วิธีรักษาโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม วิธีรักษาโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม


818 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม วิธีรักษาโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม

                 วิธีรักษาโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม

 รักษาโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม

ออฟฟิศ ซินโดรม (office Syndrome)

posted on 26 Aug 2011 15:59 by wirada-clinic

 

ออฟฟิตซินโดรม (Office Syndromes)

ออฟฟิศ ซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่พบมากในวัยทำงาน ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุ 16 - 26 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากท่าทางและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถหรือไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งมีพฤติกรรมเหล่านี้ต่อเนื่องมาหลายปี

สาเหตุ

เมื่อเราทำการวิเคราะห์สาเหตุของกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม สามารถจำแนก 3 ประเภท คือ

  1. ท่าทางหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม หรือหลังงอ นั่งเอนกึ่งนอน นั่งไขว้ห้าง ยืนหลังแอ่นหรือหลังค่อม ใส่รองเท้าส้นสูง สะพายหรือหิ้วกระเป๋าหนัก อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถหรือไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น
  2. สภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ระดับความสูงของโต๊ะทำงานและเก้าอี้ ระยะวางคีย์บอร์ดที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
  3. สาเหตุจากปัญหาโครงสร้างร่างกาย อาจมีปัญหา กล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูก หมอนรองกระดูก หรือเส้นประสาทอักเสบ บริเวณตั้งแต่ส่วนคอถึงเท้า เช่น ปวดคอ จากปัญหากล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

อาการ

เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปวดคอ ศีรษะ บ่า สะบักและไหล่ ซึ่งเป็นส่วนที่พบบ่อย รองลงมา ปวดหลัง นอกจากนี้อาจมีอาการปวดตา ตาพร่ามัว ปวดแขน ปวดข้อศอก ปวดมือ ปวดข้อมือ ปวดเอว ปวดขาหรือปวดเข่า บางรายเป็นมากจนมีอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่า เราใช้ร่างกายมากเกินไปหรือที่ว่า overload จนทำให้ร่างกายไม่สามารถรับกับสภาวะดังกล่าวได้ จึงแสดงอาการออกมา หากละเลยหรือไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องแล้ว อาจจะกลายเป็นอาการเรื้อรัง หรือทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นอีก อาจถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

การรักษา

ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา ทานยา ไม่ต้องผ่าตัด หรือฝังเข็ม เป็นวิธีการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด (Physical Therapy) โดยวิรดาคลินิกกายภาพบำบัด เราจะเริ่มจากการหาสาเหตุ เนื่องจากอาการของออฟฟิตซินโดรมมีความหลากหลาย ปวดเมื่อยบริเวณต่างๆตั้งแต่ ส่วนหัวจนถึงเท้า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด ซึ่งได้กล่าวไว้ในส่วนของสาเหตุว่ามีการจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. สาเหตุจากโครงสร้างที่ผิดปกติ 2. พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 3. สภาวะแวดล้อมที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม

ดังนั้นการรักษาจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. แก้ไขโครงสร้างที่มีปัญหา เช่น กล้ามเนื้อหรือข้อต่ออักเสบ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาที่อาศัยการตอบสนองของร่างกายต่อตัวกระทำทางฟิสิกส์ เช่นความร้อน ความเย็น การใช้เครื่องมือทันสมัย เช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์ ยืดกล้ามเนื้อ จัดกระดูก ดัด ดึงข้อต่อ ยืดเส้นประสาท เป็นต้น
  2. แนะนำวิธีปฏิบัติตัวและพฤติกรรมอย่างเหมาะสม และจัดโปรแกรมออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เพื่อแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละคน นอกจากนี้ยังป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ และส่งเสริมสุขภาพที่ดีด้วย
  3. ให้คำแนะนำในการปรับสภาวะแวดล้อมที่ทำงานอย่างเหมาะสม เช่น การปรับระดับความสูงของเก้าอี้หรือโต๊ะทำงาน หากไม่สามารถปรับได้อาจใช้หมอนรองเก้าอี้เพื่อให้ความสูงพอดี หากเท้าลอยจากพื้น อาจใช้กล่องหรือเก้าอี้เล็กมารองเท้า เป็นต้น ซึ่งทางเราจะให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาให้เหมาะกับแต่ละคน

วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงต่อ ออฟฟิศซินโดรม ได้โดย

  1. ปรับไลน์สไตล์ในการทำงาน เช่น เปลี่ยนท่าทางขณะทำงาน ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่า อาจลุกขึ้นเดิน บิดลำตัว ยืดเส้นยืดสายสัก 1-2 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  2. ปรับเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ เก้าอี้ที่ดีนั่งแล้วเท้าวางแนบกับพื้นโดยที่เท้าไม่ลอย ก้นต้องเข้าไปพนักพิงของเก้าอี้และปรับเอนได้ 10-15 องศา หากหลังไม่สามารถพิงพนักเก้าอี้ก็ควรหาหมอนรองเอว ความสูงของโต๊ะทำงานควรนั่งแล้วอยู่ระดับข้อศอกและสามารถวางมือได้โดยไม่ ต้องเกร็งหรือยกบ่า จอคอมพิวเตอร์ต้องพอดีกับระดับสายตา
  3. พยายามนั่งตัวตรง หลังไม่งอ
  4. ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง อาจทำให้กระดูกคดได้โดยไม่รู้ตัว
  5. ไม่ใช้สายตาจดจ่ออยู่จุดใดจุดหนึ่งเกินกว่า 20 นาที
  6. หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงและการสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียวเป็นระยะเวลานาน
  7. การใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อย ๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
  8. ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังควรรีบไปพบนักกายภาพบำบัด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด เราให้บริการทางกายภาพบำบัดอย่างเต็มรูปแบบสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบ กระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท หากท่านมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษานักกายภาพบำบัดที่ “วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด” เพื่อให้เราได้ดูแลท่านด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ถูกต้องและปลอดภัย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-9387376

วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด ตั้งอยู่ ถนนลาดพร้าว ด้านหน้าซอยลาดพร้าว 11 ใกล้ห้าง big C extra ลาดพร้าว(คาร์ฟรูลาดพร้าวเดิม)

ติดต่อเพิ่มเติมe-mail :[email protected]
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม

คอมพิวเตอร์ซินโดรม (ตอนที่ 1)

การ กดแป้นอักขระ หรือการคลิกเมาส์คอมพิวเตอร์ ใครจะคิดว่าจะทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นทำลายระบบประสาทที่มือ แขน ไหล่ หรือคอ ได้ แต่ที่ผ่านมาการทำลักษณะนี้ซ้ำๆ หรือพิมพ์งานเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกันโดยไม่พักแม้แต่สายตา หรือยืดเส้นยืดสาย แน่นอนว่าย่อมจะเสี่ยงมากกว่าคนอื่น และในทางการแพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า คอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer Syndrome) หรือ CS

นพ.ศักดา อาจองค์ แพทย์ ประจำเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แจงรายละเอียดโรคว่า สามารถแบ่งออกเป็นโรคที่เกิด และเห็นปรากฏได้ทางร่างกาย โรคทางจิตใจ และโรคติดเชื้อ สำหรับโรคทางจิตใจนั้นมักได้ยินข่าวบ่อยครั้ง ว่า มีผู้ป่วยติดอินเทอร์เน็ต ติดเกมออนไลน์ ซึ่งหากอยู่ในเกณฑ์คล้ายโรคซึมเศร้า และมีปัญหาทางสภาวะจิตใจและขาดทักษะการเข้าสังคม ส่วนโรคติดเชื้อนั้นมักเกิดในสถานที่ทำงาน ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน และมักได้รับเชื้อรา หรือแบคทีเรียจากแป้นพิมพ์ อีกทั้งฝุ่นละอองจากเครื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผู้ใช้เป็นภูมิแพ้ได้ง่ายโดยที่เจ้าตัวอาจไม่ รู้

"สำหรับ โรคทางกายที่เห็นได้ชัดและเป็นกันมาก คือ อาการปวดตา เมื่อยตา ตาแห้ง มีปัญหาด้านการมองเห็นหรือที่เคยได้ยินว่า โรค CVS (Computer Vision Syndrome) และแรงกระตุ้นจากแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกลุ่มอาการไม่จำเพาะ อาทิ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือนอนไม่หลับ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการอยู่หน้าจอเป็นเวลานานๆ โดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัว"

นพ.ศักดา เปิดเผยอีกว่า มีโรคอีกกลุ่มใหญ่ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ และไม่คิดว่าเป็นอันตรายหากปล่อยให้เรื้อรัง คือ กลุ่ม Computer Syndrome หรือ CS ที่มีผลกระทบกับกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการวางท่าทางการทำงานไม่ถูกต้อง เช่น ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนโดยใช้หัวไหล่และต้นคอรับน้ำหนัก นอกจากจะทำให้ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอและหลังแล้ว สามารถส่งให้สายตาเอียง หรือเส้นยึดกระดูกที่คอได้ ซึ่งมีกรณีศึกษาที่กลายเป็นข่าวครึกโครมที่ประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน 18 ชั่วโมง จนทำให้ลิ่มเลือดไปอุดตันที่ขาและกระจายไปที่ปอด แต่ในประเทศไทยยังไม่พบกรณีผู้ป่วยเช่นนี้

"การ อยู่หน้าจอนานเกินไปโดยไม่เปลี่ยนท่าทางเลย หรืออยู่ในลักษณะที่ผิดท่านั้น มีผลเสียกับกายศาสตร์มาก แม้ว่าประเทศไทยยังระบุไม่ได้ว่ามีผู้ป่วยด้วยอาการจากคอมพิวเตอร์ในกลุ่ม กล้ามเนื้อมากจำนวนเท่าใด แต่นั่นเพราะยังไม่มีใครรู้ว่าหากปล่อยไว้นานจะมีผลเสียถึงขั้นต้องผ่าตัด สถิติผู้ป่วยจึงยังไม่มีใครรวบรวม" แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน กล่าว

ยัง มีรายงานสนับสนุนหลายการศึกษาที่ระบุว่า การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ ทำให้เกิดกลุ่มอาการ Carpal Tunnel Syndrome หรือ CTS โดยเชื่อว่าเป็นการเกิดจากกลไก repetitive stress injuries (RSI) อธิบายได้ว่า เป็นการบาดเจ็บซ้ำของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อมือและแขน ซึ่งถือว่าเป็นภัยที่มองไม่เห็น แพทย์หลายคนระบุว่าอาการนี้จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ CS

โดย Dr. Emil Pascarelli ศาสตราจารย์ ผู้ศึกษาอาการอันเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มานานกว่า 23 ปี อธิบายไว้ในหนังสือที่เขาเขียนเรื่อง "Repetitive strain injury : Computer User's Guide" ว่า ในทางการแพทย์ RSI ถือเป็นอาการบาดเจ็บ หรือกล้ามเนื้อตึงเครียดซ้ำๆ เกิดการสะสมจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลาต่อ เนื่องยาวนาน เป็นผลกระทบหนึ่งที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์

ใน สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยเป็น RSI กว่า 2 ล้านคน จนทำให้มีเว็บไซต์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้เกิดขึ้นมากมาย สาเหตุของการเกิดอาการนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวแขนหรือมือในลักษณะเดียวกัน ซ้ำๆ นั่งทำงานไม่ถูกท่าทาง และใช้กล้ามเนื้อมือในลักษณะขนานกับพื้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันนาน จนทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณนั้นได้รับความเสียหาย โดยอาการจะมีตั้งแต่เคลื่อนไหวมือ นิ้วมือไม่สะดวก รู้สึกปวดที่ข้อมือซ้ำๆ และปวดกล้ามเนื้อบริเวณแขนระหว่างข้อศอกกับข้อมือ ในบางรายอาจจะปวดที่คอ ไหล่ และหลัง

อย่าง ไรก็ตาม นพ.ศักดา ชี้แจงว่า เมื่อไม่นานมานี้ มี Special Health Report from Harvard Medical School ได้ปฏิเสธกลไกนี้โดยให้คำอธิบายว่าเป็นความเชื่อที่ผิดว่าการบาดเจ็บซ้ำ ของกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อมือในขณะใช้คอมพิวเตอร์ (RSI) นั้น ไม่เหมือนกับการอธิบายกลไกการเกิดโรคอื่น เช่น การบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย กระนั้นก็ยังไม่มีคำตอบใดที่ให้คำตอบที่แน่ชัดว่า RSI เกิดจากสาเหตุใด ดังนั้น จึงพออนุมานได้ว่า การใช้งานคอมพิวเตอร์นานและต่อเนื่องประกอบกับการผิดหลักกายวิทยานั้นทำให้ เกิดอาการบาดเจ็บได้ และยังถือว่าเป็นอาการในกลุ่ม CS ซึ่งก็ยังต้องระวังเช่นเดียวกัน

นิตยสาร Medical Upgrade ฉบับ 017

คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม
สังคม ปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร คนรุ่นใหม่เป็นคนใฝ่รู้ ทำให้ต้องนั่งแกร่วอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันวันละหลายๆชั่วโมง โดยไม่รู้ว่ามีโรคตาที่ตามมาอย่างรวดเร็วที่มีชื่อเฉพาะว่า “คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม Computer Vision Syndrome” ภัยเฉพาะของคนรุ่นใหม่
สำหรับอาการปรากฏขึ้นดังนี้ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง รอยดำคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา
ปัญหาเรื่องถุงใต้ตา รอยคล้ำและริ้วรอยรอบดวงตา นับเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับทุกๆคนเป็นอย่างมากซึ่งสามารถพบได้โดย ไม่จำกัดอายุ สาเหตุหลักๆนอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆแล้วยังมี สาเหตุจากการได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตในแสงแดดมากเกินไปและมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่อยู่ ซึ่งรวมถึงอาหารการกิน ความเครียด การลดลงอย่างฉับพลันของฮอร์โมนเพศหญิง ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้เซลล์ผิวสื่อมได้มากขึ้น
การหลีกเลี่ยงความเสื่อมสภาพของผิวรอบดวงตาก่อนวัยอันควร เราจำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุอย่างแท้จริงเพื่อเตรียมรับมือในการป้องกันต่อไป เรามาเริ่มที่สาเหตุของการรอยดำ รอยคล้ำใต้ตา มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่นเกิดจากพันธุกรรม โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด กลุ่มนี้มักพบรอยดำใต้ตา อาการตาแห้งตลอดจนการแพ้สารต่างๆเช่นแพ้มาสคาร่า อาจมีการสะสมทำให้คันพอคันก็จะถู ขยี้ตา ก็จะไปกระตุ้นทำให้ทิ้งรอยดำได้ การอดนอนทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดี สารอาหารในเลือดลดลง เส้นเลือดตีบ รอยคล้ำก็ชัดขึ้น หากปล่อยให้เป็นนานๆเส้นเลือดจะเปราะแตกง่าย ทำให้เกิดสารตกค้างใต้ตาทำให้ตาคล้ำได้
สำหรับสาเหตุการเกิดถุงใต้ตา เกิดจากการสะสมของน้ำและไขมันรอบดวงตาทั้งตาบนและล่าง แต่ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกก็จะปรากฏให้เห็นชัดเป็นถุงบริเวณใต้ตา สามารถพูดแยกได้ 2 ปัจจัยคือการสะสมของไขมันบริเวณรอบดวงตามีสาเหตุหลักมาจากอายุที่มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาเริ่มอ่อนแอลง ชั้นผิวคอลลาเจนสร้างน้อยลงไขมันที่เคยรองรับที่กระบอกตาดีๆก็จะมีการเลื่อน ไหลออกมากองอยู่รอบดวงตา ประกอบกับชั้นผิวบางลงก็จะเห็นเป็นถุงใต้ตาชัดเจนยิ่งขึ้น กับอีกปัจจัยคือการสะสมของน้ำรอบดวงตาเกิดจากขบวนการขับถ่ายของเสียออกจาก เซลล์ผิวช้าลง เนื่องจากการไหลเวียนของน้ำเหลืองและโลหิตไม่ดี ก็จะทำให้มีการสะสมน้ำที่ผิวรอบดวงตาปรากฏให้เห็นเป็นถุงใต้ตาและรอยบวมได้
การรักษาทางการแพทย์ถ้าเป็นสมัยก่อนมักคิดถึงการผ่าตัด ซึ่งโดยมากจะช่วยเรื่องถุงใต้ตาได้ดีแต่ช่วยเรื่องรอยคล้ำได้น้อยนอกจากตัด รอยดำออกไปด้วย ไม่เพียงแค่ความเจ็บปวดและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง การผ่าตัดอาจช่วยให้ผิวเรียบเนียน ตึงสดใส แต่ความงามนี้อาจอยู่ได้ไม่นานเพียง 1-2 ปี หากขาดการดูแลและใช้ชีวิตอยู่กับปัจจัยเสี่ยงข้างต้นก็จะเกิดปัญหาซ้ำใหม่ ได้ เพราะการผ่าตัดคือการตัดเอาถุงไขมันใต้ตาทิ้งไป แต่ปัญหาการสะสมของน้ำและไขมันก็ยังเกิดขึ้นได้ใหม่ตลอดเวลา เมื่อสภาพผิวเริ่มอ่อนแอลงผนวกกับอายุที่เพิ่มขึ้นกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง ของเซลล์ผิวก็เสื่อมถอยขาดประสิทธิภาพ ทำให้การไหลเวียนขับถ่ายของเสียรอบดวงตาบกพร่อง ก่อเกิดการสะสมตัวซ้ำของถุงใต้ตา และริ้วรอยหมองคล้ำอยู่เรื่อยไป
ล่าสุดมีเสริมการแก้ไขปัญหาด้วยการรักษาด้วยตนเอง ด้วยการบำรุงผิวรอบดวงตาเป็นประจำทุกวันเพื่อชะลอความเสื่อมและกระตุ้นการ สร้างคอลลาเจน อิลาสตินด้วยสารโปรตีนอนุภาคเล็กที่เรียกว่า Acetyl tetrapeptide 5 (อะเซ็ทติล เต็ตตร้า เปปไทด์ 5) ซึ่งทางการแพทย์ใช้เป็นยาลดความดันเลือด ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในเครื่องสำอางบำรุงผิว เพราะมีการศึกษาวิจัยในยุโรปแล้วว่าสามารถช่วยลดการเกิดถุงใต้ตา รอยบวม ตลอดจนรอยคล้ำได้เพราะช่วยปรับการไหลเวียนของโลหิตและน้ำเหลืองให้เป็นไป อย่างสมดุล อีกทั้งช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้เซลล์ผิวแข็งแรงกระชับขึ้นและช่วยให้ของเสียถูกขับถ่ายออกจากเซลล์ผิว ได้ดีขึ้น จึงช่วยลดการสะสมตัวของน้ำและไขมันที่อาจเกิดขึ้นรอบดวงตา
สำหรับการแก้ไขขั้นต้น ควรเริ่มจากการปฏิบัติตัวเองเสียใหม่ เช่นอย่าให้กล้ามเนื้อตาล้าเกินไป ด้วยการอย่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ให้พักสายตาทุก 15 นาที ด้วยการมองออกไปไกลๆ จะทำให้ดวงตาไม่เกิดอาการล้า พร้อมปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้แสงพอเหมาะ อย่าขยี้ตา หากรู้สึกอ่อนล้าให้นวดคลึงเบาๆ และควรบริหารดวงตาเพื่อคลายความตึงเครียด ด้วยการกลอกตาไปรอบๆเป็นวงกลม สัก 5-6 รอบ ใช้นิ้วนางทั้ง 2 นิ้วแตะที่หัวตาแต่ละข้าง คลึงเบาๆแบบกดจุดนาน 1-2 วินาที นี่เป็นเพียงวิธีง่ายๆแต่ถ้าอยากทำครบทุกขั้นตอนสามารถขอคู่มือบริหารผิวใต้ ตาให้แข็งแรงได้ฟรี! ที่ 0-2860-4561 หรือ 0-1562-9794

ที่มา https://www.pinthong-group.com/content/detail.php?id=475

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด