อาการโรคปัสสาวะอักเสบ ยารักษาโรคปัสสาวะอักเสบ โรคปัสสาวะอักเสบ


1,881 ผู้ชม


อาการโรคปัสสาวะอักเสบ ยารักษาโรคปัสสาวะอักเสบ โรคปัสสาวะอักเสบ

            อาการโรคปัสสาวะอักเสบ

ยารักษาโรคปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

คำจำกัดความ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายและบ่อยกว่าผู้ชาย

อาการ

ผู้ป่วยที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ขณะปัสสาวะจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือปัสสาวะขัด (Dysuria)
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น และมีกลิ่น
  • รู้สึกกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เวลาปวดปัสสาวะต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที
  • ปัสสาวะบ่อย แต่ละปัสสาวะออกมาปริมาณไม่มาก และรู้สึกปัสสาวะไม่สุด (คือ ทันทีที่ปัสสาวะเสร็จก็ยังรู้สึกปวดปัสสาวะอีก)
  • อาจมีเลือดออกปนมาในปัสสาวะ (hematuria)
  • รู้สึกปวดหน่วงท้องน้อยหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • มีไข้ต่ำๆ

แต่ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อทุกราย เช่นอาจเกิดจากภาวะเครียดหรือเกิดจากยาเป็นต้น

สาเหตุ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดได้จาก
1. เกิดจากการติดเชื้อ : เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการมีแบคทีเรียจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะและมีการเจริญ เติบโตในกระเพาะปัสสาวะ จนเกิดเป็นการติดเชื้อและทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบตามมา ดังนั้นคนที่ชอบกลั้นปัสสาวะจะทำให้มีเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากคั่งค้างอยู่ใน กระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่าย
โดยทั่วไป เชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้ในผู้หญิงทั่วไป คือ เชื้อ Escherichia coli (E. coli) แต่ในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์มักเกิดจากเชื้อ Staphylococcus saprophyticus
แบ่งสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • การติดเชื้อจากชุมชน : มักเกิดในผู้หญิงอายุ 20-50ปี และผู้ชายที่มีอายุเกิน 55 ปี (เนื่องจากมักมีภาวะต่อมลูกหมากโต ซึ่งจะไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะตามมา) กลุ่มนี้มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่รุนแรงและไม่ค่อยดื้อยา ทำให้รักษาได้ง่ายและได้ผลการรักษาดี
  • การติดเชื้อจากในโรงพยาบาล : มักจะเกิดจากการใส่สายสวนปัสสาวะ (urinary catheter) เพื่อทำการระบายปัสสาวะเป็นเวลานาน ในกลุ่มนี้มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงและมักดื้อยาหลายตัว ทำให้รักษายากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อมาจากชุมชนและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนตาม มาได้มากกว่า

2. Interstitial cystitis : เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะปัสสาวะโดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

3. กระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดจากยา โดยเฉพาะยารักษามะเร็งกลุ่ม cyclophosphamide และ ifosfamide

4. เกิดจากการได้รับรังสีบริเวณกระเพาะปัสสาวะ โดยรังสีจะไปทำให้เนื้อเยื่อที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

5. เกิดจากการใช้สายสวนปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะและทำให้เนื้อเยื่อที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

6. อาจเกิดจากสารเคมี เช่น ฟองสบู่ หรือ น้ำยาฆ่าเชื้ออสุจิ (spermicidal jellies) ที่ใช้ในผู้หญิง

7. เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง (gynecologic cancers) โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก, ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disorders), พังผืดในอุ้งเชิงกราน (endometriosis), ลำไส้ใหญ่อักเสบ (diverticulitis)

การวินิจฉัย

ประวัติ : ผู้ป่วยจะมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว

การตรวจร่างกาย :

  • มักไม่ค่อยมีไข้
  • ตรวจบริเวณหน้าท้อง : พบว่าผู้ป่วยมีอาการกดเจ็บที่บริเวณท้องน้อยด้านล่างตรงกลาง
  • ไม่มีอาการเจ็บเวลาเคาะบริเวณหลังทั้งสองข้าง (ถ้าเจ็บจะทำให้สงสัยไตอักเสบจากการติดเชื้อ)

การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ :
1. การตรวจปัสสาวะ (Urine analysis) : เป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย, เร็วและราคาไม่แพง ดังนั้นจึงเป็นการตรวจที่ใช้บ่อยในเวชปฎิบัติทั่วไป ผลการตรวจจะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงรั่วออกมาในปัสสาวะ (เกิดจากเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะอักเสบ) และพบมีแบคทีเรียอยู่ในปัสสาวะ ดังนั้นการตรวจนี้บอกได้แค่ว่ามีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบแต่ไม่จำเป็นว่า ต้องเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเสมอไป
2. การนำปัสสาวะไปย้อมสีหาเชื้อแบคทีเรีย (Gram strain) และเพาะเชื้อ (urine culture) : ทำเฉพาะในรายที่ผลการตรวจปัสสาวะเบื้องต้นพบลักษณะของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพื่อหาชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
3. การตรวจทางรังสีเพิ่มเติม : เช่น การเอกซเรย์ทางเดินปัสสาวะ (Film KUB), การฉีดสีและเอกซเรย์เพื่อดูทางเดินปัสสาวะ (IVP) หรืออัลตราซาวน์ทางเดินปัสสาวะ การตรวจเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะ อักเสบ แต่จะทำในรายที่สงสัยว่าผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำบ่อยๆ หรือเกิดการติดเชื้อที่พบได้ไม่บ่อย
4. การส่องดูกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy) : ทำเฉพาะรายที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อน

ปกติโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่รักษาได้ไม่ยาก แต่ถ้าละเลยไม่รักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนคือ การติดเชื้อของไต (acute pyelonephritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียลามจากกระเพาะปัสสาวะขึ้นไปติดเชื้อที่ไต (ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง, ปวดเมื่อยที่หลัง, คลื่นไส้อาเจียน)

การรักษาและยา

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ คือ

  • การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย : รักษาโดยการให้กินยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 3-7วัน ขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อและลักษณะภูมิต้านทานของผู้ป่วย ยาปฎิชีวนะที่ใช้บ่อยคือยากลุ่ม quinolone เช่น norfloxacin, ofloxacin และ ciprofloxacin แต่ในผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์จะไม่ใช้ยากลุ่มนี้เพราะมีผลต่อทารกในครรภ์ ได้ จะเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่ม cephalosporin แทน เช่น cefdinir และ cefixime
  • การรักษา Interstitial cystitis : เนื่องจากเกิดได้จากหลายสาเหตุ การรักษาจึงขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
  • การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดจากสารเคมี : ให้หลีกเลี่ยงการใช้สารแคมีที่ทำให้เกิดโรค
  • การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดตามหลังการได้รับยาเคมีบำบัด : ป้องกันได้โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดก่อนเริ่มให้ยาเคมีบำบัดตัวที่ทำให้ เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

ยาที่เกี่ยวข้อง

ยาที่ใช้บ่อย Cefdinir, Cefixime, Ciprofloxacin, Norfloxacin, Ofloxacin,

แหล่งอ้างอิง

1. วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. Evidence-based clinical practice guideline ทางอายุรศาสตร์ 2548. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. 2548, 284-288.
2. ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ และ ธนิต วัชรพุกก์. ตำราศัลยศาสตร์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. 2546, 409-412.
3. พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อ. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด. 2548, 335-340.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


โรคปัสสาวะอักเสบ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หมายถึงเกิดการอักเสบของระบขับปัสสาวะซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ท่อปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ Urinary tract infection [UTI]

อาการโรคปัสสาวะอักเสบ ยารักษาโรคปัสสาวะอักเสบ โรคปัสสาวะอักเสบระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra)

ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นำออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้ำ และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดินอาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้ากระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis

เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระ นอกจากนั้นยังพบเชื้อ Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่

ใครมีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต
  • ผู้ที่คาสายปัสสาวะ
  • ผู้ป่วยที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียเช่นโรคเบาหวานประสาทไขสันหลังอักเสบ
  • ผู้หญิงมีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชายและตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดทำให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย

ผู้ป่วยที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง

  • ผู้ป่วยที่มีท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วจะปวด บางรายมีคราบหนองติดกางเกง
  • ผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการ ปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมากเมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดออก
  • ผู้ป่วยที่มีกรวยไตอักเสบ pyelonephritis จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

การวินิจฉัย

หากท่านอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจโดยก่อนการเก็บปัสสาวะต้องทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้องเก็บปัสสาวะโดยการสวนสาย เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนำไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ

แพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือด ขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ

ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปั สสาวะบ่อยหรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดย การฉีดสีเข้าเส้นเลือดและให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษา

  1. ผู้ป่วยที่เป็นมาไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจำตัว อาจเลือกใช้ยาดังต่อไปนี้ trimethoprim/ sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทำให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยา 7 วันเพื่อให้แน่นใจว่าหายขาด การรักษาด้วยยาโดยให้ยา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต่อมลูกหมากโต
  2. ผู้ป่วยที่เป็นมาก มีไข้สูง ปวดเอวควรรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาเข้าทางเส้น
  3. ผู้ป่วยผู้หญิงที่เป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4 ใน 5 คนจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือนดังนั้นจึงต้องป้องกันโดย
  • รับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazole เป็นเวลา 6 เดือน
  • รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อเกิดอาการ

วิธีป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ

  • ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้
  • ห้ามอั้นปัสสาวะ
  • ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
  • ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ
  • งดใช้ spray และการสวนล้างช่องคลอด
  • ควรอาบน้ำจากฝากบัว
  • การคลิบอวัยวะเพศจะช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่สามารถติดต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง

4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย มักจะพบร่วมกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากคาสายสวนปัสสาวะ 

Link https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/renal/uti/UTI.htm

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


อาการโรคปัสสาวะอักเสบ

ปัสสาวะขัด urinary frequency or dysuria
เชื่อว่าหลายท่านโดยเฉพาะคุณผู้หญิงคงเคยมี อาการปัสสาวะขัด หรือบางคนอาจจะเรียกว่าปวดปัสสาวะกันมาแล้วเนื่องจากผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ ส่วนผู้ชายพบไม่บ่อย การที่มีอาการเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุอยู่รอบๆท่อปัสสาวะเมื่อมีการได้รับบาดเจ็บของท่อ ปัสสาวะเช่น การขี่ม้า การขี่จักรยาน การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง การคุมกำเนิดโดยใช้ diaphragm หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน ก็เป็นสาเหตุของปัสสาวะขัด ผู้ที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีประวัติและความเจ็บป่วยดังนี้อาการ
  • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะออกครั้งละไม่มาก
  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
  • ปวดหน่วงบริเวณบริเวณหัวเหน่า
  • ปวดแสบเมื่อปัสสาวะจะสุด
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อย
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ถ้าเป็นกรวยไตอักเสบจะมีไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง คลื่นไส้อาเจียน
  • สำหรับผู้ชายสูงอายุอาจจะมีอาการปัสสาวะไม่พุง ปัสสาวะลำบากเป็นมาก่อน
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะเคยคาสายสวนปัสสาวะหรือส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ
หากท่านมีอาการดังกล่าวท่านต้องสังเกตอาการและเตรียมตอบคำถามของแพทย์
  1. ระยะเวลาที่ปวด
  • ปวดทุกครั้งหรือไม่ที่ปัสสาวะ
  • ปวดปัสสาวะกี่วันมาแล้ว
  • อาการปวดเกิดทันทีหรือไม่
  1. ลักษณะอาการปวด
  • อาการปวดจะเกิดเริ่มเมื่อปัสสาวะ
  • อาการปวดจะหายไปเมื่อปัสสาวะเสร็จ
  • ลักษณะอาการปวด แสบๆ ปวดบิดๆ 
  1. ตำแหน่งที่ปวด
  • ปวดที่หลัง 
  • ปวดที่หัวเหน่า
  • ปวดที่ท่อปัสสาวะ
  1. ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดมากขึ้น เช่น
  • ปวดมากขณะยืน นั่ง หรือนอน
  • ปวดเวลากลางวัน กลางคืน
  • อุจาระแล้ปวดหรือไม่
  1. อาการอื่นที่สำคัญ
  • ไข้ หนาวสั่น
  • หนองติดกางเกงในหรือไม่
  • สีและกลิ่นของปัสสาวะ
  • ปริมาณของปัสสาวะ
  • มีเลือดร่วมด้วยหรือไม่ 
หากท่านมีอาการดังกล่าวควรรีบรักษาด้วยตัวเองทันทีสามารถทำได้โดย
  • หากมีอาการปวดปัสสาวะให้รีบไปปัสสาวะทันที
  • รีบรับประทานยารักษาทันที
  • ให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณหัวเหน่าหรือเปิดน้ำอุ่นประคบ 20 นาทีทุก 2 ชั่วโมงใน สองวันแรกระวังอย่าให้น้ำร้อนจนผิวหนังได้รับอันตราย
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ
สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

อัพเดทล่าสุด