พัฒนาการของเด็กโรคเท้าปุก
| | | อาการเท้าผิดรูปที่เรียกว่า เท้าปุก (Clubfoot) เป็นความผิดปกติของรูปเท้าที่พบไม่บ่อยนัก สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจค่อยๆเกิดขึ้นในภายหลังอันเนื่องมาจากโรคบางอย่างเป็นสาเหตุให้เกิด ได้ และสามารถพบโรคนี้ได้ประมาณ 1 ใน 1000 ของเด็กคลอดใหม่ โดยเชื้อชาติทางฝั่งเอเชียพบได้น้อยกว่าทางฝั่งยุโรป และอัตราการเกิดจะมากขึ้นในครอบครัวที่มีญาติพี่น้องที่เคยเป็นโรคนี้ |
|
| คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเมื่อเห็นลักษณะเท้าของลูกผิดปกติ มักเป็นกังวลว่าลูกอาจจะเดินไม่ได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป หรืออาจพิการ แต่ความจริงแล้ว โรคเท้าปุกถือว่าเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ผลดีเลยทีเดียว ถ้าเด็กได้รับการรักษาตั้งแต่ อายุยังน้อยๆ ก็สามารถดัดให้เข้ารูปร่างใกล้เคียงปกติได้ตั้งแต่แรกเกิด เท้าปุกอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้างก็ได้ โดยเท้าจะมีลักษณะที่บิดหมุนเข้าด้านในและมีปลายเท้าที่จิกลงดังรูป ผู้ปกครองมักกังวลว่าเด็กจะเดินไม่ได้เมื่อโตขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ยังเด็กก็สามารถเดินได้ โดยใช้ส่วนหลังเท้าเป็นส่วนที่ลงน้ำหนักและสัมผัสพื้น เมื่อโตขึ้นส่วนนั้นจะมีลักษณะหนาและด้านขึ้นมา และรูปเท้าแบบนี้ทำให้เด็กไม่สามารถใส่รองเท้าแบบปกติทั่วไปได้ | |
|
ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เพราะจากการศึกษาเด็กที่มีเท้าปุก พบความผิดปกติที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเท้าปุกได้หลากหลาย ทั้งเรื่องของพันธุกรรม การมีกระดูกบริเวณข้อเท้าที่ผิดรูปแต่กำเนิด การเคลื่อนของกระดูกบริเวณข้อเท้า ในเด็กบางคนพบว่ามีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบางมัดที่ผิดปกติหรือหายไป บางคนพบว่ามีพังผืดอยู่ในกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า บางคนพบว่ามีเส้นเลือดบางเส้นที่ผิดปกติหรือขาดหายไป สิ่งเหล่านี้อาจเป็นผลที่ตามมาหรือเป็นสาเหตุของเท้าปุกก็ได้ แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด |
|
เท้าปุกพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ เราเรียกว่า Idiopathic clubfoot ซึ่ง ยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ แบบที่เท้าของเด็กมีลักษณะแข็ง ไม่สามารถดัดให้กลับมาอยู่ในรูปร่างปกติได้ และแบบที่มีเท้าอ่อนสามารถจัดให้เข้ารูปได้ เด็กบางคนที่เท้าผิดรูปไม่มากและมีลักษณะที่อ่อนดัดได้ง่าย เชื่อว่าเป็นผลมาจากท่าของเด็กที่อยู่ในท้องมารดา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นเท้าปุกที่เป็นผลจากโรค หรือความผิดปกติบางอย่างที่จะพบในส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วยได้ เช่น โรคเยื่อหุ้มข้อแข็งติด หรือเกิดจากการรัดของเยื่อหุ้มรก หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทเรียกว่า Acquired clubfoot |
|
|
|
|
|
|
|
เด็กในรูปด้านบน(A 002) เมื่ออายุ 6 เดือน หลังการรักษาด้วยการใส่เฝือกตั้งแต่แรกเกิด และทำการตัดเอ็นร้อยหวายเมื่อใส่เฝือกครบ 6 ครั้ง เด็กมีรูปร่างเท้าที่เหมือนปกติ สามารถคลานได้เหมือนปกติ ใส่รองเท้าปกติทั่วไปได้ |
|
ในเด็กบางกลุ่มแม้จะรักษาด้วยการใส่เฝือกตั้งแต่แรก แต่เท้าก็ยังมีลักษณะแข็งไม่เข้ารูป หรือมีการกลับมาเป็นซ้ำของเท้าปุก หรือเป็นเท้าปุกที่เกิดร่วมกับโรคหรือภาวะอื่น หรือเด็กที่มารับการรักษาเมื่ออายุมากแล้ว อาจต้องพิจารณาเรื่องการผ่าตัด เพื่อจัดกระดูกให้เข้าที่ และจัดรูปเท้าให้เหมือนปกติมากที่สุด +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ พัฒนาการของเด็กโรคเท้าปุก |
|
การผ่าตัดในช่วงอายุน้อย จะผ่าเข้าไปเพื่อจัดรูปเท้าโดยคลายเนื้อเยื่อที่ตึงแข็งและจัดเรียงข้อให้ รูปเท้าสวย ส่วนการผ่าตัดเมื่ออายุมาก กระดูกเท้าจะแข็งและผิดรูปอาจจะต้องตัดแต่งกระดูก เพื่อให้รูปเท้าดูปกติภายหลังผ่าตัดรักษา สรุปแล้วควรได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเกิด โดยแพทย์ผู้ชำนาญในการรักษาโรคนี้ |
|
เด็กที่เป็นเท้าปุกเพียงข้างเดียว ภายหลังการรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีอะไร เท้าข้างนั้นอาจจะเล็กกว่าอีกข้างหนึ่ง และน่องก็จะเล็กกว่าอีกด้าน บางครั้งพบลักษณะกระดูกหน้าแข้งที่บิดเข้าใน ทำให้เด็กเดินเท้าปัดเข้าด้านใน ซึ่งลักษณะเหล่านี้ไม่ได้เกิดเพราะการรักษา ไม่ว่าจะโดยการใส่เฝือกหรือการผ่าตัด แต่เป็นผลที่ตามมาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดเท้าปุกนั่นเอง ดังนั้นหลังการรักษาเท้าปุกแล้ว แม้รูปเท้าจะกลับมาเป็นเหมือนปกติ เด็กสามารถเดินหรือวิ่งได้เหมือนเด็กปกติ แต่ผู้ปกครองควรนำเด็กมาติดตามดูอาการต่อจนถึงช่วงอายุประมาณ 8-9 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่พัฒนาการของเท้าและการเดินเหมือนวัยผู้ใหญ่แล้ว |
|
อย่างไรก็ตามการรักษาตั้งแต่แรกเกิด ได้ผลดีกว่ามารักษาเมื่อตอนโตแล้ว จึงควรนำบุตรหลานมารักษาแต่เนิ่นๆ ถ้ามีความผิดปกติดังกล่าว หรือสงสัยว่าเด็กมีเท้าผิดรูปรีบพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี |
|
|
Link https://www.vejthani.com/ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ข้อสังเกตโรคเท้าปุก ทารกแรกเกิดแล้วสังเกตพบว่าเท้าผิดรูป บิดเข้าใน เป็นกรณีที่พบได้ไม่น้อย แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบบิดไม่มาก และไม่แข็ง พ่อแม่มักกังวลแน่นอนว่า ลูกจะเดินได้หรือไม่ หรือเดินไม่สวย มีคำถามมากมาย ฉบับนี้ผมจึงขอเล่าเรื่องนี้ให้ได้อ่าน ต่อจากฉบับที่แล้วที่พูดถึงเรื่องเท้าแบน ฉบับนี้ตรงข้ามกลับรูปร่างกับฉบับที่แล้วครับเป็นเท้าปุกแทน ก่อนอื่นต้องอธิบายให้ชัดเจนก่อนว่าเท้าปุกหมายถึงเท้ามีรูปร่างอย่างไร เพื่อให้เข้าใจเหมือนกัน เท้าปุกคือเท้าที่มีรูปร่างบิดโค้งเข้าด้านใน บิดลงล่าง ทารกที่เกิดมาแล้วมีรูปเท้าบิดเอียงเข้าในพบได้บ่อย และมีความสำคัญ บางรายเป็นแบบหายเองได้ ไม่รักษาก็หายได้ บางรายเป็นแบบไม่สามารถหายเอง ชักสับสนนะครับ ผมขอแบ่งทารกเท้าปุกแบ่งง่ายๆ เป็น 2 แบบ | | แบบแรก เป็นเท้าปุกเทียม หมายความว่าไม่ได้มี ความผิดปกติที่แท้จริงกับโครงสร้างเท้า แต่ที่เห็นรูปเท้าบิดเข้าในอธิบายจากขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ขดตัวแน่นอยู่ใน ที่แคบๆ เป็นเวลานาน จะขยับเคลื่อนไหวก็ลำบากเท้าถูกกดอยู่ในท่าบิดเข้าในเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เอ็นเท้าด้านในตึงในขณะที่เอ็นเท้าด้านนอกหย่อน มักพบในคุณแม่ท้องแรก ท้องที่มีน้ำคร่ำน้อย เด็กตัวใหญ่ หรือบางรายก็เป็นเองโดยไม่มีปัจจัยส่งเสริม เท้าปุกเทียมหรือเท้าปุกนิ่มนี้ เป็นเท้าปุกชนิดที่พบได้บ่อยสุด เนื่องจากโครงสร้างกระดูกข้อต่อภายในเท้าเป็นปกติ ที่ผิดปกติคือความตึงหย่อนของเส้นเอ็นควบคุมข้อเท้า ดังนั้นการดัด หรือการกระตุ้นให้เส้นเอ็นมีการปรับความตึงให้สมดุลก็สามารถทำให้เท้ามีการ เคลื่อนไหวเป็นปกติได้ โดยทั่วไปในทารกแรกเกิด เท้าจะมีการเคลื่อนไหวไปมาได้ทุกทิศทาง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในท่ากระดกข้อเท้าขึ้นเล็กน้อย ในทารกเท้าปุกแบบนิ่ม เท้าจะอยู่ในท่าจิกเท้าลงและบิดเข้าใน ชอบอยู่ในท่านั้นตลอด อาจขยับในท่าอื่นได้บ้างเมื่อมีการกระตุ้น เช่น เมื่อเราเอานิ้วมือไปเขี่ยข้างเท้าเด็ก ให้เด็กรู้สึกจักจี้ เด็กเท้าปุกแบบนิ่ม อาจจะสามารถดึงเท้าขึ้นไปตรงได้ ได้มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับความตึงของเอ็นเท้า | | เท้าบิดเข้าในโดย รูปร่างเท้าไม่ได้บิดมาก ใช้มือจับดัดเบาๆ สามารถดัดเท้าให้เคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง | | | | ภาพที่ 1 | ภาพที่ 2 | | | ภาพแรกจะเห็นเท้าบิดเข้าในและจิกเท้าลง มองจากด้านล่าง จะเห็นเท้าบิดเข้าใน โค้งงอชัดเจนที่ด้านข้างเท้า เป็นเส้นโค้ง ส่วนภาพที่สองเป็นภาพมองจากด้านใน จะเห็นร่องเนื้อเป็นเส้น บุ๋มลงไปด้านกลางเท้า และตรงด้านหลังเท้า เป็นเส้นซอกลึกเข้าไป | | แบบที่สอง เป็นเท้าปุกแท้ คือเป็นเท้าปุกแบบเป็นโรคจริงๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษาเท้าจะบิดแข็ง มากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กจะใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักเวลาเดิน ซึ่งจะทำให้เดินลำบากมากขึ้น ทรงตัวยาก ล้มง่าย เจ็บปวดได้บ่อย เมื่อยืนเดิน และหารองเท้าทั่วไปใส่ไม่ได้ แต่ถ้าได้รับการรักษา การรักษาสามารถทำให้เดินเท้าเหมือนเด็กปกติได้ ขึ้นอยู่กับเวลาในการเริ่มรักษาด้วย ถ้าสามารถพาเด็กมารักษาได้ตั้งแต่ทารก ผลการรักษามักอยู่ในเกณฑ์ดี และวิธีการรักษาอาจไม่ต้องผ่าตัด ใช้วิธีดัดเท้า ดัดเท้าและเข้าเฝือกก็ได้ผลดีโดยส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามผลการรักษาขึ้นอยู่กับความแข็งของเท้าปุกนั้น ถ้าแข็งมากการดัด และดาม ใส่เฝือกอาจไม่ได้ผล อาจต้องใช้วิธีผ่าตัด เพื่อคลายเนื้อเยื่อที่ตึงผิดปกติ และจัดแนวกระดูกให้อยู่ในแนวที่เป็นเท้าปกติ ผมคิดว่าความสำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบนำเด็กเท้าปุกมาให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจตั้งแต่แรกเกิด เท้าพบว่าเท้าปุกผิดรูป | | | | เท้าปุกเทียมหายได้ง่าย ไม่ต้องการรักษาที่ซับซ้อนหรือทำให้เด็กเจ็บ การแยกจึงมีความสำคัญที่จะช่วยบอกโอกาสของเท้าผิดรูปนี้ ว่าต้องแก้ไขอย่างไร ในขณะที่เท้าปุกแบบแท้ ต้องการรักษาที่เร็ว วิธีสังเกตุแยกแบบง่ายๆ | | อันแรกคือการดู และวัด โดยใช้ไม้บรรทัดทั่วไปหรือ สายวัดก็ได้ ในเท้าปุกบิดเข้าในแบบเทียม มักมีขนาดของเท้าปกติ คือในกรณีที่เท้าปุกข้างเดียว ลองสังเกตุขนาดเท้าข้างที่ปกติกับข้างที่ไม่ปกติดูว่า มีความยาวความกว้างของเท้าใกล้เคียงกันหรือไม่ ถ้าขนาดแตกต่างกันมาก เป็นระดับเซ็นติเมตรขึ้นไป ให้สงสัยว่าอาจเป็นแบบแท้ แต่ถ้าเป็นเท้าปุกสองข้างวิธีนี้ก็ใช้ไม่ได้ ในเท้าปุกแบบแท้นั้น เท้าจะมีการเจริญเติบโตที่น้อยกว่าธรรมชาติ ดังนั้นขนาดเท้ามักเล็กกว่า รวมถึงขาก็มักเล็กกว่าขาข้างที่ไม่ปุกด้วย กล้ามเนื้อก็มีขนาดเล็กกว่า เช่นกัน | | | อันที่สองดูรูปร่างเท้าในรายละเอียด ในเท้าปุกแบบแท้ ด้านข้างเท้าจะมีลักษณะโค้งมากชัดเจน อาจมีร่องเนื้อด้านในเท้า ดังรูป และร่องเนื้อด้านหลังเท้า ในขณะที่เท้าปุกแบบเทียมจะไม่มีเส้นโค้งด้านข้างที่ชัดเจน ร่องเนื้อด้านในเท้าและด้านหลังก็ไม่มี | | | | ข้อสามคือลองสัมผัส ลองใช้มือสัมผัสเท้าเบาๆ ที่ด้านข้างของเท้า เอานิ้วมือเราเขี่ยแบบให้จั้กจี๋ เบาๆ ในเท้าปุกแบบแท้จะขยับข้อเท้าขึ้นมาท่าข้อเท้าฉากไม่ได้ แต่ในเท้าปุกแบบเทียม เด็กจะดึงเท้าขึ้นมาได้ แต่ซักพักก็จะตกลงไป บิดเข้าในเหมือนเดิม การเขี่ยข้างเท้าเป็นการกระตุ้นให้เอ็นข้างเท้าทำงาน ในเท้าปุกแบบแข็งเอ็นนี้จะไม่สามารถดึงเท้าขึ้นมาท่าข้อเท้าฉากได้ เพราะข้อต่อภายในแข็งติดกัน แต่อย่าไปเขี่ยแรง หรือเขี่ยตอนเด็กงอแงนะครับ ควรเขี่ยเท้าตอนเด็ก สบายอารมณ์ดี หรือตอนหลับก็ได้ เพราะตอนร้องไห้เด็กจะเกร็ง กล้ามเนื้อเส้นเอ็น ทำให้ปฎิกริยานี้ไม่ได้ผล | | การดัดเบาๆ คือการค่อยๆดัดเท้าให้อยู่ในรูปกระดกเท้าขึ้น โดยในเท้าปุกแบบเทียมจะสามารถดัดเท้าขึ้นได้โดยง่าย และได้สุด ในขณะที่เท้าปุกแข็งดัดให้ข้อเท้ากระดกขึ้นได้ไม่สุด แข็ง และถ้าฝืนเด็กจะเจ็บและร้องไห้ได้ | | | โดยวิธีการดังกล่าวสี่ข้อ พอจะแยกเท้าปุกเทียมออกจากเท้าปุกแข็งได้ และในเท้าปุกเทียมการดัด และ เขี่ยข้างเท้า จะช่วยกระตุ้นให้เท้ากลับมาสมดุลเหมือนเท้าปกติได้เร็วขึ้นอีกด้วย ถือเป็นการรักษาขึ้นเบื้องต้นอย่างหนึ่ง | | | เป็นภาพเท้าปุกแท้ที่ไม่ได้รับการรักษาและปล่อยไว้จนโต จะเห็นว่าเด็กจะเอาด้านข้างเท้าเป็นที่รับน้ำหนักในการเดิน ดังภาพเป็นเท้าข้างขวา | | ถ้าต้องการให้เท้าคืนรูปได้เร็วๆ การดัด และเขี่ยกระตุ้นข้างเท้าสามารถทำให้เท้าคืนรูปร่างได้เร็วขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ไม่ยาก และเป็นเพิ่มกิจกรรมการสัมผัสระหว่างลูกกับพ่อแม่ได้อีกด้วย ทีนี้ก็มีคำถามอีกว่า เมื่อไหร่ถึงควรพาไปพบแพทย์ ถ้าทำแล้วไม่หายซักที โดยทั่วไปถ้าทำซักเดือนแล้วดูไม่ดีขึ้นก็ควรพาไปพบแพทย์ได้เลย หรือถ้าสามเดือนไปแล้วทารกยังไม่หาย เท้ายังไม่ได้อยู่ในท่าข้อเท้าฉาก ควรนำทารกพบแพทย์เช่นกัน โดยการรักษาขั้นต่อไปคือการดัดดามใส่เฝือก ซึ่งโดยส่วนใหญ่การใส่เฝือกเพียง ไม่กี่สัปดารห์ ก็หายแล้ว | | | | สำหรับเท้าปุกแท้ ควรรีบรักษาเพราะถ้าปล่อยไว้กระดูกในเท้าจะเจริญเติบโตผิดแนว ทำให้กระดูกและข้อในเท้าผิดรูปอย่างถาวร และถ้าถึงตอนนั้นการรักษาอาจต้องผ่าตัดตกแต่งกระดูกภายในเท้าเท่านั้น จึงจะทำให้เท้ามาอยู่ในรูปร่างใกล้เคียงเท้าปกติได้ ถ้ามาในอายุน้อย แรกเกิดได้ยิ่งดีนะครับ การเข้าโปรแกรมการดัดดาม เท้า ก็ให้ผลดีโดยส่วนใหญ่ ซึ่งผลขึ้นอยู่กับระดับความแข็ง ในรายแข็งปานกลางและแข็งไม่มาก การดัดดาม ได้ผลดี โดยระยะเวลาในการใส่เฝือก ประมาณ 2 เดือน แพทย์จะนัดมาเปลี่ยนเฝือกและดัดเป็นระยะๆ ในรายที่แข็งมาก อาจต้องการการผ่าตัดเพื่อคลายเนื้อเยื่อเอ็นที่แข็ง และจัดแนวกระดูกเท้าใหม่ ซึ่งผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีเชื่อถือได้ | | | ความสำเร็จในการรักษาส่วนสำคัญจึงอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องทำใจ และร่วมมือในการรักษาอย่างเต็มที่ แล้วจะได้ผลการรักษาที่ดี เท้าลูกจะใช้งานได้ดี ไม่เจ็บปวด และมีรูปร่างที่เหมือนเท้าทั่วๆไป แม้ขนาดของเท้าจะไม่สามารถแก้ไขให้มีขนาดใหญ่เท่าเท้าทั่วไปได้ | | Link https://www.vejthani.com ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ |
โรคเท้าปุก clubfoot เป็นความผิดรูปของเท้าแต่กำเนิดชนิดหนึ่ง (รูปที่ 1) เกิด ขึ้นในเด็กที่ไม่มีความผิดปกติอื่นๆ ที่สามารถอธิบายการเป็นโรคชนิดนี้ ต้องการการรักษาเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ และอย่างถูกต้องด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด มิ ฉะนั้นเด็กจะมีความพิการอย่างมากทำให้ต้องเดินด้วยหลังเท้าหรือปลายเท้า ปวดเท้า ใส่รองเท้าไม่ได้ และไม่สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนอย่างคนอื่นๆ (รูปที่ 2)
พ่อแม่ของเด็กทารกที่เป็นเท้าปุก (Clubfoot) ควรได้รับ การเน้นย้ำจากแพทย์ว่า ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกด้องโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ เด็กจะหายกลับมามีเท้าที่ปกติ สามารถใช้งานได้เช่นเท้าปกติทั่วไป ไม่เป็นปมด้อยของเด็กอีกต่อไป (รูปที่ 3)
เท้าปุก (Clubfoot) ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลับมาเป็นปกติ ภายหลังจากได้รับการดัดเท้าและเข้าเฝือก (รูปที่ 4) ในเวลาเพียง 6-8 สัปดาห์ การรักษาอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับ กายวิภาค และความสัมพันธ์ของกระดูกของเท้า การเคลื่อนไหวของกระดูกเท้า รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของตัวกระดูก, เอ็น และกล้ามเนื้อต่อการดัดแบบค่อยเป็นค่อยไป
ในจำนวนเท้าปุก (Clubfoot) ทั้งหมด มีไม่ถึง 5% ที่มีความรุนแรงมากจนการดัดเท้าไม่ได้ผลสมบูรณ์ และต้องรักษาต่อด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดควรทำเมื่อการดัดเท้าไม่ได้ผลเท่านั้น
เด็กที่เป็นเท้าปุก (Clubfoot) ควรได้รับการรักษาภายในสองสามอาทิตย์แรกหลังคลอด อาศัยความได้เปรียบในขณะที่เนื้อเยื่อของเอ็นข้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเยื่อหุ้มข้อ ยังพอมีความยืดหยุ่นอยู่บ้าง ด้วยการดัดที่ถูกต้องทุกๆ อาทิตย์ tissue เหล่านี้จะค่อยๆ ยืด ออกภายหลังการดัดแต่ละครั้ง เท้าจะได้รับการเข้าเฝือกจากปลายเท้าถึงโคนขาในท่าที่เข่างอ 90 องศา เพื่อบังคับเท้าให้อยู่ในท่าที่ดัดได้ ดังนั้น เท้าจะค่อยๆ ถูกดัดให้เป็นปกติในที่สุด
โดยทั่วไปจะใช้เฝือกเพียง 5-7 อัน แม้แต่เท้าปุก (Clubfoot) ที่เป็นมากๆ ก็ใช้เฝือกไม่เกิน 8-9 อัน ก่อนใส่เฝือกอันสุดท้ายเด็กจะได้รับการตัดเอ็นร้อยหวาย (รูปที่ 5) เพื่อทำให้ข้อเท้ากระดกขึ้น เฝือกอันสุดท้ายจะใส่อยู่ 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้เอ็นที่ถูกตัดติดกันในท่าที่ยืดยาวขึ้น
หลังจากหายแล้วเด็กที่เคยมีเท้าปุก (Clubfoot) อาจกลับเป็นใหม่ได้ เพราะฉะนั้น หลังสิ้นสุดการเข้าเฝือกจะต้องใส่กายอุปกรณ์เท้า (abduction foot orthosis) (รูปที่ 6) ทั้งวันทั้งคืน 2-3 เดือน และใส่เฉพาะกลางคืนหรือเวลานอนอีก 4 ปี
การวินิจฉัยโรคเท้าปุก (Clubfoot) ใช้เพียงตาดูก็รู้ แล้ว การถ่ายภาพ x-ray จึงไม่จำเป็น การตรวจร่างกายโดยละเอียดทำเพื่อดูว่ามีโรคอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ ในผู้ป่วยบางรายที่รักษาหายแล้ว อาจมีความไม่สมดุลของเอ็นในการดึงเท้า ทำให้ดูเหมือนว่าเท้ายังผิดรูปอยู่ อาจมีการผ่าตัดเพื่อย้ายเอ็นให้มีแนวดึงที่ตรงขึ้น (Tibialis Anterior transfer)
จากรายงานต่างๆ ที่บอกว่าการดัดและการเข้าเฝือกไม่ได้ผล แสดงว่าวิธีของท่านเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกายวิภาคและการเคลื่อนไหวของเท้า ทำให้ดัดไม่ถูกวิธีและไม่ได้ผลดังกล่าวข้างต้น ส่วนการผ่าตัดในรายที่การดัด และเข้าเฝือกไม่ได้ผล ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
Link https://www.bangkokhospital.com/