รูปแบบธุรกิจ เงินนอกระบบ กู้เงินนอกระบบไม่มีสลิปเงินเดือนดอกถูก2012


1,073 ผู้ชม


รูปแบบธุรกิจ เงินนอกระบบ กู้เงินนอกระบบไม่มีสลิปเงินเดือนดอกถูก2012
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ

ในระยะที่ผ่านมา ลักษณะของธุรกิจการเงินนอกระบบ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและนำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. แชร์ลูกโซ่

    ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เป็นการระดมทุนจากประชาชนรูปแบบหนึ่งที่แพร่หลายและขยายตัวออกไปรวดเร็วมาก เนื่องจากจ่ายผลประโยชน์ ตอบแทนสูงในระยะแรก ตรงต่อเวลา และผู้ประกอบการมักอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้ผลตอบแทน สูงในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ซื้อขายน้ำมัน ( แชร์ชม้อย ) ซื้อขายที่ดินราคาถูก ( แชร์เสมาฟ้าคราม ) แชร์นากหญ้า เป็นต้น

    ลักษณะของผู้ประกอบการ มีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยอาจตั้งมาในรูปบริษัทจำกัดมีหนังสือจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ โดยจะเริ่มจากการโฆษณาชักชวนประชาชน ให้มาร่วมลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ลงทุนซื้อขายน้ำมัน ที่ดิน เป็นต้น และอ้างว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ในอัตราที่สูง และจ่ายในเวลาอันรวดเร็ว เป็นเครื่องมือในการดึงดูดลูกค้า

    ผู้สนใจจะร่วมลงทุนต้องจ่ายเงินลงทุนสูง ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป โดยจะมีอัตราผลประโยชน์เป็นสัดส่วน และจะได้ผลประโยชน์ตอบแทน เมื่อหาสมาชิกมาร่วมลงทุนต่อกันไป จึงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนได้

  2. ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ 

      ธุรกิจประเภทนี้มีวิวัฒนาการมาจากแชร์ลูกโซ่ เพียงแต่ได้เปลี่ยนวิธีการและรูปแบบในการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยการนำเอาสินค้าและบริการมาใช้บังหน้า ธุรกิจนี้จะมีการโฆษณาชวนเชื่อแอบอ้างบุคคลสำคัญ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และอวดอ้างสรรพคุณสินค้าจนเกินจริงเพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะเน้นการหาสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายเป็นหลัก ไม่เน้นการขายสินค้า สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาขายตรงได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สมุนไพร อัญมณี และคอร์สการเรียนหลักสูตรต่างๆ

      กลุ่มเป้าหมายที่ตกเป็นเหยื่อ ของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มักเป็นผู้มีรายได้ปานกลาง หรือนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังหางานทำ ผู้ประกอบการจะใช้วิธีการลงประกาศทางหนังสือพิมพ์รับสมัครงานในตำแหน่งต่างๆ แต่แท้จริงแล้วเมื่อมีใครหลงเข้าไปผู้ประกอบการจะให้สมัครสมาชิกเพื่อทำ ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ตามเงื่อนไขที่กำหนด

ข้อสังเกตพฤติกรรมของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มีดังนี้

      1. ขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่เป็นธุรกิจแอบแฝงจากธุรกิจขายตรง (MLM) มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยการชักชวนประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิก โดยมีสินค้าบังหน้าเท่านั้น สมาชิกที่เข้าร่วมธุรกิจจะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงตามเงื่อนไขที่กำหนด

      2.ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่มีความแตกต่างจากธุรกิจขายตรง เนื่องจากธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะมีการเก็บค่าสมัครสมาชิกและบังคับให้ซื้อสินค้าคุณภาพต่ำ ราคาสูง ไม่มุ่งเน้นการขายสินค้า แต่เน้นให้หาสมาชิกใหม่เพื่อรับผลตอบแทนจากการหาสมาชิกเพิ่ม แต่ธุรกิจขายตรงเน้นการขายสินค้าและสร้างองค์กร เพื่อให้เกิดการขายมากขึ้น รายได้เกิดจากยอดขายสินค้า

      3. ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการ มีแม่ทีม มีสายงานการออกหาสมาชิกเพิ่ม หากสามารถหาสมาชิกได้มากจะได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับนั้นมาจากเงินของสมาชิกใหม่ ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้า

      นอกจากนี้ยังมีธุกิจอีกประเภทที่เข้าข่ายเป็นธุรกิจขายตรงแบบแชร์ลูกโซ่ คือการจัดสรรวันหยุดพักผ่อนแบบ Time Sharing เป็นการประกอบธุรกิจบริการ เช่น บริการสถานที่พักตากอากาศ สถานที่ออกกำลัง กาย โรง แรม รีสอร์ท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะให้บริการแก่สมาชิกเท่านั้น หากผู้ใดสนใจต้องสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าสมาชิกตามอัตราที่กำหนด เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการท่องเที่ยว และสิทธิประโยชน์ที่สำคัญที่ทำให้คนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของธุรกิจนี้คือ ผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับเมื่อสามารถหาสมาชิกใหม่ได้

      กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจจัดสรร วันหยุดพักผ่อนแบบ Time Sharing อาจเป็นในหมู่ญาติพี่น้องที่มักถูกชักชวนจากคนใกล้ตัวให้สมัครเป็นสมาชิกและ ที่ร้ายไปกว่านั้นสมาชิกของธุรกิจนี้มากกว่า 80 % เป็นคนต่างจังหวัดที่มีฐานะยากจน แต่เพียงต้องการที่จะได้รับผลตอบแทนสูง ๆ จึงมาสมัครเป็นสมาชิก บางคนต้องจำนองที่ดิน จำนำทรัพย์สิน เพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นค่าสมัครสมาชิก

      แท้จริงแล้วผลประโยชน์ตอบแทน ที่ได้รับนั้นเกิดจากเงินที่มีคนมาสมัครเป็นสมาชิกใหม่ หากไม่สามารถหาคนมาสมัครสมาชิกใหม่ได้ก็จะไม่สามารถจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตาม ที่ตกลงกันไว้ได้ และเมื่อถึงเวลานั้นธุรกิจจะปิดตัวลงทำให้คนที่เป็นสมาชิกได้รับความเสียหาย เป็นเงินจำนวนมากและไม่สามารถใช้สิทธิในการท่องเที่ยวได้อีกด้วย

3. การชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจรูปแบบต่างๆ

    3.1 การเก็งกำไรจากการขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex)

        บริษัทค้าเงินเถื่อนจะลงทุนจัดตั้งบริษัทให้ดูสวยงามน่าเชื่อ เพื่อลวงลูกค้าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นบริษัทซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่ได้รับ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยแสดงใบอนุญาตอื่น เช่น แสดงใบอนุญาตจดทะเบียนบริษัทจากกระทรวงพาณิชย์ แต่ โดยข้อเท็จจริงบริษัทค้าเงินเถื่อนเหล่านี้ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศจากกระทรวงการคลังและธนาคารแห่ง ประเทศไทย

        วิธีการที่บริษัทจะเข้าถึงบุคคลกลุ่มเป้าหมายเพื่อหลอกลวงให้เป็นลูกค้าและ เข้าลงทุน โดยจะใช้วิธีการโทรศัพท์ติดต่อชักชวนจนลูกค้าเข้าร่วมลงทุนด้วย กลุ่มเป้าหมายบริษัทส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานในอาชีพที่มีรายได้สูง ได้แก่ แพทย์ วิศวกร อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นต้น หลังจากนั้นลูกค้าต้องเปิดบัญชีกับบริษัทในวงเงินขั้นต่ำ 200,000 บาท วางเงินมัดจำซึ่งบริษัทอ้างว่าเพื่อเป็นหลักประกันการสั่งซื้อสั่งขายกับ บริษัท โดยสามารถซื้อหรือขายเพื่อเก็งกำไรในเงินตราต่างประเทศ 4 สกุลหลัก ได้แก่ ปอนด์อังกฤษ ยูโร ฟรังก์สวิส และเยนญี่ปุ่น ซื้อขายครั้งละไม่เกิน 5 หน่วย (Unit ) และต้องเสียค่านายหน้า1,250 บาทต่อหน่วยเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วย สำหรับค่าเงินสกุลต่างๆ จะแตกต่างกันคือ 1 หน่วยจะเท่ากับ 62 , 500 ปอนด์อังกฤษ หรือ 125 , 000 ฟรังก์สวิส หรือ12,500,000 เยนญี่ปุ่น และอัตรากำหนดซื้อขายด้วยสกุลดอลลาร์สหรัฐนั้น บริษัทจะซื้อขายโดยอ้างตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เช่น ตลาด ฮ่องกง สิงค์โปร์ ลอนดอน และนิวยอร์ค เป็นต้น โดยผ่านเครื่องรับข่าวของสำนักข่าว BISNEWS ,TELERATE ฯลฯ ซึ่งตามข้อเท็จจริงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ปรากฎบนจอเครื่องรับ ข่าวที่แสดงไว้ ลูกค้ามาสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นของจริงที่ซื้อขายในต่างประเทศหรือไม่ เมื่อบริษัทได้แจ้งว่าได้ซื้อหรือได้ขายให้ลูกค้าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเท่าใด ลูกค้าก็ต้องเชื่อตามนั้น นอกจากนี้หนังสือสัญญาลูกค้าส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษจำนวนหลายหน้ากระดาษ ซึ่งลูกค้าไม่ค่อยเข้าใจเพราะเป็นศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการค้าเงินตราต่าง ประเทศ แต่ก็ไว้วางใจเชื่อถือพนักงานของบริษัท ลูกค้าทุกรายมิได้เซ็นสัญญากับบริษัทโดยตรง มีเพียงลายเซ็นพนักงานการตลาดของบริษัทในฐานะคู่สัญญา อาจมีการประทับตราบริษัท ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่เสมอ ดังนั้น เมื่อมีปัญหาถูกหลอกลวงให้เสียเงิน ลูกค้าจึงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทได้

        อีกข้อคือ บริษัทจะโฆษณาทางหนังสือพิมพ์รับสมัครพนักงานจำนวนมากในตำแหน่งต่างๆ โดยระบุพื้นฐานความรู้ระดับปริญญาตรีทุกสาขา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลังการอบรม บริษัทจะคัดเลือกพนักงานให้ทดลองงานโดยให้ชักชวนคนให้มาร่วมลงทุนกับบริษัท และส่วนมากจะเริ่มจากบุคคลที่ใกล้ชิดก่อน เช่น บิดา มารดา พี่น้อง เพื่อนฝูง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะยอมเป็นลูกค้าของบริษัท เพราะต้องการให้บุตรหลานหรือญาติพี่น้องมีงานทำ หรือมีรายได้สูงๆ เมื่อลูกค้าขาดทุนถึงจุดที่บริษัทต้องเรียกเงินมัดจำเพิ่ม พนักงานบริษัทจะโทรให้ลูกค้าวางเงินมัดจำเพิ่ม จนกระทั่งขาดทุนในที่สุด

3.2 การเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาสินค้าเกษตร (Commodity)

        ลักษณะ ของธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ Commodity เป็นการชักชวนประชาชนให้เข้ามาร่วมลงทุน Commodity ส่วนใหญ่เป็นการอ้างว่าซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อเก็งกำไรกับตลาดซื้อขาย สินค้าเกษตรล่วงหน้าในต่างประเทศ เช่น โตเกียว ชิคาโก (ไม่ใช่การซื้อขายในตลาดประเทศไทย) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการซื้อขายกันเพียงตัวเลข เพราะผู้ซื้อไม่ต้องการที่จะรับมอบสินค้า เพราะจะทำให้ผู้ซื้อเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าระวาง เป็นต้น โดยผู้ลงทุนแต่ละรายต้องมาเปิดบัญชีกับบริษัท ในวงเงินขั้นต่ำ จำนวน 3 ยูนิต ในอัตรายูนิตละ 12,000 บาท ซึ่งเรียกว่าเงินมัดจำสำรอง ( Margin Recelpt ) ในอัตราร้อยละ 5-10 ของราคาสินค้าต่อหน่วย จึงสามารถกระทำการเทรดสินค้าตามชนิดแต่ละประเภทของสินค้า ซึ่งสินค้าที่สั่งซื้อสั่งขายนั้น จะประกอบด้วย ถั่วเหลือง น้ำตาล ยางพารา กาแฟ เนื้อมะพร้าว

         สำหรับราคาสินค้านั้นจะอาศัยราคาจากสำนักงานตลาดกลางธุรกิจประเภทนี้ คือ ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น สำนักงานตลาดกลางดังกล่าว จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆ โดยผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์ กรณีนักลงทุนมีกำไรจากการเทรดสินค้าก็จะได้รับผลกำไรคืนไป หากขาดทุน หมายความถึง ราคาสินค้าลดลงนักลงทุนจะขาดทุนลอยตัว เมื่อนักลงทุนประสงค์ที่จะถือสิทธิ์การสั่งซื้อสั่งขายสินค้าต่อไป นักลงทุนต้องนำเงินมัดจำมาวางให้ครบตามเกณฑ์ของบริษัท กรณีหากผู้ลงทุนมาเปิดบัญชีและวางเงินมัดจำสำรองไว้แล้วไม่ได้กระทำการเทรด สินค้า ก็สามารถถอนเงินมัดจำไปจากบริษัทได้ครบตามจำนวนเต็ม

         แต่จากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ แล้วพบว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ทำธุรกรรมตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่ได้อาศัยเล่ห์เหลี่ยม กลโกงที่พนักงานบริษัทคิดค้น หรือลอกเลียนแบบมาจากกลุ่มมิจฉาชีพต่างชาติหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ ต้มตุ๋น หลอกเอาเงินไปเป็นจำนวนมาก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์พฤติการณ์ที่กล่าวข้างต้น เข้าข่ายกระทำความผิดกฎหมายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

         ต้องรับผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ทั้งยังต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานฉ้อโกงประชาชนอีกกระทงหนึ่งด้วย

 3.3 ธุรกิจซื้อขายดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรจากการขึ้นลงของดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Set Index)

         บริษัทจะใช้วิธีให้พนักงานของบริษัทติดต่อถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ บริษัทโดยตรง ได้แก่ บุคคลที่มีรายชื่อเป็นสมาชิกของสมาคมหรือองค์กรต่างๆ ผู้มีอาชีพที่มีรายได้ดี เช่น แพทย์ วิศวกร อาจารย์มหาวิทยาลัย และเจ้าของกิจการต่างๆ แล้วจะให้พนักงานของบริษัทโทรไปชักชวน หว่านล้อมต่างๆ จนลูกค้าหลงเชื่อเข้าร่วมลงทุน โดยจะให้ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับบริษัทเป็นเงินขั้นต่ำประมาณ 100,000-200,000 บาท และวางเงินมัดจำ (Margin) เพื่อเป็นหลักประกันการสั่งซื้อ - สั่งขายกับบริษัท โดยบริษัทอ้างว่าจะส่งคำสั่งซื้อ - คำสั่งขายไปยังตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ(ดัชนีดาวน์โจนส์ ) ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง(ดัชนีฮั่งเส็ง) หรือหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (ดัชนีนิเคอิ) เป็นต้น

         แต่แท้จริงแล้วไม่ได้มีการ ซื้อ - ขาย เกิดขึ้น เมื่อลูกค้าขาดทุนถึงจุดที่บริษัทต้องเรียกเงินมัดจำเพิ่ม พนักงานบริษัทจะหว่านล้อมต่างๆ ให้ลูกค้านำเงินมาลงทุนเพิ่ม หากลูกค้าไม่ยอมลงทุนเพิ่มแต่ต้องการถอนเงินคืน ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับเงินคืน โดยบริษัทจะอ้างว่าไม่มีเงินมัดจำเหลืออยู่ในบัญชีเพราะลูกค้าขาดทุนหมดแล้ว พนักงานบางคนจะหลอกให้ลูกค้ากำไรในช่วงแรกๆ แต่จะไม่ให้ถอนกำไรที่ได้โดยจะชักจูงให้ลงทุนเพิ่มเติม และเพิ่มทุนไปเรื่อยๆ หากลูกค้าต้องการถอนเงินคืนออกมาพนักงานจะถ่วงเวลาจนเงินในบัญชีไม่มีเหลือ และลูกค้าไม่อาจเรียกคืนได้

 4. การเล่นแชร์

         การ เล่นแชร์ มีลักษณะของการให้สมาชิกนำเงินมารวมกันเพื่อจัดสรรให้กับสมาชิกผู้ เสนอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูงสุด ( เปีย ) ได้รับเงินทุนกองกลางไปใช้ได้ โดยเริ่มต้นจากท้าวแชร์หรือนายวงแชร์ จะเป็นผู้ได้รับเงินทุนกองกลางก่อนโดยไม่ต้องเสนอดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ( เปีย )

         การเล่นแชร์นั้นเป็นลักษณะของการออมเงินอย่างหนึ่งเพื่อเก็บเป็นเงินก้อนไว้ ใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยมีผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนในระบบสถาบันการเงิน หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการระดมเงินทุน จากกลุ่มบุคคลที่รู้จักคุ้นเคยกันและมีอาชีพเดียวกัน

         อย่างไรก็ตาม การเล่นแชร์สามารถกระทำได้ในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ .ศ . 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุม กำกับ ดูแล การเล่นแชร์ ได้กำหนดห้ามมิให้ บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ที่มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

•  จัดให้มีการเล่นแชร์รวมกันเกินกว่า 3 วง

•  มีจำนวนสมาชิกในวงแชร์รวมกันเกินกว่า 30 คน

•  มีทุนกองกลางต่อ 1 งวด รวมกันทุกวงไม่เกิน 300,000 บาท

•  ผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ (ท้าวแชร์ ) ได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกลาง ในการเข้าร่วมเล่นแชร์ งวดใดงวดหนึ่งโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

          ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 500 บาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

5. การปล่อยเงินกู้นอกระบบ

          การปล่อยเงินกู้นอกระบบ เป็นการเงินนอกระบบรูปแบบหนึ่ง ที่มีรูปแบบของการจัดการหลากหลาย อาทิเช่น การปล่อยเงินกู้เป็นจำนวนมากให้กับประชาชนทั่วไป โดยไม่มีการทำสัญญากู้ยืมเป็นหนังสือแต่ผู้ให้กู้ยึดโฉนดที่ดินหรือหนังสือ รับรองการทำประโยชน์เป็นประกัน พร้อมกับให้ผู้กู้เซ็นใบมอบฉันทะ ไว้ โดยผู้ให้กู้จะเรียกเก็บดอกเบี้ยทุกเดือน หากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้กู้จะนำใบมอบฉันทะดังกล่าวไปดำเนินการโอนที่ดินนั้นมาเป็นของผู้ให้ กู้ หรือในกรณีที่ผู้กู้เป็นผู้มีการงานทำมั่นคง และมีเงินเดือนประจำ โดยมีทั้งการให้กู้ยืมเงินแบบทั้งมีสัญญากู้ยืมและไม่มีสัญญากู้ยืม ผู้ให้กู้จะยึดบัตรเอทีเอ็ม ของผู้กู้ไว้ และจะนำมาเบิกเงินสดเพื่อผ่อนชำระหนี้เงินกู้ผ่านธนาคาร และผู้ให้กู้จะเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง ตั้งแต่ร้อยละ 5-30 ต่อเดือน โดยในขณะนี้มีทั้งเงินกู้รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน

          การปล่อยเงินกู้นอกระบบนี้ โดยส่วนมากจะเป็นนายทุนผู้มีอิทธิพลในท้องที่เป็นผู้ให้กู้หรือเป็นผู้รับ จ้างในการเรียกเก็บหนี้จากผู้กู้ โดยจะมีการข่มขู่หรือ กรรโชก หรือแม้แต่กระทั่งทำร้ายร่างกายผู้กู้ เพื่อให้ผู้กู้ชำระหนี้ ซึ่งจะเกิดปัญหาสังคมขึ้นตามมา เนื่องจากผู้กู้เกิดความหวาดกลัว จึงต้องไปกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้อื่นๆที่เรียกดอกเบี้ยแพงกว่าเพื่อมาชำระ หนี้ให้กับผู้ให้กู้ ทำให้เกิดเป็นหนี้สินขึ้นไม่รู้จบ หรืออาจกระทั่งทำให้หมดเนื้อหมดตัวทำให้ที่ดินซึ่งใช้ทำมาหากินถูกยึดไปโดย ไม่ชอบ

          การดำเนินการทางกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม .653 กำหนดให้การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม หากไม่มีจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย และในส่วนของดอกเบี้ยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ จึงไม่สามารถฟ้องร้องได้

          ส่วนประเด็นการนำโฉนด ที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มาให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ ไม่ถือเป็นการจำนองหรือจำนำในทางกฎหมายแต่ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดหน่วงโฉนด ไว้ได้ จนกว่าผู้กู้จะชำระเงินและหากผู้ให้กู้นำใบมอบฉันทะไปจดทะเบียนโอนที่ดินไป เป็นของตน ถือเป็นการที่ผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงิน ดังนั้นต้องคิดราคาที่ดินเท่ากับราคาที่ดินตามท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่ง มอบ ถ้าไม่ตกลงตามนี้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ในประเด็นที่มีการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น ถึง แม้ว่ามีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันถูกต้องตามกฎหมาย หากดอกเบี้ยที่นายทุนเรียกเก็บเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย ซึ่งผู้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ทั้งยังโทษทางอาญาคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ .ศ .2475

ที่มา : เว็บไซต์ pattanakit

อัพเดทล่าสุด