คอมพิวเตอร์ซินโดรม+อาการปวด โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คอมพิวเตอร์ซินโดรม+ปวดกล้ามเนื้อ


907 ผู้ชม


คอมพิวเตอร์ซินโดรม+อาการปวด โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คอมพิวเตอร์ซินโดรม+ปวดกล้ามเนื้อ

 คอมพิวเตอร์ซินโดรม+อาการปวด
โรค คอมพิวเตอร์ซินโดรม

รายการใครไม่ป่วยยกมือขึ้น ตอน หยุดโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม ด้วยธรรมชาติบำบัด โดย หมอแดง

คอมพิวเตอร์ซินโดรม (ตอนที่ 1)

คอมพิวเตอร์ซินโดรม+อาการปวด โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คอมพิวเตอร์ซินโดรม+ปวดกล้ามเนื้อการ กดแป้นอักขระ หรือการคลิกเมาส์คอมพิวเตอร์ ใครจะคิดว่าจะทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นทำลายระบบประสาทที่มือ แขน ไหล่ หรือคอ ได้ แต่ที่ผ่านมาการทำลักษณะนี้ซ้ำๆ หรือพิมพ์งานเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกันโดยไม่พักแม้แต่สายตา หรือยืดเส้นยืดสาย แน่นอนว่าย่อมจะเสี่ยงมากกว่าคนอื่น และในทางการแพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า คอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer Syndrome) หรือ CS

นพ.ศักดา อาจองค์ แพทย์ ประจำเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แจงรายละเอียดโรคว่า สามารถแบ่งออกเป็นโรคที่เกิด และเห็นปรากฏได้ทางร่างกาย โรคทางจิตใจ และโรคติดเชื้อ สำหรับโรคทางจิตใจนั้นมักได้ยินข่าวบ่อยครั้ง ว่า มีผู้ป่วยติดอินเทอร์เน็ต ติดเกมออนไลน์ ซึ่งหากอยู่ในเกณฑ์คล้ายโรคซึมเศร้า และมีปัญหาทางสภาวะจิตใจและขาดทักษะการเข้าสังคม ส่วนโรคติดเชื้อนั้นมักเกิดในสถานที่ทำงาน ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน และมักได้รับเชื้อรา หรือแบคทีเรียจากแป้นพิมพ์ อีกทั้งฝุ่นละอองจากเครื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผู้ใช้เป็นภูมิแพ้ได้ง่ายโดยที่เจ้าตัวอาจไม่ รู้

"สำหรับ โรคทางกายที่เห็นได้ชัดและเป็นกันมาก คือ อาการปวดตา เมื่อยตา ตาแห้ง มีปัญหาด้านการมองเห็นหรือที่เคยได้ยินว่า โรค CVS (Computer Vision Syndrome) และแรงกระตุ้นจากแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกลุ่มอาการไม่จำเพาะ อาทิ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือนอนไม่หลับ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการอยู่หน้าจอเป็นเวลานานๆ โดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัว"

นพ.ศักดา เปิดเผยอีกว่า มีโรคอีกกลุ่มใหญ่ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ และไม่คิดว่าเป็นอันตรายหากปล่อยให้เรื้อรัง คือ กลุ่ม Computer Syndrome หรือ CS ที่มีผลกระทบกับกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการวางท่าทางการทำงานไม่ถูกต้อง เช่น ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนโดยใช้หัวไหล่และต้นคอรับน้ำหนัก นอกจากจะทำให้ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอและหลังแล้ว สามารถส่งให้สายตาเอียง หรือเส้นยึดกระดูกที่คอได้ ซึ่งมีกรณีศึกษาที่กลายเป็นข่าวครึกโครมที่ประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน 18 ชั่วโมง จนทำให้ลิ่มเลือดไปอุดตันที่ขาและกระจายไปที่ปอด แต่ในประเทศไทยยังไม่พบกรณีผู้ป่วยเช่นนี้

"การ อยู่หน้าจอนานเกินไปโดยไม่เปลี่ยนท่าทางเลย หรืออยู่ในลักษณะที่ผิดท่านั้น มีผลเสียกับกายศาสตร์มาก แม้ว่าประเทศไทยยังระบุไม่ได้ว่ามีผู้ป่วยด้วยอาการจากคอมพิวเตอร์ในกลุ่ม กล้ามเนื้อมากจำนวนเท่าใด แต่นั่นเพราะยังไม่มีใครรู้ว่าหากปล่อยไว้นานจะมีผลเสียถึงขั้นต้องผ่าตัด สถิติผู้ป่วยจึงยังไม่มีใครรวบรวม" แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน กล่าว

ยัง มีรายงานสนับสนุนหลายการศึกษาที่ระบุว่า การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ ทำให้เกิดกลุ่มอาการ Carpal Tunnel Syndrome หรือ CTS โดยเชื่อว่าเป็นการเกิดจากกลไก repetitive stress injuries (RSI) อธิบายได้ว่า เป็นการบาดเจ็บซ้ำของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อมือและแขน ซึ่งถือว่าเป็นภัยที่มองไม่เห็น แพทย์หลายคนระบุว่าอาการนี้จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ CS

โดย Dr. Emil Pascarelli ศาสตราจารย์ ผู้ศึกษาอาการอันเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มานานกว่า 23 ปี อธิบายไว้ในหนังสือที่เขาเขียนเรื่อง "Repetitive strain injury : Computer User's Guide" ว่า ในทางการแพทย์ RSI ถือเป็นอาการบาดเจ็บ หรือกล้ามเนื้อตึงเครียดซ้ำๆ เกิดการสะสมจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลาต่อ เนื่องยาวนาน เป็นผลกระทบหนึ่งที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์

ใน สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยเป็น RSI กว่า 2 ล้านคน จนทำให้มีเว็บไซต์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้เกิดขึ้นมากมาย สาเหตุของการเกิดอาการนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวแขนหรือมือในลักษณะเดียวกัน ซ้ำๆ นั่งทำงานไม่ถูกท่าทาง และใช้กล้ามเนื้อมือในลักษณะขนานกับพื้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันนาน จนทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณนั้นได้รับความเสียหาย โดยอาการจะมีตั้งแต่เคลื่อนไหวมือ นิ้วมือไม่สะดวก รู้สึกปวดที่ข้อมือซ้ำๆ และปวดกล้ามเนื้อบริเวณแขนระหว่างข้อศอกกับข้อมือ ในบางรายอาจจะปวดที่คอ ไหล่ และหลัง

อย่าง ไรก็ตาม นพ.ศักดา ชี้แจงว่า เมื่อไม่นานมานี้ มี Special Health Report from Harvard Medical School ได้ปฏิเสธกลไกนี้โดยให้คำอธิบายว่าเป็นความเชื่อที่ผิดว่าการบาดเจ็บซ้ำ ของกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อมือในขณะใช้คอมพิวเตอร์ (RSI) นั้น ไม่เหมือนกับการอธิบายกลไกการเกิดโรคอื่น เช่น การบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย กระนั้นก็ยังไม่มีคำตอบใดที่ให้คำตอบที่แน่ชัดว่า RSI เกิดจากสาเหตุใด ดังนั้น จึงพออนุมานได้ว่า การใช้งานคอมพิวเตอร์นานและต่อเนื่องประกอบกับการผิดหลักกายวิทยานั้นทำให้ เกิดอาการบาดเจ็บได้ และยังถือว่าเป็นอาการในกลุ่ม CS ซึ่งก็ยังต้องระวังเช่นเดียวกัน

นิตยสาร Medical Upgrade ฉบับ 017

คอมพิวเตอร์ซินโดรม+อาการปวด โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คอมพิวเตอร์ซินโดรม+ปวดกล้ามเนื้อ

คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม
สังคม ปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร คนรุ่นใหม่เป็นคนใฝ่รู้ ทำให้ต้องนั่งแกร่วอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันวันละหลายๆชั่วโมง โดยไม่รู้ว่ามีโรคตาที่ตามมาอย่างรวดเร็วที่มีชื่อเฉพาะว่า “คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม Computer Vision Syndrome” ภัยเฉพาะของคนรุ่นใหม่
สำหรับอาการปรากฏขึ้นดังนี้ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง รอยดำคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา
ปัญหาเรื่องถุงใต้ตา รอยคล้ำและริ้วรอยรอบดวงตา นับเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับทุกๆคนเป็นอย่างมากซึ่งสามารถพบได้โดย ไม่จำกัดอายุ สาเหตุหลักๆนอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆแล้วยังมี สาเหตุจากการได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตในแสงแดดมากเกินไปและมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อมที่อยู่ ซึ่งรวมถึงอาหารการกิน ความเครียด การลดลงอย่างฉับพลันของฮอร์โมนเพศหญิง ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้เซลล์ผิวสื่อมได้มากขึ้น
การหลีกเลี่ยงความเสื่อมสภาพของผิวรอบดวงตาก่อนวัยอันควร เราจำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุอย่างแท้จริงเพื่อเตรียมรับมือในการป้องกันต่อไป เรามาเริ่มที่สาเหตุของการรอยดำ รอยคล้ำใต้ตา มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่นเกิดจากพันธุกรรม โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด กลุ่มนี้มักพบรอยดำใต้ตา อาการตาแห้งตลอดจนการแพ้สารต่างๆเช่นแพ้มาสคาร่า อาจมีการสะสมทำให้คันพอคันก็จะถู ขยี้ตา ก็จะไปกระตุ้นทำให้ทิ้งรอยดำได้ การอดนอนทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดี สารอาหารในเลือดลดลง เส้นเลือดตีบ รอยคล้ำก็ชัดขึ้น หากปล่อยให้เป็นนานๆเส้นเลือดจะเปราะแตกง่าย ทำให้เกิดสารตกค้างใต้ตาทำให้ตาคล้ำได้
สำหรับสาเหตุการเกิดถุงใต้ตา เกิดจากการสะสมของน้ำและไขมันรอบดวงตาทั้งตาบนและล่าง แต่ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกก็จะปรากฏให้เห็นชัดเป็นถุงบริเวณใต้ตา สามารถพูดแยกได้ 2 ปัจจัยคือการสะสมของไขมันบริเวณรอบดวงตามีสาเหตุหลักมาจากอายุที่มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาเริ่มอ่อนแอลง ชั้นผิวคอลลาเจนสร้างน้อยลงไขมันที่เคยรองรับที่กระบอกตาดีๆก็จะมีการเลื่อน ไหลออกมากองอยู่รอบดวงตา ประกอบกับชั้นผิวบางลงก็จะเห็นเป็นถุงใต้ตาชัดเจนยิ่งขึ้น กับอีกปัจจัยคือการสะสมของน้ำรอบดวงตาเกิดจากขบวนการขับถ่ายของเสียออกจาก เซลล์ผิวช้าลง เนื่องจากการไหลเวียนของน้ำเหลืองและโลหิตไม่ดี ก็จะทำให้มีการสะสมน้ำที่ผิวรอบดวงตาปรากฏให้เห็นเป็นถุงใต้ตาและรอยบวมได้
การรักษาทางการแพทย์ถ้าเป็นสมัยก่อนมักคิดถึงการผ่าตัด ซึ่งโดยมากจะช่วยเรื่องถุงใต้ตาได้ดีแต่ช่วยเรื่องรอยคล้ำได้น้อยนอกจากตัด รอยดำออกไปด้วย ไม่เพียงแค่ความเจ็บปวดและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง การผ่าตัดอาจช่วยให้ผิวเรียบเนียน ตึงสดใส แต่ความงามนี้อาจอยู่ได้ไม่นานเพียง 1-2 ปี หากขาดการดูแลและใช้ชีวิตอยู่กับปัจจัยเสี่ยงข้างต้นก็จะเกิดปัญหาซ้ำใหม่ ได้ เพราะการผ่าตัดคือการตัดเอาถุงไขมันใต้ตาทิ้งไป แต่ปัญหาการสะสมของน้ำและไขมันก็ยังเกิดขึ้นได้ใหม่ตลอดเวลา เมื่อสภาพผิวเริ่มอ่อนแอลงผนวกกับอายุที่เพิ่มขึ้นกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง ของเซลล์ผิวก็เสื่อมถอยขาดประสิทธิภาพ ทำให้การไหลเวียนขับถ่ายของเสียรอบดวงตาบกพร่อง ก่อเกิดการสะสมตัวซ้ำของถุงใต้ตา และริ้วรอยหมองคล้ำอยู่เรื่อยไป
ล่าสุดมีเสริมการแก้ไขปัญหาด้วยการรักษาด้วยตนเอง ด้วยการบำรุงผิวรอบดวงตาเป็นประจำทุกวันเพื่อชะลอความเสื่อมและกระตุ้นการ สร้างคอลลาเจน อิลาสตินด้วยสารโปรตีนอนุภาคเล็กที่เรียกว่า Acetyl tetrapeptide 5 (อะเซ็ทติล เต็ตตร้า เปปไทด์ 5) ซึ่งทางการแพทย์ใช้เป็นยาลดความดันเลือด ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในเครื่องสำอางบำรุงผิว เพราะมีการศึกษาวิจัยในยุโรปแล้วว่าสามารถช่วยลดการเกิดถุงใต้ตา รอยบวม ตลอดจนรอยคล้ำได้เพราะช่วยปรับการไหลเวียนของโลหิตและน้ำเหลืองให้เป็นไป อย่างสมดุล อีกทั้งช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้เซลล์ผิวแข็งแรงกระชับขึ้นและช่วยให้ของเสียถูกขับถ่ายออกจากเซลล์ผิว ได้ดีขึ้น จึงช่วยลดการสะสมตัวของน้ำและไขมันที่อาจเกิดขึ้นรอบดวงตา
สำหรับการแก้ไขขั้นต้น ควรเริ่มจากการปฏิบัติตัวเองเสียใหม่ เช่นอย่าให้กล้ามเนื้อตาล้าเกินไป ด้วยการอย่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ให้พักสายตาทุก 15 นาที ด้วยการมองออกไปไกลๆ จะทำให้ดวงตาไม่เกิดอาการล้า พร้อมปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้แสงพอเหมาะ อย่าขยี้ตา หากรู้สึกอ่อนล้าให้นวดคลึงเบาๆ และควรบริหารดวงตาเพื่อคลายความตึงเครียด ด้วยการกลอกตาไปรอบๆเป็นวงกลม สัก 5-6 รอบ ใช้นิ้วนางทั้ง 2 นิ้วแตะที่หัวตาแต่ละข้าง คลึงเบาๆแบบกดจุดนาน 1-2 วินาที นี่เป็นเพียงวิธีง่ายๆแต่ถ้าอยากทำครบทุกขั้นตอนสามารถขอคู่มือบริหารผิวใต้ ตาให้แข็งแรงได้ฟรี! ที่ 0-2860-4561 หรือ 0-1562-9794

ที่มา https://www.pinthong-group.com/content/detail.php?id=475

 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม
คอมพิวเตอร์ซินโดรม+อาการปวด โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คอมพิวเตอร์ซินโดรม+ปวดกล้ามเนื้อ
:: โรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม คืออะไร

โรคที่มากับคอมพิวเตอร์ ในที่นี้ไม่ใช่ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” หรือ “โปรแกรมตัวหนอน” ที่บ่อนทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์ แต่หมายถึงความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

ด้วยในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามา มีบทบาท สำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้ว ทั้งด้านการทำงานที่ใช้งานเกือบทุกอย่างสารพัด ทั้งใช้เพื่อความเพลิดเพลิน ใช้เพื่อการศึกษา สืบค้นข้อมูลและการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตข้างหน้า คอมพิวเตอร์จะมีบทบาทยิ่งในชีวิตประจำวัน จนแทบจะแยกจากกันไม่ได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่มีคุณประโยชน์ ก็ย่อมต้องมีโทษได้เช่นกัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ให้ทั้งคุณและโทษ ได้ หากพูดกันถึงในแง่สุขภาพของคนเรา การใช้คอม พิวเตอร์อาจมีพิษภัยต่อสุขภาพได้..หากใช้ไม่ถูกวิธี ซึ่งความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องคอม พิวเตอร์สามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่าง ๆ จนเกิดเป็นโรคได้หลายประเภท ในที่นี้จะสรุปลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ตา ลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ของเราถูกออกแบบมาให้ต้องนั่งอยู่หน้าจอมอนิเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง โดยมีข้อกำหนดในเรื่องระยะห่างประมาณ 1-2 ฟุต เมื่อต้องจ้องหน้าจอดูข้อมูลเป็นเวลานาน ส่วนของนัยน์ตาอย่างน้อย 2 ส่วนคือ กล้ามเนื้อตาที่จะต้องคอยหดตัวเกร็งตัว เพื่อปรับเลนส์ตาให้มีความหนาที่เหมาะสมเพียงพอให้แสงจากจอไปตกบนฉากรับภาพ ด้านหลังของตาที่เรียกว่า เรตินา ทำให้เกิดภาพคมชัด ซึ่งหากมองจอมอนิเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานหนัก จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้าได้ เมื่อใช้สายตานานวันเข้าก็อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสายตาได้ ทั้งสายตาสั้นหรือสายตายาว

    ส่วนของนัยน์ตาอีกส่วนหนึ่งที่ต้องทำงานหนักก็คือ จอรับภาพด้านหลังตาหรือ เรตินา ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นแท่ง ทำหน้าที่รับแสงที่ไม่สว่างมาก เช่น ภาพขาวดำ อีกชนิดหนึ่งเป็นรูปโคน ทำหน้าที่รับแสงที่สว่าง เช่น ภาพสีต่าง ๆ แล้วส่งสัญญาณไปที่สมอง ถ้าจำเป็นต้องจ้องหน้าจอมอนิเตอร์ที่เป็นภาพสีเป็นเวลานาน ๆ ในระยะห่างใกล้ ๆ เซลล์รูปโคนจะทำงานหนักเป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิดความเสื่อมของเรตินาก่อนเวลาอันสมควรได้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องจึงควรจ้องมองภาพผ่านจอมอนิเตอร์ติดต่อกันเป็น เวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง แล้วควรมีการพักสายตา โดยการเปลี่ยนไปมองระยะไกล ๆ บ้างสัก 10-15 นาที จึงค่อยกลับมาใช้คอมพิวเตอร์อีกครั้ง

  • สมอง ในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูลหรือเล่นเกม เราต้องใช้สมองของเราทำงานไปด้วยสำหรับคิดหรือรับสารข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งการใช้สมองต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ย่อมเกิดอาการอ่อนล้าได้เช่นเดียวกัน อาการส่วนมากที่พบก็คือ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ ซึ่งบางครั้งอาจไม่รู้ตัวเนื่องจากกำลังทำงานหรือกำลังใช้อินเทอร์เน็ตเล่น เกม ทำให้อาการ เตือนของสมองไม่ว่าจะเป็นอาการมึนหรือปวดศีรษะนั้นไม่ได้รับการรับรู้ อันจะทำให้เกิดผลเสียต่อสมองได้ในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้สมองทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เกินไป
  • คอ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยการนั่งมองหน้าจอมอนิเตอร์ ติดต่อกันนาน ๆ ศีรษะก็จะอยู่ในตำแหน่งเดิม มุมเดิมเป็นเวลานาน คอซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นที่ตั้งของศีรษะก็จะอยู่นิ่ง กล้ามเนื้อคอก็จะต้องเกร็งตัวเอาไว้เพื่อรักษาท่าและตำแหน่งของศีรษะเอาไว้ เป็นเวลานานโดยที่เราเองไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกทีก็มีอาการปวดเมื่อยคอ คอตึงจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ ซึ่งเมื่อมีการใช้งานเช่นนี้เป็นเวลานานหลายปีโดยไม่มีการบริหารคอที่เหมาะ สม อาจทำให้กระดูกคอเสื่อมก่อนเวลาอันควรได้ เพราะฉะนั้นจึงควรขยับศีรษะและคอไปมา และขยับกล้ามเนื้อคอหรือหมุนศีรษะไปมาในขณะทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำ ให้อาการปวดเมื่อยคอหรือโอกาสเกิดกระดูกคอเสื่อมน้อยลงไป
  • ไหล่ สำหรับท่านที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ส่วนมากแล้วก็มักจะสะพายเครื่องคอมพิวเตอร์ใส่ในกระเป๋า เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กนั้นจะมีขนาดและน้ำหนักแตกต่างกันไป ตั้งแต่เครื่องเล็กที่น้ำหนักเบาประมาณ 1 กิโลกรัมจนถึงเครื่องที่ค่อนข้างใหญ่หรือน้ำหนักมากถึงประมาณ 4 กิโลกรัม แต่เครื่องเล็กที่มีน้ำหนักเบาก็มักจะมีราคาแพง ดังนั้นโน้ตบุ๊กที่ใช้งานกันทั่วไปก็มักจะเป็นเครื่องที่มีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อใส่รวมกับสายไฟ อุปกรณ์เสริมอื่น และเอกสารต่าง ๆ แล้ว ก็อาจมีน้ำหนักกว่า 4 กิโลกรัมได้ ซึ่งถ้าพกพาโดยการสะพายไหล่เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดไหล่จากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณไหล่อักเสบ รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังที่ต้องเกร็งตัวตลอดเวลาด้วย การเปลี่ยนมาใส่ในกระเป๋าที่มีล้อลากได้หรือพยายามให้มีน้ำหนักเบาลงโดยใช้ เครื่องที่มีน้ำหนักเบาหรือนำของไปด้วยเท่าที่จำเป็น และสะพายไหล่เท่าที่จำเป็น ก็จะทำให้หลีกเลี่ยงการอักเสบของไหล่ได้
  • การนอน การเพลิดเพลินกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตหรือการเล่นเกมก็มักจะทำให้นอนดึก อดนอน และร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ สมองไม่แจ่มใส ถ้าทำติดต่อกันหลายวัน อาจส่งผลให้การเรียนหรือการทำงานขาดประสิทธิภาพ หรือเสียการเรียน หรือเสียการเสียงานได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้คอมพิวเตอร์ ปัญหาอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ตามร่างกาย ยังมีอีกสามารถติดตามต่อได้.

ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มชัยการ
อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คอมพิวเตอร์ซินโดรม+ปวดกล้ามเนื้อ

ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อป้องกันคอมพิวเตอร์ซินโดรม

โดย bung.anni | วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552

ออกกำลังกายคลายปวดเมื่อย 

หนุ่มสาวออฟฟิศนั่งทำงานนานๆ รู้สึกปวดเมื่อยบ้างไหม? หากคุณกำลังรู้สึกเช่นนั้นอยู่วันนี้เรามีเคล็ดลับวิธีการออกกำลังกายแก้ปวด เมื่อย ป้องกันการเกิดโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมหรือออฟฟิศซินโดรม ที่คนวัยทำงานส่วนใหญ่เป็นอยู่ในขณะนี้มาแนะนำเพื่อใครจะสนใจเอาไปลองทำ ดู...

โดย นพ.ศักดา อาจองค์ แพทย์ประจำเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลแนะ นำว่า เมื่อทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ก็ต้องหาเวลาพักทั้งสายตาและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาจจะทุกๆ ครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง หรือหากติดลมให้กะพริบตาบ่อยๆ สำหรับคนที่ปวดตา ส่วนผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้ออันอาจเนื่องมาจากใช้ท่าทางผิดนั้น มีข้อแนะนำดังนี้

ท่านั่งที่ถูกต้อง เวลาพิมพ์คอมพิวเตอร์ต้องให้ข้อศอกอยู่ระดับเดียวกับคีย์บอร์ด เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง ไม่นอนพิมพ์ และระวังอย่าให้เท้าลอยเหนือพื้นเด็ดขาด เพื่อป้องกันสายตาด้วยให้หน้าจออยู่ห่างจากตัวประมาณ 2 ฟุต ไม่วางข้อมือที่จับเมาส์ในลักษณะโค้ง

ท่ากายบริหาร นอกจากนั่งกำมือ แบมือ หรือนวดไหล่แล้วยังมีท่ากายบริหารที่จะช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ และหน้าอกได้ด้วย

ท่าเหยียดแขนแนบผนัง ยื่นแขนขวาติดกำแพงให้แขนขนานกับพื้นโดยที่ฝ่ามือยังเกาะกำแพงไว้ วางหน้าอกให้ห่างจากกำแพงแต่อยู่ในระนาบเดียวกับแขน จากนั้นโน้มตัวไปด้านข้างโดยที่มือยังเกาะผนังแน่น อาจจะรู้สึกเจ็บแปลบแต่ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ทำค้างไว้ 30-60 วินาที และทำซ้ำข้างซ้ายอีกครั้ง

เกาะประตู เป็นการคลายกล้ามเนื้อไหล่ เริ่มจากใช้ข้อศอกทั้งสองข้างตั้งเป็นมุมฉาก วางแขนให้ติดกับขอบประตูหรือหน้าต่าง จากนั้นโน้มตัวไปข้างหน้าโดยให้หน้าอกอื่นออกไป ทำค้างไว้ 30-60 วินาที และทำซ้ำอีกครั้ง

นอก จากนี้ ยังมีการออกกำลังที่ช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้ออื่นๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการเต้นแอโรบิก เล่นโยคะ ซึ่งจะช่วยเรื่องมวลกระดูกกรณีที่ได้รับบาดเจ็บได้ด้วย

แพทย์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน กล่าวทิ้งท้ายว่า หากผู้มีอาการทราบได้เร็วว่าตนเองมีอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมให้รีบไปปรึกษา แพทย์เพื่อทำการรักษาและทำกายภาพบำบัด การยืดหยุ่นร่างกายจะช่วยให้อาการหายไวมากขึ้น อย่างไรก็ตามอาการสามารถเกิดซ้ำได้หากไม่ยอมปรับเปลี่ยนสไตล์ ซึ่งปล่อยไว้ระยะยาวภัยเงียบนี้อาจจะนำเราไปสู่เตียงผ่าตัดเอ็นกระดูกได้

เรียบเรียงโดย: อัญณิกา กฤษสมัย Team content www.thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด