สาเหตุของโรคปัสสาวะเล็ด การแก้โรคปัสสาวะร้อน โรคปัสสาวะเล็ด
สาเหตุของโรคปัสสาวะเล็ด
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)
หลายท่านโดยเฉพาะผู้ที่สูงอาย ุและเป็นผู้หญิงมีอาการปวดปัสสาวะมากจนกระทั่งกลั้นปัสสาวะแทบจะไม่อยู่ จนไปห้องน้ำไม่ทัน บางท่านมีอาการปัสสาวะราดก็มี เมื่อไปตรวจกับแพทย์ แพทย์บอกตรวจไม่พบความผิดปกติและให้ยาแก้อักเสบ สักพักอาการก็กลับเป็นใหม่ เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นมาเป็นเดือน อาการเหล่านี้เรียก กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)
คำนิยามของโรค
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder) เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยอาการอยากปวดปัสสาวะ อาจจะมีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ด้วยก็ได้ มีอาการปัสสาวะบ่อย(มากกว่าวันละ 8 ครั้ง/วัน) ปัสสาวะกลางคืน(มากกว่า 2 ครั้ง/คืน) โดยที่ตรวจไม่พบสาเหตุสรุปอาการที่สำคัญคือ
- ปัสสาวะบ่อย
- ปวดมากจนต้องรีบไปปัสสาวะ
- ปัสสาวะเร็ด
โรคหรือภาวะที่ทำให้เกิดอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ ตามตารางที่นี่
ภาวะ | กลไก | การแก้ไข |
ทางเดินปัสสาวะ | ||
| การอักเสบทำให้กระตุ้นปลายประสาทเกิดอาการ อยากปัสสาวะ | ให้รักษาการติดเชื้อก่อน |
| การอุดกลั้นทำให้กล้ามเนื้อไวต่อการบีบตัว | การผ่าตัด |
กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวอ่อนแรง | การที่มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง |
|
มีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ (เช่นเนื้องอก นิ่ว) | ความผิดปกติทำให้กระเพาะปัสสาวะ ไวต่อการกระตุ้น | ตรวจหาสาเ้หตุและรักษา |
ผู้หญิง | ||
| มีการอักเสบของช่องคลอดและท่อปัสสาวะ | ใช่ยา estrogen ทาช่องคลอด |
|
|
|
ผู้ชาย | ||
| ต่อมลูกหมากโต กระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัว |
|
โรคระบบประสาท | รายละเอียดอ่านที่นี่ |
กลไกการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)
กระเพาะปัสสาวะของคนเรามีหน้าที่เก็บปัสสาวะ โดยการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท และประสาทอัตโนมัติ โรคที่เกิดกับอวัยวะเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปก ต
โดยปกติเมื่อมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 1/3 ของความจุจะเริ่มรู้สึกว่ามีน้ำในกระเพาะปัสสาวะ เพียงรู้สึกหน่วงๆระยะนี้จะไม่มีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะเลย ความรู้สึกปวดจะเริ่มเมื่อมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะซึ่งโดยประมาณ 300-400 ซม มล. หากมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ปัสสวะเริ่มสะสมถือว่าผิดปกติ
การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เริ่มเมื่อมีสัญญาณส่งความรู้สึกจากกระเพาะปัสสาวะเป็นความรู้สึกตึงตัว ของกระเพาะปัสสาวะผ่านไขสันหลังจนถึงสมอง เมื่อสมองแปลความหมายและเห็นสมควรว่าถ่ายปัสสาวะได้ จึงส่งกระแสประสาทลงมาไขสันหลัง ไปยังกระเพาะปัสสาวะให้บีบตัว ในขณะเดียวกันหากต้องการปัสสาวะโดยที่กระเพาะปัสสาวะไม่เต็มก็สามารถทำได้ โดยการสั่งจากสมองโดยตรง นอกจากนั้นกรณีที่กระเพาะปัสสาวะระคายเคืองจากการอักเสบ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดรู้สึกปวดปัสสาวะ
การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท อัตโนมัติ Parasympathetic ซึ่งมีสารนำประสาท neurotransmitter ที่สำคัญคือ Acetylcholine ในขณะเดียวกันที่ระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic ก็ทำหน้าที่ของมันคือเก็บกักปัสสาวะโดยทำให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว รายละเอียดอ่านที่นี่
สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ
การตรวจวินิจฉัย
ในการตรวจวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาได้ จุดประสงค์หลักของการวินิจฉัยคือการคัดกรองเอาโรคอื่นๆที่อาจจะมีอาการคล้าย คลึงกันออก เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือแม้กระทั่งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็อาจจะทำให้มี อาการคล้ายกัน โรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายๆกันอ่านที่นี่
การตรวจร่างกาย เริ่มจากการตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจระบบประสาทเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจจะเป็นสาเหตุหรือเกิดร่วมด้วย
การรักษา
การรักษา OAB
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- การรักษาเชิงพฤติกรรม (Behavioral therapy) เช่น การกำหนดเวลาถ่ายปัสสาวะ ปรับปริมาณและเวลาในการดื่มน้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ การดื่มน้ำต้องให้มีปริมาณมากพอ และต้องเลือกเวลาที่ดื่มด้วย
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวเช่น กาแฟ สุรา
- การบริหารกล้ามเนื้อุ้งเชิงกรานอ่านที่นี่ การบริหารแบ่งเป็นสองแบบคือแบบที่หนึ่งให้ขมิบสั้นถี่ อีกแบบหนึ่งคือขมิบแต่ละครั้งให้นับ 1-20 ระหว่างที่ขมิบอย่ากลั้นหายใจ ทำวันละ 30-80 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ทำแบบนี้บ่อยๆจะทำให้ลดอาการของปัสสาวะบ่อย
- Vaginal weight training โดยการใส่วัสดุเข้าในช่องคลอดและขมิบ ทำวันละ15 นาที วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
การใช้ยา
- anticholinergic drugs ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อน ตามัว ปัสสาวะคั่ง ยาที่ใช้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่
- oxybutynin มีทั้งที่ออกฤทธิ์ปานกลางและระยะยาวขนาดที่ให้ 5 mg วันละ 3 ครั้งซึ่งสามารถลดอาการปวดปัสสาวะและปัสสาวะเร็ด สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ยาวคือรับประทานยาวันละครั้งจะให้ผลการรักษาดีเหมือนกัน
- propiverine
- tolterodine มีทั้งออกฤทธิ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ใช้ได้ผลดีทั้งอายุมากและอายุน้อย
- and trospium
- Estrogen สำหรับผู้หญิงวัยทองจะใช้ทั้งยาทาหรือยารับประทานก็ได้ผล
- การรักษาด้วยยา
- การรักษาโดยปรับสมดุล
- การฉีด botulinum toxin
- การผ่าตัดขยายกระเพาะปัสสาวะ(Augmentation cystoplasty)
เอกสารอ้างอิง
- New England Journal of Medicine Volume 350:786-799 February 19, 2004 Number 8 Joseph G. Ouslander, M.D.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การแก้โรคปัสสาวะร้อน
ทำไงดี! ปวดฉี่บ่อยจัง
ทำไงดี! ปวดฉี่บ่อยจัง

โรคกระเพาะปัสสาวะ ไวเกิน
ทำไงดี! ปวดฉี่บ่อยจัง (ไทยรัฐ)
ผู้ที่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ ทุกชั่วโมง เวลาปวดจะรุนแรงมากจนต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที มักจะตื่นขึ้นมากลางดึกเกินกว่า 1 ครั้งเพราะปวดปัสสาวะจนทนไม่ไหว เวลาทำงานต้องลุกเข้าห้องน้ำบ่อยมากจนรู้สึกรำคาญ เวลาเดินทางไปไหนไกลๆ หรือรถติดบนท้องถนนก็มักจะรู้สึกปวดปัสสาวะกลางทาง สร้างความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก นพ.บุญเลิศ สุขวัฒนาสินิทธิ์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งมักพบได้จากหลายสาเหตุ แต่โรคหนึ่งที่พบบ่อยแต่ประชาชนทั่วไปยังอาจรู้จักน้อย คือ โรคกระเพาะปัสสาวะ ไวเกิน หรือ Over Active Bladder, OAB
โรคกระเพาะปัสสาวะ ไวเกิน เป็นกลุ่มอาการของความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เป็นภาวะที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ บางคนเป็นมากต้องปัสสาวะ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง ยิ่งอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ จะปัสสาวะบ่อยมากขึ้น และรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างรุนแรง เวลาปวดจะกลั้นไม่ค่อยได้ต้องรีบเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วน รวมทั้งต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ จนรบกวนการนอนหลับ บางครั้งอาจมีปัสสาวะเล็ด หรืออาจมีอาการเจ็บท้องน้อยร่วมด้วย อาการจะคล้ายๆ กับเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบธรรมดา แต่จะเป็นค่อนข้างเรื้อรังเป็นเวลานาน
ก่อนหน้านี้เคยเข้าใจกันว่าภาวะปัสสาวะไวเกินมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ปัจจุบันพบว่า ในผู้ชายก็เป็นโรคนี้มากขึ้น โดยมักพบร่วมกับภาวะต่อมลูกหมากโต และพบได้ในคนทุกวัย แต่ไม่ค่อยพบโรคนี้ในเด็ก ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้ ผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดกับคุณภาพชีวิตโดยรวม เพราะอาการที่เป็นจะเป็นมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน มีปัญหาเวลาที่ต้องอยู่ในรถที่ติดขัด ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญ มีผลต่อความสะอาดของบริเวณช่องคลอด และขาหนีบ ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม ผู้ป่วยจะไม่อยากไปไหน เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะมีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่จะไป
อะไรคือสาเหตุของ โรคกระเพาะปัสสาวะ ไวเกิน
สาเหตุ ส่วนใหญ่ของอาการ กระเพาะปัสสาวะไวเกิน ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากระบบประสาทที่บริเวณกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อยและไวกว่ากำหนด โดยที่ยังมีปริมาณปัสสาวะไม่มากพอที่จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง คือ พบร่วมกับภาวะการอักเสบ ติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะหมดประจำเดือนและโรคทางระบบประสาทบางชนิด
มีวิธีการตรวจวินิจฉัย โรคกระเพาะปัสสาวะ ไวเกินอย่างไร
การวินิจฉัย ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Overactive Bladder, OAB) จำเป็นต้องซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะระบบประสาท และการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตัดโรคอื่นๆ ที่อาจมีอาการและอาการแสดงคล้ายกันเสียก่อน ได้แก่








โรคกระเพาะปัสสาวะ ไวเกิน รักษาได้อย่างไร
เนื่อง จากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้น การรักษาจึงใช้แนวทางรักษาหลายชนิดมาผสมผสานกัน กล่าวคือการรักษาภาวะหรือโรคที่มีผลก่อให้เกิดปัญหากระเพาะปัสสาวะไวเกิน ดังกล่าวข้างต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดดื่มน้ำก่อนนอน หลีกเลี่ยงยา หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุนการขับปัสสาวะ เช่น ยาขับปัสสาวะ น้ำชา กาแฟ การจัดที่นอนใหม่ให้เข้าห้องน้ำได้สะดวกขึ้น





การจะการรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะพิจารณาตามความจำเป็นในแต่ละราย ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน ถึงแม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมาก มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในหลายๆ ด้าน จึงจำเป็นที่แพทย์ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สูตินรีแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ อายุรแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ให้ความสำคัญและให้การดูและรักษาอย่างจริงจัง เพื่อให้หายหรือบรรเทาจากภาวะดังกล่าวได้ และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

โรคปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะเล็ด ปัญหาไม่เล็กของผู้หญิง
ปัสสาวะเล็ด ปัญหาไม่เล็กของผู้หญิง

ปัสสาวะเล็ด ...ปัญหาไม่เล็กของผู้หญิง (mcot)
ปัสสาวะเล็ด เป็นปัญหาที่พบมากในเพศหญิง เนื่องจากปัจจัยบางอย่าง เช่น การตั้งครรภ์ การคลอด การผ่าตัดทางนรีเวช โดยเฉพาะการผ่าตัดมดลูก จากการศึกษาพบว่า ประชากร 1 ใน 5 ที่เป็นโรคนี้เป็นหญิงมากกว่าชายถึง 3 เท่า
ความ เข้าใจผิดที่ว่า อายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยหลักทำให้เกิดโรค ประกอบกับรู้สึกอายุที่เป็นผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงมักมาพบแพทย์เมื่อเป็นมานานหรือมีอาการมากแล้ว ทั้งที่จริงๆ แล้วปัสสาวะเล็ดเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย
หลากสาเหตุ... ปัสสาวะเล็ด
สาเหตุ สำคัญคือความผิดปกติที่เกิดขึ้นทั้งส่วนในของการทำงาน และด้านกายภาพของอวัยวะที่มีส่วนในการควบคุมการปัสสาวะ เช่น สมองและระบบประสาทที่ควบคุมการกลั้นและขับปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบหูรูด และกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน
ในวัยเด็ก เกิดจากระบบการควบคุมการปัสสาวะยังไม่เข้าที่และพฤติกรรม รวมทั้งอุปนิสัยบางอย่าง มักออกมาในรูปแบบการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน
ในวัยสาว มักเกิดจากอุปนิสัยบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มน้ำน้อย กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ หรือเป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการบีบตัวผิดปกติจนกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
สำหรับ วัยกลางคน คนที่เคยตั้งครรภ์หรือเคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน อาจมีการเสื่อมของหูรูดและการหย่อนยานของผนังช่องคลอด รวมทั้งบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะปิดไม่สนิท เกิดอาการปัสสาวะรั่วออกมาได้ ในวัยสูงอายุและประจำเดือนหมดแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้เยื่อบุในท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่น ระบบการปิดกลั้นปัสสาวะของท่อปัสสาวะลดลง ทำให้ปัสสาวะรั่วซึมได้เช่นกัน
นี่แหละ...อาการบ่งชี้ ปัสสาวะเล็ด
หลาก อาการของ ปัสสาวะเล็ด ได้แก่ มีความรู้สึกว่าจะต้องปัสสาวะ แต่ไม่สามารถไปปัสสาวะได้ทัน ไอ จาม มีปัสสาวะเล็ดออกมา อาการปัสสาวะไหลราดโดยไม่รู้ตัว ปัสสาวะไหลราดตลอดเวลา ปัสสาวะรดที่นอน หรือปัสสาวะหยดหลังการปัสสาวะ
หนทางแก้ไข ปัสสาวะเล็ด
การ รักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคว่า เกิดความบกพร่องที่อวัยวะในการควบคุมการปัสสาวะส่วนใดโดยทั่วไปแนวทางในการ รักษามีอยู่ 3 วิธี คือ พฤติกรรมบำบัด การรักษาทางยา และการผ่าตัด ผู้ที่มีอาการไม่มากควรเริ่มจากการทำพฤติกรรมบำบัด นั่นคือการฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการขมิบหูรูด ลักษณะเหมือนตอนที่กลั้นปัสสาวะ ทำอย่างน้อยวันละ 100 ครั้ง แล้วเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นเรื่อยๆ วิธีการนี้ต้องมีความอดทน เพราะต้องใช้เวลานับเดือนกว่าจะเห็นผลและควรทำต่อเนื่องเพื่อลดการเกิด ซ้ำ
บาง ครั้งก็ต้องร่วมกับการรักษาทางยา เช่น ยาช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณท่อปัสสาวะ ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น หรือใช้อุปกรณ์ในการลดการรั่วซึมของปัสสาวะ เช่น อุปกรณ์สอดช่องคลอด เพื่อยกและกดบริเวณทางออกหรือคอของกระเพาะปัสสาวะไว้ หรืออุปกรณ์สอดใส่ท่อปัสสาวะ หรือการใช้ผ้าอนามัยเพื่อซับน้ำปัสสาวะที่รั่วซึมไว้
แต่ ถ้ามีอาการมากจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ในกรณีที่มีการหย่อนของคอกระเพาะปัสสาวะ จะทำการผ่าตัดเพื่อพยุงบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ถ้ามีการหย่อนของผนังช่องคลอดร่วมด้วยก็จะทำการผ่าตัดซ่อมแซมผนังช่องคลอด ที่เราเรียกกันทั่วไปว่าการทำรีแพร์ด้วย
4 วิธีง่ายๆ ป้องกัน ปัสสาวะเล็ด ได้




ปัญหา ใหญ่ก็กลายเป็นปัญหาเล็กๆ ที่ป้องกันและแก้ไขได้ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค และหมั่นดูแลตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้ คุณผู้หญิงยุคใหม่ก็ห่างไกลโรคปัสสาวะเล็ดแล้วครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++