การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื้องอกในกระเพาะอาหาร ส่องกล้องกระเพาะอาหาร


1,378 ผู้ชม


การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื้องอกในกระเพาะอาหาร ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

การส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการส่องกล้องเข้าไปทางปากนั้นเป็นวิธีการที่ใช้สำหรับตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นวิธีที่จำเป็นต้องทำในโรงพยาบาล ดังนั้นแต่ละท่านอาจจะตื่นเต้นหรือหวาดกลัวต่อการตรวจนี้ ก่อนส่องกล้องผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่โดยการให้กลืนยาชาแล้วตามด้วยการพ่นยาชาเข้าในลำคอ

การเตรียมตัวเพื่อรับการตรวจหลอดอาหารกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการส่องกล้องเข้าทางปาก

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น คืออะไร

คือการส่องกล้องตรวจเยื่อบุหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยการสอดใส่สายยางเล็กที่มีเลนส์และแสงไฟ ส่องกล้องเข้าทางปาก ทำให้แพทย์สามารถมองเข้าไปตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนตัวได้ โดยอาจจะดูผ่านจอทีวีหรือผ่านทางกล้อง เพื่อดูว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารเป็นท่อเล็กบางที่สามารถงอได้ มีให้กล้องขยาย แสงสว่างที่ปลายท่อ ซึ่งสามารถใส่ผ่านจากปากเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื้องอกในกระเพาะอาหาร ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

ทำไมต้องส่องกล้องตรวจลำไส้เล็กส่วนต้น

แพทย์จะใช้การส่องกล้องเพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคต่อไปนี้

  • ปวดด้านบนของท้อง
  • อาเจียนโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • กลืนอาหารลำบาก
  • เลือดออกทางเดินอาหาร

การใช้กล่องส่องจะทำให้เห็นเยื่อบุกระเพาะเพื่อดูการอักเสบ ดูแผล ดูเนื้องอก นอกจากนั้นยังสามารถตัดเนื้อเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง เพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนั้นยังใช้การส่องกล้องเพื่อรักษาเลือดออกทางเดินอาหาร

ควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนมาตรวจ

  1. ใหนอนพักผ่อนให้เพียงในคืนก่อนมารับการตรวจ
  2. ห้ามรับประทานอาหาร และดื่มน้ำทุกชนิดก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชม. ก่อนการตรวจทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะอาหารว่างเปล่า เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการสำลักอาหาร และน้ำเข้าไปในหลอดลมขณะที่กลืนกล้องลงสู่ลำคอ
  3. ผู้ป่วยควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที่เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวให้พร้อม
  4. ในรายที่มีฟันปลอมถอดได้ ต้องถอดออก หรือมีฟันโยกต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  5. ถ้ามีโรคประจำตัว หรือแพ้ยาต่างๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อนการส่องกล้องต้องบอกแพทย์
  6. ควรนำญาติมาด้วย ถ้าผู้ป่วยกลัวและวิตกกังวล
  7. ถ้าต้องการใบรับรองแพทย์ หรือ ใบเบิกใดๆต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  8. ไม่ใส่เครื่องประดับติดตัวมา
  9. แต่งกายให้หลวมสบายๆสะดวกในการผลัดเปลี่ยน

อะไรจะเกิดขึ้นบ้างกับตัวท่าน ขณะได้รับการตรวจ

  1. เมื่อถึงห้องตรวจผู้ป่วยจะได้พบกับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่จะดูแลท่านตลอดเวลาที่ท่านได้รับการตรวจ
  2. ในห้องตรวจ ท่านจะได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่ลงในลำคอ เพื่อให้ยาชาบริเวณด้านหลังของคอ สำหรับยาชาที่พ่นนี้สามารถกลืนลงไปได้โดยไม่เป็นอันตราย บางรายอาจจะให้ยาคลายเครียดเพื่อลดความกังวลของผู้ป่วย
  3. ท่านจะต้องให้นอนตะแคงซ้าย หลังจากนั้นแพทย์จะใส่ท่อเพื่อกันการกัดในปาก ซึ่งจะมีรูเปิดไว้สำหรับให้กล้องผ่านลงไปได้
  4. หลังจากนั้นแพทย์จะทำการส่องกล้อง โดยจะผ่านจากปากเข้าไปในลำคอ กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยไม่เจ็บ ซึ่งปกติจะใช้เวลาในการตรวจ ประมาณ 10-20 นาที ในระหว่างทำการตรวจ แพทย์ผู้ตรวจจะใส่ลมเล็กน้อย เข้าไปในกระเพาะอาหาร เพื่อให้กระเพาะขยาย และสามารถมองเห็นสิ่งผิดปกติภายในได้ ซึ่งจะไม่เจ็บเพียงแต่บางท่านอาจจะรู้สึกรำคาญบ้าง และบางท่านอาจมีน้ำลายมาก ควรปล่อยให้นำลายไหลออกมา ไม่ต้องกลัวเปื้อน เนื่องจากจะมีผ้ารองน้ำลายปูไว้ให้ กั้นเปื้อน กรุณาอย่ากลืนนำลายลงไป เพราะจะทำให้สำลักและอึดอัดได้ตลอดเวลาที่แพทย์ทำการส่องกล้องตรวจนี้ผู้ป่วยหายใจทาง จมูกไม่ควรหายใจทางปาก

หมายเหตุ

  • ในรายที่กลัวและวิตกกังวล แพทย์อาจจะให้ฉีดยาคลายกังวลให้ หลังจากตรวจไม่ควรขับรถด้วยตัวเอง
  • การปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ จะช่วยให้การตรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และปลอดภัย
 

การปฏิบัติตนหลังได้รับการตรวจ

  1. ท่านจะรู้สึกเหมือนมีเสมหะติดยู่ในลำคอ หรือรู้สึกหนาๆ เหมือนมีอะไรติดอยู่ในลำคอ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาชา ความรู้สึกเช่นนี้จะยังอยู่ประมาณ 10-15 นาที หลังจากหมดฤทธิ์ยาชาแล้ว อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไป เป็นปกติเช่นเดิม
  2. ระหว่างที่คอยังชาอยู่ ให้บ้วนน้ำล้างปากได้ เพียงแต่อย่ารีบร้อนดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารเพื่อป้องกันอาการสำลัก
  3. หลังจากคอหายชาแล้วให้เริ่มจิบน้ำก่อน เพื่อทดสอบระบบการกลืน ว่าเป็นปกติหรือยังจึงให้รับประทานอาหารได้ ควรจะเริ่มรับประทานอาหารก่อน จนสามารถกลืนได้ง่ายขึ้น
  4. สำหรับผู้ป่วยบางท่านที่ได้รับยาฉีดให้นอนหลับเพื่อคลายกังวล อาจจะยังมีอาการง่วงนอนอยู่จำเป็นต้องนอนพักให้ฟื้น และรู้สึกตัวดีก่อน จึงกลับบ้านได้
  5. ผู้ป่วยบางท่านที่นอนพักใน ร.พ. อาจจะต้องงดน้ำ และอาหารต่อตามแผนการรักษาของแพทย์
  6. สำหรับผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ เมื่อกลับบ้านแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานอาหารและยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
  7. เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ควรมารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

โรคแทรกซ้อน

  • เลือดออกโดยเฉพาะบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อ มักจะหายได้เอง
  • แพ้ยานอนหลับ
  • กระเพาะอาหารทะลุ

หลังการตรวจหากมีไข้ เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก เจ็บหน้าอก หรือเจ็บท้องต้องรีบแจ้งแพทย์

Link https://www.siamhealth.net/public_html/investigation/gi/endoscope.htm

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


เนื้องอกในกระเพาะอาหาร

 

มะเร็งกระเพาะอาหาร

 
   
 

มะเร็งกระเพาะอาหาร

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื้องอกในกระเพาะอาหาร ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารพบมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก โดยพบร้อยละ 8.7 ของโรคมะเร็งทั้งหมด คิดเป็น 876.3 คนต่อประชากร 100,000 คน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากถึง 646.6 คน ต่อประชากร 100,000 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่มีอัตราการเกิดโรคและอัตราตายใกล้เคียงกัน แสดงว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงและยังไม่มีวิธี
 
ประเทศที่พบมะเร็งกระเพาะ อาหารมากคือประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี ในยุโรปพบน้อย เช่น ในประเทศอังกฤษ พบผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารใหม่ 10,000 คนต่อปี และในจำนวนนี้ผู้ป่วยจำนวนถึง 6,360 ราย เสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร พบมากในช่วงอายุ 60 ปี ถึง 70 ปี พบน้อยในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีลงมา ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ผ่าตัดได้ และถึงแม้ว่าจะผ่าตัดได้ ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้นที่มีชีวิตรอดถึง 5 ปี ภายหลังการผ่าตัดรักษา ส่วนผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่ได้ จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี น้อยกว่าร้อยละ 5

ปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารไม่ทราบชัดเจน อย่างไรก็ตาม พบว่ามีปัจจัยหลายชนิดที่มีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง กระเพาะอาหาร ดังนี้

 

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื้องอกในกระเพาะอาหาร ส่องกล้องกระเพาะอาหาร


1. อาหาร การรับประทานอาหารที่เค็มจัด อาหารปิ้งย่าง การไม่รับประทานผักสด และผลไม้สด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีนิยมรับประทาน เนื้อย่าง ผักดอง เช่น กิมจิ เป็นประจำ ทำให้พบผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารจำนวนมาก เมื่อคนญี่ปุ่นอพยพไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารลดน้อยลง แสดงว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
2. พันธุกรรม โรคทางพันธุกรรมบางอย่างเกี่ยวข้องกับการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น โรค Li-Fraumeni syndrome และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด hereditary non-polyposis colorectal cancer
3. กรุ๊ปเลือด ผู้ป่วยที่มีเลือดกรุ๊ปเอ มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าคนทั่วไป
4. ระยะก่อนเป็นมะเร็ง ผู้ที่มีติ่งเนื้องอกในกระเพาะอาหารชนิด adenomatous polyp มีความเสี่ยงต่อการกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ร้อยละ 10-20 โดยเฉพาะถ้ามีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร
5. การติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ เฮอลิโดแบคเตอร์ ไพรอไล ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารและกระเพาะอาหารอักเสบมีการสร้างสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรโส ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 3-5 เท่าสูงกว่าคนปกติ
6. ภาวะโลหิตจางชนิด pernicious จะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าคนทั่วไป
7. การไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร (achlorhydria) ผู้ป่วยที่ไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้สูงขึ้น
8. ประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหารบางส่วน (partial gastrectomy) ผู้ป่วยที่มีประวัติผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูงกว่าคนปกติ
อาการและอาการแสดง
อาการที่พบบ่อยของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร คือ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง ปวดท้องด้านบน ท้องอืดผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด กลืนอาหารลำบาก และถ่ายดำ บางครั้งอาจคลำพบก้อนที่ลิ้นปี่ หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้ายซ้ายโต ตับโต บางรายที่มะเร็งกระจายไปที่ปอดอาจเกิดอาการหอบเหนื่อยได้ ในผู้ป่วยหญิงบางราย มะเร็งกระเพาะอาหารอาจหลุดไปในช่องท้อง ไปเกาะเป็นก้อนที่รังไข่คล้ายมะเร็งรังไข่ได้

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เนื้องอกในกระเพาะอาหาร ส่องกล้องกระเพาะอาหาร


พยาธิสภาพ
มะเร็งกระเพาะอาหารมีรักษาทางพยาธิสภาพหลายชนิด ชนิดที่สำคัญมีดังนี้
1. มะเร็งกระเพาะอาหารชนิดที่เกิดจากต่อม (adenocarcinoma) พบมากที่สุดถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารทั้งหมด มีลักษณะคล้ายเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นถ้าเป็นแผลในกระเพาะอาหาร รักษาไม่ดีขึ้น ต้องตรวจว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารหรือไม่
2. มะเร็งกระเพาะอาหารที่เกิดจากต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) มีหลายชนิดเช่น mucosa associated lymphomatoid tissue (MAL) และ diffuse large B-cell lymphoma
3. มะเร็งจีสต์ (gastrointestinal stromal tumors) ร้อยละ 60 ของมะเร็งชนิดนี้เกิดที่กระเพาะอาหาร วินิจฉัยโดยการย้อมพิเศษ เรียกว่าการย้อม c-kit หรือ CD117 ตอบสนองดีต่อยาต้านยีนมะเร็ง kit เรียกว่ายาก imatinib เป็นยารับประทาน
การแบ่งระยะของโรค
เราอาจแบ่งระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 มะเร็งกระเพาะอาหารที่อยู่ที่ผิวด้านในของผนังกระเพาะอาหาร (T1) และอาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อม (N1) หรือลุกลามไปถึงขั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง (T3)
ระยะที่ 2 มะเร็งกระเพาะอาหารอยู่ที่ผิวด้านในของกระเพาะอาหาร (T1) และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม (N2) หรือลุกลามเข้าถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร (T2) และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อม (N1) หรือมะเร็งกระเพาะอาหารลุกลามถึงผิวนอกของผนังกระเพาะอาหาร (T3) แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง (N0)
ระยะที่ 3 มะเร็งกระเพาะอาหารอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อ (T2) และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือมะเร็งลุกลาม ถึงผิวนอกของกระเพาะอาหาร (T3) และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามไปถึงอวัยวะใกล้เคียง (T4) แต่ไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง (N0)
ระยะที่ 4 มะเร็ง กระเพาะอาหารแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ (M1) หรือเข้าต่อมน้ำเหลือง มากกว่า 15 ต่อม หรือมะเร็งกระเพาะอาหารที่ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง (T4) และเข้าต่อมน้ำเหลือง (N1-3)
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารทำได้โดยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การเจาะเลือดตรวจ การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร และการตรวจทางรังสีวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของปอดและช่องท้องเป็นต้น ในรายที่สงสัยว่ามะเร็งเข้ากระดูกอาจตรวจได้โดยการสแกนกระดูก การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ต้องตัดหรือเจาะชินเนื้อมะเร็งมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ บางรายอาจต้องมีการย้อมพิเศษเพิ่มเติม
การรักษา
1.การผ่าตัด

เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่เป็นเฉพาะที่ ซึ่งยังอยู่ในระยะที่ผ่าตัดได้ ศัลยแพทย์มีความสำคัญมากต่อผลของการรักษาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพบผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารมาก หมอผ่าตัดมีความชำนาญในการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีผู้ป่วยน้อยกว่า ส่งผลให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาที่ดีกว่าหลายๆ ประเทศ
ในยุโรปมีการศึกษาว่าศัลยแพทย์เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะ อาหาร หรือไม่ โดยส่งศัลยแพทย์จากยุโรปไปฝึกฝนการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหารที่ประเทศ ญี่ปุ่น และกลับไปประเทศของตนเอง พบว่าผลการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหารดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยวิธีการผ่าตัด ถ้าผ่าตัดโดยแพทย์ที่ชำนาญจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น

มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่ 1 มีอัตรารอดชีวิตที่ 5 หลังการผ่าตัดร้อยละ 70
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่ 2 มีอัตรารอดชีวิตที่ 5 หลังการผ่าตัดร้อยละ 30-40
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่ 3 ผ่าตัดได้หมด มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี เพียงร้อยละ 15 เท่านั้น
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่ 4 ผ่าตัดไม่ได้ มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี น้อยกว่าร้อยละ 5
2.รังสีรักษา
ปัจจุบันนี้รังสีรักษามีข้อบ่งชี้ในการให้ร่วมกับยาเคมีบำบัดเสริมภายหลัง การผ่าตัด มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่เป็นเฉพาะที่ โดยสามารถลดการกลับเป็นซ้ำของโรคภายหลังการผ่าตัดและยืดชีวิตผู้ป่วยได้ มากกว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
3.เคมีบำบัด
การวิเคราะห์ผลจากการวิจัยต่างๆ (meta-analysis) พบว่ายาเคมีบำบัดเสริมพลังการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหาร มีประโยชน์ในการป้องกันการกลับเห็นซ้ำของโรค การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาภายหลังการผ่าตัดสามรถป้องกันการกลับ เป็นซ้ำของมะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่เป็นมาก เช่น มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง (N1)หรือลุกลามไปถึงผิวนอกของกระเพาะอาหาร(T3)
มีการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พบว่าถ้าไห้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหาร มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคดีกว่าการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว (Magic Trial)
การศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นโดยนายแพทย์ชินอิจิ สาคูราโมโต พบว่าถ้าให้ยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน(ยาS-1) ภายหลังการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหารระยะ ที่ II และII I จำนวน 529 คน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดเสริมภายหลังการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหาร สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ผ่าตัดอย่างเดียว
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแพร่กระจาย (รายะที่4) การให้ยาเคมีบำบัดสามารถควบคุมได้ในผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด ซึ่งมีทั้งยาเคมีบำบัดแบบรับประทานและแบบฉีด ถ้าใช้ยาเคมีบำบัด 3 ชนิดร่วมกัน เช่น ยา cisplstin, 5-FU, docetaxel จะเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาดีกว่าการใช้ยาเพิ่ม 2 ชนิด แต่จะมีผลข้างเคียงสูงกว่าโดยเฉพาะผลต่อไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำติดเชื้อง่าย หรือเกล็ดเลือดทำให้เลือดออกง่าย ยาชนิดรับประทานมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาฉีด แต่จะมีอัตราการตอบสนองต่ำกว่า
รับข้อมูลมะเร็งกระเพาะอาหารและการดูแลอย่างละเอียด คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078-9

Link https://www.siamca.com/knowledge-id193.html

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


ส่องกล้องกระเพาะอาหาร

ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (อีกหน)

วันนี้หมอนัดส่องกล้องกระเพาะอาหาร (เป็นครั้งที่สามในรอบสี่เดือน เห้อ อ อ ) งดน้ำ อาหารหลังเที่ยงคืนและเช้าวันตรวจ
เชียงใหม่เป็นพื้นที่ตาม พรก.ฉุกเฉิน มีเคอร์ฟิวส์ ที่ทำงานและโรงเรียนหลายแห่งหยุดทำการ แต่ รพ.เปิดทำการตามปรกติ
ไป ถึง รพ.ก็ติดต่อการเงิน แล้วไปห้องเจาะเลือด ขึ้นไปห้องส่องกล้อง ตึกนี้จะมีแปลนที่ต่างจากตึกอื่นคือมีลักษณะเป็นสามแฉกเว้า เราไปแรก ๆ มักจะหลงทิศ วันนี้ก็หลงอีกตามเคย ต้องแวะถามไถ่รายทางไปตลอด
ถึง ห้องก็ยื่นใบนัด รอผลเลือด รอเรียกเข้าห้อง ที่นี่เป็นส่วนปลายของแฉก มีพื้นที่ว่างหน้าห้องไม่มาก มีเก้าอี้ให้นั่งได้เกือบสิบคน ตอนที่ไปเก้าอี้ไม่ว่างแล้ว มีคนยืนรอ นั่งล้อเข็นรอ นอนเปลรออีกหลายคน เราไม่อยากยืนเพราะเพลียที่อดข้าวอดน้ำมา เลยถอดรองเท้ารองนั่งกับพื้น รู้สึกหิวนิดหน่อย
รอถึง ๑๐.๑๕ น. จนท.เรียกเข้าห้องตรวจ ก่อนตรวจก็สเปรย์ยาชาเข้าปาก ให้กลืนลงไป สเปรย์ซ้ำอีกหลายหน วันนี้ จนท.บอกให้กลั้นหายใจขณะสเปรย์ เลยไม่สำลักมาก
แล้วก็ให้นอนตะแคง ซ้าย พอล้มตัวนอนก็สำลักอีกต้องลุกนั่งแล้วไอ ๆ ๆ แล้วนอนต่อ จนท. เอาผ้าปิดหน้า ตา เหลือแต่ช่องปาก เอากล้องสอดเข้าไป บอกให้หายใจลึก ๆ ไม่ต้องกลืน แต่เราก็กลืนไปหลายหน เพราะมันจุกคอ ตอนกล้องลงไปกระเพาะก็รู้ตลอด ช่วงนั้นอยากอาเจียนด้วยก็เลยกลายเป็นสำลักอึกอัก ๆ เขาก็ถามว่าเป็นอะไร ทำไม อยากอาเจียนหรือ เราก็พยักหน้า
สุดท้ายการส่องกล้องก็เสร็จสิ้น เราดูนาฬิกา ระยะเวลาส่องกล้องใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที แต่มันดูเหมือนนานแสนนาน
แล้ว อาจารย์หมอที่ส่องกล้องก็บอกว่าที่เคยส่องกล้องไปสองครั้งและเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์อีกหนึ่งครั้ง ไม่สามารถดูได้ว่าขนาดติ่งเนื้อในกระเพาะมีขนาดเท่าไร เพราะตำแหน่งที่มีติ่งเนื้อมันดูยาก เป็นส่วนบนของกระเพาะ วันนี้แต่แรกคิดว่าจะตัดชิ้นเนื้อกระเพาะออกมาตรวจ แต่เป็นตำแหน่งที่ตัดยาก ขณะส่องกล้องได้ปรึกษากับอาจารย์หมออีกคนสรุปวิธีการรักษาว่า
๑. ยังไม่รักษา แต่ส่องกล้องเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามดูว่าติ่งเนื้อมีขนาดโตกว่าเดิม ถ้าเห็นว่าจะเป็นอันตรายก็รักษาต่อไป
๒. หรือสอดเครื่องมือลงไปตัด เหมือนกับที่ทำวันนี้ แต่วิธีนี้มีความเสี่ยงคือไม่รู้ว่าติ่งเนื้อมีขนาดเท่าไร และการตัดชิ้นเนื้ออาจทำให้กระเพาะทะลุได้
เราเลยบอกหมอว่าขอ ส่องกล้องเป็นระยะ ๆ ไปก่อน เพราะไม่อยากรักษาอย่างอื่นซึ่งเสี่ยงเกินไป การส่องกล้องแม้จะทรมานแต่ก็ยังดีกว่ากระเพาะทะลุ
หมอก็บอกว่าจะส่องกล้องทุกหกเดือน นัดดูอาการครั้งต่อไปเดือนสิงหาคม แต่ถ้ามีอาการผิดปรกติให้รีบมาหาหมอทันที
หลังจากตรวจก็รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ท้องอืด หายหิวไปเลย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด