บดินทรเดชา ลาออกแล้ว 1 นักเรียนบดินทรฯ ทนแรงกดดันไม่ไหว


1,025 ผู้ชม


บดินทรเดชา  ลาออกแล้ว 1 นักเรียนบดินทรฯ ทนแรงกดดันไม่ไหว

นักเรียนบดินทรฯ ลาออกแล้ว 1 ทนแรงกดดันไม่ไหว

เด็กบดินทร
บดินทรเดชา ประท้วง
บดินทรเดชา ประท้วง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3   
          1 ใน 3 นักเรียนที่ประท้วงเข้าเรียนโรงเรียนบดินทรเดชา ทนแรงกดดันไม่ไหว ขอลาออกแล้ว ด้านเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ยื่นเรื่อง ศธ. ขอขยายห้องเรียนเพิ่มรับ ม.1 และ ม.4
           เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 นายปรีชา จิตรสิงห์ ประธานคณะกรรมการรับนักเรียนโรงเรียนบดินทรเดชา กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด พบว่า ยังมีนักเรียน ม.3 โรงเรียนบดินทรฯ ที่ยังไม่มีที่เรียนทยอยเข้ามาลงชื่อ เพื่อให้คณะกรรมการเยียวยาหาที่เรียนใน 13 โรงเรียนให้ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 54 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนในกลุ่มที่ออกมาประท้วง จำนวน 38 คน และเป็นนักเรียนที่ไม่ได้มาประท้วง 15 คน อย่างไรก็ตาม จะมีการสรุปข้อมูลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เนื่องจากขณะนี้พบว่า มีนักเรียนบางรายเปลี่ยนใจ ขอให้สลับที่เรียน เช่น ตอนแรกแสดงความจำนงอยู่โรงเรียนเทพลีลาได้มาขอเปลี่ยนไปโรงเรียนบางกะปิ เป็นต้น ซึ่งเราก็ได้ดำเนินการให้
           นอก จากนี้ ยังน่าเป็นห่วงเด็กนักเรียน 3 คน ที่ได้เรียนต่อในชั้น ม.4 โรงเรียนบดินทรเดชา ที่ขณะนี้มีนักเรียนคนหนึ่งได้ยื่นเรื่องลาออกแล้ว เพราะทนแรงกดดันจากเพื่อนในโรงเรียนไม่ไหว ทั้งที่ได้เข้าไปอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และกำลังจะตัดสินใจลาออกตามมาอีกราย ซึ่งทาง ผอ.โรงเรียน กำลังเกลี้ยกล่อมและพยายามชี้แจงกับนักเรียนคนอื่น ๆ ให้เข้าใจด้วย

           ขณะที่ทางด้านเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล อ.เมือง จ.อุดรธานี พร้อมตัวแทนผู้ปกครองและนักเรียนที่พลาดโอกาสได้เข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 ประมาณ 30 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยของบประมาณการขยายห้องเรียน หรืออาคารเรียนเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนได้มีที่เรียน
           โดย นายสมคิด หอมเนตร ตัวแทนผู้ปกครอง กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้มีนักเรียน ม.1 จำนวน 240 คน และ ม.4 จำนวน 277 คน ซึ่งเป็นนักเรียน ม.3 เดิมของโรงเรียนไม่สามารถเข้าเรียนต่อในโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลได้ สืบเนื่องจากนโยบายการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดให้รับครั้งเดียวและรับห้องละ 50 คน จึงเกิดปัญหาขึ้น จึงอยากให้มีการผ่อนปรนหรือยืดหยุ่นกฎระเบียบของ สพฐ.ลงบ้าง เพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่ไปยัดเยียดหรือบังคับให้ผู้ปกครองและเด็กไปเรียนที่นั่นที่นี่ หรือให้ไปเรียนนอกพื้นที่ห่างไกล
           อย่างไรก็ตาม หาก โรงเรียนอุดรพิทยานุกูลไม่สามารถเปิดเพิ่มได้หรือขยายห้องเรียนได้ ก็ขอให้โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงจำนวน 3 โรง คือ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล, โรงเรียนสตรีราชินูทิศ และโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา ร่วมแบ่งเฉลี่ยความรับผิดชอบโดยการเพิ่มห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนที่ยังไม่ มีที่เรียนทั้งหมดได้เข้าเรียนทันเปิดเทอมนี้
           ทางด้าน ดร.ชินภัทร กล่าวถึงกรณีโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ที่ต้องการให้โรงเรียนขยายห้องเรียนเพิ่มนั้นว่า การขยายห้องเรียนนั้นได้ย้ำแต่แรกแล้วว่า การขยายต้องคำนึงคุณภาพและประสิทธิภาพด้วย หากไม่มีความพร้อมแล้วขยายไปก็จะมีผลกระทบตามมา อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นในบางกรณีเราอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือผ่อนคลายหลักเกณฑ์ บางข้อที่ประกาศไปแล้วได้ เช่น การขยายห้องเรียนซึ่งเป็น 1 ใน 3 ทางเลือกที่ สพฐ.ได้นำเสนอไปนอกเหนือจากการพัฒนาโรงเรียนคู่พัฒนา และการทำโรงเรียนคู่แฝด ซึ่งเป็นโรงเรียนดังตามที่พ่อแม่ต้องการแต่มีระบบบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน เดียวแต่ใน 2 แนวทางดังกล่าวนี้ สพฐ.ก็ทำอยู่ เพียงแต่การขยายห้องเรียนนั้นต้องเป็นระดับนโยบายตัดสินใจ สพฐ.จึงจะดำเนินการได้ ซึ่งอาจจะทำได้โดยเร็วที่สุดในเทอม 2 ปีการศึกษา 2555 หรือเริ่มในปีการศึกษา 2556
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

อัพเดทล่าสุด