การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอล


1,008 ผู้ชม


การควบคุมคอเลสเตอรอล, โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร, โรคคอเลสเตอรอล

 การควบคุมคอเลสเตอรอล
บทบาทของอาหารต่อการควบคุมไขมันในเลือด
การมีระดับไขมันในเลือดสูง นับว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในปัจจุบัน เพราะจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญยิ่ง ทำให้เส้นเลือดตีบแคบลง มีผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ ปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานที่มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากภาวะตึงเครียดในการทำงาน ขาดการออกกำลังกายหรือการรับประทานสัดส่วนอาหารไม่เหมาะสม ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงมีมากยิ่งขึ้น

ไขมันในเลือดสูงเกินปกติ

ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า ไขมันในเลือดสูงเกินปกติหรือไม่ แพทย์จะสามารถบอกได้โดยการตรวจวัดปริมาณไขมันในเลือด การปฏิบัติตัวเมื่อจะทำการตรวจวัดขั้นตอนคือ งดอาหารไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง โดยทั่วไปเมื่อเจาะเลือดแล้วจะมีการตรวจสารชนิดต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับไขมันในเลือด ได้แก่
1. คอเลสเตอรอล (cholesterol) เป็นสารประเภทไขมันที่มีสูตรโครงสร้างหลักเป็นวงแหวนไซโคลเพนทาโนฟีแนนทรีน (cyclopentanophenantrene ring) เช่นเดียวกับพวกเกลือในน้ำดี (bile salts) เฉพาะในสัตว์ เช่น สมอง ตับ ไต ไข่แดง ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง การสังเคราะห์เกิดที่ตับ 10 เปอร์เซ็นต์ และลำไส้อีก 15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะสังเคราะห์ที่ผิวหนัง มักพบร่วมกับกรดไขมันอิ่มตัวไหลเวียนอยู่ในร่างกายของคนกับการ ปนไปในกระแสเลือดโดยโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่าไลโปโปรตีน (lipoprotein) ปริมาณคอเลส เตอรอลอีกส่วนหนึ่งได้มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป คอเลสเตอรอลในร่างกายมีความสำคัญ คือ เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมน น้ำดี (มีความจำเป็นต่อการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน) วิตามินดี นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบของไลโปโปรตีนและองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์อีกด้วย ปกติค่าคอเลสเตอรอลในเลือด ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 1 เดซิลิตร ถ้ามีมากเกินจะก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตัวและตีบตัน
2. ไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) เป็นไขมันที่ได้จากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นโดยตับ และถูกสร้างขึ้นโดยลำไส้เล็ก อีกส่วนหนึ่งก็ได้มาจากอาหารเช่นกัน สาเหตุของการเกิด ไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดจากการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนโดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือขนมหวานในปริมาณมาก เกิดจากโรคภัยต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น หรือเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น ร่างกายขาดเอ็นไซม์ที่จะย่อยไตรกลี เซอไรด์ นอกจากนี้การดื่มสุราเป็นประจำ การขาดการออกกำลังกาย ก็เป็นสาเหตุที่สำคัญได้เช่นกัน
3. เอชดีแอล (high density lipoprotein, HDL) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสร้างขึ้นได้เองที่ตับและลำไส้เล็กมีหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดออกไปทำลายที่ตับ การออกกำลังกายสามารถช่วยเพิ่มปริมาณ HDL ได้ ในขณะที่โรคบางชนิด เช่น เบาหวาน มีผลทำให้ HDL ต่ำลงได้
4.แอลดีแอล (low density lipoprotein, LDL) มีหน้าที่นำคอเลสเตอรอลที่ออกมาจากตับไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยปกติจะมีปริมาณน้อยกว่า HDL ถ้าร่างกายมี LDL มากเกินไป จะทำให้ LDL ไปเกาะอยู่ตามผนังเส้นเลือด และพอกพูนจนโพรงเส้นเลือดแคบลงได้

บทบาทของอาหารที่มีต่อระดับไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดที่จะกล่าวถึงก็คือ คอเลสเตอรอล ซึ่งทราบกันแล้วว่ามีทั้งชนิดที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษแก่ร่างกาย ถ้าหากปริมาณคอเลสเตอรอลมีอยู่มากเกินไปและสะสมอยู่เป็นเวลานานร่างกายจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในทางตรงกันข้าม หากปริมาณคอเลสเตอรอลมีอยู่ในระดับที่เหมาะสม คือ ไม่สูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 1 เดซิลิตร ก็จะช่วยในการทำงานของน้ำดีเป็นได้ด้วยดี ซึ่งหมายรวมถึงการย่อยและการละลายไขมันด้วย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยปกป้องระบบประสาท รวมทั้งช่วยให้ร่างกาย ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นตามที่ร่างกายต้องการได้
ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ก็มีบทบาทในการกำหนด
ปริมาณคอเลสเตอรอลได้ แต่ปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คืออาหาร ซึ่งมีบทบาททำให้ปริมาณคอเลสเตอรอล อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือสูงเกินปกติได้ การหลีกเลี่ยงอาหารที่มี คอเลสเตอรอลสูง ดังแสดงในตารางที่ 1 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลดปริมาณโคเลสเตอรอล ในเลือดได้
ชนิดของอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมี 2 ชนิด คือ ไขมันแข็ง หรือไขมันอิ่มตัว ซึ่งมักได้จากสัตว์ และอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก ๆ ควรบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพบในน้ำมันที่พบในธรรมชาติ เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น มีสมมุติฐานเกี่ยวกับการที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวสามารถลดปริมาณ คอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากไปกระตุ้นให้มีการกำจัดคอเลสเตอรอลในลำไส้โดยทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) เปลี่ยนไปเป็นเกลือในน้ำดี นอกจากนั้นยังมีผลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการกระจายตัวของคอเลสเตอรอลจากพลาสมาเข้าไปในเนื้อเยื่อ เพราะกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีผลต่อการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์จึงทำให้มีการสลายตัวของ LDL เพิ่มขึ้น ส่วนกรดไขมันอิ่มตัวจะไปลดการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ ดังนั้นกรดไขมันอิ่มตัวจึงถูกพิจารณาว่ามีแนวโน้มทำให้เกิดโรคหัวใจ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ดังนั้นจึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะควรทราบปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารเพื่อที่จะได้เลือกบริโภคซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การเลือกอาหารจานใหม่เพื่อป้องกันและควบคุมไขมันในเลือดคงไม่ใช่เรื่องยาก เกินไป ขอเพียงมีความเข้าใจเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลให้ดีพอ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เปลี่ยนแปลงวิธีการปรุงอาหารเป็นการนึ่งแทนการทอดด้วน้ำมันซ้ำ ๆ รับประทานอาหารพวกผักและผลไม้ที่มีกากใย เพื่อลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย ดื่มนมพร่องมันเนย งดเครื่องดื่มจำพวกเบียร์และสุรา เพราะจะไปกระตุ้นให้มีไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการทำจิตใจให้สบายไม่เคร่งเครียด ก็เป็นการรักษาระดับไขมันในเส้นเลือดได้เช่นเดียวกัน
Link https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/feb18/choles1.htm

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 โรคคอเลสเตอรอลสูง

โรคไขมันในเลือด

ไขมันในเลือด

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอล

เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาเมื่อท่านไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพและพบว่าไขมันในเลือดสูง แพทย์มักจะแนะนำว่า ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ แต่ปัจจุบันต้องเน้นถึงชนิดของไขมันในอาหาร หากมีไขมันที่ไม่ดีมากก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ง่ายขึ้น หากมีไขมันดีมากจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ

ไขมัน Cholesterol คืออะไร

Cholesterol จะพบว่าเป็นส่วนประกอบของเซลล์ผิว ฮอร์โมนและอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายของคนเราได้ cholesterol จากสองแหล่งคือ

  • จากอาหารที่เรารับประทาน เช่นเครื่องใน เนื้อ นม ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปจะไปสะสมในตับ
  • จากการสร้างของตับ

เป็นผลรวมของไขมันทุกชนิดของร่างกาย หากมีค่าสูงก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

ระดับTotal Cholesterol
น้อยกว่า 200 mg/dL "ระดับไขมันที่ต้องการ" ไขมันระดับนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจต่ำ ค่าที่มากกว่า 200 มก.%จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
200 - 239 mg/dL "ความเสี่ยงปานกลาง."
240 mg/dL and above "ความเสี่ยงสูง" ผู้ที่มีไขมันระดับนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีไขมันต่ำกว่า 200มก.%L.

วิธีการลด Total Cholesterol

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจมี 5 ข้อ
  • อายุ :ชายมากกว่า 45,หญิงอายุมากกว่า 55 ปี
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมาก่อน (ชายก่อนอายุ 55 หญิงก่อนอายุ 65 ปี)
  • เป็นความดันโลหิตสูง
  • สูบบุหรี่
  • ค่า HDL<40 มก./ดล
  • ลดอาหารไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10%ของปริมานไขมันทั้งหมด
  • ลดอาหารที่มีไขมันให้น้อยกว่า30%ของพลังทั้งหมดที่ได้ในแต่ละวัน
  • ทานอาหารที่มีกาก
  • คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เป็นไขมันที่ประด้วยกรดไขมัน 3 ชนิดรวมกัน Triglyceride มาจาก

  • จากอาหารที่เรารับประทาน
  • จากการสร้างในตับ

เมื่อเรารับประทานอาหารไขมัน triglyceride และ cholesterol จะถูกดูดซึมในรูปแบบที่เรียกว่า chylomicron

เป็นไขมันอีกชนิดที่พบในกระแสเลือดและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ปัจจัยที่ทำให้ระดับ triglycerideมีค่าสูงได้แก่

  • อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรามาก
  • รับประทานอาหารพวกแป้งมากเกินไป
  • โรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคไตรั่ว โรคไตวาย
  • การใช้ยาบางชนิดเช่น ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมน ยาsteroid
  • โรคทางพันธุกรรม

ระดับปกติ

น้อยกว่า 150 มก.%
ระดับปานกลาง อยู่ระหว่าง150-199 มก.%

ระดับสูง

อยู่ระหว่าง 200-499 มก.%

ระดับสูงมาก

มากกว่า 500 มก.%

วิธีการลดระดับtriglyceride

  • ลดอาหารไขมัน
  • ลดอาหารพวกแป้ง
  • ลดแอลกอฮอร์
  • ลดน้ำหนัก
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รักษาเบาหวาน

High Density Lipoprotein [HDL] cholesterol

เป็นไขมันที่ดี หน้าที่ของไขมันนี้จะนำเอาไขมันที่ไม่ดีออกจากผนังหลอดเลือดและนำไขมันไม่ดีไปสู่ตับ ดังนั้น HDL จึงทำหน้าที่ป้องกันหลอดเลือดแข็ง นอกจากนั้นยังเชื่อว่า HDL

  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกัน LDL ทำปฏิกิริยากับ oxygen ซึ่งจะนำไปสู่การแข็งตัวของหลอดเลือด
  • มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของผนังหลอดเลือด
  • ป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัว Antithrombotic
HDL-Cholesterol Levels

น้อยกว่า 40 mg/dL

เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด

อยู่ระหว่าง 40 to 59 mg/dL

HDL, ยิ่งสูงยิ่งดี

มากกว่า 60 mg/dL

HDL มากกว่า 60 mg/dL จะป้องกันโรคหัวใจ

สาเหตุที่ทำให้ระดับ HDL มีค่าต่ำได้แก่

การดูแลผู้ป่วยที่มี HDL ต่ำ

  • พบว่าการเพิ่มขึ้นของ HDL เพียงเล็กน้อยก็สามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ พบว่าการเพิ่มขึ้นของ HDL 1 mg%จะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจได้ 2-4 %

Low Density Lipoprotein[LDL] Cholesterol

Cholesterol ในเลือดส่วนใหญ่อยู่ในรูป LDL ซึ่งดป็นไขมันที่ไม่ดี และหากมีมากมันจะเกาะตามผนังหลอดเลือดและทำลายผนังหลอดเลือดดังนั้นหากมีไขมันชนิดนี้สูงจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ LDL Lipoproteine จะไปจับกับผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบ

LDL-Cholesterol Levels

น้อยกว่า 100 mg/dL

ค่าที่ต้องการ

100 - 129 mg/dL

ใกล้ค่ามาตรฐาน

130 - 159 mg/dL

สูงปานกลาง

160 - 189 mg/dL

สูง

มากกว่า 190 mg/dL

สูงมากๆ

วิธีการลด LDL

ประโยชน์ของการลด LDL Cholesterol

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการลด LDL จะมีผลดีต่อสุขภาพดังนี้

ไขมันที่ดีได้แก่ HDL Cholesterol

ไขมันนี้จะเป็นไขมันที่ดีโดยจะพาเอา CHOLESTEROL ที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดออกมาเก็บไว้ที่ตับ ผู้ที่มีไขมัน LDL สูงและ ไขมันHDL ต่ำจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูงมาก

ไขมันสูงกับภาวะสุขภาพ

โรคหัวใจ

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบเป็นสาเหตุการตายอันดับ ต้นๆของประเทศ ไขมันในโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การเปลี่ยนแปลงอาหาร และการออกกำลังกายสามารถระดับไขมันในเลือดได้ และลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าหากcholesterol ในเลือดสูงไขมันจะเกาะติดผนังหลอดเลือดแดงที่เรียกว่า plaque ขบวนการที่ทำให้หลอดเลือดตีบเรียก Atherosclerosis การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลซึ่ง หากเป็นมากทำให้หลอดเลือดแดงตีบ เลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงเกิดอาการ เช่นเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรืออัมพฤกษ์ นอกจากนั้นคราบไขมันอาจจะหลุดจากผนังหลอดเลือดทำให้เกิด อาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

นอกจากระดับ cholesterol แล้วปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหลอดเลือดแข็งคือ ตัวที่จะพาไขมันไปตามเส้นเลือดซึ่งเรียกว่า lipoprotein ที่สำคัญมีสองชนิดคือ

  • Low-density lipoproteins (LDL) ซึ่งจะพา cholesterol จากตับไปสู่ร่างกาย LDL เป็นไขมันที่ไม่ดีหากมีมากจะทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบได้ง่าย
  • High-density lipoproteins (HDL) เป็นตัวที่พา cholesterol จากร่างกายเข้าสู่ตับ หากมีHDL สูงการเกิดโรคหลอดเลือดจะน้อยลง

มะเร็งเต้านม

พบว่าประเทศที่รับประทานอาหารมันจะมีอุบัติการณ์ของโรค มะเร็งเต้านมสูง แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ประเทศทางยุโรปได้พบว่าหากรับประทานอาหารที่มีไขมัน monounsaturated fats (พบมากในน้ำมัน olive oil). จะเกิดโรคมะเร็งเต้านมต่ำ อ่านที่นี่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่ารับประทานไขมันมากจะเกดโรค มะเร็งลำไส้ได้มาก แต่ปัจจุบันพบว่าการรับประทานเนื้อแดงจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำ ไส้ใหญ่ อ่านที่นี่

มะเร็งต่อมลูกหมาก

จากข้อมูลที่ได้ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน แต่มีความเชื่อว่าการรับประทานอาหารไขมันอิ่มตัว มากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อ่านที่นี่

โรคอ้วน

ก่อนหน้านี้แพทย์จะแนะนำเรื่องลดน้ำหนักโดยการลดอาหาร มันซึ่งไม่ถูกต้องทั้งหมด ปัจจุบันแนะนำให้รับประทานปริมาณไขมันไม่เกิน 30 %ของปริมาณผลังงานทั้งหมดและ ให้ลดปริมาณพลังงานที่รับประทานในแต่ละวัน อ่านที่นี่

ระดับไขมันแค่ไหนถึงจะดี

ประเทศอเมริกาได้กำหนดระดับไขมันที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 20 ปีไว้ดังนี้

  • Total cholesterolน้อยกว่า 200 (mg/dl)
  • HDL cholesterol มากกว่า 40 mg/dl
  • LDL cholesterol น้อยกว่า 100 mg/dl

ปริมาณไขมันที่ต้องการในแต่ละวัน

สมาคมโรคหัวเบาหวาน สมาคมโรคหัวใจและสมาคมโภชนาของประเทศอเมริกาได้แนะนำให้รับประทานอาหารที่ เป็นไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของปริมาณพลังงานทั้งหมด แต่จากการศึกษาพบว่าชนิดของไขมันที่รับประทานจะมีผลต่อสุขภาพมากกว่าปริมาณ โดยพบว่าหากรับประทานอาหารไขมันชนิดไขมันอิ่มตัวและ tran-fatty acid จะทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากให้รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว (monounsaturated or polyunsaturated fat ) จะทำให้การเกิดโรคหัวใจลดลง

นอกจากนั้นควรจะรับประทานไขมันที่ได้จากปลา omega-3 ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ สมาคมโรคหัวใจแนะนำให้รับประทานปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ไขมันกับไข่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลเป็น ที่ทราบกันดีว่าไขมันสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และปริมาณไขมันในไข่ก็มีปริมาณค่อนข้างสูง ทำให้แพทย์มักจะแนะนำให้ลดการรับประทานไข่ แต่จากการศึกษาพบว่าการรับประทานไข่วันละฟองไม่เพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรค หัวใจ และมีผลต่อระดับไขมันน้อยมาก นอกจากนั้นในไข่แดงยังมี protein, vitamins B12 and D, riboflavin, and folate ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นจึงแนะนำว่าคนปกติสามารถรับประทานได้ทุกวัน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานให้รับประทานสัปดาห์ละ 2-3ฟอง

ผลของไขมันในเลือดสูงกับเด็ก

สมัยก่อนเชื่อว่าโรคหลอดเลือดแข็งเริ่มต้นตั้งแต่วัย กลางคน แต่ปัจจุบันเชื่อว่าโรคหลอดเลือดแข็งเริ่มตั้งแต่เด็ก และเป็นมากขึ้นอย่างอย่างช้าๆจนเกิดอาการในผู้ใหญ่ นอกจากนั้นยังพบอีกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบพบในคนอายุยุน้อยลง จึงพอสรุปได้ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดแข็งเริ่มเกิดตั้งแต่เด็ก
  • ระดับ cholesterol ที่สูงตั้งแต่เด็กจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งในผู้ใหญ่
  • พฤติกรรมในการรับประทานอาหารและกรรมพันธุ์จะมีผลต่อระดับไขมันและการเกิดโรคหัวใจ
  • การลดไขมันตั้งแต่เด็กจะมีประโยชน์ในการป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • งดบุหรี่
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจวัดความดันโลหิต หากสูงต้องรักษา
  • ให้ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  • หากมีโรคเบาหวานต้องรักษา

ระดับไขมันแค่ไหนถึงเหมาะสม

ระดับไขมันของเด็กอายุ 2-19 ปี

ตารางแสดงระดับไขมันที่ยอมรับได้
 ยอมรับได้ปานกลางสูง
Total Cholesterol <170 171-199 >200
LDL <110 111-129 >130

สาเหตุของไขมันในเลือดสูง

ก่อนการรักษาไขมันสูงต้องพยายามหาสาเหตุเพราะหากแก้ที่ต้นเหตุสำเร็จก็อาจจะไม่ต้องรับประทานยาลดไขมัน

โคเลสเตอรอลของคุณสูงหรือเปล่า
ค่า LDL
  • เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคเบาหวาน ควรน้อยกว่า 100 มก./ดล
  • ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวานแต่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 2 ข้อ ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล
  • ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวานแต่มีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ ควรน้อยกว่า 160 มก./ดล
ค่า Triglyceride ควรน้อยกว่า 150 มก./ดล
ค่า HDL ควรมากกว่า 40 มก./ดล
  1. กรรมพันธุ์
  2. อาหารที่รับประทาน
  3. อ้วน
  4. การขาดการออกกำลังกาย
  5. เพศ/อายุ
  6. สุรา
  7. ความเครียด
  8. ยาบางชนิดเช่น ยาฮอร์โมนsteroid
  9. โรคบางอย่างมักจะร่มกับภาวะไขมันสูงได้แก่ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลคนอ้วนที่ลดน้ำหนักไม่ได้ หากรักษาน้ำหนักให้คงที่ มีผลดีต่อสุขภาพ อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอล มีการศึกษาว่าความดันโลหิตสูง พบว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาตในชาย แต่การศึกษาล่าสุดพบว่าเสี่ยงทั้งหญิงและชาย และทุกเชื้อชาติ อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลแพทย์โรคหัวใจแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวด เพราะอาจจะทำให้โรคหัวใจกำเริบ อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลน้ำมันปลาช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ โดยลดไขมัน LDL และอุบัติการการเกิดโรคหัวใจ อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอล Aspirin จะช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคหัวใจ โดยเแพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่ได้มีการสำรวจที่ประเทศอเมริกาพบว่าคนอเมริการับประทาน Aspirin น้อกว่าที่คิด อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลยาแก้ปวดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลแผลร้อนในเรื้อรังมียารักษาแล้ว อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลการลดอาหารเค็มนอกจากจะลดความดันโลหิต ยังลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลการใช้ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ป่วยวัยทอง ทำให้เกิดโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลแอสไปรินสามารถป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลเลี่ยงดีเกิดไปอาจจะทำให้เป็นโรคหอบหืด อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลรับประทานcereal และแมกนีเซียมลดการเกิดโรคเบาหวาน อ่านที่นี่

การควบคุมคอเลสเตอรอล โรคคอเลสเตอรอลสูง อาหาร โรคคอเลสเตอรอลการออกกำลังกายจะเพิ่มระดับไขมัน HDL อ่านที่นี่

Link https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อาหาร โรคคอเลสเตอรอล

อาหารช่วยลด คอเลสเตอรอล

รู้มั้ยว่าโรคอะไรที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดในโลก คำตอบคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคนี้ทำเอาพวกบริษัทยาที่ขายยาเกี่ยวกับโรคนี้พากันรวยมากมายมหาศาล และสาเหตุหลักที่สำคัญก็คือภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งไขมันที่เป็นปัญหาสำคัญก็คือ คอเลสเตอรอล นั่นเอง

ปัจจุบันภาวะไขมัน คอเลสเตอรอล ในเลือดสูงเป็นปัญหาที่สำคัญทีเดียว เพราะมันจะส่งผลไปกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างมากทีเดียว และถือว่าเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรง

จากการผลการศึกษาล่าสุดจากสถาบัน world's premier medical institutions พบว่ามีวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงและมี สุขภาพที่ดีได้

นักวิจัยได้แนะนำว่ามีปัจจัยความเสี่ยงมากมายที่นำมา พิจารณา โดยใช้ความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพื้นฐานของลักษณะของการ เสื่อมสลายของระบบหัวใจและหลอดเลือด ปัจจัยที่ไปเพิ่มความเสี่ยงเหล่านี้ประกอบไปด้วย สภาวะสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายต่ำ สภาวะกรดไขมันที่จำเป็นในร่างกายต่ำ ระดับปริมาณเกลือแร่ แมกนีเซียม โปตัสเซียม และระดับที่เพิ่มขึ้นของ homocysteine ในร่างกาย ปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากทีเดียว และสิ่งสำคัญมากๆ ก็คือมีวิธีที่ง่ายและปลอดภัยที่จะกำจัดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ นั่นคือ

► การออกกำลังกาย
► การลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
► รับประทานอาหารเสริม เช่น วิตามิน เกลือแร่ และอาหารต้านอนุมูลอิสระ

คอเลสเตอรอล มีผลกับสุขภาพยังไง
ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมาเรารับทราบข้อมูลของ คอเลสเตอรอล มามากมายว่ามันมีผลเสียต่อร่างกายโดยมันอาจจะไปอุดตันเส็นเลือด และมันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีทำให้เกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ทราบหรือไม่ว่า คอเลสเตอรอล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากต่อสุขภาพของร่างกายทีเดียวเรียกได้ว่าขาดไม่ได้ เลย

คอเลสเตอรอล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในเซลเมมเบรน (cell membrane) มันจะช่วยเซลล์ในการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอเลสเตอรอล ช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค) และกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายเข้าสู่เซลล์ คอเลสเตอรอล จะมีส่วนช่วยในขบวนการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง และรวมถึงสเตียรอยด์ฮอร์โมน (steroidal hormones) ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับสุขภาพที่สำคัญของร่างกายคือระบบภูมิต้านทานของร่าง กายและการทำงานที่สมบูรณ์ของระบบฮออร์โมน

คอเลสเตอรอล จะมี 2 ชนิด คือ ชนิดดีและชนิดไม่ดี

► ชนิดดีหรือ HDL (High Density Lipoprotein) ชนิดดีนี้จะช่วยร่างกายขับ คอเลสเตอรอล ที่เกินความต้องการออกจากร่างกาย จะได้จากอาหารและร่างกายผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ ชนิดนี้ยิ่งสูงก็จะดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย
► ชนิดไม่ดีหรือ LDL (Low Density Lipoprotein) เป็นชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกาย ได้จากอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์

ดังนั้นเวลาดูค่าหรือระดับของ คอเลสเตอรอล ในร่างกายควรที่จะดูที่สัดส่วนของ HDL กับ LDL จะดีกว่า

เป็นเรื่องที่น่าแปลก จากการศึกษาพบว่ามีจำนวนสัดส่วนที่มากพอสมควรของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอด เลือดกลับมีระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายต่ำหรือเป็นปกติ ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ได้เกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล เองโดยตรง แต่สิ่งที่เป็นผลร้ายกับร่างกายคืออนุภาคออกซิไดซ์ของ LDL หรือ คอเลสเตอรอล ที่ไม่ดีนั่นเอง

นักวิจัยได้ระบุว่ามีอาหารมากมายที่วารสารการวิจัย ทางการแพทย์หลายๆ ฉบับระบุว่าช่วยส่งเสริมให้ระบบกาารทำงานของหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงมี สุขภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยหากแบ่งตามหน้าที่การทำงานหลักของอาหารเหล่านั้นจะแบ่งได้ 4 กลุ่มหลัก ที่จะช่วยส่งเสริมให้ระบบกาารทำงานของหัวใจและหลอดเลือดมีสุขภาพดีขึ้น

1) อาหารช่วยต้านอนุมูลอิสระ อาหารชนิดนี้จะช่วยป้องกันการเกิดอนุภาคออกซิไดซ์ของ LDL หรือ คอเลสเตอรอล ที่ไม่ดี โดย คอเลสเตอรอล จะกลายเป็นศัตรูร้ายทันทีที่มันเกิดการแตกตัวเป็นอนุภาคออกซิเดชั่น ซึ่งก็จะอาหารที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ส่งผลให้อาหารเหล่านี้ช่วย ทำให้ระบบกาารทำงานของหัวใจและหลอดเลือดมีสุขภาพดีขึ้น

► สารสกัดจากกระเทียม 400-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (หากเป็นแบบไม่มีกลิ่นจะดีกว่า)
► วิตามินอี 400-1,200 IU ต่อวัน
► สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 50-200 มิลลิกรัมต่อวัน
► ไวน์แดงสกัด 50-200 มิลลิกรัมต่อวัน
► สารสกัดจากชาเขียว 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน
► CoEnzyme Q10 60-120 มิลลิกรัมต่อวัน

2) อาหารที่ช่วยในเรื่องเกี่ยวการรักษาระดับ homocysteine ในร่างกาย homocysteine เป็นกรดอะมิโนที่ได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึม ของกรดอะมิโน methionine และเป็นกรดอะมิโนที่รู้จักกันดีว่ามีพิษต่อผนังเซลล์ของหลอดเลือด ภาวะระดับ homocysteine ในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีผลการศึกษากว่า 500 การศึกษาที่ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์พบอันตรายของ homocysteine พบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับ homocysteine จะส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมากว่าการเพิ่มขึ้นของระดับ คอเลสเตอรอล ถึง 5 เท่าทีเดียว

อาหารที่พบว่ามีส่วนช่วยในเรื่องการรักษาระดับ homocysteine ในร่างกายคือ

► วิตามินบี6 50-150 มิลลิกรัมต่อวัน
► วิตามินบี12 500-2,000 ไมโครกรัมต่อวัน (ในรูปแบบ methylcobalamin จะให้ผลดีกว่า)
► กรดโฟลิค 400-1,000 IU ต่อวัน
► Trimethylglycine 100 - 500 มิลลิกรัมต่อวัน

3) อาหารที่ช่วยในเรื่องสัดส่วนหรือระดับของ คอเลสเตอรอล ในร่างกาย ระดับของ คอเลสเตอรอลในร่างกายไม่ได้ตัวชี้วัดที่ดีของสุขภาพของระบบหัวใจและหลอด เลือด สิ่งที่น่าจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีน่าจะเป็นอัตราส่วนของ HDL ต่อ LDL มากกว่า ซึ่งอัตราส่วนที่ดีคืออัตราส่วนเท่ากับ 4 หรือน้อยกว่า ส่วนอัตราส่วนที่พอเหมาะคือ 3

อาหารที่พบว่ามีส่วนช่วยในเรื่องการรักษาระดับอัตราส่วนของ คอเลสเตอรอล ในร่างกายคือ

► น้ำมันปลาหรือ Fish oil 200-800 มิลลิกรัมต่อวัน (EPA และ DHA)
► สารสกัดจากกระเทียม 900 มิลลิกรัมต่อวัน (หากเป็นแบบไม่มีกลิ่นจะดีกว่า)
► Tocotrienols 312 มิลลิกรัมต่อวัน
► ไฟเบอร์ (Fiber) 20-30 กรัมต่อวัน

4) อาหารที่ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงและมีสุขภาพดี มื้ออาหารของคนส่วนใหญ่ที่รับประทานกันในแต่ละวัน มักจะได้รับปริมาณของ วิตามินซี และ ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) ไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีได้ ซึ่งทั้ง วิตามินซี และ ไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่สำคัญอย่างมากต่อการสร้าง คอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญต่อความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด

มีสารอาหารอยู่ชนิดหนึ่งคือ เปลือกสนสกัด (เฉพาะเปลือกสนที่สกัดจากเปลือกของต้นสนในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลที่แรงทีเดียว ดังนั้นเปลือกสนสกัดจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการ ทำลายของอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เปลือกสนสกัดน่าจะมีประโยชน์อย่างมากต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดทั้ง ระบบทีเดียว โดยมันจะไปช่วยป้องกันการเกิดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดที่เกิดจากการสูบ บุหรี่หรือความเครียด

อาหารที่ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงและมีสุขภาพดีคือ

► วิตามินซี 500-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
► ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) 100-500 มิลลิกรัมต่อวัน
► เปลือกสนสกัด 50-200 มิลลิกรัมต่อวัน

โดยสรุปสำหรับผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดีลดความ เสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และต้อการมีระบบหัวใจและหลอดเลือดที่แข็งแรงก็ควรจะปฏิบัติตัวง่ายๆ ดังนี้คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น วิตามิน เกลือแร่ และอาหารต้านอนุมูลอิสระ

ภาพและที่มา www.heathdd.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด