วิธีการชําระหนี้ กยศ ผ่อนผันการชําระหนี้ กยศ ขอผ่อนผันชําระหนี้ กยศ การชําระหนี้ กยศ แบบรายเดือน
การชำระหนี้/การผ่อนผัน
หลักเกณฑ์การชำระหนี้
เมื่อผู้ กู้ ยืมสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมคืนให้แก่กองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา
ตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ
ผู้ กู้ยืมที่กำลังศึกษาอยู่และไม่ได้กู้ยืมเงินติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี และไม่ได้แจ้งสถานภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาให้ธนาคารทราบ
ถือว่าเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้
ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมจะได้รับหนังสือจากธนาคาร เพื่อแจ้งเงินต้นทั้งหมด จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้
งวดแรก ค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ รวมทั้งตารางการชำระหนี้ของแต่ละปี ให้ผู้กู้ยืมทราบ
ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้จะต้องชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้
ผู้ กู้ยืมต้องชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นคงค้างของปีที่ 1 เป็นต้นไป โดยจะต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม
ของทุกปีและจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 15 ปี นับจากวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก
ผู้กู้ยืมสามารถเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายปีหรือรายเดือนได้แต่ระยะเวลารวมกันต้องไม่เกิน 15 ปี
หาก ผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด คือภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี ถือว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งผู้กู้ยืมจะต้อง
เสียเบี้ยปรับเฉพาะเงินต้นที่ค้างชำระในอัตราดังนี้
ค้างชำระ 1-12 เดือน เสียเบี้ยปรับร้อยละ 12 ต่อปี
ค้างชำระเกิน 12 เดือน เสียเบี้ยปรับร้อยละ 18 ต่อปี
ผู้กู้ยืมอาจชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึง กำหนดชำระได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย
มาตรการในการติดตามหนี้ กรณีผู้กู้ค้างชำระ
ส่งจดหมายถึงผู้กู้ที่จะครบกำหนดชำระหนี้ เพื่อแจ้งภาระหนี้และวิธีการติดต่อขอชำระหนี้ให้ทราบก่อนถึงวันครบกำหนดชำระ
ผู้กู้ที่ยังไม่มีความสามารถชำระกองทุนฯ ให้โอกาสขอผ่อนผันการชำระได้ หากมีเหตุผลสมควรและเข้าเกณฑ์การผ่อนผัน
เมื่อผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้
เดือนแรกโทรศัพท์เตือนให้มาชำระ
เดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 12 โทรศัพท์และส่งจดหมายติดตามทวงถามเป็นระยะๆ
เกิน 12 เดือน หากยังไม่ได้รับการติดต่อชำระหนี้ จะติดตามผู้กู้และผู้ค้ำประกันโดยวิธีออกไปพบตัว (Home Visit)
วิธีนับระยะเวลาครบกำหนดชำระหนี้
ตัวอย่าง ผู้กู้ยืมสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาในปีการศึกษา 2545 ผู้กู้ยืมจะครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2548
ช่องทางในการชำระหนี้คืน สามารถเลือกช่องทางในการชำระหนี้ได้ 2 วิธี
1. ชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคาร
ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้มากกว่าหรือเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระก็ได้
ผู้กู้ยืมจะได้รับใบรับเงินเพื่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเก็บไว้เป็นหลักฐาน
2. ชำระโดยการหักบัญชีอัตโนมัติจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้กู้ยืม
ผู้กู้ยืมจะต้องแจ้งความประสงค์กับธนาคารให้หักบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้กู้ยืม ที่เปิดไว้ตอนทำสัญญากู้หรือบัญชีเงินฝาก
ออม ทรัพยที่ผู้กู้ยืมเปิดใหม่ และผู้กู้จะต้องนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่ผู้กู้ยืมเปิดใหม่ และผู้กู้จะต้องนำเงินเข้าบัญชีเงินฝาก
ออมทรัพย์ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี (กรณีชำระหนี้เป็นรายปี) หรือก่อนวันที่ 5 ของทุกเดือน (กรณีชำระหนี้เป็นรายเดือน) ผู้กู้ยืม
จะต้องนำบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไปรับรายการหักบัญชีที่สาขาและเก็บไว้เป็นหลักฐาน
อนึ่ง การให้บริการรับชำระหนี้ทั้ง 2 ช่องทางนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 10 บาท
วิธีการชำระหนี้
1. การติดต่อชำระหนี้ครั้งแรก ผู้กู้ยืมทุกรายต้องติดต่อแสดงตนในการชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยฯ สาขาใดก็ได้ที่ท่านสะดวก
โดยขอให้ผู้กู้ยืมดำเนินการดังนี้
1.1 กรอกหนังสือแสดงตนในการชำระหนี้ (กยศ.201) และเก็บสำเนาไว้เป็นหลักฐาน
1.2 หากผู้กู้ยืมประสงค์จะเปลี่ยนงวดการชำระหนี้จากรายปีเป็นรายเดือนสามารถทำได้ โดยให้ผู้กู้ยืมแจ้งความประสงค์ดังกล่าว
กับพนักงานของธนาคาร
1.3 แจ้งจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมประสงค์จะชำระหนี้งวดแรกพร้อมชำระหนี้กับพนักงานของธนาคาร โดยผู้กู้ยืมจะได้รับใบรับเงิน
เพื่อชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เก็บไว้เป็นหลักฐาน
2. การชำระหนี้ครั้งต่อไป
ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ ได้ตามวิธีใดวิธีหนึ่งของการชำระหนี้ทั้ง 3 วิธีตามที่กล่าวข้างต้น
การชำระหนี้ก่อนกำหนด
1. ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้คืนกองทุนฯทั้งหมดหรือบางส่วนในช่วงก่อนสำเร็จการศึกษา หรือช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีได้โดยผู้กู้ยืม
ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
2. กรณีที่ผู้กู้ยืมยังไม่สำเร็จการศึกษา ผู้กู้ยืมสามารถหยุดพักชำระหนี้และสามารถกู้ยืมเงินต่อไปในปีการศึกษาที่เหลือได้
กรณีผู้กู้ยืมศึกษาอยู่ หรือสำเร็จการศึกษาไม่ถึง 2 ปี
1. กรณีที่ผู้กู้ยืมเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้แล้ว แต่ผู้กู้ยืมกำลังศึกษาอยู่ให้ผู้กู้ยืมนำรายงานสถานภาพการศึกษา (กยศ.204) หรือ
หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาของสถานศึกษาที่รับรองสำเนาถูกต้องแล้วไปให้ธฯาคารเพื่อชะลอการชำระหนี้
และหากในปีต่อๆ ไป ผู้กู้ยืมยังไม่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษา ให้ผู้กู้ยืมนำเอกสารดังกล่าวไปให้ธนาคารตั้งแต่วันที่
1 กรกฎาคมของทุกปีเป็นต้นไป จนกว่าผู้กู้ยืมจะสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษา
2. กรณีที่ผู้กู้ยืมเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้แล้ว แต่ผู้กู้ยืมดังกล่าวสำเร็จการศึกษาไม่ถึง 2 ปี ให้ผู้กู้ยืมนำหนังสือรับรองการสำเร็จ
การศึกษาหรือใบปริญญาบัตร หรือใบประกาศนียบัตร หรือรายงานผลการศึกษา (Transcript) ของสถานศึกษาที่รับรอง
สำเนาถูกต้องแล้วไปให้ธนาคารเพื่อชะลอการชำระหนี้
กรณีการขอผ่อนผันชำระหนี้ ผู้กู้ยืมต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ครบกำหนดชำระหนี้แต่ละงวด หากผู้กู้ยืมยังไม่ชำระ
และ พ้นวันที่ครบกำหนดชำระแล้ว (5 กรกฎาคม ของทุกปี) ถือว่าผู้กู้ยืมค้างชำระหนี้จะต้องเสียเบี้ยปรับและถูกติดตามหนี้จนกว่าจะ ได้รับอนุมัติ
ผ่อนผันชำระหนี้ จึงระงับการติดตามและถือเป็นหนี้ปกติต่อไป
การยกเลิกสัญญาฯ ระหว่างการศึกษา
การ ยกเลิกสัญญาฯ ระหว่างปีการศึกษา เกิดขึ้นได้ตามความประสงค์ของผู้กู้ยืมเองหรือยกเลิกสัญญาฯ โดยกองทุนฯ เนื่องจากผู้กู้มีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง
หรือความประพฤติไม่เหมาะสม ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้คืนกองทุนฯ ภายใน 30 วัน หรือภายในเวลาที่ได้ทำความตกลงกับกองทุนฯ โดยผู้กู้ยืมจะติดต่อ
ทำหนังสือยกเลิกและชำระหนี้ทั้งหมดได้ภายใน 30 วัน ธนาคารจะส่งเรื่องให้กองทุนฯ พิจารณาเป็นรายไป
กรณี ที่ผู้กู้ยืมเงินกองทุนฯ ถึงแก่ความตายหนี้ตามสัญญากู้ยืมฯ เป็นอันระงับไป ทั้งนี้ทายาทหรือสถาบันต้องส่งสำเนาใบมรณบัติที่รับรองโดยเจ้าหน้าที่
ราชการ ผู้มีอำนาจให้ธนาคารทราบ และกรณีผู้กู้พิการ หรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้ ให้ขอผ่อนผันจากคณะกรรมการฯ เป็นกรณีๆ ไป
การชำระหนี้
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
(1) หลักเกณฑ์การชำระหนี้
1.เมื่อผู้กู้ยืมเงินสำเร็จการศึกษา หรือเลิกการศึกษาเป็นเวลา 2 ปี จะเข้าข่ายเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้ยืมเงินให้กับกองทุนตามระยะเวลาและ วิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบของคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ผู้กู้ยืมที่กำลังศึกษาอยู่และไม่ได้กู้ยืมเงินติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปีและไม่ได้แจ้งสถานภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาให้ธนาคารทราบจะเข้าข่าย เป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้
3. ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมจะได้รับหนังสือจากธนาคารเพื่อแจ้งเงินต้นทั้งหมดจำนวนเงินที่ต้อง ชำระหนี้งวดแรก ค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ รวมทั้งตารางการชำระหนี้ของแต่ละปี ให้ผู้กู้ยืมทราบ
ทั้งนี้ผู้กู้ยืมที่ได้ย้ายที่อยู่ไปจากที่อยู่เดิมเมื่อครั้งทำสัญญากู้จะต้องแจ้งที่อยู่ใหม่ให้ธนาคารทราบด้วย
4.ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้จะต้องชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของปีที่ครบกำหนดชำระหนี้
5. ผู้กู้ยืมจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นคงค้างของปีที่ 1 เป็นต้นไป โดยจะต้องชำระหนี้ ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี และจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 15 ปี นับจากวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก
6. ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้คืนได้ภายในระยะเวลาที่ กำหนดคือภายในวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี ถือว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ซึ่งผู้กู้ยืมจะต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อย ละ 12 ต่อปี ของเงินต้นที่ค้างชำระในงวดนั้น กรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือน และจะต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของเงินต้นที่ค้างชำระทั้งหมด กรณีค้างชำระเกิน 12 เดือน
วิธีนับระยะเวลาครบกำหนดชำระหนี้
ตัวอย่าง ผู้กู้ยืมสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาในปีการศึกษา 2547 ผู้กู้ยืมจะครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกภายใน วันที่ 5 กรกฎาคม 2550
(2) วิธีการชำระหนี้
การชำระหนี้มี 3 วิธีคือ
1. ชำระโดยการหักบัญชีอัตโนมัติจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้กู้ยืม โดยผู้กู้จะต้องนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่มีอยู่กับธนาคาร เป็นเลขที่บัญชีเดียวกันกับผู้กู้ยืมได้รับเงินกู้เมื่อครั้งกู้ยืมเงิน หรือบัญชีออมทรัพย์ของผู้กู้บัญชีอื่นที่ผู้กู้ได้แจ้งความประสงค์ไว้ โดยนำเงินเข้าฝากก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของ ทุกปี (กรณีชำระหนี้เป็นรายปี) หรือก่อนวันที่ 5 ของทุกเดือน (กรณีชำระหนี้เป็นรายเดือน) ผู้กู้ยืมจะต้องนำบัญชีเงินฝากฯ ไปปรับ รายการหักบัญชีที่สาขาและเก็บไว้เป็นหลักฐาน วิธีนี้จะสะดวกกับผู้กู้ยืมที่ใช้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เป็นบัญชีรับเงิน เดือนหรือรายได้อื่นๆ
2. ชำระหนี้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้มากกว่า หรือเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระก็ได้ ผู้กู้ยืมจะได้รับ ใบรับเงินเพื่อชำระหนี้กองทุนฯ ไว้เป็นหลักฐาน
2.1 การติดต่อชำระหนี้
ผู้กู้ยืมทุกรายติดต่อชำระหนี้ได้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาใดก็ได้ที่ท่านสะดวก ดังนี้
1.1สำหรับผู้ที่เริ่มติดต่อชำระหนี้ในครั้งแรก ให้กรอกหนังสือแสดงตนในการชำระหนี้(กยศ.201) ครั้งต่อไปผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ ได้ตามวิธีใดวิธีหนึ่งของการชำระหนี้ทั้ง 3 วิธีตามที่กล่าวข้างต้น
1.2หากผู้กู้ยืมประสงค์จะเปลี่ยนงวดการชำระหนี้จากรายปีเป็นรายเดือน สามารถทำได้ โดยให้ผู้กู้ยืมแจ้งความประสงค์
1.3 แจ้งจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมประสงค์จะชำระหนี้งวดแรก พร้อมชำระหนี้โดยผู้กู้ยืมจะได้รับใบรับเงินเพื่อชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหลักฐาน
2.2 การชำระหนี้ก่อนกำหนด
1. ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้คืนกองทุนทั้งหมดหรือบางส่วนในช่วงก่อนสำเร็จการ ศึกษา หรือช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีได้ โดยผู้กู้ยืมไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
2. กรณีที่ผู้กู้ยืมยังไม่สำเร็จการศึกษาในระดับที่ไม่เกินกว่าระดับปริญญาตรี ผู้กู้ยืมสามารถหยุดพักชำระหนี้ และสามารถกู้ยืมเงินต่อไปในปีการศึกษาที่เหลือได้
2.3 ตารางแสดงการคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ย
1. ผู้กู้ยืมกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 1 บาท
2. คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นคงค้างของปีที่ 1 เป็นต้นไป
3. ระยะเวลาในการชำระหนี้ 15 ปี
(ผู้กู้ยืมต้องเสียค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ครั้งละ 10 บาท)
ตารางแบบผ่อนชำระ 15 ปี
ตัวอย่างการคำนวณ
สมมติว่าผู้กู้ยืมกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 100,000.-บาท
1. นำยอดเงิน 100,000.-บาท คูณกับช่องที่ (2) จะทราบว่าเงินต้นคงเหลือในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินเท่าใด
2. นำยอดเงิน 100,000.-บาท คูณกับช่องที่ (4) จะทราบว่าเงินต้นที่จะต้องชำระในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินเท่าใด
3. นำยอดเงิน 100,000.-บาท คูณกับช่องที่ (5) จะทราบว่าดอกเบี้ยที่ต้องชำระในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินเท่าใด (ยกเว้นปีที่ 1 ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย)
4.นำยอดเงิน100,000.-บาทคูณกับช่องที่(6)จะทราบว่าเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะต้องชำระในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินเท่าใด
2.4 กรณีผู้กู้ยืมศึกษาอยู่ หรือสำเร็จการศึกษาไม่ถึง 2 ปี
แต่ได้รับจดหมายแจ้งภาระหนี้
ตามหลักเกณฑ์แล้วจะยังถือว่าไม่เป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้จะต้องทำ “หนังสือแบบรายงานสถานภาพการศึกษา (กยศ.204)” และให้สถาบันการศึกษารับรองทุกปีจนกว่าจะจบการศึกษา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วไม่ถึง 2 ปี ให้ผู้กู้ยืมนำหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาหรือใบปริญญาบัตร หรือใบประกาศนียบัตร หรือรายงานผลการศึกษา (Transcript) ไปให้สาขาของธนาคารเพื่อชะลอการชำระหนี้
(3) ผู้กู้ยืมถึงแก่กรรม หรือทุพพลภาพ
กรณี ผู้กู้ยืมถึงแก่กรรม หนี้ตามสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับไป ทั้งนี้ทายาทหรือสถาบันการศึกษาต้องส่งสำเนาใบมรณบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมที่ถึงแก่กรรม โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าว แล้วส่งให้ธนาคารทราบ
- กรณีผู้กู้ยืมทุพพลภาพ กองทุนมีอำนาจพิจารณาระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมได้ โดยต้องส่งสำเนาสมุดประจำตัวคนพิการที่รับรองแล้วให้ธนาคาร เพื่อเสนอกองทุนฯ พิจารณาระงับการเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญาต่อไป
(4) การขอผ่อนผันชำระหนี้
กอง ทุนฯ ได้มอบอำนาจให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทยมีอำนาจในการพิจารณาผ่อนผันหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมที่ครบ กำหนดชำระหนี้แล้วแต่ยังไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้คืน โดยหากผู้กู้ยืมอยู่ในสถานะภาพเป็น ผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้น้อย (ต่ำกว่า4,700บาท)หรือประสบภัยพิบัติผู้กู้ยืมสามารถติดต่อขอผ่อนผันได้ โดยทำหนังสือขอผ่อนผัน(กยศ.202) พร้อมหนังสือรับรองการขอผ่อนผัน(กยศ.203) ส่งให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขาเมื่อธนาคารพิจารณาแล้วธนาคารจะมีหนังสือแจ้งผล การพิจารณาให้
ผู้กู้ยืมทราบต่อไป
ผู้กู้ยืมรายที่ธนาคารอนุมัติให้ ผ่อนผันได้ ถือว่าผู้กู้ยืมไม่เคยผิดนัดการชำระหนี้ซึ่งผู้กู้ยืมจะได้รับยกเว้นเบี้ย ปรับที่เกิดเนื่องจากการค้างชำระค่างวดเท่านั้นโดยผู้กู้ยืมยังคงต้องชำระ ค่างวดและดอกเบี้ยตามสัญญา ทั้งนี้ ธนาคารมีอำนาจผ่อนผันโดยการยืดเวลาการชำระหนี้งวดที่ค้างชำระออกไปได้คราวละ ไม่เกิน 6 เดือนติดต่อกันแล้วไม่เกิน 2 ปี
กรณีการขอ ผ่อนผัน ชำระหนี้ ผู้กู้ยืมต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ครบกำหนดชำระหนี้แต่ละงวด หากพ้นวันที่ครบกำหนดชำระแล้ว (5 กรกฎาคม ของทุกปี) ถือว่า
ผู้กู้ยืมค้างชำระหนี้จะต้องเสียเบี้ยปรับและถูกติดตามหนี้จนกว่าจะได้รับอนุมัติ
ผ่อนผันชำระหนี้จึงระงับการติดตามและถือเป็นหนี้ปกติต่อไป
(5) เงื่อนไขตามสัญญากู้ยืมเงินกองทุนฯ
ที่ผู้กู้ควรทราบและถือปฏิบัติ
1. ถ้าผู้กู้ยืมเปลี่ยนแปลงชื่อ นามสกุล หรือสถานที่อยู่ หรือย้ายสถานศึกษา หรือจบการศึกษาหรือเลิกการศึกษา ผู้กู้ยืมมีหน้าที่แจ้งให้ธนาคารผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบเป็น หนังสือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงชื่อ นามสกุล หรือสถานที่อยู่ หรือย้ายสถานศึกษา หรือจบการศึกษา หรือเลิกการศึกษา มิฉะนั้นถือว่าผู้กู้ยืมผิดสัญญา ผู้ให้กู้ยืมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และเรียกเงินกู้ที่ผู้กู้ยืมได้รับไปแล้วทั้งหมดคืนในทันที
2. ผู้กู้ยืมสำเร็จการศึกษา และเข้าทำงานในสถานที่ใด ผู้กู้ยืมต้องแจ้งที่อยู่และสถานที่ทำงานนั้น พร้อมทั้งจำนวนเงินเดือน หรือค่าจ้างที่ได้รับให้ธนาคารผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมเพื่อการ ศึกษาทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้กู้ยืมเริ่มทำงาน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนแปลงงานหรือสถานที่ หรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินเดือนหรือ ค่าจ้าง ผู้กู้ยืมต้องแจ้งให้ธนาคารผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมฯ ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้กู้ยืมย้ายที่อยู่ เปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินเดือน
หรือค่าจ้างทุกๆ ครั้ง
3. ให้แนบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อปฏิบัติในข้อ 1 และ 2 ส่ง
บมจ.ธนาคารกรุงไทย
แจ้งเปลี่ยนที่อยู่ /ที่ทำงาน/สถานะอื่นๆ
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงสถานะของตัวเอง
เช่น เปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขที่บัญชีเงินฝาก เข้าทำงานหรือย้ายสถานที่ทำงาน
ผู้กู้ยืมจะต้องกรอกข้อความ และจัดส่งให้ ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ
บมจ.ธนาคารกรุงไทย
Source: https://www.studentloan.or.th
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ชั้น 16 อาคาร 2 เลขที่ 63 ซอยทวีมิตร ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กทม. 10310
โทรศัพท์ 0-2610-4888 โทรสาร 0-2643-1470