ข่าวเกี่ยวกับโรคคอพอก สาเหตุโรคคอพอก อาการโรคคอพอก


1,018 ผู้ชม


ข่าวเกี่ยวกับโรคคอพอก สาเหตุโรคคอพอก อาการโรคคอพอก

ข่าวเกี่ยวกับโรคคอพอก

คอพอก

"ไทรอกซีน"(Thyroxine) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของร่างกายทุกระบบ
ต่อมไทรอยด์ในคนปกติจะไม่สามารถคลำได้ ถ้าต่อมมีอาการโตขึ้น ซึ่งอาจคลำหรือสังเกตได้จากการมอง
แสดงว่า ต่อมไทรอยด์มีอาการโตผิดปกติหรือมีคอพอกเกิดขึ้นนั่นเอง
สาเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากการไม่ทานอาหารทะเล หรือ เกลือไอโอดีนแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆอีกมากมายดังจะกล่าวต่อไป การจำแนกชนิดของกลุ่มอาการคอพอกนั้นทำได้หลายประเภท
ในที่นี้จะจำแนกตามอาการ และ ระดับของฮอร์โมนซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


1) คอพอกแบบเป็นพิษ Thyrotoxicosis เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการสร้าง ฮอร์โมนไทรอกซีน
(Thyroxine) มากเกินความต้องการของร่างกาย สาเหตุ
อาจเกิดจากตัวต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติเอง (Primary Thyrotoxicosis) หรือ เกิดจากมีสารมา
กระตุ้นทำให้ต่อมสร้างฮอร์โมนมากเกินไป(Secondary Thyrotoxicosis) เช่น ฮอร์โมนจาก
เนื้องอกของต่อมใต้สมองส่วนหน้า(Anterior Pituitary gland Tumor) อาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการ ใจสั่น ,มือสั่น,เหนื่อยง่าย, เหงื่อออกมาก,นอนไม่หลับ,หิวบ่อย, หงุดหงิดโมโหง่าย,น้ำหนักลด,
อาจมีตาโปน มักพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย
ในเรื่องของต่อมไทรอยด์อาจจะโตหรือไม่ก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการโตเล็กน้อย การรักษา
ทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ยาต้านไทรอยด์(Anti-Thyroid Drug),ทานน้ำแร่กัมมันตรังสี(ไอโอดีน-131)
หรือ ผ่าตัดซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม


2) คอพอกแบบไม่เป็นพิษ Non-thyrotoxicotic Goiter เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น
แต่ไม่มีอาการของไทรอยด์เป็นพิษดังกล่าวสาเหตุที่พบบ่อย คือ

1. ขาดไอโอดีน(Iodine) พบในผู้ป่วยที่ไม่ทานอาหารทะเล,ไม่ทานเกลือไอโอดีน ปัจจุบันพบได้น้อยลง
แต่ยังพบได้ตามภาคเหนือ,ชาวเขา ต่อมไทรอยด์อาจโต เล็กน้อยจนถึงใหญ่มากๆได้อาการแสดง
ต่อมไทรอยด์จะโต บางรายอาจมีอาการของการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน คือ ซึม,เชื่องช้า, หนาวง่าย,
น้ำหนักตัวเพิ่ม,ผิวแห้ง ในเด็กจะทำให้พัฒนาการของร่างกายและสมองผิดปกติ,ปัญญาอ่อน, เลี้ยงไม่โต ที่รู้จักกันในนามของ"โรคเอ๋อ"การรักษา
ทานอาหารทะเล,เกลือไอโอดีน,ยาไทรอยด์โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อน


ในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่อาจต้องผ่าตัด2. ร่างกายมีความต้องการฮอร์โมนมากขึ้น ภาวะนี้มักพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์(อายุ15-35ปี)
เรียกว่า Adolescence goiter และ หญิงตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะโตขึ้นเนี่องจากต้องสร้าง
ฮอร์โมนให้เพียงพอกับความต้องการร่างกาย โดยทั่วไปจะไม่มีอาการอี่นนอกจากมีก้อนที่คอการรักษา
ในรายที่ก้อนโตเล็กน้อยอาจเฝ้าสังเกตอาการไปก่อน ในกรณีที่ก้อนมีขนาดโตขึ้น


ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยารักษา กรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่อาจต้องได้รับการผ่าตัด3. เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ มีทั้งเนื้องอกธรรมดา และ เนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง
มักพบในผู้หญิง อายุ 30 ปีขึ้นไป มะเร็งมักมีลักษณะเฉพาะ คือ ก้อนจะแข็ง,โตเร็ว,โตในข้างใด
ข้างหนึ่ง (ในพวกคอพอกจากร่างกายต้องการฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ไทรอยด์มักโตสม่ำเสมอทั้ง 2 ข้าง),
ติดแน่นกับผิวหนังหรืออวัยวะข้างเคืยง และ อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างลำคอโตร่วมด้วย
ในกรณีเช่นนี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าเป็นชนิดใดการรักษา
ก็มีทั้งให้ยาร่วมกับการผ่าตัดเช่นเดียว

คำสำคัญ (keywords): คอ

Link https://www.learners.in.th/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อาการโรคคอพอก สาเหตุโรคคอพอก

คอพอกคอพอก (Goiter) หมายถึง ภาวะที่มีการโตขึ้นของต่อมธัยรอยด์ สามารถแบ่งได้ดังนี้

แบ่งตามลักษณะการโต

 
ต่อมธัยรอยด์โตทั่วๆไป
  • ต่อมธัยรอยด์โตทั่วๆไป (Diffuse goiter) : หมายถึง ภาวะที่มีต่อมธัยรอยด์โตทั่วๆไป
  • ก้อนเดี่ยวของต่อมธัยรอยด์ (Solitary thyroid nodule) : หมายถึง ภาวะที่มีการโตของต่อมธัยรอยด์เฉพาะที่ มองเห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆ โดยที่ส่วนอื่นๆ ของต่อมธัยรอยด์ดูปกติ
  • ก้อนตะปุ่มตะป่ำของต่อมธัยรอยด์ (Multinodular goiter) : มีก้อนหลายๆ ก้อน ทำให้เห็นธัยรอยด์เป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ

แบ่งตามอาการ

  • คอพอกแบบเป็นพิษ (Toxic goiter) : ต่อมธัยรอยด์มีการสังเคราะห์และหลั่งธัยรอยด์ฮอร์โมนมากเกิน จนเกิดอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย มือสั่น น้ำหนักลด และอื่นๆ
  • คอพอกธรรมดา (Simple goiter) : คอพอก โดยที่ไม่มีอาการของต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

ต่อมธัยรอยด์คืออะไร

ต่อมธัยรอยด์ คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย อยู่บริเวณคอด้านหน้า, วางอยู่หน้าต่อหลอดลม, มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม, แบ่งออกเป็น 2 กลีบ ซ้ายกับขวา เชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนคอดที่เรียกว่า isthmus แต่ละกลีบมีขนาดประมาณ 5x2x2 ซม., ต่อมธัยรอยด์มีกล้ามเนื้อปกคลุมอยู่ ทำให้ในภาวะปกติที่ไม่มีธัยรอยด์โต หรือโตน้อย ก็จะมองไม่เห็น ต่อมธัยรอยด์มีหน้าที่สร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน โดยใช้ ธาตุไอโอดีน เป็นส่วนประกอบหนึ่ง จากนั้น ก็จะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด, ฮอร์โมนเหล่านี้ มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ของเซลล์ ทั่วร่างกาย และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย

สาเหตุ

คอพอกธรรมดา ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน,อาจพบได้ในขณะที่ร่างกาย ต้องการธัยรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงวัยรุ่น ขณะตั้งครรภ์, ได้รับสารบางชนิด หรือยาบางอย่าง (ในระยะแรก ต่อมธัยรอยด์จะโตทั่วๆ ไป แต่ต่อมาจะกลายเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ หรืออาจคลำได้เป็นก้อนเดี่ยวๆ ก็ได้) ก้อนเดี่ยวและก้อนตะปุ่มตะป่ำของต่อมธัยรอยด์ อาจเกิดจาก การขาดไอโอดีน, ถุงน้ำ, ต่อมธัยรอยด์อักเสบ, เนื้องอกธรรมดา หรือมะเร็ง ก็ได้

ภาวะพิษของต่อมธัยรอยด์ อาจเกิดจาก คอพอกเป็นพิษที่เรียกว่า Graves’ disease, เนื้องอกธรรมดาที่ทำงานมากเกิน (Toxic adenoma) หรือคอพอกตะปุ่มตะป่ำที่เป็นมานาน (Toxic multinodular goiter)

อาการและอาการแสดง

ไม่มีอาการอะไร นอกจากพบว่า มีต่อมธัยรอยด์โตขึ้น อาการที่เกี่ยวเนื่องกับต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ คือมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น กินจุแต่ผอมลง เหงื่อออกมาก ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจมีประจำเดือนลดลง ท้องเดิน และอาจพบการเปลี่ยนแปลงที่ตา เช่น ลูกตาโปน อาการเจ็บที่ก้อน มักพบในคอพอกที่เกิดจากการอักเสบของต่อมธัยรอยด์ หรือมีเลือดออกในก้อน อาการจากการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง พบในกรณีที่ก้อนโตมาก อาจมีอาการกลืนลำบาก (กดหลอดอาหาร), หายใจลำบาก (มีการกดเบียดของหลอดลม) อาการจากการลุกลามของก้อน อาจมีอาการเสียงแหบ จากการลุกลามไปที่เส้นประสาทเลี้ยงสาย เสียง, ถ้ามีอาการนี้ มักเป็นมะเร็ง อาการของการกระจายของมะเร็ง อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตขึ้น หรือมีอาการปวดกระดูก

ความสำคัญ

ต่อมธัยรอยด์โต เป็นภาวะที่พบบ่อย พบว่า ประมาณ 4-7% ของประชากร จะมีก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ (ประมาณ ครึ่งหนึ่ง จะคลำพบเป็นก้อนเดี่ยวๆ) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ก้อนเดี่ยวของต่อมธัยรอยด์ มีโอกาสเป็นมะเร็ง ประมาณ 5-10 % ส่วนภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า คือ ประมาณ 1 %

โดยมีโอกาสเป็นมะเร็งในกลุ่มที่

  • มีประวัติเคยได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอในวัยเด็ก (ถ้ามีก้อนจะพบมะเร็งประมาณ 30-40%)
  • มีประวัติมะเร็งต่อมธัยรอยด์ในครอบครัว
  • ก้อนของต่อมธัยรอยด์ในเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งบ่อยกว่าเพศหญิง (แต่พบก้อนของต่อมธัยรอยด์ในเพศหญิงได้บ่อยกว่า)
  • อายุ น้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 60 ปี
  • ก้อนโตเร็ว หรือมีอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนลำบาก
  • ก้อนแข็ง ติดกับอวัยวะข้างเคียง
  • มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง

การสืบค้นเพิ่มเติม

  1. การตรวจเลือดดูระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid function test) ช่วยบอกว่า มีภาวะพิษของต่อมธัยรอยด์หรือไม่
  2. การเจาะดูดด้วยเข็มเพื่อดูลักษณะเซลล์ FNA (Fine needle aspiration biopsy) มีความสำคัญที่สุด ในการวินิจฉัยแยกว่า ก้อนที่ต่อมธัยรอยด์นั้น เป็นมะเร็งหรือไม่
  3. การตรวจอุลตร้าซาวน์ (Ultrasound) ช่วยบอกขนาด และขอบเขตของก้อน, แยกถุงน้ำจากก้อนเนื้องอก โดยถ้าเป็นถุงน้ำ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า
  4. การตรวจธัยรอยด์สแกน (Radioisotope scan) ช่วยบอกว่า ก้อนของต่อมธัยรอยด์ ทำงานมากหรือน้อยกว่าปกติ (เรียกว่า hot nodule และ cold nodule ตามลำดับ) โดยที่มะเร็งส่วนใหญ่ จะทำงานน้อยกว่าปกติ
  5. การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ใช้ในกรณีที่ก้อนใหญ่ หรือมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง

เมื่อไปพบแพทย์แพทย์จะทำอะไรให้

  1. ประวัติ แพทย์จะสอบถาม อายุและเพศ, ระยะเวลาที่เริ่มเป็น, การเปลี่ยนแปลงของก้อน (โตเร็วหรือช้า), อาการเจ็บที่ก้อน, อาการเหนื่อยง่ายใจสั่น, ประวัติที่ชวนให้สงสัยมะเร็งดังกล่าวแล้ว (ประวัติครอบครัว, ประวัติการฉายแสง), อาการเสียงแหบ, หายใจลำบาก, กลืนลำบาก
  2. การตรวจร่างกาย นอกจากการตรวจร่างกายทั่วๆ ไปแล้ว แพทย์จะให้กลืนน้ำลาย แล้วดูลักษณะของก้อน (เนื่องจากต่อมธัยรอยด์จะเคลื่อนขึ้นลงตามการกลืน) แล้วคลำดูขนาด, ขอบเขตของก้อน, ความอ่อนแข็ง, การมีต่อมน้ำเหลืองโต, อาการและอาการแสดงทางตา ของธัยรอยด์เป็นพิษ
  3. การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกว่า มีอาการของธัยรอยด์เป็นพิษหรือไม่, เป็นมะเร็งหรือไม่ใช่มะเร็ง
  4. การรักษา เมื่อได้การวินิจฉัยแล้ว แพทย์ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุต่อไป

แนวทางในการรักษา

การรักษาก้อนเดี่ยวของต่อมธัยรอยด์

  1. การผ่าตัด
    - ตรวจพบว่า ก้อนนั้นเป็นมะเร็ง หรือสงสัยว่า จะเป็นมะเร็ง
    - ก้อนมีขนาดใหญ่ กดเบียดอวัยวะข้างเคียง, ยื่นลงไปในทรวงอก
    - เพื่อความสวยงาม
  2. การสังเกตอาการ
    - ในกรณี ที่ตรวจยืนยันว่า ไม่ใช่มะเร็ง ก็ไม่ต้องผ่าตัด สังเกตอาการต่อไปได้ หรืออาจให้ฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์กิน เป็นระยะเวลาหนึ่ง
    - กรณีที่ก้อนโตขึ้น อาจพิจารณาผ่าตัด

การรักษาต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

  1. การรักษาด้วยยา ใช้ยาต้านธัยรอยด์ เพื่อควบคุมอาการของการเป็นพิษ ระยะเวลาในการให้ยา ประมาณ 1-2 ปี หากไม่หายต้องพิจารณาการรักษาวิธีอื่นต่อไป
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด ใช้ในรายที่ก้อนโตมาก มีข้อห้ามต่อการให้สารรังสี
  3. การให้สารไอโอดีนรังสี สารรังสีจะไปทำลายต่อมธัยรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ทำให้หายจากภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
โดย นพ.นพวัชร์ สมานคติวัฒน์ ศัลยแพทย์
https://www.thaiclinic.com/Goiter.htm

การรักษาโรคทัยรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis)

มี 3 อย่างใหญ่ๆคือ
  1. ใช้ยา จะมียา 2 ประเภท คือ ยาต้านทัยรอยด์ (anti thyroid drug) ก็คือ PTU และ methimazole กับยารักษาอาการใจสั่น ก็คือ propanolol ครับ ปกติการกินยาอาการจะไม่หายทันที ต้องใช้เวลา 3-6 สัปดาห์กว่าจะดูปกติ
  2. การผ่าตัด จะใช้ในกรณีมีก้อนที่คอร่วมด้วย
  3. น้ำแร่กัมมันตรังสี ใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาไม่ได้ผลครับ ออกฤทธิ์ช้า แต่เดิมจะไม่ใช้ในคนอายุน้อยหรือยังไม่มีบุตร แต่ปัจจุบันมี low dose radioactive ซึ่งใช้ในคนอายุน้อยได้ แต่ก็ยังไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้รักษาเริ่มแรกครับ และหลังจากใช้กัมมันตรังสีมักจะลงท้ายด้วยฮอร์โมนต่ำเกิน ซึ่งต้องทานยาทดแทนฮอร์โมน(Eltroxin) ตลอดไปครับ

โดย นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์
https://www.thaiclinic.com/hyperthyroid.html

อัพเดทล่าสุด