สมุนไพรรักษาโรคคอพอก การรักษาโรคคอพอก อาหารที่ต้องงดของโรคคอพอกเป็นพิษ


5,581 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคคอพอก การรักษาโรคคอพอก อาหารที่ต้องงดของโรคคอพอกเป็นพิษ

สมุนไพรรักษาโรคคอพอก

สมุนไพรรักษาโรคคอพอก การรักษาโรคคอพอก อาหารที่ต้องงดของโรคคอพอกเป็นพิษ

กระชาย สมุนไพรไทย สรรพคุณ : สามารถ ช่วยให้ เส้นเอ็น ไต หูรูดกระเพาะปัสสาวะ ระบบกล้ามเนื้อหัวใจ แข็งแรง กระดูกไม่เปราะได้ง่าย อีกทังยังบำรุง ตับ หัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ให้ทำงานเป็นปกติ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต และตับอ่อน ทำให้ไม่เป็นโรคคอพอก ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย เพศหญิงช่วยในเรื่อง มะเร็งเต้าหมและมะเร็งปากมดลูด ส่วนเพศชายช่วยในเรื่อง ต่อมลูกหมากโต ได้ และ กระชาย ยังช่วยในเรื่องการบำรุงสมอง ปรับความดันโลหิต และช่วยให้เส้นผมไม่หงอกก่อนวัยอันควร รวมทั้งช่วยให้ เล็บมือ เล็บเท้า แข็งแรง สำหรับสตรีเพิ่งคลอดจะช่วยขับน้ำคาวปลาได้ดี

Link https://www.n3k.in.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อาหารที่ต้องงดของโรคคอพอกเป็นพิษ

โรคไทรอยด์

ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ส่งผลเสียอย่างร้ายกาจทีเดียวหากมันทำงานผิดปกติ ซึ่งต่อมไทรอยด์นี้มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้ทุกระบบปรวนแปร ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเฉพาะต่อประสาทการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้
ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดยาว 4 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก
ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ tetraiodothyronine (thyroxine หรือ T4) และ triiodothyronine (T3) โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยร่างกายจะเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างกายจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลด

สาเหตุโรคไทรอยด์

โรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน(หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรืออิมมูนซิสเต็ม) ซึ่งโรคนี้ผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน การรักษาจึงทำได้ในระดับที่ควบคุมให้ภาวะของโรคนั้นเบาลง หรือทำให้โรคสงบ และทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะให้กินยาต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่วงการแพทย์ยังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุต่อไป
สาเหตุที่มาจากพันธุกรรม และไวรัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ แต่สำหรับความเครียด และภูมิคุ้มกันนั้น เป็นเรื่องที่เราสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ โดยธรรมชาติ เวลาคนเราเครียด ร่างกายจะมีกลไกที่ทำให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้มีพละกำลัง มีความสามารถ หรือมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าภาวะปกติ มาขับดันตัวเราให้เอาชนะความกดดันนั้นไปได้ และผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในร่างกายนั้นมีมากมาย โดยเฉพาะในต่อมไร้ท่อ ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง รวมทั้งในระดับเซลล์ ระดับอวัยวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายตามมา ที่สำคัญคุณหมอยังเล่าให้ฟังถึงผลการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดมีส่วนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจจะไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมา

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มี 3 แบบ คือ
1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน
ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น (ไฮเปอร์ฯ) สำหรับโรคไทรอยด์ที่เกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์เกิน จะทำให้มีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักลด ที่สำคัญอารมณ์แปรปรวนบ่อย
Hyperthyroid คอพอกเป็นพิษ หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติเป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญมากเกินไป

สาเหตุฮอร์โมนไทรอยด์เกิน
- โรค Grave's disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม
- โรค Multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อน [nodule] ในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียว หรือหลายก้อน
- Thyroiditis ช่องแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ

อาการฮอร์โมนไทรอยด์เกิน
- อารมณ์แปรปรวน
- นอนไม่หลับ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ตาโปน
- มือสั่น
- ใจสั่น เหนื่อยง่าย
- คอพอก
- ประจำเดือนผิดปกติ
- ขี้ร้อน
- น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี

การวินิจฉัยฮอร์โมนไทรอยด์เกิน

- เจาะเลือดพบว่า ค่า T3หรือ T4 สูง และค่า TSH ต่ำ
- ทำไทรอยด์สแกน เพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือ มีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ

การรักษาฮอร์โมนไทรอยด์เกิน
การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษามีได้ 3 วิธี คือ
1. การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole
2. การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodineเมื่อผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับ iodine ที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยา thyroid hormone ไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง
3. การผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดมีความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม
4. ยาอื่น beta blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรค


2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด

ลักษณะฮอร์โมนไทรอยด์ขาด หรือ Hypothyroidism
ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย (ไฮโปฯ)
ส่วนคนที่ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ชีพจรจะเต้นช้า ขี้หนาว ความจำเสื่อม บวม ท้องผูก หากเป็นมากๆ และนานๆ จะทำให้สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเล็กแคระแกรน และเป็นโรคเอ๋อได้ สาเหตุของโรค

ลักษณะ
เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ทำให้ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) สร้างฮอร์โมน Thyroid stimulating hormone (TSH) ออกมามากเพื่อกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นที่เราเรียกว่าคอพอก Goiter

สาเหตุฮอร์โมนไทรอยด์ขาด
- เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ thyroiditis
- เกิดจาการตัดต่อมไทรอยด์มากเกินไป
- เกิดจากการได้น้ำแร่ที่ใช้รักษาคอพอกเป็นพิษ
อาการฮอร์ไทรอยด์ขาด

ผู้ป่วยที่เป็นไม่มากอาจจะไม่อาการอะไร หากไม่รักษาโรคจะเป็นมากขึ้นจนเกิดของอาการต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย คือ
- อ่อนเพลีย
- ผิวหยาบและแห้ง ผิวซีด และผมแห้ง
- อารมณ์ผันผวน
- เสียงแหบ
- ขี้ลืม
- น้ำหนักเพิ่ม
- กลืนลำบาก
- ขี้หนาว
- เบื่ออาหาร
การวินิจฉัยฮอร์โมนไทรอยด์ขาด
โดยการเจาะเลือดตรวจหา TSH T3 T4จะพบว่าค่า T4 ปกติหรือต่ำแต่ค่า TSH จะสูงเป็นการยืนยันการวินิจฉัย
การรักษาฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ทำได้ 2 วิธี
1. การรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน
- โดยการให้ thyroid hormone ไปตลอดชีวิตโดยจะต้องเริ่มให้ในขนาดน้อยแล้วค่อยปรับยาจนกระทั่งระดับ T4 และ TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ไม่ควรเปลี่ยนยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
- ควรตรวจหาระดับ TSH เป็นระยะเพื่อปรับยาไทรอยด์การเจาะเลือดปีละครั้ง
หากการวินิจฉัยไม่ผิดพลาดท่านจะต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต ไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าท่านจะป่วยจากโรคอื่น
2. ใช้[เห็ดหลินจือ][สกัดเข้มข้น] จากแหล่งผลิตที่[มีมาตรฐาน] มีเอกสาร[รับรองมาตรฐาน]และการรับประกันผู้บริโภค
เห็ดหลินจือนับเป็นอาหาชั้นเยี่ยมและมีสรรพคุณทางยาชั้นยอด
- มีสารออกฤทธิ์ที่สามารถปรับร่างกายให้เข้าสู่ภาวะสมดุล
- สามารถฟื้นฟู cell ให้กลับมาเป็นปกดิได้
- ไธรอยด์ที่เป็นโรคจึงสามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว


3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ

ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาตามปกติ แต่เกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ และอาจส่งผลกระทบต่อการหลั่งปริมาณฮอร์โมนได้บ้างเช่นกัน

การตรวจเลือดหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน
ต่อมใต้สมอง pituitary gland จะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Thyroid stimulating hormone TSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) and T4 (thyroxine) เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร
หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก Hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ
หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก Hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง


Thyroid scan

คือการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานเกลือ Iodine ที่อาบสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ Thyroid scan คือ
- บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ Thyroiditis
- บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ hyperthyroid
- แยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็น Hot หรือ Cold nodule
- Hot nodule หมายถึงก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนสูงมักจะไม่เป็นมะเร็ง ส่วน cold nodule มีโอกาสเป็นมะเร็ง 5 % มะเร็งไทรอยด์ส่วนใหญ่เป็น cold nodule

Needle aspirate

- การใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็น cyst
- การตรวจ ultrasound เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น cyst


การดูแลตัวเอง
นั่งสมาธิ

ขณะนั่งสมาธิ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะทำงานช้าลง เช่น ชีพจร การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทำให้ปริมาณการใช้ออกซิเจน ตลอดจนการเผาผลาญในร่างกายลดลงด้วย เราจึงรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อวัดระดับกรดแล็คติค (Lactic Acid) ในเลือดก็มีค่าลดลงเช่นกัน โดยคนที่มีระดับกรดแล็คติคมากเกินไป จะส่งผลให้มีอาการเครียด วิตกกังวล จนถึงขึ้นตื่นตระหนกทีเดียว และเมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมองก็จะพบว่ามีคลื่นอัลฟ่า (Alfa Wave) ในสมองเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นคลื่นที่ส่งผลทำให้จิตใจสงบ เพราะในสมองของคนเรามีสารสื่อประสาทหรือสารเคมีอยู่มากมาย หากสารบางอย่างลดน้อยหรือเพิ่มมากเกินไป ย่อมทำให้ระบบเสียสมดุล จนแสดงออกมาเป็นความผิดปกติต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ถ้า"ซีโรโตนิน" ลดน้อยลง คนนั้นจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ หรือถ้ามี "เอ็ปเป็บนิซิน" หรือ "นอร์เป็บนิซิน" มากเกินไป ก็จะมีอาการเครียด วิตกกังวล
การนั่งสมาธิจึงมีบทบาทอย่างหนึ่งในการช่วยปรับให้สารสื่อประสาทเหล่านั้นกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล และทำงานเป็นระบบ นอกจากนี้ สารเอ็นโดรฟินซึ่งเปรียบได้กับฝิ่นที่มีอยู่ในคนเรานั้นเอง ที่จะหลั่งออกมาเมื่อนั่งสมาธิได้ถึงระดับหนึ่ง ก็ยิ่งทำให้จิตใจเราเป็นสุข รู้สึกปีติ อิ่มเอิบ จึงคลายเครียดได้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายยืดเส้นยืดสาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของอิมมูนซิสเต็มได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวที่มีคุณภาพ

อาหารสุขภาพ
ควรทานอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว พืชผักผลไม้ในท้องถิ่นตามฤดูกาล (รสไม่หวาน) โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติค เอเบค ( Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืชนานาชนิด ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถ "ใช้อาหารเป็นยา และใช้ยาเป็นอาหาร" อาหารที่มีโปรตีนสูง (โดยเฉพาะจากธัญพืช) วิตามินและเกลือแร่จากธรรมชาติเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
สำหรับคนที่ดื่มชากาแฟ ให้ลองเปลี่ยนมาดื่มน้ำชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย ก็จะช่วยเป็นทั้งยาและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่นได้เป็นอย่างดี
มองโลกในแง่ดี

การมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ จะช่วยรักษาสมดุลจิตใจของคนที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์ได้ดี วิธีนี้ช่วยลดความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่านได้ โดยเริ่มจากการรู้จักชื่นชมตัวเองและชื่นชมคนรอบข้าง ลองนึกถึงสิ่งดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตและรู้จักขอบคุณธรรมชาติ
มีเพื่อนไว้พูดคุยคลายทุกข์

ควรพูดคุยระบายออกมากับครอบครัว หรือเพื่อนที่รู้ใจ โดยเฉพาะเพื่อนที่มีปัญหาเดียวกัน ซึ่งจะคอยรับฟังและดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี
หากิจกรรมทำเพื่อความเพลิดเพลิน
ไม่ว่าการวิธีเขียนไดอารี่ วาดภาพ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นกว่าการนั่งจมจ่อมอยู่กับปัญหา

การรับประทานน้ำแร่

เนื่องจากว่าสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ การให้สารไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสี (Radioactive iodine) จะทำให้รังสีทำลายเนื้อมะเร็ง การรักษาโดยวิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานสารไอโอดีนรังสี ซึ่งอาจจะทำเป็นรูปสารละลาย หรือแคปซูล I-131 นี้จะไปจับกับเนื้อไทรอยด์อย่างรวดเร็ว และเริ่มทำลายเนื้อไทรอยด์ โดยจะเห็นผลใน 6-18 สัปดาห์ ก่อนได้รับสารนี้ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้ง
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ Radioactive iodine ในคนท้อง หญิงให้นมบุตร ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนให้สารนี้และควรจะคุมกำเนิดหลังจากได้ยานี้อีก 6 เดือน
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับน้ำแร่

หลักการรักษาผู้ป่วยด้วยน้ำแร่ไอโอดีนรังสี คือการให้ผู้ป่วยรับประทานสารไอโอดีนรังสี เพื่อรักษาโรค เมื่อท่านกินน้ำแร่ไอโอดีนรังสี ต่อมไทรอยด์จะจับสารไอโอดีนรังสีดังกล่าวไว้ ซึ่งจะให้รังสีทำลายต่อมไทรอยด์ แม้ว่ารังสีที่ได้รับจะมีปริมาณไม่มากแต่ท่านควรป้องกันคนใกล้ชิดของท่านมิให้ได้รับรังสีนั้นโดยวิธีการดังนี้
1. ให้อยู่ไกลผู้อื่น ช่วง 2-3 วันแรกให้แยกตัวจากผู้อื่น โดยการแยกห้องนอน งดการกอด หรือมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงคนท้อง และเด็ก
2. ลดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับผู้อื่น เนื่องจากการปริมาณรังสีที่ได้รับขึ้นกับระยะเวลาที่สัมผัสดังนั้นควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นให้น้อยที่สุด
3. รักษาสุขลักษณะให้ดีที่สุด ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ให้ชักโครก 3-4 ครั้ง แยกถ้วยชามอาหารในระยะแรก ล้างห้องน้ำหรืออ่างล้างหน้าทุกครั้งที่เปื้อนน้ำลายหรือเหงื่อของผู้ป่วย

ข้อควรระวัง
ถ้าหากท่านตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ก่อนได้รับน้ำแร่
ถ้าท่านเลี้ยงบุตรด้วยนมตัวเองให้งดให้นมบุตรเนื่องจากน้ำแร่สามารถผ่านทางน้ำนมได้

Link https://wellnesscenter.igetweb.com

อัพเดทล่าสุด