รักษาคออักเสบ โรคคออักเสบ โรคคออักเสบในเด็ก
รักษาคออักเสบกรดไหลย้อน หรือ คออักเสบ
27 พฤศจิกายน, 2007 - 11:45 — หมอมา
ยังจำได้ว่า เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ยังไม่ค่อยพบโรคที่เรียกว่า “กรดไหลย้อน” แต่ในช่วงหลังนี้เราจะได้ยินบ่อยขึ้น คุณหมอบางท่านพอตรวจวินิจฉัยคนไข้ที่มาด้วยอาการคอร้อน เจ็บคอ ก็สรุปทันทีว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน แล้วจึงจ่ายยาลดกรดในกระเพาะอาหารราคาแพง นักศึกษาคนหนึ่งได้โทรศัพท์มาปรึกษา เธอมีปัญหาเกี่ยวกับคอร้อน แดง อักเสบ บ่อย เคยไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์บอกว่า เป็นโรคที่เรียกว่า กรดไหลย้อน จึงให้ยาลดกรดมารับประทาน เธอทานไปครั้งเดียว ก็เลิกทานต่อ (เธอบอกว่าไม่อยากทาน) อาการเจ็บคอทุเลาลง
หมอถามเธอว่า ก่อนจะเจ็บคอ มีอาการท้องผูกใช่ไหม เธอจึงนึกได้ว่า ช่วงเวลานั้น เธอเปลี่ยนที่อยู่ ทำให้ถ่ายไม่ได้ หลังจากนั้นคอเริ่มเจ็บ อาการคอเจ็บนี้เป็นบ่อย หมอถามเธอว่า มีอาการร้อนบริเวณหน้าอก แถวลิ้นปี่หรือไม่ มีความรู้สึกแน่นบริเวณหน้าอกไหม เธอบอกว่าไม่เคยมีอาการดังว่า มีแต่เจ็บคอ
หมอบอกว่า ถ้าเช่นนั้น อาการที่เธอเป็นไม่ใช่ กรดไหลย้อน แต่เป็นอาการคออักเสบ การรักษาสองกรณีนี้แตกต่างกัน
กรดไหลย้อน จะเกิดกับผู้ที่มีอาการร้อนใน กระเพาะร้อนเป็นเนืองนิจ จนทำให้วงแหวนที่อยู่ระหว่างหลอดคอและกระเพาะอาหารตอนต้น ซึ่งเป็นเสมหะหล่อเลี้ยงอยู่ มีลักษณะแห้งลง (ว่าตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย) ไอกรดในกระเพาะอาหารซึ่งมีความร้อนสูง จึงระเหยผ่านวงแหวนเสมหะนั้นขึ้นมา ทำให้เกิดอาการร้อนบริเวณลิ้นปี่ สร้างความรู้สึกไม่ค่อยสบาย แต่ถ้าไปตรวจ ก็จะไม่พบสิ่งผิดปกติ ผู้ที่ชอบทานอาหารรสจัด อาหารย่อยยากเป็นประจำ มีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก โดยเฉพาะเมื่อผ่านพ้นอายุ 32 ปีไปแล้ว
ส่วนคออักเสบ มักเกิดกับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ลำไส้ใหญ่ร้อน เหงือกบวม ร้อน รับประทานอาหารไขมันสูง อาหารทอด และรสจัด บางครั้งจะมีกลิ่นปาก ทั้งๆที่รักษาอนามัยในช่องปากเป็นอย่างดี ถ้าปล่อยให้อาการเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อย มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนในภายหลังได้
วิธีป้องกัน หมั่นทานผลไม้รสเปรี้ยวที่ไม่ทำลายเมือกในลำคอ เช่น มะขาม มะขามป้อม หรือทานผักรสขม เช่น ลูกมะแว้ง มะระจีน มะระขี้นก เป็นครั้งคราว อย่าปล่อยให้ท้องผูกนาน หรือท้องผูกเป็นประจำ
เรื่องของกระเพาะร้อน มีตัวอย่างเกิดกับคนใกล้ตัว คือลูกชายหมอเอง ไปดื่มเบียร์ต่างประเทศชนิดหนึ่ง หลังดื่มเขาให้บีบน้ำเลมอน (มะนาวเหลือง) ใส่ปากตามไปด้วย แต่เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กลับบีบเลมอนผสมในเบียร์ คืนวันนั้นมีอาการลมแน่นเต็มท้อง วันรุ่งขึ้น หิว แต่ทานไม่ลง อาหารไม่ย่อย ท้องอืดร้อน บริเวณกระเพาะอาหารและทรวงอกร้อนผ่าวจนรู้สึกได้ มีอาการเช่นนี้ 2 วัน จึงมาบอก หมอรีบให้ยาธาตุบรรจบ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร ดื่มน้ำขมิ้นชันหลังอาหาร พร้อมให้ทานยาถ่ายก่อนนอน ตกบ่ายรุ่งขึ้น ถ่ายออกมาเป็นไขมัน โชคดีที่รักษาทัน มิฉะนั้น คงได้พบอาการกรดไหลย้อนเป็นแน่
Link https://thaiherbclinic.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคคออักเสบ
|
|
Link https://info.pattaya.go.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคคออักเสบในเด็กคออักเสบ และต่อมทอนซิลอักเสบ ปัญหาของหนูน้อย
ศ.พญ.นวลอนงค์ วิศิษฏสุนทร
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ต่อม ทอนซิล เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในลำคอ เป็นต่อมน้ำเหลืองที่ทำหน้าที่จับสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายคล้ายกองทหารด่านหน้า แต่บ่อยครั้งที่เราจะสังเกตว่าสมาชิกตัวน้อยในบ้านบ่นเจ็บคอ สาเหตุเพราะการอักเสบภายในลำคอ และต่อมทอนซิลอักเสบซึ่งพบบ่อยในเด็กวัยเรียน หลายท่านคงสงสัยว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ พบคำตอบกันเลยค่ะ
สาเหตุเกิดจากอะไร
1. เชื้อ ไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่การรักษาทำได้ไม่ยาก เพียงรับประทานยา รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ เจ้าหนูน้อยก็จะฟื้นตัวหายดีภายในระยะเวลาอันสั้น
2. เชื้อ แบคทีเรียโดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อเบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ผู้ป่วยจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากได้รับการรักษาไม่ถูกวิธี รับประทานยาไม่ครบขนาด หรือใช้ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะกำจัดเชื้อชนิดนี้ได้แม้ อาการจะทุเลาลงแต่ก็มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงได้
อาการลูกน้อยถ้าทอนซิลอักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
1. ไข้สูง ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ บางรายอาจมีไข้สูงจนชักได้
2. อ่อนเพลีย หรืออาจโยเย ร้องกวนไม่ยอมนอน
3. เบื่ออาหาร
4. คอหรือต่อมทอลซิลแดง บางรายอาจมีหนองร่วมด้วย
5. อาจกลืนอาหารและน้ำลำบาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
6. อาจอาเจียน ปวดท้อง หรือมีอาการท้องเดินร่วมด้วย
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
เชื้อ เบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อหัวใจของเด็ก โดยที่เชื้อนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่าง ๆ และมักมีอาการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย เราเรียกว่า "ไข้รูมาติก" โดยทั่วไปจะพบภายหลังคออักเสบหรือต่อมทอนซิลอักเสบแล้วไม่ได้รับการรักษาภาย ใน 1 - 4 สัปดาห์ ทั้งนี้เนื่องจาก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือปล่อยให้อาการกำเริบซ้ำ ๆ จะทำให้หัวใจอักเสบเรื้อรัง และในที่สุดหัวใจก็จะตีบและรั่ว หรือที่เรียกว่า "โรคหัวใจรูมาติก" บางรายอาจต้องได้รับการการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและเวลาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เชื้อกลุ่มนี้ยังทำให้เกิดอาการไตอักเสบได้หากไม่ได้รับการรักษา ที่ถูกต้อง
ข้อแนะนำในการรักษา (คออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย)
1. หลัง จากแพทย์วินิจฉัยอาการ และสั่งยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อเบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ เช่น เพนิซิลิน อีริโทรมัยซิน คลาริโทรไมซิน ให้แล้ว ข้อสำคัญ คือ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง 7 - 10 วันจนครบ แม้อาการจะทุเลาแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไข้รูมาติก หรือไตอักเสบแทรกซ้อน
2. เช็ดตัว ร่วมกับการให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้สูง
3. พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ
4. รับประทานอาหารรสอ่อน ๆ และดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ เนื่องจากเด็กจะเจ็บคอมากทำให้รับประทานได้น้อย
5. กลั้วคอทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ วันละ 2 - 3 ครั้ง
ข้อระวัง !
หาก ท่านหรือบุตรหลานมีไข้ เจ็บคอมาก ควรนึกถึงโรคคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบไว้ด้วยเสมอ และควรรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมทั้งควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำในการใช้ยาอย่างเคร่งครัดนะคะ
แม้ ว่าอาการคออักเสบ และต่อมทอนซิลอักเสบ จะเป็นความผิดปรกติที่ไม่รุนแรงต่อสุขภาพมากนัก แต่หากทิ้งไว้ก็อาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นของ "ไข้รูมาติก" และ "โรคหัวใจรูมาติก" ดังนั้น หากบุตรหลานท่านได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โอกาสที่จะเกิดความผิดปรกติทั้งสองอาการที่กล่าวมาก็จะเป็นไปได้ยาก ที่สำคัญต้องฝากถึงคุณพ่อ คุณแม่และผู้ปกครองของคุณหนู ๆ หากบุตรหลานท่านมีอาการคออักเสบ หรือทอนซิลอักเสบ ควรรีบนำมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย อย่าซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะอันตรายที่ท่านคาดไม่ถึงอาจมาเยือนคนที่ท่านรักได้ค่ะ"