เข้าเฝือกอ่อน เฝือกอ่อน การใส่เฝือก อุปกรณ์ดามกระดูกและข้อ


6,269 ผู้ชม


เข้าเฝือกอ่อน  เฝือกอ่อน การใส่เฝือก อุปกรณ์ดามกระดูกและข้อ
“เฝือก” อุปกรณ์ดามกระดูกและข้อ

หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “เฝือก” ใน ฐานะอุปกรณ์ที่ช่วยดามกระดูกให้เข้าที่ แต่ในความเป็นจริงเฝือกมีบทบาทอื่นอีก และใช้อย่างไรจึงเกิดประโยชน์สูงสุด
เข้าเฝือกอ่อน  เฝือกอ่อน การใส่เฝือก อุปกรณ์ดามกระดูกและข้อ
เฝือกพลาสติก
            จากวันนั้นถึงวันนี้ เฝือกได้มีพัฒนาการมาแล้วหลายรุ่น ตั้งแต่ทำจากไม้ ลักษณะเป็นซี่ถักติดกันเป็นแผ่นสำหรับดามกระดูกหัก ซึ่งแพทย์แผนโบราณจะจัดดึงกระดูกให้เข้าที่ แล้วทาด้วยน้ำมันมนต์ พันห่อแขนขานั้นๆ ไว้ด้วยเฝือก เพื่อให้อวัยวะส่วนนั้นได้อยู่นิ่งๆ เป็นการลดความเจ็บปวด ลดบวม และทำให้กระดูกหักนั้นติดกันดีดังเดิม ต่อมาได้มีการพัฒนาวัสดุอื่นมาใช้เป็นเฝือกแทนไม้ ได้แก่ ปูน ปลาสเตอร์ หรือเฝือกปูน และสารสังเคราะห์ หรือที่มักเรียกว่า “เฝือก พลาสติก” ทำจากไฟเบอร์กลาสเรซิน ที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง และยังปรับแต่งรูปทรงให้เหมาะสมกับอวัยวะส่วนนั้น  เฝือกมีอยู่ 2 ชนิด คือ
            1.เฝือกปูน ทำจากปูนพลาสเตอร์มาเคลือบบนผ้าฝ้าย เมื่อใส่แล้วก็จะมีสีขาว นิยมใช้กัน เนื่องจากราคาค่อนข้างถูก การใส่เฝือกและการตัดเฝือก ดัดเฝือกก็ทำได้ง่าย แต่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก แตกร้าวง่าย ระบายอากาศไม่ค่อยดี อาจทำให้คันเพราะความอับชื้น ยิ่งถูกน้ำ เฝือกก็จะเละ เสียความแข็งแรง ซึ่งเมื่อใส่เฝือกปูนแล้วจะต้องใช้เวลา 2 -3 วัน เฝือกจึงแข็ง ดังนั้นจึงไม่ควรเดินลงน้ำหนักก่อนเมื่อใส่เสร็จใหม่ๆ
            2.เฝือกพลาสติก เป็นพลาสติกสังเคราะห์ มีน้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี แข็งแรง ทนทาน และเมื่อถ่ายภาพรังสี จะเห็นกระดูกได้ชัดเจนกว่า แต่ราคาแพง เวลาตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ยาก ทำให้ต้องตัดออกและใส่เฝือกใหม่อีกครั้ง แต่ข้อดีคือ เฝือกพลาสติกแห้งเร็วภายใน 1 ชั่วโมง
เมื่อไหร่เข้าเฝือก

            1.กระดูก ข้อ เคลื่อนหรือหัก เพื่อให้อวัยวะส่วนนั้นอยู่นิ่งๆ ลดอาการบวม อักเสบหาย
            2.แก้ไขความผิดรูปของอวัยวะ ให้กลับมามีรูปทรงที่ปกติ และทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป
            3.ป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ เช่น แผลจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ดูแลตนเองและเฝือก
            โดยทั่วไปแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจซ้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังใส่เฝือก ถ้าเฝือกหลวมก็อาจต้องเอกซเรย์และเปลี่ยนเฝือกให้ใหม่ ถ้าเฝือกแน่นและแข็งแรงดีอยู่ แพทย์ก็จะนัดทุก 1-2 เดือน เพื่อเอกซเรย์กระดูก จนกว่ากระดูกจะติดสนิท ซึ่งแพทย์จะใส่เฝือกไว้ประมาณ 4-6 อาทิตย์ แต่กระดูกจะติดสนิทนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 4-6 เดือน ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะเอาเฝือกออกแล้ว ก็ควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ไม่เช่นนั้นก็อาจจะหักซ้ำได้


เข้าเฝือกอ่อน  เฝือกอ่อน การใส่เฝือก อุปกรณ์ดามกระดูกและข้อ

            ในขณะที่ใส่เฝือกอยู่ต้องระวัง อย่าทำให้เฝือกเปียกน้ำ อย่าตัดเจาะหรือใช้ของแข็งแยงเข้าไปในเฝือก และหากมีผิดปกติ เช่น เมื่อมีอาการปวดมากยิ่งขึ้น หรือบวมที่บริเวณต่ำกว่าขอบเฝือก เนื่องจากการไหลเวียนของ เลือดไม่ดี เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าข้างที่เข้าเฝือก มีสีเขียวคล้ำ หรือซีด ขาวบวมมากขึ้นหรือมีอาการชา เมื่อไม่สามารถขยับเขยื้อนนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าข้างที่ใส่เฝือกได้ เมื่อมีวัตถุแปลกปลอมหลุดเข้าไปในเฝือก อาจทำให้เกิดแผลกดทับและติดเชื้อตามมาได้ เมื่อพบว่าเฝือกหลวม บุบสลายหรือแตกหัก มีเลือด น้ำเหลือง หรือหนองไหลซึม ออกมาจากเฝือกหรือมีกลิ่นเหม็น ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเช่นนี้ ควรพบแพทย์โดยด่วน
กระดูกหักใส่เฝือก
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อใส่เฝือก
            1.เฝือกหลวม เนื่องจากอวัยวะภายในเฝือกยุบบวมลงหรือเข้าเฝือกไม่กระชับตั้งแต่แรก
            2.เฝือกคับหรือแน่นเกินไป จากการบวมที่เกิดหลังการเข้าเฝือก
            3.การเข้าเฝือกนานเกินไป ทำให้ข้อติดยึด
            4.การถอดเฝือกออกเร็วเกินไป โดยที่กระดูกยังไม่ติดกันดี ทำให้การเคลื่อนหลุดของปลายกระดูกที่หัก เกิดติดผิดรูป ติดช้าหรือไม่ติด
            พึงเข้าใจการเข้าเฝือกเป็นวิธีรักษาอย่างหนึ่ง มิใช่การลงโทษหรือการซื้อขายของ ที่อาจต่อรองลดหย่อนในลักษณะที่ผิดหลักการได้ คุณอาจรู้สึกรำคาญ หงุดหงิด แต่นั่นก็คืออุปกรณ์ที่ช่วยให้คุณหายจากโรคได้

ที่มา : เว็บไซต์ scimath

อัพเดทล่าสุด