โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อาการโรคกระเพาะอาหาร โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ“กระเพาะอาหารอักเสบ”
โรคเรื้อรังที่เป็นๆ หายๆ
พบ 62 %ของผู้ป่วยที่ปวดท้องกว่า 3 พันราย มีสาเหตุจากแผลในกระเพาะอาหาร
คน ทั่วไปมักจะเข้าใจว่าอาการปวดท้องหรือไม่สบายในท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ ที่เป็นๆหายๆมานานนั้น เป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งมักคิดว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แท้จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ภายในช่องท้องก็เป็นได้
โรคกระเพาะอาหารเป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อย ที่สำคัญได้แก่ โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร
ส่วน ใหญ่พบว่าผู้ป่วยมักไปพบแพทย์ด้วยเรื่องอาการปวดท้องเรื้อรังเป็นๆ หายๆ หรือรู้สึกไม่สบายในท้องบริเวณลิ้นปี่ บางคนอาจมีอาการอืดแน่นท้อง แสบลิ้นปี่ มีเรอแน่น คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้
เมื่อ ดูสาเหตุของโรคจะพบว่าข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราชแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยเรื่องปวดท้อง ไม่สบายในท้องบริเวณลิ้นปี่จำนวนเกือบ 3 พันราย มีสาเหตุมาจากโรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบประมาณ 62 % เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก 21 % เป็นโรคหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน 5 % มะเร็งกระเพาะอาหารประมาณ 2 % และที่เหลือเป็นโรคอื่นๆอีก 9.8 % อาทิ โรคนิ่วในถุงน้ำดี , โรคเกี่ยวกับตับอ่อน เป็นต้น
คน ไข้ในกลุ่มที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบอาจจะมีอาการปวดจุกแน่นท้อง ไม่สบายท้อง อืดแน่นท้อง เรอ ย่อยลำบาก แสบยอดอก คลื่นไส้ โดยอาการอาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหารก็ได้ โดยมีอาการเรื้อรังเป็นมานาน อาการเป็นๆ หายๆ บางรายอาจจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นเอง หรือดีขึ้นหลังได้ยาลดกรด บางรายจะมีอาการคล้ายผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารโดยผู้ป่วยในกลุ่ม นี้อาจมีอาการได้ดังต่อไปนี้
ปวด หรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นเวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว อาจมีอาการเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน
อาการปวดแน่นท้อง อาจจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด
อาการปวดมักจะเป็นๆ หายๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น อาจปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
ส่วนใหญ่มักจะไม่ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
อาจ จะมีอาการสัมพันธ์กับความเครียด แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรมโรคนี้จะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆ หายๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม
โดยทั่วๆไป ผู้ป่วยจะมีสุขภาพดี ไม่ควรมีอาการของการเสียเลือด เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ น้ำหนักลด ปวดท้องรุนแรง หรือมีไข้
สาเหตุของโรค
ในปัจจุบัน เรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แท้จริงเชื่อว่าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นเรื้อรัง คือ
1. การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2. ความไวของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไป
3. มีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก อาทิ อาหาร, ยา เป็นต้น
4. เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอรี่
5. สภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
เป็นการอักเสบของเยื่อบุด้านในกระเพาะอาหารทั้งหมด หรือบางบริเวณเท่านั้น แบ่งเป็น
1. โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลัน หมายถึง โรคที่เป็นในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ก็หาย อาการสำคัญคือ จะปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักเป็นเวลากินอาหาร หรือหลังอาหารเล็กน้อย คลื่นไส้อาเจียน ในรายที่รุนแรง จะมีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระสีดำได้ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย สาเหตุที่พบบ่อย คือ จากอาหารเป็นพิษ พิษสุรา และจากยาที่มีฤทธิ์ระคายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เช่น ยาแอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบ
2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เป็นนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการของโรคเป็นแบบเรื้อรัง เป็นๆ หาย ๆ การใช้ยาจะช่วยอาการให้ดีขึ้นในผู้ป่วยบางราย บางรายแม้ไม่ได้ใช้ยาอาการก็ดีขึ้นเอง แต่ไม่พบการเกิดโรคร้ายหรือโรคอื่นๆแตกต่างไปจากคนปกติทั่วๆไป
หลักการปฏิบัติตัว
กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา
งดสูบบุหรี่
งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหาร
ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์
พึง ระลึกไว้เสมอว่า โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาบางช่วง หรือใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ที่สำคัญจะต้องปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่ออาการจะได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
เรียบเรียงโดย : จุฑารัตน์ สมจริง Team Content www.thaihealth.or.th
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อาการโรคกระเพาะอาหาร
อาการของโรคกระเพาะ
1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
- ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบๆหรือร้อนๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
- ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้
2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
- อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
- ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
- ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
อาการของโรคกระเพาะอาหารจะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีแผลใหญ่มากในกระเพราะอาหาร หรือลำไส้ บางรายปวดท้องมากแต่ไม่มีแผลเลยก็ได้
อาการอื่นที่พบได้
- น้ำหนักลด
- เบื่ออาหาร
- แน่นท้อง ท้องเฟ้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน
ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์
- ปวดท้องทันที ปวดเหมือนถูกมีดบาด ขยับตัวหรือหายใจแรงๆจะทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น และปวดไม่หาย ซึ่งอาจจะเกิดจากกระเพาะอาหารทะลุ
- อุจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด เนื่องจากเลือดออกทางเดินอาหาร
- แน่นท้องอาเจียนบ่อย เป็นอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจจะเกิดจากลำไส้อุดตัน
การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร
หากอาการปวดท้องเหมือนกับโรคกระเพาะอาหารแพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยโรคกระเพาะดังนี้
- จะตรวจกลืนแป้งแล้ว x-ray เป็นวิธีที่ทำง่าย ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องให้ยานอนหลับ ตรวจเสร็จแล้วกลับบ้านได้ ข้อเสียของการตรวจวิธีนี้คือไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง แลไม่สามารถนำเนื้อเยื่อไปตรวจ
- endoscope เป็นวิธีการที่สำคัญในการตรวจและรักษา ข้อดีของการตรวจคือเห็นด้วยตา สามารถถ่ายรูป และนำเนื้อเยื่อไปตรวจ ข้อเสียต้องใส่ท่อเข้าในกระเพาะ อาจจะต้องใช้ยานอนหลับเพื่อดูว่ามีแผลหรือไม่
การวินิจฉัย H. pylori
หลังจากแพทย์พบว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหารแพทย์จะส่งตรวจว่าเป็น H. pylori ได้หลายวิธี
- โดยการเจาะเลือดหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ H. pylori
- Breath tests วิธีนี้โดยมากใช้ติดตามหลังการรักษา โดยการให้ผู้ป่วยดื่มสาร urea ซึ่งมี atom ของ carbon ที่อาบรังสี ถ้าผู้ป่วยมีเชื้อในกระเพาะจะตรวจพบ atom ของ carbon จากลมหายใจ
- จากการตัดเนื้อเยื่อโดยการส่องกล้องซึ่งตรวจได้ 3 วิธี
- นำเนื้อเยื่อทำปฏิกิริยา urease test ถ้ามีเชื้อจะให้ผลบวก
- นำเนื้อเยื่อส่องกล้องหาตัวเชื้อ
- นำเนื้อเยื่อไปเพาะเชื้อ
อาการของโรคกระเพาะ วิธีการรักษา อาหารสำหรับโรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร
Link https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/pu/pu_sym.html
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ และลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
- เชื่อโรค Helicobacter pylori
- สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี
- กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
- การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
- ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
- การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
- การกินอาหารไม่เป็นเวลา
- ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามาก จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
- การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
- การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
- การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
- ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง
Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร
เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
Link https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/pu/peptic_ulcer.htm