แก้โรคเท้าเหม็น โรคเท้าเหม็นรักษาหายใหม โรคเท้าเหม็น


1,337 ผู้ชม


แก้โรคเท้าเหม็น โรคเท้าเหม็นรักษาหายใหม โรคเท้าเหม็น

               แก้โรคเท้าเหม็น

วิธีรักษาโรคเท้าเหม็น


คุณคงเคยได้กลิ่นอันน่าสลบจากโรคเท้าเหม็น โชยมาจากเจ้าของเท้าที่ไม่รู้ตัว
แล้วเท้าของคุณล่ะ ...... ส่งกลิ่นชวนสลบไปรบกวนใครบ้างหรือเปล่า

สาเหตุของโรคเท้าเหม็น  เกิดจากการหมักหมมของแบคทีเรียสะสมในรองเท้าทำให้เกิดกลิ่น มักจะเกิดกับคนที่มีเหงื่อออกเท้ามาก นอก จากนี้ในปัจจุบันยังพบว่า คนไทยหลายคนเป็น โรคเท้าเหม็น (pitted keratolysis) โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ พบมานาน 90 ปีแล้ว พบบ่อยในผู้ที่ชอบเดินเท้าเปล่าย่ำน้ำในหน้าฝน เมื่อผิวหนังชั้นขี้ไคลของฝ่าเท้าเปียกชื้นจากเหงื่อ หรือน้ำที่เจิ่งนอง จะทำให้ผิวหนังยุ่ยและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ micrococcus sedentarius โรคเท้าเหม็นมักพบในประเทศเขตร้อน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่พบได้บ่อยกว่าในผู้ชาย เพราะมีเหงื่อออกที่ฝ่าเท้ามากกว่า และผู้ชายมักสวมถุงเท้ารองเท้าอยู่ตลอดเวลา อาการสำคัญของโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุด ถึงร้อยละ 90 คือ เท้ามีกลิ่นเหม็นมาก นับเป็นการทำลายบุคลิกภาพ อาการรองลงมาที่พบร้อยละ 70 คือ เวลาถอดถุงเท้าจะรู้สึกว่าถุงเท้าติดกับฝ่าเท้า ส่วนอาการคันนั้นพบได้น้อย คือร้อยละ 8

     ลักษณะของโรคเท้าเหม็น จะเห็นเป็นหลุมเล็กๆ ที่ฝ่าเท้า บางครั้งหลุมอาจรวมตัวกันเป็นแอ่งเว้าตื้นๆ ดูคล้ายแผนที่ มักพบหลุมเหล่านี้ตามฝ่าเท้าที่รับน้ำหนัก และที่ง่ามนิ้วเท้า ถ้าขูดผิวหนังและย้อมเชื้อจะพบเชื้อแบคทีเรียติดสีน้ำเงิน อย่างไรก็ตาม โรคนี้ดูจากลักษณะภายนอกก็บอกได้ สำหรับการป้องกันโรคนี้คือ ต้องระวังให้เท้าแห้งอยู่เสมอ อาจใช้ฝุ่นฆ่าเชื้อโรยบ้าง ส่วนการรักษานั้น ยารักษาโรคสิวที่ใช้กันบ่อยคือ เบนซอยล์ เปอร์ออกไซด์ (benzoyl peroxide) ก็นำมาใช้รักษาโรคเท้าเหม็นได้ผลดี นอกจากนั้น ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อราชนิดทาก็รักษาโรคเท้าเหม็นได้ โดยปรึกษา

วิธีการดูแลรักษา "กลิ่นเท้า"
1. ธรรมชาติบำบัด
ทุกครั้งหลังอาบน้ำให้โรยแป้งฝุ่นให้ทั่วๆ เพื่อให้เท้าแห้งไม่อับชื้น
      - อีกวิธีหนึ่งก็คือ นำถุงน้ำชาที่ชงแล้วสัก 4 - 5 ถุงมาแช่ใส่อ่างน้ำอุ่น อ่างใบเล็กๆ แช่เท้าลงไปในน้ำอุ่นประมาณ 5 นาที ทำเช่นนี้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง เท้าจะไม่มีกลิ่น เพราะถุงชาจะเปลี่ยนความเป็นกรดด่างและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ปล่อยเท้าให้เปลือยเปล่าบ้าง
      - เท้าที่นุ่มนวลไม่หยาบกร้านนั้นย่อมเป็นเท้าที่คุณผู้หญิงทั้งหลายควรจะเป็น เจ้าของ ผู้หญิงส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการดูแลผิวของใบหน้าและทั่วเรือนร่างแต่ทวา กลับละเลยส่วนของเท้าไปอย่างน่าน้อยใจแทนเท้าทั้งสองข้าง การปล่อยเท้าเปลือยเปล่าบ้างนั้น คือวิธีที่ง่ายดายที่สุดที่จะทำให้ผิวเท้านวลเนียน
 เพราะการสวมถุงเท้า - รองเท้า และถุงน่อง อยู่ทุกๆ วัน วันละหลายชั่วโมงนั้นค่อนข้างทำร้ายเท้าให้อับและต้องทนหมักเซลล์ผิวตายๆ เอาไว้ถึง 200 มิลลิกรัมในแต่ละวัน และนี่เองที่ทำให้เท้าของคุณหยาบไม่นุ่มสดใสเหมือนแขนหรือลำตัว รู้เช่นนี้แล้วก็ เว้นๆ การสวมถุงน่อง ถุงเท้า และรองเท้าบ้าง ควรเปลือยเท้าสบายๆ และชโลมโลชั่นบำรุงผิวให้เท้าของคุณด้วย
ดูแลเท้าหยาบ - แตก
      - ถนอมเท้าให้นุ่มนวลน่าสัมผัสและผ่อนคลายความเมื่อยขบจากการใช้งานหนักด้วย การแช่เท้าในน้ำอุ่นๆ ผสมน้ำมันยูคาลิปตัสและเกลือทะเลแช่นานสัก 10 นาที จากนั้นเช็ดซับให้แห้ง ใช้วาสลีนธรรมดาๆ (ปิโตรเลียม เจลลี่) ชโลมลูบให้ทั่วๆ ทั้งส้นเท้าและหลังเท้า และหาถุงเท้าบางๆ มาสวมไว้สัก 30 นาทีจึงค่อยถอดถุงเท้าออก วาสลีนที่ซึมสู่ผิวจะช่วยถนอมดูแลให้เท้าของคุณมีความนุ่มนวลไม่แตกไม่หยาบ กร้าน และยังเรียบเนียนดีอีกด้วย
การบำรุงเท้า
      - เคล็ดลับอีกประการหนึ่งที่ควรทำก่อนนอนทุกคืน ก็คือ ดูแลเท้าของคุณให้อ่อนนุ่มอยู่เสมอ ชนิดที่ว่าจับแล้วไม่พบถึงความสาก ความด้าน หลังจากขัดและนวดเท้าเสร็จแล้ว ก่อนนอนลองนำเอาวาสลีนปิโตรเลียมเจล มาถูนวดบริเวณเท้าให้ทั่ว ประมาณข้างละ 5 - 10 นาที นวดเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเท้า และกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี หลังจากนวดเสร็จก็สวมถุงเท้าไว้ และเข้านอนได้เลย ตื่นขึ้นมาคุณจะพบกับความนุ่มของเท้าที่เปลี่ยนไปเลย
2. เกลือมะนาว ดับกลิ่นเท้า
 
นำ น้ำร้อนผสมกับเกลือสมุทร คนให้เข้ากัน บีบน้ำมะนาวผสมลงไปด้วย จากนั้นเติมน้ำเย็นให้น้ำอุ่นพอดีๆ แช่ทั้งสองเท้าลงไปสัก 10 นาที ระหว่างแช่ก็นวดเท้า ขัดเล็บไปด้วย กลิ่นเท้าก็จะค่อยๆ หายไปเอง ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่อย่าลืมทาครีมบำรุงเท้าด้วยนะ
 
3. เวชศาสตร์บำบัด
     ยาฉีดเพื่อลดเหงื่อที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า คือ โบท็อกซ์ ซึ่งเป็นยาที่ใช้แพร่หลายในการลดริ้วรอยเหี่ยวย่นที่ใบหน้า ทั้งรอยตีนกา รอยขมวดคิ้ว และรอยย่นที่หน้าผาก มีการนำยาตัวนี้มาใช้ลดอาการปวดศีรษะที่เรียกว่า ไมเกรน และใช้นำมารักษาเหงื่อออกที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้ามาก โดยฉีดยาเข้าไปที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ค่าใช้จ่ายสูงมากและได้ผลอยู่ประมาณ 6 เดือน – 1 ปี และการฉีดยาที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เจ็บมาก เทคนิคนี้จึงยังไม่เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย อีกเทคนิคที่นำมาใช้รักษาเหงื่อออกมาก คือการใช้เครื่องมือไอออนโต ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันว่าทำให้หน้าใส หน้าขาว และลบรอยแผลเป็นสิว การใช้ไอออนโตเพื่อลดเหงื่อออก ทำกันมานับ 70 ปีแล้ว โดยใช้เครื่องมือไอออนโตและสารเคมีเป็นแค่น้ำประปาธรรมดา ทำบริเวณที่มีเหงื่อออกมากครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จนเหงื่อลดลงเป็นปกติ วิธีนี้ไม่เจ็บและค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก พบว่าส่วนหนึ่งของคนที่เหงื่อออกที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้ามาก จะมีลักษณะตื่นเต้น ตกใจง่าย วิตกกังวล และรู้สึกไม่มั่นคง บางครั้งหากเปลี่ยนอุปนิสัยให้เยือกเย็นและสงบขึ้น เหงื่อออกที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า จะดีขึ้น นอกจากนั้นถ้าไม่เคยตรวจสุขภาพก็แนะนำให้ไปพบอายุรแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่าง กายทั่วไป เพราะโรคบางอย่าง เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษก็อาจทำให้เหงื่อออกเยอะได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแนะนำว่าก่อนมีการใช้ยาทุกชนดควรอยู่ภายใต้การดูแลของ แพทย์หรือเภสัชกร

                  Link     https://www.tennisde.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  

                    โรคเท้าเหม็นรักษาหายใหม 

เท้าเหม็นแก้ได้ง่ายนิดเดียว

เท้าเหม็นแก้ได้ง่ายนิดเดียว

กำจัดกลิ่นเท้า

เท้าเหม็นแก้ได้ง่ายนิดเดียว (Health Plus)
          หลาย คนอาจเคยมีปัญหาเท้าเหม็น แต่ถ้าเท้าของคุณเป็นต้นเหตุของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ทุกวันติดต่อกัน ไม่ต้องตกใจ เรามีสารพัดวิธีที่จะช่วยดับกลิ่นเท้าของคุณ

ความจริงเกี่ยวกับเท้า
          เท้ามีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่า 250,000 ต่อม หรือเท่ากับ 3,000 ต่อมต่อตารางนิ้ว ซึ่งเมื่อเทียบต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งนิ้วพบว่า มีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่าต่อมอื่น ๆ เหงื่อที่ถูกผลิตออกมามากมายทำให้ผิวที่เท้าอ่อนนุ่ม ถ้าไม่มีเหงื่อ ผิวก็จะแห้งแตก ทำให้เจ็บเวลาเดิน
          ต่อม เหงื่อที่เท้าต่างจากต่อมเหงื่อบริเวณอื่นของร่างกาย ต่อมเหงื่อที่เท้าผลิตเหงื่อตลอดเวลา ไม่ว่าจะในช่วงอากาศร้อน หรือระหว่างออกกำลังกาย และเมื่อเท้าสามารถผลิตเหงื่ออกมาได้ถึงสัปดาห์ละ 4.5 ลิตร ทำให้เกิดความขึ้นมากมายกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อยู่ในจุดซ่อนเร้น และนี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหา
          เหงื่อไม่ได้มีกลิ่นเหม็น แต่แบคทีเรียที่อยู่บนผิวต่างหากที่เป็นต้นตอของกลิ่นอับชื้น เท้าซุกซ่อนอยู่ในรองเท้าตลอดวัน นั่นอาจทำให้อุณหภูมิที่เท้าพุ่งสูงขึ้น ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยกินของเสียที่อยู่ในเหงื่อและอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ในถุงเท้าและรองเท้า ยิ่งแบคทีเรียขยายพันธ์มากเท่าไร กลิ่นก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
ป้องกันได้อย่างไร
          ล้างเท้าให้สะอาด ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ห้ามใช้น้ำร้อน เด็ดขาด ใช้หินพัมมิซขัดผิวหนังเท้าที่หยาบกร้านออก เพราะผิวที่ตายแล้วเหล่านี้จะเป็นจุดอับชื้น ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นการเช็ดเท้าให้แห้งสนิทจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรโรยแป้งทาตัวให้ทั่วเท้าและซอกเท้า
          พักเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าที่คับเกินไป เพราะจะทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ดังนั้นควรสวมรองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้า และหาโอกาสให้เท้าได้พักบ้าง
          ปลดปล่อยเท้า เพื่อให้เท้าได้หายใจ ระบายเหงื่อและกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างปลอดโปร่ง ควรถอดรองเท้าและถุงเท้าออก หัดเดินเท้าเปล่าบ้าง
          สวมถุงเท้าผ้าฝ้าย ถุงเท้าควรดูดซับน้ำได้ดี ถุงเท้าผ้าฝ้ายเหมาะที่สุด ถุงเท้าที่ทำจากขนสัตว์อุ่นเกินไป ไม่เหมาะกับเท้าที่มีเหงื่อออกมาก หลีกเลี่ยงถุงเท้าในลอน เปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน อย่าสวมถุงเท้าที่สกปรกซ้ำ ๆ
          ซักถุงเท้าอย่างถูกวิธี นำถุงเท้าไปแช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยซักกับผงซักฟอก จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซักเสร็จตากให้แห้ง
          สวมรองเท้าหนัง อย่าสวมรองเท้าผ้าใบนาน ๆ เพราะทำจากใยสังเคราะห์ จึงมีอุณหภูมิที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เช่นเดียวกับรองเท้าที่ทำจากพลาสติก
          สวมรองเท้าคู่อื่นบ้าง อย่า สวมรองเท้าคู่เดิม 2 วันต่อเนื่องกัน ใช้รองเท้าสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เพื่อให้รองเท้ามีโอกาสแห้ง นำรองเท้าออกมาผึ่งลมอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เก็บรองเท้าที่ไม่ใช้ไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี
          ทำความสะอาดรองเท้า ถ้ารองเท้าอับชื้น นำไปผึ่งแดด จนแห้งสนิทจริง ๆ รวมถึงแกะเชือกรองเท้าออกทั้งหมด ยกลิ้นรองเท้าขึ้นเพื่อให้อากาศได้ถ่ายเททั่วถึงทั้งรองเท้าด้านใน ใช้แอลกอฮอล์เช็ดภายในรองเท้า สำหรับรองเท้าที่ซักล้างได้สามารถทำความสะอาดด้วยผงซักฟอก และน้ำร้อนได้ หากทำความสะอาดแล้วยังไม่หายเหม็น โยนรองเท้าคู่นั้นทิ้งซะ
ทะนุถนอมเท้าของคุณ
          ล้างเท้าด้วยทีทรีออยล์ หรือน้ำมันสะระแหน่ ช่วยระงับกลิ่นเท้าได้ เพราะมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่พึงระวังหากคุณมีผิวแพ้ง่าย อย่าใช้น้ำมันสะระแหน่ หากคุณกำลังตั้งครรภ์
          แช่เท้าในชาดำ (ชา 2 ถุงแช่ในน้ำ 8 ถ้วย) กรดแทนนิกในชาช่วยระงับกลิ่นได้ ขณะเดียวกันชายังมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผลด้วย
          ใช้สเปรย์ระงับกลิ่นเท้าฉีดพ่นบริเวณฝ่าเท้าก่อนสวมรองเท้าทุกครั้ง เพื่อกดดันแบคทีเรียที่ออกมากับเหงื่อให้ทำงานไม่สะดวก
          ใช้ยาดับกลิ่น ถ้าเท้ามีกลิ่นแรง อาจใช้ยาดับกลิ่นที่มีสารอลูมิเนียม เช่น aluminium chlorohydrate ทาเท้า แล้วสวมถุงเท้าก่อนนอน
คุณหมอช่วยด้วย
          แพทย์จะจ่ายยาที่ทำให้เท้าแห้งหรือยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การรักษาวิธีอื่น ๆ เช่น การทำไอออนโตโฟเรวิส โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้ำขณะที่เท้าแช่น้ำ เพื่อลดเหงื่อที่ออกมากให้เป็นปกติ โบท็อกซ์ที่ใช้รักษาเหงื่อออกมากขึ้นรักแร้ ก็สามารถนำมาใช้รักษาโรคเท้าเหม็นได้ด้วย โดยการฉีดโบท็อกซ์เข้าไปที่ฝ่าเท้าเพื่อลดเหงื่อที่ออกมาก ๆ ประมาณ 6-12 เดือนก็จะเห็นผล แต่พึงระวังฝ่าเท้า และผิวหนังที่เท้าเป็นจุดที่อ่อนไหว จึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
เกร็ดความรู้
          เหงื่อที่ออกถึงสัปดาห์ละมากกว่า 4 ลิตร ทำให้เท้าของคุณกลายเป็นสวรรค์ของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 

             โรคเท้าเหม็น

โรคเท้าเหม็น…คุณเป็นหรือเปล่า


    

โรคเท้าเหม็น (Pitted Keratolysis) เป็นโรคที่พบมากในเขตร้อน พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ชายและผู้หญิง แต่จะพบได้บ่อยในผู้ชาย เพราะจะมีเหงื่อออกที่ฝ่าเท้ามากกว่า และผู้ชายมักสวมถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดการหมักหมมบริเวณเท้า

     คนเป็นโรคเท้าเหม็น หากสังเกตก็จะเห็นหลุมเล็กๆ ที่ฝ่าเท้า บางครั้งหลุมอาจรวมตัวกันเป็นแอ่งเว้าตื้นๆ มักพบตามฝ่าเท้าที่รับน้ำหนัก และที่ง่ามนิ้วเท้า

     อาการที่แสดงออกมาของโรคเท้าเหม็นคือ ร้อยละ 90 เท้ามีกลิ่นเหม็นมาก ร้อยละ 70 คือ เวลาถอดถุงเท้าจะรู้สึกว่าถุงเท้าติดกับฝ่าเท้า ส่วนอาการคันนั้นพบได้น้อยเพียง ร้อยละ 8 เท่านั้น

วิธีการรักษาโรคเท้าเหม็น

1. พยายามทำให้เท้าแห้งอยู่เสมอ โดยอาจใช้แป้งฝุ่นฆ่าเชื้อโรยที่เท้า หรือยารักษาสิว (Benzoyl Peroxide) ก็นำมาใช้ได้เช่นกัน นอกจากนั้นก็อาจใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อราชนิดทาก็ได้

2.โบทอกซ์ที่ใช้แพร่หลายกันในเรื่องการลดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ก็สามารถนำมาใช้รักษาโรคเท้าเหม็นได้ด้วย โดยการฉีดโบทอกซ์เข้าไปที่ฝ่าเท้าเพื่อลดเหงื่อที่ออกมากๆ ประมาณ 6-12 เดือน ก็จะเห็นผล (วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก 10,000-20,000 ต่อครั้ง)

3. การใช้ไอออนโตเพื่อลดเหงื่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่ปฏิบัติกันมากว่าเจ็ดสิบปีแล้ว โดยทำบริเวณที่มีเหงื่อให้เหงื่อออกมาครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จนเหงื่อที่ออกลดลงเป็นปกติ วิธีนี้ไม่เจ็บ ไม่แพง แต่ก็ไม่นิยมในบ้านเรา

4. แช่เท้าในน้ำล้างเท้าผสมสูตรระงับกลิ่นทุกวัน โดยใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

สูตรผสมน้ำระงับกลิ่นเท้า

- น้ำอุ่นผสมน้ำส้มสายชูกับด่างทับทิม

- น้ำอุ่นผสมส้มฝานบางๆ อาจใช้มะนาวแทนก็ได้

- น้ำอุ่นผสมกระเทียมทุบ 2-3 กลีบ

- น้ำอุ่นผสมน้ำมะขามเปียก

- น้ำชาจีนอุ่นๆ ต้มแก่ๆ (สูตรนี้จะไม่ถูกกรดอ่อนๆ กัดเท้าเหมือนสูตรอื่น) 

7 เคล็ดลับรักษาเท้าให้น่าคลั่งไคล้ 

1. จงเข้าใจว่าศัตรูของเท้าไม่ใช่ความแห้ง แต่เป็นกลิ่น ดังนั้นไม่ควรหมักหมมเท้าไว้ในรองเท้าให้นานเกินไป ควรหาเวลาถอดเพื่อระบายเหงื่อ หรือใช้สเปรย์แป้งเพิ่มความสดชื่นให้แก่เท้าอยู่เสมอ

2. เวลาล้างเท้าควรล้างอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะบริเวณแต่ละง่ามนิ้วเท้า ควรใช้สบู่เด็กหรือผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดโดยเฉพาะ เพราะบริเวณนั้นเป็นแหล่งรวมของเชื้อราเลยทีเดียว จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำสะอาดให้หมดจด

3. ควรประณีตกับการล้างเท้าสักหน่อย โดยการใช้ หินลอย (Pumice Stone) มาขัดหนังที่แข็งกระด้างออก และไม่ลืมที่จะใช้เวลาในการเช็ดเท้าให้แห้งสนิทมากที่สุดด้วย

4. แล้วเมื่อเท้ามีอาการปวดเมื่อยจากการเดินหรือวิ่งก็ตาม ง่ายๆ เลยเพื่อระงับความปวดเมื่อยคือ การนำเท้าไปแช่น้ำอุ่น (ผสมเกลือ) สัก 10-15 นาทีแล้วยกออก ตามด้วยการจุ่มน้ำเย็นสัก 1-2 นาที ก็จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และยังทำให้ผิวเท้านุ่มขึ้นอีกด้วย

5. เมื่อมีเวลาว่างเมื่อใด ก็ควรนำเท้าไปนวดครีมหรือนวดน้ำมัน เพื่อรักษาผิวให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ

6. ไม่ควรใส่รองเท้าที่คับจนเกินไป เพราะนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดแล้ว ยังทำให้เกิดแผลและตาปลาอีกด้วย

7. ไม่ควรทำเล็บที่ร้านเสริมสวย หรือใช้เครื่องมือของทางร้าน เพื่อป้องกันความสกปรกหรือโรคผิวหนังที่จะติดมากับเครื่องมือเหล่านั้น (ทำด้วยตัวเองดีที่สุด)

 

         ขอบคุณบทความจาก      

      

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด