โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในคน โรคปากเปื่อยในคน โรคปากเปื่อย


800 ผู้ชม


โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในคน โรคปากเปื่อยในคน โรคปากเปื่อย

                โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในคน

โรคมือ ปาก เท้าเปื่อย

 

มาตรการป้องกันควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ในประเทศไทย

    ความเป็นมาของโรคมือ เท้า ปาก

    โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในลำไส้ของมนุษย์ สายพันธุ์ที่ก่อโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ Coxsackie virus group A, B และ Enterovirus 71 (EV71) มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ มีผื่นหรือตุ่มพองในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่วนมากอาการไม่รุนแรง มีเพียงส่วนน้อยประมาณ ร้อยละ 1 ที่มีอาการรุนจนถึงเสียชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวมน้ำ สมองอักเสบ หัวใจวาย สายพันธุ์ที่มักทำให้เกิดอาการรุนแรงได้แก่ EV71 ซึ่งพบในต่างประเทศมาหลายสิบปีแล้ว แต่ในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบ EV71 ครั้งแรกปีพ.ศ.2541 จากนั้นมีผู้ป่วยประปราย จนเริ่มมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา โดยใน 5 ปีนี้ สาเหตุสำคัญของการระบาดในปี 2550 และ 2553 เป็นเชื้อไวรัส Coxsackie A16 ส่วนปี2552 EV71 เป็นสาเหตุสำคัญ สำหรับปี 2554 พบเชื้อทั้งสองชนิดใกล้เคียงกัน คือ 16 และ 18 ราย ตามลำดับ

    สถานการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ในต่างประเทศ

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2554 แจ้งความคืบหน้าของรายงานการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศเวียดนาม โดยในปี 2554 นี้ พบผู้ป่วยแล้ว 32,500 ราย ซึ่งตัวเลขสูงกว่าปีที่แล้ว ถึง 3 เท่า เสียชีวิต 81 ราย ในขณะที่ทางประเทศมาเลเซีย พบผู้ป่วยในปีนี้ 2,919 ราย ลดลง

    จากปีที่แล้ว (2553) ที่พบผู้ป่วยถึง 8,769 ราย โดยในปีนี้ยังไม่พบผู้เสียชีวิต (ที่มา : ProMED-mail วันที่ 16 และ 21 สิงหาคม 2554)

    สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย

    จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 22 สิงหาคม 2554 จาก 77 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) พบผู้ป่วย 8,405 ราย ผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตจากโรคมือ เท้า ปาก หรือเชื้อ Enterovirus หรือ EV71 จำนวน 4 ราย (มีผลยืนยันเชื้อ EV71 เพียง 1 ราย อีก 3 รายอาการเข้าได้กับโรคนี้ แต่lab ไม่ยืนยันหรือรอผลอยู่ และกำลังอยู่ใน ICU 1 ราย

    สำหรับสถานการณ์ในขณะนี้พบว่ามีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน เริ่มขยายเป็นวงกว้างในหลายจังหวัดที่พบ

มากคือภาคกลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ และอาจจะมีการระบาดต่อเนื่องไปอีกหลายเดือน ซึ่งหากไม่มีการ

ป้องกันควบคุมโรคที่ดีแล้ว ก็อาจทำให้มีการระบาดทั่วประเทศได้ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 2 ปี หรืออายุต่ำกว่านั้นซึ่งน้อยลงจากปีก่อนที่ผู้ป่วยอายุเฉลี่ยประมาณ 3 ปี และการเสียชีวิตที่มากขึ้นกว่าปกติ จากเดิมในช่วงปี2550-2553 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ยเพียงปีละ 0.1 ราย

    ตั้งแต่ช่วงต้นของการระบาดคือ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2554 เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุขได้มี

การเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด และกรมควบคุมโรคได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามสถานการณ์และ มีการปรับเปลี่ยนมาตรการป้องกันควบคุมโรคตามสถานการณ์อยู่เป็นระยะ ๆ รวมทั้งได้มีการสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ และขอความร่วมมือไปยังกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษาทุกแห่ง

มาตรการสำคัญ : โดยเพิ่มมาตรการที่จำเพาะและเข้มข้นเป็นพิเศษ ดังนี้

1. พื้นที่ที่มีการระบาดหรือพื้นที่เสี่ยงจะต้องมีการ เร่งรัดการเฝ้าระวังโรคทั้งด้านอาการป่วยและการตรวจทาง

ห้องปฏิบัติการ

2. กำชับแพทย์เพื่อการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เน้นการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

3. เร่งรัดและขยายช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่และประชาชน สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก มี

ส่วนร่วมในการป้องกันควบคุม

4. ขอความร่วมมือไปยังกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์

ในการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กและสถานศึกษาทุกแห่ง

    คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง

1. สังเกตุอาการบุตรหลานของท่าน หากมีอาการซึม มีไข้ อ่อนเพลีย มีแผลในปากหรือตุ่มหรือผื่น

นูนแดงบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า หรือสงสัยว่าเป็นโรคมือ เท้า ปากให้พาไปพบแพทย์โดยด่วน

2. หากสงสัยว่าบุตรหลานท่านป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรแยกเด็กป่วยออกจากเด็กอื่นในบ้าน

รวมทั้งเด็กข้าง ๆ บ้าน ไม่ให้คลุกคลีกับเด็กที่ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่เด็กอื่น

3. พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนการเตรียม

อาหารหรือก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย ผู้ดูแลควรมีการล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลัง

ทำความสะอาดก้นให้เด็ก

4. รักษาสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร ควรใช้ช้อนกลาง ไม่ให้เด็ก ๆ ใช้แก้วน้ำ ช้อน หรือ

แปรงสีฟันร่วมกัน นอกจากนั้นควรให้เด็กอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี ไม่พาเด็กเล็กไปในที่แออัด

5. หากบุตรหลานเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย

6. ทำความสะอาดเครื่องใช้ภายในบ้านโดยเฉพาะของเล่นเด็กและผึ่งแดดให้แห้ง

    คำแนะนำสำหรับโรงเรียนอนุบาลสถานรับเลี้ยงเด็ก

1. หมั่นตรวจดูแลเด็กหรือสังเกตความผิดปกติ เช่น มีแผลในปากอาจจะร่วมกับมีตุ่มหรือผื่นนูน

แดงบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าหรือในปาก หรือไม่ก็ได้ หรือสงสัยว่าเป็นโรคมือ เท้า ปากให้พาไปพบแพทย์โดยด่วน

2. หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ของเด็กเล่นทุกชนิดอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเช็ดถูอุปกรณ์เครื่อง

เรือน เครื่องเล่น หรืออุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ ด้วยน้ำและสบู่แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง รวมทั้งการกำจัด

อุจจาระให้ถูกต้องและล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ สำหรับห้องน้ำ พื้น หรือของใช้อื่น ๆ ที่เด็กสัมผัสบ่อย ๆ และตามด้วย

น้ำยาฟอกผ้าขาว ทิ้งไว้ 10 นาที และ ล้าง เช็ด แช่ ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง

3. ฝึกให้เด็กล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ ทั้งก่อนรับประทานอาหารหรือหลังออกจากห้องน้ำ

4. ผู้ดูแลเด็กควรล้างมือก่อนการเตรียมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย ผู้ดูแล

ควรมีการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังทำความสะอาดก้นให้เด็ก

5. หากพบเด็กป่วยควรแยกเด็กออกต่างหาก เมื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้เด็กอื่น และควรแนะนำ

ให้หยุดเรียนอย่างน้อย 710 วัน

6. ควรแยกของใช้เด็กแต่ละคนไม่ให้ปะปนกัน เช่นแก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ

7. หากพบเด็กป่วยหลายคนควรพิจารณาปิดโรงเรียนชั่วคราว รวมทั้งทำความสะอาด อุปกรณ์

รับประทานอาหาร เครื่องใช้ ของเด็กเล่น ห้องน้ำ และพื้นผิวที่เด็กสัมผัส ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกปกติก่อน และตาม

ด้วยน้ำยาฟอกผ้าขาว (ที่มีขายในท้องตลาด) ทิ้งไว้ 10 นาที และ ล้าง เช็ด แช่ ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อป้องกัน

สารเคมีตกค้าง

8. เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง

    สำหรับห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ ทุกแห่งที่มีของเด็กเล่นก็ต้องหมั่นทำความสะอาดเช่นกัน

แนะนำให้ทำความสะอาดด้วยแบบสบู่ หรือผงซักฟอก ปกติก่อน แล้วตามด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น คลอรอกซ์

ไฮเตอร์ ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้าง/เช็ด/แช่ ด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง ส่วนของเล่นที่เด็กอาจเอาเข้าปากได้ ให้ทำความสะอาดด้วยสบู่หรือผงซักฟอกตามปกติ และนำไปผึ่งแดด

ข้อมูลจากสำนักโรคอุบัติใหม่ และสำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

      Link    https://www.srinagarind.md.kku.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

       โรคปากเปื่อยในคน

ญญาณเตือนภูมิต้านทานร่างกายแปรปรวน

            แผลร้อนใน อาการเจ็บปาก ปากเปื่อยเป็นแผล เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ก็คือ แผลแอฟทัส (Aphthous Ulcer) หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า “แผลร้อนใน” นั่น เอง แผลแอฟทัสหรือแผลร้อนในเป็นโรคที่เกิดกับคนเราเกือบทุกคน พบมากในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โรคนี้เป็นเฉพาะตัว ไม่ติดต่อแพร่กระจายโรคให้ผู้อื่น

            แทบ ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์การ เป็นแผลในปากมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย และคงจำรสชาติของความเจ็บแสบได้ดี ยิ่งพวกเราคนไทยชอบกินอาหารรสจัดแบบไทยๆ ถ้าเจอน้ำพริกตอนเป็นแผลในปาก อาจถึงกับน้ำตาร่วงคาชามข้าวเลยทีเดียว แผลแอฟทัสจัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายแต่ประการใด เพียงแต่ทำให้เจ็บปวดน่ารำคาญในระยะ 2-3 วันแรก และจะหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ นานที่สุดไม่เกิน 3 สัปดาห์ แผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนว่าระบบภูมิต้านทานของร่างกายกำลังแปรปรวน เนื่องจากมีความเครียดทางร่างกายหรือจิตใจ สมควรจะได้พักผ่อนและคลายเครียดได้แล้ว

            สาเหตุ

            สาเหตุ ที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ ชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย เกิดการสร้างภูมิต้านทานเฉพาะต่อเนื้อเยื่อภายในช่องปากของตัวเอง

            สิ่ง กระตุ้นที่ทำให้แผลแอฟทัสกำเริบมีอยู่หลายประการ เช่น ร่างกายพักผ่อนไม่พอ อดนอน ทำงานคร่ำเคร่งหรือหักโหมเกิดจากความเครียดทางจิตใจ อาหารไม่ย่อย ท้องผูกขณะมีประจำเดือน ขณะเป็นไข้ตัวร้อน

            บาง รายเกิดจากการติดเชื้อในช่องปาก มีการระคายเคืองภายในช่องปาก เช่น สารบางชนิดในยาสีฟันหรืออาหาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก เกิดแผลเปื่อยพุขึ้นมาได้เป็นครั้งคราว

            แผลในปากมีหลายประเภทซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ แผลแอฟทัส หรือที่เรียกกันอย่างภาษาชาวบ้านว่าแผลร้อนใน

            ภาค วิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ พบว่าเป็นแผลร้อนในร้อยละ 46.7 ของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย และยังพบอีกว่า การเกิดแผลร้อนในมีความสัมพันธ์กับอาชีพและระดับความวิตกกังวล

            มี การศึกษาที่ยืนยันว่า แผลร้อนในน่าจะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย การระคายเคืองภายในช่องปาก การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน

            อาการ

            คน ที่เป็นแผลแอฟทัสจะรู้สึกเจ็บในปาก เมื่อตรวจดูจะพบมีแผลตื้นๆ ขอบแผลแดง ตรงกลางแผลเป็นสีขาวปนเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร บางครั้งอาจมีขนาด 7-15 มิลลิเมตร ขึ้นที่เยื่อบุในช่องปาก ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม บนลิ้น ใต้ลิ้น ส่วนน้อยอาจพบได้ที่เพดานปาก เหงือก หรือต่อมทอนซิล แผลอาจมีเพียงแห่งเดียวหรือ 2-3 แห่งก็ได้

            ใน ระยะ 2-3 วันแรกจะรู้สึกปวดมากจนบางครั้งหรือพูดลำบาก โดยเฉพาะถ้าขึ้นตรงโคนลิ้น หรือหลังต่อมทอนซิล ซึ่งอาจจะมองไม่เห็นจากภายนอก ยิ่งถ้ากินถูกของเผ็ดหรือเปรี้ยวจัดจะรู้สึกปวดแสบทรมานมากขึ้น ต่อมาอีก 5-7 วัน จะพบว่า มีเยื่อเหลืองๆปกคลุมที่ผิวของแผลแล้วจะค่อยทุเลาปวดและหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยจะไม่เป็นแผลเป็น ยกเว้นถ้าเป็นแผลขนาดใหญ่และลึกอาจมีรอยแผลเป็นได้

            ส่วน มากจะไม่มีอาการผิดปกติ อื่นๆ ยกเว้นในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ร่วมด้วย แผลแอฟทัสอาจกำเริบซ้ำได้เป็นครั้งคราวเมื่อร่างกายอ่อนแอหรือมีความเครียด บางคนอาจเป็นเพียงปีละ 1-2 ครั้ง แต่บางคนอาจเป็นเดือนละครั้ง หรือ 2-3 เดือนครั้ง

            แผล ร้อนในมักพบเป็นๆ หายๆ อยู่บนเยื่อเมือกในช่องปากบริเวณริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือใต้ลิ้น ลักษณะของแผลเริ่มแรกจะเป็นจุดสีขาวๆ เมื่อนูนขึ้นจะกลายเป็นสีแดง ต่อมาเยื่อเมือกบริเวณนี้จะกลายเป็นสีขาวปนเหลืองปกคลุมแผล ขอบแผลจะแดงและเจ็บปวดมาก บางคนเป็นมากถึงกับเป็นไข้ มีต่อมน้ำเหลืองใต้คางโต หรือมีอาการปวดฟันร่วมด้วย

            ระยะ ที่แผลอักเสบ ผู้ป่วยจะกินอาหารลำบาก จะพูดก็ลำบาก เพราะเมื่อมีอะไรไปโดนแผลจะเจ็บปวดมาก ปกติแผลร้อนในจะมีขนาดไม่เกิน 5 มิลลิเมตร อาจเป็นแผลเดี่ยวๆ หรือหลายแผลกระจายอยู่บนเยื่อบุช่องปาก ถ้าขนาดเล็กมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าแผลใหญ่มากเกิน 10 มิลลิเมตร จะเจ็บปวดมาก บางครั้งเป็นอยู่นานเป็นเดือนก็มี

            การวินิจฉัย

            แพทย์ จะวินิจฉัยโดยการซักถาม อาการและตรวจดูลักษณะของแผลในช่องปาก ถ้าเป็นแผลแอฟทัสจะให้การดูแลรักษาดังกล่าวข้างต้น อาจให้อมและกลั้วน้ำยาผสมยายาปฏิชีวนะเตตราซัยคลีน วันละ 3-4 ครั้ง ในรายที่เป็นแผลขนาดใหญ่และเจ็บปวดรุนแรง แพทย์อาจให้กินยาสตีรอยด์-เพร็ดนิโซโลน เพื่อบรรเทาอาการอักเสบประมาณ 5-7 วัน ยานี้อาจมีผลข้างเคียงมากมาย ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งให้เท่านั้น

            ใน รายที่เป็นแผลเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจมีสาเหตุร้ายแรง อาจต้องตัดเอาชิ้นเนื้อตรงบริเวณแผลไปพิสูจน์ ถ้าเป็นมะเร็งอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายรังสี

            การวินิจฉัยแยกโรค

            โรค นี้เป็นสิ่งที่สามารถวินิจฉัยได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม อาการปากเปื่อยเป็นแผลยังอาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่นแผลที่เกิดจากการบาดเจ็บ เช่น ถูกแปรงสีฟันครูดหรือกระแทก ถูกฟันกัด ถูกฟันปลอมเสียดสี มักมีแผลเกิดขึ้น 1-2 แผลที่ริมฝีปาก ลิ้นหรือเหงือก หายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ควรบ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2-3 ครั้ง และกินยาแก้ปวดถ้ารู้สึกปวด

            แผล เริมขึ้นที่ปาก ในผู้ใหญ่จะขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสๆ ขึ้นเป็นกระจุกเดียวตรงริมฝีปาก แล้วแตกเป็นแผลตื้นๆ เจ็บเล็กน้อย ซึ่งจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน อาจกำเริบซ้ำเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีความเครียด หรือเวลาเป็นไข้หวัด ถูกแดด หรือขณะมีประจำเดือนแบบเดียวกับแผลแอฟทัส ต่างกันตรงที่เริมจะขึ้นตรงริมฝีปากภายนอก และเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ ก่อนที่จะแตกเป็นแผล มีอาการเจ็บไม่มากเท่ากับแผลแอฟทัส และมักจะเป็นซ้ำๆ อยู่ตำแหน่งเดิม

            ใน เด็กเล็ก แผลเริมมักจะขึ้นในช่องปากทำให้มีแผลเปื่อยขึ้นทั่วปาก ไม่ใช่ขึ้นเป็นเฉพาะแห่งแบบแผลแอฟทัส นอกจากนี้จะมีอาการเหงือกบวมแดง เด็กจะมีไข้ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้คางและข้างคอจะบวมและเจ็บ เด็กอาจเจ็บแผลจนกินข้าวหรือดื่มน้ำไม่ได้ ควรรักษาด้วยการดื่มน้ำมากๆ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ ทาแผลด้วยกลีเซอรีนโบแรกซ์

            แผล มะเร็งในช่องปาก พบมากในวัยกลางคนขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่กินหมาก จุกยาฉุน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเพียวๆ ฟันเกหรือใส่ฟันปลอมที่ไม่กระชับ ทำให้เกิดแผลเรื้อรังที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก หรือเพดานปาก นานเป็นแรมเดือนแรมปี โดยมากจะไม่รู้สึกเจ็บปวด แผลจะโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อน บางคนในระยะแรกอาจเริ่มด้วยฝ้าขาวๆ หนาๆ คลำดูรู้สึกสากๆ ไม่เจ็บ ซึ่งจะเป็นอยู่นานเป็นแรมปีก่อนจะกลายเป็นก้อนมะเร็ง

            การรักษา

            แผล แอฟทัสหรือแผลร้อนในเป็นโรค ที่ไม่มีอันตรายอะไร แม้ไม่ได้รักษาก็หายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ เป็นอาการสะท้อนถึงสภาพร่างกายและจิตใจที่เครียด ถ้ากำเริบบ่อยควรต้องหันมาสนใจดูแลสุขภาพของตนเองให้มากขึ้น

            พัก ผ่อนให้มากขึ้น และหาทางผ่อนคลายความเครียด งดอาหารรสเผ็ดและเปรี้ยวจัดจนกว่าแผลจะหาย ดื่มน้ำมากๆ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ผสมเกลือป่นประมาณครึ่งช้อนโต๊ะในน้ำอุ่น 1 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าปวดมากหรือเป็นไข้ กินยาแก้ปวดลดไข้-พาราเซตามอล ป้ายแผลด้วยกลีเซอรีนโบแรกซ์ หรือเจนเชียนไวโอเลต วันละ 2-3 ครั้ง

            ถ้า แน่ใจว่าเป็นแอฟทัสหรือแผล ร้อนในในระยะ 2-3 วันแรก ให้ป้ายแผลด้วยครีมสตีรอยด์ที่ใช้ป้ายปากโดยเฉพาะ โดยทาบางๆตรงแผลวันละครั้งก่อนนอนจนกว่าจะทุเลา โดยมากหลังทายาเพียง 2-3 วัน จะรู้สึกสบายขึ้น การใช้ยาสตีรอยด์ทาเฉพาะที่ในรูปขี้ผึ้งทาแผล ช่วยลดอาการอักเสบและระคายเคือง ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดี ในรายที่ผู้ป่วยมีแผลขนาดใหญ่และเจ็บปวดรุนแรงมาก แพทย์อาจให้กินยาพวกเพร็ดนิโซโลน ประมาณ 4-7 วัน

            ถ้า แผลแอฟทัสกำเริบบ่อย ควรพยายามออกกำลังกายให้มากขึ้น อย่าทำงานหักโหมเกินไป พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ แผลร้อนในดูจะเป็นของคู่ปากคนที่ชอบทำงานหนัก อดหลับอดนอน โดยเฉพาะพวกชาวเมืองมากกว่าชาวชนบท แนะนำให้อย่าเครียดกันมากนัก หาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ท้องผูก รู้จักปล่อยวาง และเดินสายกลาง

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ


       Link   https://www.thaihealth.or.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             โรคปากเปื่อย

โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อ Coxsackievirus โรคนี้ประกอบไปด้วย ผื่นที่ปาก มือ และเท้า ติดต่อดดยการสัมผัส เสมหะ น้ำลาย น้ำจากตุ่มน้ำ และอุจาระ

โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

สาเหตุ

โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน

อาการ

  • ไข้
  • เจ็บคอ
  • มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
  • ปวดศีรษะ
  • ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้
  • เบื่ออาหาร
  • เด็กจะหงุดหงิด

ระยะฝักตัว

หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน

การติดต่อ

เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย มักจะเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี

การวินิจฉัย

โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว

การรักษา

ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ

  • ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
  • ดื่มน้ำให้พอ

โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน

โรคแทรกซ้อน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน

  • อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
  • อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย

ควรพบแพทย์เมื่อไร

  • ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
  • ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
  • เด็กระสับกระส่าย
  • มีอาการชัก

                Link          https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด