โรคเท้าปากเปื่อย อาการโรคเท้าปากเปื่อย โรคเท้าบิดงอ
โรคเท้าปากเปื่อย
โรคมือ เท้า ปาก Hand, Foot and Mouth Disease
โรคมือ เท้า ปาก Hand, Foot and Mouth Disease
โรคมือเท้าปาก
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ช่วงปิดเทอมทีไร เรามักจะได้ยินข่าวคราวเด็ก ๆ เป็นโรคติดต่ออย่าง โรคมือเท้าปาก กันมากทีเดียว ว่าแต่ โรคมือเท้าปาก นี้คือโรคอะไร เรามาทำความรู้จัก โรคมือเท้าปาก ไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ
รู้จัก โรคมือเท้าปาก
โรค มือเท้าปาก หรือ Hand, Foot and Mouth Disease มักเรียกติดปากกันว่า โรคมือ เท้า ปาก เปื่อย สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้ หรือเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โดยพบการระบาดของ โรคมือเท้าปาก เมื่อปี พ.ศ.2500 กับเด็กในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้และยังมีตุ่มน้ำใสในช่องปาก มือ และเท้า
ต่อมายังพบการระบาดกับกลุ่มเด็กในเมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อปี พ.ศ.2502 เช่นกัน จนได้มีการเรียกกลุ่มอาการที่พบนี้ว่า Hand-Foot-and Mouth Disease (HFMD) หลังจากนั้นก็มีรายงานการระบาดของ โรคมือเท้าปาก จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ทั้งนี้ โรคมือเท้าปาก จะมีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หากเป็นประเทศเขตหนาวจะพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศเขตร้อนชื้นจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่ละระบาดมากในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศร้อนชื้น และมักพบในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
การติดต่อ โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก สามารถติดต่อกันได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย สามารถติดต่อได้โดย
การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ทั้งจากจมูก, ลำคอ และน้ำจากในตุ่มใส (Respiratory route) โดยเชื้อโรคอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใบ้ต่าง ๆ หรือการไอจามรดกันก็ได้
อุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) โดยช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
ทั้ง นี้ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดติอจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้
โรคมือเท้าปาก
อาการของ โรคมือเท้าปาก
โดย ทั่วไป โรคมือเท้าปาก มีอาการไม่รุนแรง โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน และมีอาการเริ่มต้นคือ เป็นไข้ต่ำ ๆ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มเจ็บปาก ไม่ยอมทานอาหาร เพราะมีตุ่มแดงที่เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม โดยตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบแผลจะอักเสบแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น จากนั้นจะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้ ทั้งนี้อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น
อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปาก อาจแสดงอาการในหลายระบบ เช่น
1.ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ
2.ทางผิวหนัง
3.ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ
4.ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน
5.ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ
6.ทาง หัวใจ เช่น สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
การรักษา โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ทั้งนี้ ควรเช็ดตัวผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ให้อาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำและผลไม้ และนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจต้องป้อนนมแทนการให้ดูดจากขวดนม
หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิด โรคมือเท้าปาก ซ้ำได้ จาก เอนเทอโรไวรัสตัวอื่น ๆ ดัง นั้น หากผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกมีอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อย ๆ หอบ แขนขาอ่อนแรง ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ก็ควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์
โรคมือเท้าปาก
การป้องกัน โรคมือเท้าปาก
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน โรคมือเท้าปาก แต่โดยปกติป้องกัน โรคมือเท้าปาก ได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งใช้ช้อนกลาง และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน
ที่ สำคัญ คือ ต้องแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยไม่ให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ๆ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และต้องคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้า ที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน
ติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
สถานบริการสาธารณ สุขทุกแห่ง
ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3333
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3194
แจ้งการระบาดของโรคได้ที่ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-1882
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- สำนักโรคติดต่อทั่วไป
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
Link https://health.kapook.com/view11558.html
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อาการโรคเท้าปากเปื่อย
โรค มือ-เท้า-และ-ปาก (Hand-Foot-and-Mouth Diease)
โรค " มือ-เท้า-และ-ปาก " (Hand-Foot-and-Mouth Diease) นั้น จัดเป็นโรคใหม่ แต่ได้ยินกันคุ้นหูมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการระบาดที่สิงคโปร์ ส่วนในประเทศไทย ก็พบผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคนี้อยู่เสมอ ที่ว่าเป็นโรคใหม่ก็เพราะเพิ่งมีรายงานครั้งแรกใน พ.ศ.2500 โดยพบการระบาดในแคนาดา อีก 2 ปีต่อมาก็มีการระบาดในอังกฤษ จึงได้ตั้งชื่อโรค " มือ-เท้า-และ-ปาก " ตามตำแหน่งที่พบรอยโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส coxsackievirus A16 หรือ enterovirus 71 ครับ โดยจะมีการระบาดทุก 3 ปี ติดต่อกันได้ง่ายมากด้วย โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ที่มีคนหนึ่งเป็นแล้วไปเล่นกับเพื่อนๆ จากนั้นก็จะถ่ายทอดสู่ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด ขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ ในประเทศเขตอบอุ่นจะพบโรคนี้บ่อยในฤดูที่มีอากาศร้อนครับ ส่วนในประเทศเขตร้อน จะพบโรคนี้ได้ในทุกฤดูกาล
เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัสต้นเหตุเข้าสู่ร่างกาย ไวรัสจะแบ่งตัวที่เยื่อบุในกระพุ้งแก้ม และในลำไส้เล็ก ใน 24 ชั่วโมงต่อมาเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง โดยมีระยะฟักตัวสั้น คือ 3-6 วันหลังได้รับเชื้อ 3 วัน ไวรัสก็จะแพร่กระจายในกระแสเลือดไปฝังตัวอยู่ตามอวัยวะเป้าหมาย คือเยื่อบุของช่องปาก และที่ผิวหนังของมือและเท้า แต่พอเข้าสู่วันที่ ของการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานสูงขึ้น ทำให้เชื้อไวรัสถูกขจัดออกจากกระแสเลือดและจากตำแหน่ง ที่มีเชื้อไวรัสไปฝังตัวอยู่ครับ
พบแผลในช่องปาก
ก่อนที่มีผื่นและตุ้มน้ำขึ้นประมาณ 12-24 ชั่วโมง เด็กจะมีอาการ มีไข้ต่ำๆ เหนื่อยอ่อน ปวดข้อ มีปัญหาที่ระบบหายใจ ต่อมาจะมีแผลในช่องปาก ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 100 ทีเดียว โดยร้อยละ 80 เด็กๆ จะมาด้วยอาการเจ็บในช่องปากและไม่ยอมทานอาหาร แผลในช่องปากนั้นมักจะพบจำนวนระหว่าง 5-10 แผล โดยจุดที่พบบ่อยคือที่เพดานแข็ง ลิ้น และเยื่อบุช่องปาก
แผลในช่องปากแรกเริ่มจะเห็นเป็นผื่นหรือตุ่มแดงเล็กๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-8 มม. นะครับ ต่อมาก็จะเห็นเป็นตุ่มน้ำสีเทาเล็กๆ เพราะตุ่มน้ำจะแตกเร็ว เห็นเป็นแผลตื้นๆ สีออกเหลืองเทา และมีผื่นแดงล้อมรอบ แผลเล็กๆ อาจรวมเป็นแผลขนาดใหญ่ แผลเหล่านี้มักเจ็บ และทำให้เด็กไม่ยอมทานอาหาร ทั้งยังทำให้ลิ้นมีสีแดงและบวมได้ แต่รอยโรคเหล่านี้ มักจะหายไปใน 5-10 วันครับ
ผิวหนังเกิดผื่น
สำหรับผื่นที่ผิวหนังนั้นอาจเกิดพร้อมๆ กับแผลในช่องปาก หรือเกิดหลังแผล ในช่องปากเล็กน้อย อาจมีเพียง 2-3 จุด หรือมากกว่า 100 จุด โดยพบที่มือมากกว่าที่เท้า รอยโรคมักเป็นที่หลังมือ ด้านข้างของนิ้วมือ หลังเท้าและด้านข้างของนิ้วเท้า มากกว่าที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
รอยโรคที่ผิวหนังเริ่มแรกจะเป็นผื่นหรือตุ่มแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10 มม. ที่ตรงกลางมีตุ่มน้ำสีเทา มักเรียงตามแนวเส้นของผิวหนัง และมีผื่นแดงล้อมรอบ ผื่นเหล่านี้อาจมีอาการเจ็บ กดเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ 2-3 วันต่อมาจะเป็นสะเก็ด และตกสะเก็ดจนผิวแลดูปกติ ไม่มีแผลเป็นใน 7-10 วัน
การวินิจฉัยโรคนี้ส่วนใหญ่อาศัยลักษณะทางคลินิก คือพบรอยโรคในช่องปาก ร่วมกับมีผื่นที่มือและเท้า และมีไข้ต่ำๆ อาจใช้ในการตรวจสอบทางภูมิต้านทานร่วมด้วย สำหรับโรคที่อาจมีอาการคล้ายโรค " มือ-เท้า-ปาก " ได้แก่ ผื่นแพ้ยา หัดเยอรมัน แผลร้อนใน และแผลติดเชื้อเริมในช่องปาก และอีสุกอีใสครับ
เคล็ดลับรักษา
ส่วนใหญ่โรคนี้จะหายได้เองในเวลา 1 สัปดาห์ การรักษาจึงเน้นที่การลดอาการเจ็บปวด ของรอยโรคมากกว่า เช่น การใช้ยาทา (มีการทดลองใช้ยาต้านเชื้อไวรัสเริม คือยา Acyclovir พบว่าโรคหายเร็วขึ้น)
แต่ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูงๆ เหนื่อยอ่อนอย่างมาก ท้องเสีย และปวดข้อ ปวดศีรษะ คอแข็ง และมีอาการทางระบบประสาท จนถึงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาการคล้ายเป็นอัมพาต ให้รีบไปพบแพทย์นะครับ เพื่อจะได้วินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันข้อแทรกซ้อนขั้นที่รุนแรงเหล่านี้
เท้าเปื่อย ปากเปื่อย ในสัตว์ สู่คน
เมื่อเอ่ยถึงโรค " มือ-เท้า-ปาก " แล้ว ก็คงต้องเอ่ยถึงเรื่องโรค " เท้าเปื่อย-ปากเปื่อย " ที่ระบาดในปศุสัตว์และติดต่อมาสู่คนด้วย เพราะหลายๆ คนยังสับสนกับชื้อ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเท้าบิดงอ
โรคเท้าในเด็ก ผู้ปกครองอย่ามองข้าม
โรค เท้าในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อยๆ แต่ผู้ปกครองบางรายกลับมองข้ามไป ทำให้การรักษาแก้ไขไม่สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกขณะที่เด็กยังมี อายุน้อย จึงส่งผลให้อาการของโรคบางโรคเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และแก้ไขได้ยากเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น
โรคเท้าในเด็กสามารถจำแนกได้ง่ายๆ ตามกลุ่มอายุ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ
โรคที่พบบ่อย
1.โรคเท้าปุก เท้าของเด็กในโรคนี้จะมีลักษณะบิดและงอผิดรูปตั้งแต่กำเนิด ลักษณะคล้ายๆ กับหัวไม้กอล์ฟ อาจเป็น 1 หรือ 2 ข้างก็ได้ การรักษาที่เริ่มได้เร็วจะทำให้การรักษาดีขึ้นอย่างมาก
2.โรคส้นเท้าบิดงอออกด้านนอก เกิดจากเท้าวางผิดท่าตั้งแต่อยู่ในมดลูกของแม่ รักษาได้ไม่ยากถ้าได้รับการสอนดัดเท้าอย่างถูกต้อง
3. โรคกระดูกหน้าแข้งหรือฝ่าเท้าบิดงอผิดรูปตั้งแต่กำเนิด การได้รับการรักษาที่รวดเร็วและถูกต้องจะแก้ไขลักษณะผิดปกติได้ดีกว่า และลดการเกิดปัญหาขายาวไม่เท่ากันได้
4.โรคเท้าแบนจากกระดูกฝ่าเท้าเรียงตัวผิดรูป ลักษณะเท้าจะโค้ง ฝ่าเท้าอาจนูนหรือแบนคล้ายลักษณะของกล้วยหอม
5.โรคนิ้วเท้าบิดงอหรือเชื่อมติดกัน บางโรคสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
กลุ่มที่ 2 อายุมากกว่า 1 ขวบขึ้นไป
1. โรคเท้าแบน พบได้บ่อยถึงแม้ไม่มีอาการใดๆ จะถือว่าไม่เป็นโรค แต่ถ้าได้รับการป้องกันด้วยรองเท้าเฉพาะและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำก็จะสามารถ ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
2. โรคเท้าและนิ้วเท้าบิดเกที่เกิดภายหลังคลอด เท้าจะบิดเกมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที จะทำให้ลักษณะเท้าผิดรูปอย่างถาวรได้
3.โรคที่เกี่ยวกับเนื้อเยื่อกระดูกอักเสบ อาจทำให้เด็กมีอาการปวดเรื้อรังได้ และถ้าเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้กระดูกผิดรูปได้
4. โรคเท้าเบาหวานในเด็ก สำคัญเหมือนในผู้ป่วยเบาหวานผู้ใหญ่ ถ้าปล่อยให้โรคเป็นมากขึ้นจะทำให้เท้าชา ส่งผลให้เกิดกระดูกผิดรูป และแผลเรื้อรังตามมาได้ ซึ่งถ้าร้ายแรงกว่านั้นอาจทำให้สูญเสียเท้าหรือขาได้
5. โรคเท้าแกร่งหรืออ่อนแรงจากภาวะทางระบบประสาท เป็นโรคที่ซับซ้อน ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นแล้ว จะส่งผลให้ลักษณะผิดรูปแก้ไขได้ยากเมื่อเติบโตขึ้น
6.โรคที่เกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งพบได้บ่อยๆ ในเด็ก เพราะเด็กเป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากลองจึงมีโอกาสเสี่ยงได้มาก
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ภาพประกอบ: อินเตอร์เน็ต
Link https://shoesrus.weloveshopping.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++