โรคปากเปื่อยในเด็ก โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย ปราชญ์ชาวบ้านรักษาโรคปากเปื่อย
โรคปากเปื่อยในเด็ก
โรคมือ เท้า ปาก เปื่อย
เป็นโรคที่ผมเชื่อว่า คนที่เป็นหมอในประทศไทย ได้พบโรคนี้อยู่เป็นประจำทุกปี เวลาระบาดลูกเด็กเล็กแดงต่างๆ ก็จะพากันติดโรคและมาหาหมอกันเป็นแถว เวลาเป็นโรค เด็กๆ จะกินอาหารไม่ค่อยได้เพราะเจ็บปาก พ่อแม่จะเป็นกังวลกันอย่างมาก ปีนี้ตอนนี้ผมเริ่มจะพบคนไข้เด็กๆ ที่เป็นโรคนี้กันบ้างแล้ว เรารีบมาทำความรู้จักโรคนี้กันก่อนเถอะครับ เพื่อจะได้ป้องกันบุตรหลานของเราจากโรคนี้ได้อย่างทันท่วงที
โรคมือเท้าปากเปื่อย (Hand-Foot-Mouth Disease, HFMD)
โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยมากในเวชปฏิบัติ โรคนี้จะเริ่มต้นการติดเชื้อที่คอก่อน
สาเหตุของโรค
โรคนี้ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus A16 โรคนี้มีการติดต่อจากคนสู่คน คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีเชื้ออยู่ใน น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และน้ำจากตุ่มน้ำใส ในปริมาณมาก และคนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะสามารถแพร่เชื้อนี้ให้แก่คนอื่นได้อย่างง่ายดายมาก ในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการป่วย
ระยะเวลาเพาะตัวของเชื้อก่อนเกิดอาการของโรคคือ 3-7 วัน
โรคนี้มักเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี แต่ก็สามารถพบในวัยรุ่นได้ และนานๆ อาจจะพบในวัยผู้ใหญ่บ้างเหมือนกัน
อาการของโรค
- มีไข้
- ปวดศรีษะ
- เบื่ออาหาร
- มีผื่นแบบตุ่มน้ำใสเล็กๆ ที่ มือ เท้า ในร่มผ้า (ก้น , บริเวณใกล้ๆอวัยวะเพศ ) ผื่นนี้อาจจะเจ็บเวลาเรากดดู
- เจ็บคอ
- มีแผลจำนวนมากในปาก คอ เพดานปาก ลิ้น ทอนซิล
การตรวจพิเศษ
โรคนี้ไม่มีความจำเป็นในการที่จะตรวจพิเศษ ใดๆ เพียงแค่ประวัติและการพบแผลจำนวนมากในช่องปากและคอ และลักษณะจำเพาะของตุ่มน้ำใสที่มือและเท้า ก็เพียงพอในการวินิจฉัยโรคแล้ว
การรักษา
- ไม่มีการรักษาที่จำเพาะต่อโรคนี้ นอกจากการรักษาเพื่อลดอาการต่างๆ เช่นการเจ็บแผลในปาก
- การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีประโยชน์ในการรักษาโรคนี้
- การลดไข้และความเจ็บปวดให้ใช้ Acetaminophen (Paracetamol) ไม่ควรใช้แอสไพริน ในคนไข้เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ที่ติดเชื้อไวรัส
- การให้อมบ้วนน้ำเกลือ ก็ช่วยบรรเทาอาการได้ ในเด็กที่บ้วนได้ (ไม่กลืน) โดยเอาน้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมเกลือ ½ ช้อนชา มาอมบ้วนปาก
- ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ
- อาหารที่เหมาะสมคือ นมที่แช่เย็นๆ จะดื่มได้ง่ายและไม่สร้างความเจ็บปวด
- น้ำผลไม้และโซดา ไม่เหมาะสมที่จะให้ เพราะว่าจะแสบปากจากภาวะความเป็นกรดในน้ำนั้นทำให้เจ็บแผลในปาก
การพยากรณ์โรค
โรคมักจะหายภายใน 5-7 วัน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
- ภาวะขาดสารน้ำของร่างกาย
- อาการชัก อันเนื่องมาจากไข้สูง
Link https://medicarezine.com/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย
โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อ Coxsackievirus โรคนี้ประกอบไปด้วย ผื่นที่ปาก มือ และเท้า ติดต่อดดยการสัมผัส เสมหะ น้ำลาย น้ำจากตุ่มน้ำ และอุจาระ |
โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome
สาเหตุ
โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน
อาการ
- ไข้
- เจ็บคอ
- มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
- ปวดศีรษะ
- ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้
- เบื่ออาหาร
- เด็กจะหงุดหงิด
ระยะฝักตัว
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย มักจะเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี
การวินิจฉัย
โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ
- ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
- ดื่มน้ำให้พอ
โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน
โรคแทรกซ้อน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน
- อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
- อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
ควรพบแพทย์เมื่อไร
- ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
- ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
- เด็กระสับกระส่าย
- มีอาการชัก
Link https://www.siamhealth.net/
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปราชญ์ชาวบ้านรักษาโรคปากเปื่อย
ความสามารถ :นายหลอด ศรีงาม หรือหมอชาวบ้าน (ปัจจุบันมีความรู้ความสามารถในการรักษาโรค) เพราะในหมู่บ้านมีเพียงคนเดียวที่มีความรู้ความสามารถ ในการหายาสมุนไพรรักษาโรค เช่น ฝาง สรรพคุณ แก่น รสขมฝาด ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงโลหิต แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องร่วง แก้กำเดา แก้เสมหะ,ชะเอมไทย สรรพคุณ เนื้อไม้ รสหวาน แก้โรคในคอ แก้ลม แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงธาตุ ขับเสมหะ บำรุงปอด,เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ เถา รสเฝื่อน ต้มรับประทานถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย ถ่ายเสมหะ จึงเหมาะที่จะใช้ในโรคบิด ไอ หวัด ใช้ในเด็กได้ดี ทำให้เส้นเอ็นอ่อนลง แก้เมื่อยขบตามร่างกาย,โคคลา สรรพคุณ เถา รสเอียนเบื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดเอว เส้นตึง ไตพิการ ครั่นตัว ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต ,โด่ไม่รู้ล่ม สรรพคุณ ใบ รสกร่อยขื่น รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง ต้มอาบน้ำหลังคลอด ทั้งต้น ,เถาเอ็นอ่อน สรรพคุณ ต้มดื่มบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้ขัดยอกทำให้คลายการตึงตัว,กำลังวัวเถลิง สรรพคุณ เนื้อ, ราก รสมันร้อนติดฝาด บำรุงโลหิต ทำธาตุให้บริบูรณ์ บำรุงกำลัง บำรุงกระดูกให้แข็งแรง,ว่านชักมดลูก สรรพคุณ เหง้า รสฝาดเฝื่อน ชักมดลูกให้เข้าอู่ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปรุงยาแก้โรคกระเพาะอาหาร แก้โรคมะเร็ง และฝีภายในต่างๆ ,ม้ากระทืบโรง สรรพคุณ เถา รสเย็นขื่น ดองสุราหรือต้มดื่มบำรุงกำลัง แก้ปวดฟันบำรุงความกำหนัด แก้ประดงลม แก้น้ำเหลืองเสีย, กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ เถา รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มหรือดองสุราดื่ม บำรุงโลหิต ฟอกและขับโลหิตระดู,กำลังเสือโคร่ง สรรพคุณ เนื้อไม้, เปลือกไม้ รสฝาดมันติดร้อน บำรุงกำลัง เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ สมุนไพรเหล่านี้สามารถรักษาโรคต่าง ๆ นายหลอดจึงมีความรู้ความสามารถในการรักษาอาการต่างๆ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 63 ปี และมีผู้ป่วยมารักษาเป็นประจำ
สาขาปราชญ์ : สาขาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
ชื่อ นายหลอด ศรีงาม ปราญหมอชาวบ้าน ประวัติ นายหลอด สายกระสุน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2486 ที่บ้านเลขที่ 308 บ้านเฉลิมพระเกียรติ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันอายุ 63 ปี เป็นบุตรของนายแมน ศรีงาม และนางเอน ศรีงาม มีพี่น้อง 8 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 4 คน ได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และสมรสกับ นางจิต ศรีงาม มีบุตร 8 คน ชาย 6 คน หญิง 2 คน นายหลอด ศรีงาม เป็นชาวเขมรบ้านเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้เรียนรู้เรื่องการรักษาโรคมาจากบรรพบุรุษ เป็นวิชาชีพสำคัญอย่างหนึ่ง ได้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการหาสมุนไพรรักษาโรค ตั้งแต่อายุ 50 ปี โดยคุณพ่อของท่าน ได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ สอนให้ท่านรู้จักพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค ซึ่งท่านจะกล่าวว่า การจะรักษาคนเจ็บให้หาย จากอาการได้นั้น ก็ย่อมจะต้องรู้จักยาสมุนไพรโบราณ ในแต่ละชนิด สรรพคุณก็แตกต่างกันไป ตามอาการผู้ป่วย จนกระทั่งอายุประมาณ 52 ปี ท่านร่ำเรียนวิชาชีพเสริม จนกระทั่งสามารถรักษาโรค ให้หายจากอาการได้ และหายาสมุนไพรมากมายหลายชนิด มารักษาจนหายจากอาการ ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือของชาวบ้าน ในปัจจุบันนี้ก็มีผู้ป่วยมากมายมารักษาโรค ซึ่งใช้สมุนไพรที่หามาตามป่าดง บางชนิดก็หายากมากต้องข้ามฝั่งไปหาถึงในป่าประเทศกัมพูชา
Link https://203.158.200.27/philosopher/index.php?cate=7&page=2
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++