โรคปากนกกระจอก อาการ โรคปากนกกระจอก รักษา เป็นโรคปากนกกระจอก


830 ผู้ชม


โรคปากนกกระจอก อาการ โรคปากนกกระจอก รักษา เป็นโรคปากนกกระจอก

                   โรคปากนกกระจอก อาการ

อะไรคือโรคปากนกกระจอกและแผลที่ปาก


ริมฝีปากอักเสบ และแผลในช่องปากมีอาการพอง เป็นจุดหรือ เจ็บแสบที่ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น แม้ว่าการเจ็บแสบ และความผิดปกติที่ปากจะมีอยู่หลายประเภท โดยส่วนใหญ่ของอาการผิดปกติเหล่านี้จะเป็นโรคปากนกกระจอก ปากเปื่อย เนื้อเยื้อในปากเป็นสีขาวปื้นๆ (Leukoplakia) และการติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis) โรคเหล่านี้จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง หากคุณมีอาการ เจ็บปาก คุณไม่ได้เป็นโรคนั้นคนเดียว ยังมีคนอีกประมาณหนึ่งในสามรอบตัวคุณที่ได้รับเชื้อนี้เหมือนกัน แผลที่ปาก ริมฝีปากอักเสบ และการมีแผลพองที่ปาก สามารถทำให้มีอาการเจ็บปวด ไม่น่าดู และเป็นที่ระคายเคืองเวลารับประทานอาหาร และเวลาพูด โรคแผลในปาก มีการอาการต่อ$48;นื่องเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ควรได้รับการตรวจจากทันตแพทย์ ทันตแพทย์อาจแนะนำการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือ HIV

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นริมฝีปากอักเสบหรือแผลในช่องปาก
สัญญาณเหล่านี้อาจจะเป็นตัวชี้ว่าเป็นริมฝีปากอักเสบ หรือแผลในช่องปาก

  • โรคปากนกกระจอกมีลักษณะเป็นวงกลมขาวๆ ขนาดเล็ก หรือเจ็บรอบๆ บริเวณที่เป็น สีแดง โรคปากนกกระจอกจะไม่มีการแพร่กระจาย ซี่งอาจทำให้สับสนกับโรคปากเปื่อย ซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส มันอาจจะช่วยให้จำได้ง่ายว่า และก็สามารถเกิดซ้ำได้อีก มีทั้งขนาดเล็ก ใหญ่ หรือกระจายกันเป็นกลุ่ม
  • โรคปากนกกระจอกนั้นเป็นโรคธรรมดาและสามารถเกิดซ้ำได้อีก ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถ ระบุถึงสาเหตุของโรคได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่าอาจเกิดจากปัญหาของระบบภูมิคุ้มกัน หรืออาจเกี่ยวข้องกับแบคทีเรีย หรือไวรัส ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด การบาดเจ็บ แพ้ การสูบบุหรี่ การขาดวิตามิน หรือธาตุเหล็ก และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคได้
  • โรคปากเปื่อยบางทีก็เรียกว่า Fever Blisters หรือ เริม เป็นการพองที่มีน้ำอยู่ข้างใน อยู่รอบๆ ปาก และบางครั้งก็เกิดใต้จมูก และรอบๆ คาง โรคปากเปื่อยส่วนใหญ่มักเกิด จากเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ง่าย และแพร่กระจาย การติดเชื้อครั้งแรกมักเกิดขึ้นใน วัยเด็ก บางครั้งก็ไม่มีอาการ และอาจจะสับสนกับโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เมื่อคนติดเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย บางครั้งเชื้อไวรัสก็อาจจะโจมตีได้ และในบางคน เชื้อไวรัสก็อาจจะอยู่แบบไม่แสดงอาการ
  • Leukoplakia ลักษณะหนา เหมือนแผ่นสีขาวด้านในของแก้ม เหงือก หรือลิ้น เป็นสาเหตุเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และยาสูบไร้ควันต่างๆ ถึงแม้ว่าอาจมีสาเหตุอื่น รวมถึงการใส่ฟันปลอมไม่ดี ฟันหัก และเคี้ยวโดนแก้ม ประมาณ 5% ของโรค Leukoplakia สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้ ทันตแพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้ โรค Leukoplakia ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ถ้าหยุดการสบุหรี่
  • การติดเชื้อแคนดิดา (Candidiasis) หรือโรคเชื้อราที่ปาก เป็นการติดเชื้อจากเชื้อรา Candida Albicans (เป็นยีสต์ชนิดหนึ่ง) มันปรากฎเป็นส่วนที่มีเนื้อครีม สีเหลืองอมขาว หรือ เดง ซึ่งเกิดขึ้นที่ผิวชุ่มชื้นในปาก เนื้อเยื่อใต้ส่วนนั้นจะมีอาการปวด โรคเชื้อราที่ปาก เป็นอาการของผู้สวมฟันปลอมส่วนใหญ่ เด็กแรกเกิดหรือผู้ที่มีอาการอ่อนแอจากเชื้อโรค หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนคนที่มีปากแห้ง หรือคนที่ทานยาปฏิชีวนะก็จะเป็นโรคนี้ ได้ง่ายเช่นกัน

วิธีการรักษาริมฝีปากอักเสบและแผลในช่องปาก
มีการรักษาได้หลายแบบขึ้นอยู่กับอาการของโรคที่คุณมี ส่วนใหญ่โรคแผลในปากตามที่ได้อธิบาย รายละเอียดในด้านบน มีการรักษาดังต่อไปนี้

  • โรคปากนกกระจอก — โดยปกติแล้วโรคปากนกกระจอกจะหายได้ภายใน 7-10 วัน ถึงแม้ว่าอาการจะเกิดขึ้นอีกเป็นปกติ ไม่มียาที่สั่งจากแพทย์โดยเฉพาะซึ่งเป็นยาขี้ผึ้ง หรือยาบรรเทาอาการปวด สามารถบรรเทาได้เพียงชั่วคราว บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ที่ต่อต้านจุลินทรีย์อาจช่วยอาการอักเสบได้ บางครั้งยาปฏิชีวนะอาจเป็นการลดอาการ ทางอ้อมได้
  • ปากอักเสบ — แผลพุพองโดยปกติสามารถหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาจกลับมาเป็นอีกซ้ำอีกได้ หากผู้ป่วยมีอารมณ์ไม่ดี โดนแดดมากเกิŨ9;ไป หรือเป็นไข้ ไม่มียาชาเฉพาะที่ที่สามารถใช้บรรเทาอาการปวด ชั่วคราวได้ ยาต้านเชื้อไวรัสที่แพทย์สั่งอาจช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสบางชนิด ได้ โปรดปรึกษาทันตแพทย์ หรืออายุรแพทย์
  • Leukoplakia — การรักษาอาจเริ่มจากการหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดแผล เช่น คนไข้บางคนอาจเลิกสูบบุหรี่ หรือในรายอื่นๆ อาจหมายถึงการใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี ก็เปลี่ยนฟันปลอมในมีความพอดีกับฟันของเรา ทันตแพทย์ของคุณสังเกตอาการ หรือตรวจสอบแผลอักเสบในช่วงระเวลา 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และขนาด ของแผล
  • Candidiasis — การรักษาประกอบด้วยการควบคุมสาเหตุของการแพร่กระจาย
    • ทำความสะอาดฟันปลอม ซึ่งสำคัญต่อการป้องกันปัญหาการติดเชื้อที่เกิดจาก ฟันปลอม
    • ยาปฏิชีวนะ หรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นสาเหตุ ก็ให้ลดปริมาณ หรือเปลี่ยน การรักษาก็อาจช่วยได้
    • สิ่งที่ทดแทนน้ำลาย ก็ช่วยลดอาการปากแห้งได้
    • ยาต้านเชื้อราอาจใช้รักษาเมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่สามารถรักษาได้
    • การดูแลช่องปากให้มีอนามัยที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรคปากนกกระจอก อาการ โรคปากนกกระจอก รักษา เป็นโรคปากนกกระจอก
เริม โรคปากนกกระจอก

* The Complete Guide to Better Dental Care, Jeffrey F. Taintor, D.D.S., M.S., and Mary Jane Taintor, 1997.


                Link   https://www.colgate.co.th/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=


                 โรคปากนกกระจอก รักษา


วิธีการรักษาโรคปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอกเป็นอาการแผลเปื่อยที่เกิดขึ้นบริเวณรอบ ๆ ปาก มีอาการเจ็บบริเวณเนื้อเยื่อรอบปาก ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด สถาบันนิวเมอร์แนะนำวิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคปากนกกระจอกไว้ดังนี้

  • ใช้ไฮโดรเจนผสมกลีเซอรีนทำความสะอาดแผลและช่วยเคลือบผิวหนังบริเวณที่เจ็บปวดไว้
  • ทำน้ำยาฆ่าเชื้อเองได้ง่าย ๆ โดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ผสมกับน้ำ หรืออีกสูตรหนึ่งใช้น้ำผสมกับเบคกิ้งโซดาและเกลือ ใช้ทำความสะอาดแผล แต่ห้ามรับประทานส่วนผสมดังกล่าวเป็นอันขาด
  • ใช้ยาที่ผลิตมาสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ ส่วนมากจะมีส่วนผสมของกาบูร ยูคาลิปตัส และเบนโซเคน
  • ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น             

                     Link    https://healthy.in.th/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  

              เป็นโรคปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก ป้องกันและรักษาได้

ปากนกกระจอก ป้องกันและรักษาได้

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก ป้องกันและรักษาได้ (สสส.)
          สำหรับบางคนแล้ว โรคปากนกกระจอก นั้นอาจเป็นโรคธรรมดาที่สามารถเกิดซ้ำได้อีก ถ้าหากเราไม่หมั่นทำความสะอาดช่องปาก...ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรคปากนกกระจอก จะมีลักษณะเป็นวงกลมขาว ๆ ขนาดเล็ก หรือเจ็บรอบ ๆ บริเวณที่เป็น ไม่มีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น
          แผลในช่องปากใครว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ? เพราะความจริงแล้วหากเราไม่ดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากแล้ว อาจเกิด "โรคปากนกกระจอก" ได้
                    แต่ ในคนที่มีน้ำลายมากกว่าปกติ ริมฝีปากแห้งและชอบเลียปากจนติดเป็นนิสัยแล้วละก็ อย่าคิดว่าเป็นเพราะบุคลิกส่วนตัว!!! เพราะนั่นอาจแสดงว่าคุณเป็นโรค  "ปากนกกระจอก" แล้ว แต่ต้องสังเกตเพิ่มเติมว่าคุณมีอาการแพ้ หรือระคายเคืองจากลิปสติก ยาสีฟันหรือไม่ร่วมด้วย หรือในผู้ที่ขาดวิตามินรวมถึงผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันหรือใส่ฟันปลอม ทำให้รูปปากผิดปกติ เกิดการกดทับที่มุมปากกลายเป็นจุดอับชื้น เมื่อเหงื่อหรือน้ำลายมาอบบริเวณนั้นมากขึ้น ก็จะเกิดเป็นแผลที่มุมปาก และสุดท้ายอาจจะมีการติดเชื้อบางชนิดอย่างเช่นเชื้อรา แบคทีเรีย รวมถึงเชื้อไวรัสอย่างเริมได้
          เพราะ ฉะนั้น วิธีการป้องกันที่จะไม่ให้เกิดโรคปากนกกระจอกขึ้นกับตัวเอง สามารถทำได้เพียงแค่อันดับแรก ต้องหมั่นทำความสะอาดปากและฟัน ด้วยการแปรงฟันและบ้วนปากให้สะอาดหลังทานอาหารอยู่เสมอ และควรเช็ดมุมปากให้แห้งอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งต้องพกผ้าเช็ดหน้าสะอาด ๆ ไว้คอยซับน้ำลาย เพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้นนั่นเอง
          วิธีต่อมา รักษาความสะอาดของเครื่องนอน เช่น ปลอกหมอน ผ้าห่ม ตลอดจนผ้าเช็ดหน้าที่ใช้เป็นประจำ ที่สำคัญต้องดื่มน้ำมาก ๆ ลดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และต้องเลิกนิสัยชอบเลียมุมปาก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ เพราะจะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลมุมปากได้
          ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ และเราสามารถทำได้เพื่อไม่ไห้เกิดโรคปากนกกระจอก คือ การหมั่นทาปากด้วยลิปปาล์ม หรือขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของวิตามินอี เพราะวิตามินอีจะช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้นและยืดหยุ่นตัวดีขึ้นด้วย
          และสำหรับคนที่ขาดวิตามิน ควรทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 2 ซึ่งพบมากในข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ปลา ผักใบเขียว สำหรับธาตุเหล็กพบมากในธัญพืช และถั่วชนิดต่าง ๆ ส่วนผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมก็ควรทำความสะอาดฟันปลอมอยู่เสมอ เพราะฟันปลอมนี่แหละ คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
          หากทำได้เพียงแค่นี้ "โรคปากนกกระจอก" ก็ จะไม่มาทำให้เราได้กังวลใจอีกเป็นแน่ ที่สำคัญถ้าไม่อยากให้โรคอื่น ๆ นอกจากโรคปากนกกระจอกมากล้ำกลายด้วยแล้วละก็!!! ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างสมุนไพร ผัก และผลไม้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราห่างไกล "โรค" ทุก "โรค" ได้แน่นอน....
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
                   Link   www.kapook.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด