่นี่มีคำตอบ:

 

        ลูกชายอายุ ๙ ขวบ เป็นโรคภูมิแพ้ จามและมีนํ้ามูกไหล เพราะชาติในอดีต ตอนเด็กๆ มักชอบแกล้งสัตว์ ไปจับเอาสัตว์เล็กๆ มา กัดกัน เช่น จับจิ้งหรีดมากัดกัน บางทีก็แกล้งเอานํ้าราดหมาบ้าง แมวบ้าง หรือจับมันโยนลงไปในนํ้าให้มันหัดว่ายนํ้า เป็นต้น วิบากกรรมดังกล่าวมาส่งผล

 

เหตุที่เป็นโรคภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก เพราะชาติในอดีต ตอนเด็กๆ มักชอบแกล้งสัตว์

 

        เป็นเด็กเรียนหนังสือค่อนข้างเก่ง แต่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง แม้กระทั่งมาวัด ก็เพราะกล้ามเนื้อเขากำลังขยาย มันก็ต้องซนน่ะ ก็ให้เขายืดเส้นยืดสายกันบ้าง ก็ธรรมดา มานั่ง ๕ นาทีก็บุญนักหนาแล้ว เขามีบุญบวชในช่วงสั้น จะต้องประคองให้ดีจ้ะ

 

เรียนหนังสือค่อนข้างเก่ง แต่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง แม้กระทั่งมาวัด

 

        ปีสุดท้ายที่ลูกเรียนอยู่ต่างประเทศ ลูกมีอาการป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อย่างหนัก หายใจทางจมูกไม่ได้เลย แต่ต่อมาก็หายไปเอง เพราะใน อดีตได้เคยเกิดในสังคมเกษตรกรรม ได้ใช้แรงงานสัตว์หนักและหลายครั้งก็ดูแลสัตว์ไม่ดี ได้ปล่อยให้มันตากแดดตากฝน กับอีกชาติหนึ่งชอบแกล้งสัตว์ในช่วงวัยเด็ก เช่น จับลูกหมาลูกแมวอาบนํ้าเล่นสนุกสนาน

ในอดีตได้ใช้แรงงานสัตว์หนักและหลายครั้งก็ดูแลสัตว์ไม่ดี

 

        กับอีกชาติหนึ่งเอากิ๊บไม้หนีบจมูกคนใช้ เพื่อความสนุกสนาน เพราะเห็นเขาเป็นคนบ้านป่า จมูกบี้แบน ก็เลยมีความคิดสงสารจะทำให้จมูกโด่ง บอก เธอมานี่ เดี๋ยวฉันจะทำจมูกเธอให้โด่ง แล้วก็เอาไม้หนีบดังกล่าวไปหนีบเอาไว้ แล้วก็สั่ง ห้ามเอาออก จนเด็กรับใช้หายใจไม่สะดวก วิบากกรรมดังกล่าวมารวมส่งผล  

 

เอากิ๊บไม้หนีบจมูกคนใช้ เพื่อความสนุกสนาน

 

        แต่ยังมีบุญที่เคยอุปัฏฐากพระป่วย และถวายยารักษาโรคมาตัดรอนวิบากกรรมนี้ เพราะฉะนั้นไปดูแลพระอาพาธให้ดี หรือถ้าไม่อาพาธ เราก็เอาหยูกยาไปถวายท่าน

 

บุญที่เคยอุปัฏฐากพระป่วย และถวายยารักษาโรคมาตัดรอนวิบากกรรมนี้

 

        บุญมีคลอดใหม่ๆ ไม่ร้องไห้ ไม่กระดุกกระดิกตัวเลย จนถูกเก็บใส่ถุงดำ และเกือบถูกเก็บไปทิ้ง เพราะชาติในอดีตชาติหนึ่ง ตอนเด็กๆ ได้ไปเขย่าต้นไม้ด้วยความซน จนลูกนกตกลงมาจากรังปางตาย แต่ก็ยังไม่ตาย แล้วก็นำลูกนกตัวนั้นกลับไปไว้ในรังอย่างเดิม เศษกรรมนี้มาส่งผลจ้ะ ทำให้ดูเหมือนตาย แต่ก็ไม่ตาย

 

เหตุที่ตอนคลอดออกมาไม่ร้องไห้ ไม่กระดุกกระดิกตัวเลย จนถูกเก็บใส่ถุงดำ และเกือบถูกเก็บไปทิ้ง

 

        ลูกสาวคนโต หูข้างซ้ายไม่ค่อยได้ยินมาตั้งแต่เกิด ก็เพราะกรรมในอดีตเคยแกล้งน้องโดยไม่ได้ตั้งใจ ดูนะจ๊ะว่า กฎกติกาของสังสารวัฏ ไม่มียกเว้นใคร ไม่ว่าเด็กนั้นจะอิน โนเซ้นท์ จะเล่นกันเอง วิบากกรรมไม่น่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ก็แกล้งน้องน่ะ ก็รักน้องก็เล่นกันสนุกๆ แต่ทำไมมีวิบากกรรมถูกเซตโปรแกรมไว้ในตัวของผู้แกล้งน้องด้วยความรัก นี่เราต้องศึกษาไว้ ไม่ศึกษาไม่ได้ กฎแห่งกรรมคือกฎของเหตุผลที่ทุกคนหนีไม่พ้นแล้วจะต้องศึกษา

 

หูข้างซ้ายไม่ค่อยได้ยินมาตั้งแต่เกิด

 

        กรรมในอดีตเคยแกล้งน้องโดยไม่ได้ตั้งใจ เรื่องมีอยู่ว่า น้องสาวกำลังเอาไม้แคะหูด้วยความบันเทิง เธอก็ได้เอามือของเธอตบไปที่มือของน้องสาวในชาตินั้น แล้วเป็นเหตุให้ไม้แคะหูนั้นทิ่มเข้าไปในหูจนแก้วหูทะลุ วิบากกรรมนี้มาส่งผลจ้ะ คงจะหายยาก ให้สร้างบุญไป แล้วก็อธิษฐานจิตให้บุญนี้ไปช่วยให้หนักเป็นเบา

..............................................................................................

 


การรักษาโรคแพ้อากาศ

ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

1.  การดูแลตนเอง…อย่างเหมาะสม และ หลีกเลี่ยง หรือ กำจัดสิ่งที่แพ้
            การรักษาที่สำคัญที่สุด โดยพยายามดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์และแข็งแรงอยู่เสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพจิตให้สดชื่นแจ่มใส เพราะถ้ามีอาการเครียด เศร้า โกรธ หรือกังวล อาจทำให้อาการของโรคมากขึ้นได้ เมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือบริเวณรอบ ๆ จมูก เช่น หวัด ไซนัสอักเสบ ฟันผุ คอ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ ควรรีบไปหาแพทย์ เพื่อให้การรักษาเสียแต่เนิ่น ๆ เพราะการติดเชื้อดังกล่าวจะทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง อาการของโรคอาจกำเริบขึ้นได้ พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้สัมผัสกับสิ่งที่แพ้ ถ้าทราบว่าตัวเองแพ้อะไร (โดยวิธีทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง) หรือถ้าไม่ได้ทดสอบภูมิแพ้ อาจใช้วิธีสังเกตว่า สัมผัสกับอะไรแล้วมีอาการ ก็ไม่ควรเข้าไปใกล้บริเวณที่มีฝุ่นมาก หรือบริเวณที่กำลังก่อสร้าง นอกจากนั้นควรกำจัดหรือลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบ ตัวให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถควบคุมได้ เช่น
            - ทำความสะอาดบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน ห้องทำงาน รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ โดยใช้เครื่องดูดฝุ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แล้วถูด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรใช้ไม่กวาดหรือที่ปัดฝุ่นเพราะจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายมากขึ้น ถ้าจำเป็นต้องทำความสะอาดเอง ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นขณะทำความสะอาดด้วย
            -  ควรนำที่นอน หมอน ผ้าห่ม มุ้ง ผ้าคลุมเตียง มาตากแดดจัด ๆ ทุกสัปดาห์ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที แสงแดดจะฆ่าตัวไรฝุ่น ให้ลดจำนวนลงได้
            -  ควรซักทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน มุ้ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่าน อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ถ้าสามารถซักในน้ำร้อนประมาณ 60 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที ได้ก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยฆ่าตัวไรฝุ่นที่อาศัยอยู่ได้
            -  ควร ใช้หมอน ที่นอน ที่ทำด้วยใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ ไม่ควรใช้ชนิดที่มีนุ่นอยู่ภายใน ถ้าจำเป็นต้องใช้ ควรหุ้มพลาสติกก่อนสวมปลอกหมอนหรือคลุมเตียง เพื่อไม่ให้มีการฟุ้งกระจายของฝุ่น หรืออาจใช้ผ้าคลุมที่นอน ปลอกหมอนที่ทำจากผ้าชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันการเล็ดลอดของตัวไรฝุ่นและสาร จากไรฝุ่น จากที่นอนและหมอน มาสู่ตัวของผู้ป่วยร่วมด้วย
            -  ควร จัดห้องนอนให้โล่ง และมีเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นที่สุด และไม่ควรใช้พรมปูพื้นห้อง ไม่ควรมีกองหนังสือหรือกระดาษเก่า ๆ ควรเก็บหนังสือและเสื้อผ้าในตู้ที่ปิดมิดชิด ไม่ควรใช้เก้าอี้ชนิดที่เป็นเบาะหุ้มผ้าไม่ควรมีของเล่นสำหรับเด็กที่มีนุ่น หรือเศษผ้าอยู่ภายใน หรือของเล่นที่ขนปุกปุย หรือทำด้วยขนสัตว์จริง เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถเป็นที่กักเก็บฝุ่นได้
            -  กำจัด แมลงสาบ มด แมลงวัน ยุง และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านี้ เนื่องจากเศษชิ้นส่วนของแมลงเหล่านี้ รวมทั้งสิ่งขับถ่ายของมัน อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ ควรให้ผู้อื่นทำการกำจัด และทำในเวลาที่ผู้ป่วยไม่อยู่บ้าน
            -  ผู้ ป่วยที่แพ้สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก หนู กระต่าย เป็ดหรือไก่ อาจโดยการสัมผัส หรือหายใจเอาขนหรือรังแคของสัตว์เหล่านี้เข้าไป ไม่ควรนำสัตว์ดังกล่าวมาเลี้ยงไว้ในบ้าน หรืออย่างน้อยไม่ควรให้สัตว์นั้นอยู่ในห้องนอน แม้ว่าผู้ป่วยไม่แพ้สัตว์ดังกล่าว ก็ไม่ควรคลุกคลีหรือนำสัตว์เข้ามาในบ้าน เพราะอาจมีโอกาสที่จะแพ้ขึ้นมาได้ในภายหลัง สัตว์ที่ผู้ป่วยสามารถเลี้ยงได้โดยปลอดภัย คือ ปลา
            -  เชื้อ ราในอากาศก็ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ควรพยายามอย่าให้เกิดความชื้น หรือมีบริเวณอับทึบเกิดขึ้นในบ้าน โดยพยายามเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้แสงแดดส่องถึง หมั่นตรวจและทำความสะอาดห้องน้ำ เครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ พยายามกำจัดแหล่งเพาะเชื้อรา เช่น ใบไม้ที่ร่วงอยู่บนพื้นเศษหญ้าที่ชื้นแฉะในสนาม ไม่ควรนำพืชที่ใส่กระถางปลูกมาไว้ภายในบ้าน เพราะดินในกระถางอาจเป็นที่เพาะเชื้อราได้ กำจัดอาหารที่เชื้อราขึ้นโดยเร็ว เมื่อเกิดมีเชื้อราขึ้นที่ใด ควรทำลายโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อรา เช่น น้ำยาไลโซล น้ำยาฟอกผ้าขาว เช่น คลอร็อกซ์
            -  ละออง เกสรดอกไม้ หรือของหญ้าและวัชพืช อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ถ้าบริเวณบ้านมีสนามหญ้า ควรให้ผู้อื่นตัดหญ้าและวัชพืชในสนามบ่อย ๆ เพื่อลดจำนวนละอองเกสรของมัน แม้ในบ้านไม่มีหญ้าหรือวัชพืชใด ๆ ก็ตาม ผู้ป่วยอาจมีอาการได้เนื่องจากละอองเกสรเหล่านี้เล็ก เบา จึงอาจปลิวตามลมมาจากที่อื่นได้
            -  ในรถยนต์ส่วนตัวที่ผู้ป่วยนั่งก็เช่นกัน ควรดูดฝุ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ไม่ควรใช้ผ้าเป็นวัสดุคลุมเบาะรองนั่งหมั่นตรวจและทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ เพราะอาจมีเชื้อราสะสมอยู่ได้
            การ กระทำดังกล่าวข้างต้นจะสามารถบรรเทาอาการของโรคลงได้อย่างมาก นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยง สารระคายเคืองต่าง ๆ หรือปัจจัยชักนำบางอย่าง ที่จะทำให้อาการของโรคมากขึ้น เช่น ฝุ่น ควัน กลิ่นฉุนหรือแรง อากาศที่เย็นหรือร้อนเกินไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศอย่างรวดเร็ว การอดนอน การดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ อารมณ์ที่ตึงเครียด ไม่สบายใจ ซึ่งผู้ป่วยควรสังเกตว่าสารหรือภาวะแวดล้อมหรือการปฏิบัติอย่างไร ที่ทำให้อาการของโรคมากขึ้น ควรพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น
2. การใช้ยา…เพื่อ บรรเทาอาการ
            การ ใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยารับประทาน หรือ ยาพ่นในจมูก อาจมีความจำเป็นในระยะแรก เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ 100% เมื่อ สามารถดูแลตนเองและควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ความจำเป็นในการใช้ยาก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ ผู้ป่วยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไม่ควรซื้อยามาใช้เอง ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งให้ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนชนิดหรือขนาดของยา แล้วแต่การตอบสนองต่อการรักษา จึงควรมาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ประโยชน์จาการใช้ยาสูงสุด และเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
3. การฉีดวัคซีน…ภูมิแพ้
            เป็น การรักษาโดยฉีดสารก่อภูมิแพ้ ที่คิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเข้าไปในร่างกายทีละน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวน เพื่อให้สร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้ วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมากไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา หรือไม่สามารถทนอาการข้างเคียงของยาได้ หรือผู้ที่มีหอบหืดร่วมด้วย วิธีนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง ถ้าได้ผลดีอาจต้องฉีดต่อเนื่องไปอีก 3-5 ปี
4.  การรักษา…โดยการ ผ่าตัด
            ใช้ ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล ซึ่งให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีโรคบางอย่างร่วมด้วย เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เยื่อบุจมูกบวมมากผิดปกติ ริดสีดวงจมูกไซนัสอักเสบ ซึ่งไม่ดีขึ้นหลังให้การรักษาด้วยยา
 
โรคแพ้อากาศ หรือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
            เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยในคนไทย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2538 พบว่าอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 38% หรือเกือบ 2 เท่าของอุบัติการณ์ที่สำรวจไว้เมื่อ พ.ศ.2518 และ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โรคนี้เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย แล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมาก ผิดปกติ ภายหลังเมื่อได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าวก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น มีอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล คัดจมูก มีเสมหะในลำคอ อาจมีอาการคันที่ตา คอ หู หรือเพดานปากร่วมด้วย สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญคือ ตัวไรฝุ่นที่อาศัยอยู่ในฝุ่นบ้านและสิ่งขับถ่ายของมัน โรคแพ้อากาศเป็นโรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังลูกหลาน จึงอาจมีคนอื่นในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วยได้ สิ่งแวดล้อมซึ่งแย่ลงเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ก็เป็นปัจจัยเสริมทำให้อาการของโรคภูมิแพ้มากขึ้น มีการศึกษาพบว่า อาการของโรคจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไปนอกจาก นั้นการที่ไม่ได้รักษาโรคนี้อย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ไซนัสอักเสบผนังคออักเสบเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบ โดยเฉพาะในเด็ก ภาวะที่น้ำขังในหูชั้นกลาง จมูกไม่ได้กลิ่น นอนกรน ทำให้อาการหอบหืด (ถ้ามี) เป็นมากขึ้นได้ การให้การรักษาโรคนี้อย่างถูกต้อง นอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนดังกล่าวได้ด้วย

แหล่งข้อมูล https://www.si.mahidol.ac.th

      

อัพเดทล่าสุด