โรคปากแหว่ง ประสบการณ์การเจ็บป่วยของเด็กโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่เย็บเหงือกตอนไหน


961 ผู้ชม


โรคปากแหว่ง ประสบการณ์การเจ็บป่วยของเด็กโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่เย็บเหงือกตอนไหน

 

โรคปากแหว่ง

ปากแหว่งและเพดานโหว่

ปากแหว่งและเพดานโหว่
คือร่องโหว่ที่ปากด้านบนและเพดานปาก ซึ่งร่องเนื้ออาจเริ่มจากลิ้นไก่ผ่านไปถึง เพดานอ่อนชั้นใน เพดานแข็ง กระดูกโคนฟัน และปากด้านบนไปจนถึงจมูกด้านหน้า หรืออาจเป็นร่องที่พาดจากริมฝีปากถึง เพดานปากโดยตลอด
โดยทั่วไปเด็กปาก แหว่ง เพดานโหว่ จะเป็นมาแต่กำเนิด ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทางสภาพร่างกายนั้น เด็กจะดูด - ดื่มนม หรือรับประทานอาหารไม่สะดวกมีความยากลำบากในการดื่ม กิน หรือกลิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยทางรายที่เพดานโหว่ จะสำลักอาหารอยู่บ่อย ๆ ทำให้เด็กมีอาการขาดอาหาร เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนในด้านจิตใจ หากเด็กเหล่านั้นอยู่รอดและเติบโตขึ้นมา จะเห็นร่องรอยความผิดปกติชัดเจน พูดจาไม่ชัด ทำให้มีปมด้อย บางคนถึงขนาดไม่ยอมเรียนหนังสือเพราะกลัวถูกเพื่อนล้อเลียน บางรายก็กับเก็บตัวเองอยู่ในบ้านอย่างโดดเดี่ยวไม่ยอมเข้าสังคม
สมมติฐานของปากแหว่งและเพดานโหว
จากการศึกษาจำนวนเด็กที่เกิดมา และอยู่ในพื้นที่ชนบทอันห่างไกล พบว่าอัตราเด็กที่เกิด 1,000 คน จะเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ประมาณ 1 คน (0.1%) และตามหลักวิจัยทางการแพทย์นั้น ยังไม่มีหนทางที่จะป้องกันสาเหตุต่าง ๆ ของการเกิดโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตามจากสถิติสาเหตุของโรคนี้ อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือปัจจัยต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม คือ กรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในครอบครัว ที่มีผลทางพันธุกรรมทำให้เกิดลักษณะที่ผิดปกติขึ้นสิ่งแวดล้อม ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มารดาอาจประสบกับอิทธิพลต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบให้เกิดปากแหว่งและเพดานโหว่ อาทิ การขาดหรือได้รับสารอาหารวิตามินที่ผิดปกติไม่ครบถ้วน หรืออาจสืบเนื่องจากพิษของยา หรือสารเคมีบางอย่าง ตลอดจนการติดเชื้อจากไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิดหรืออันตรายที่เกิดจากการฉายรังสีเอกซ์ - เรย์ และถูกกระทบกระเทือนจากภายนอกกับทารกในระหว่างตั้งครรภ์ ฯลฯ
วัตถุประสงค์ของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สำหรับเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่
ไม่มีสาเหตุที่สามารถอธิบายสมมติฐานของการเกิดโรคปากแหว่งและเพดานโหว่ดัง นั้นพ่อแม่ของเด็กที่ปากแหว่งเพดานโหว่ จึงมักจะโทษตัวเองเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาไม่มีความกล้าที่จะเผชิญกับความ จริงและปล่อยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาเด็กเหล่านี้ในขณะเยาว์วัยทำ ให้เวลาถูกยืดออกไป เด็กพิการเหล่านี้หลายคนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและไม่มีโอกาสที่จะ เข้ารับการรักษาผ่าตัดในโรงพยาบาลที่มีศัลยแพทย์ที่สามารถผ่าตัดรักษาให้ได้ ปัญหาทางเศรษฐกิจ การด้อยการศึกษา และปัญหาอื่น ๆ ทางสังคมของพวกเขา ยิ่งอาจทำให้พวกเขาลำบากมากขึ้นที่จะมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ปัญหาแทรกซ้อนในเด็กที่ปากแหว่งและเพดานโหว
เนื่องจากโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ได้พัฒนาขั้นในระหว่างที่เด็กเป็นทารกอยู่ในครรภ์ แต่พ่อ - แม่ ส่วนมากมักขาดความรู้ ความเอาใจใส่ตลอดจนทุนทรัพย์ในการรักษาจึงปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทราบว่า วันหนึ่งที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา ปัญหาต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตามมาด้วยทั้งทางสภาพร่างกายและจิตใจ เช่น
ปัญหาที่เกี่ยวกับ สารอาหารเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่จะมีความยุ่งยากและลำบากในการรับประทานอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และอาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้ในที่สุด
ปัญหาระบบทางเดินหายใจการผิด ปกติของกระดูกจมูก และเพดานปาก เป็นเหตุให้การหายใจของเด็กทารกติดขัด หรือสำลัก ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้นด้วย
ปัญหา การได้ยินการติดเชื้อในระบบทางเดินของโลหิต และน้ำเหลือภายในของช่องรับเสียง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและสูญเสียการได้ยิน
ปัญหา ของข้อต่อขากรรไกรการผิดปกติของเพดานอ่อน และเพดานแข็งอาจเป็นสาเหตุของการขบฟันไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดการสูญเสียการได้ยินและตามมาด้วยความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
ปัญหา การเรียงของฟันการเกิดช่องโหว่ การเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติหรือซี่ของฟันที่ขาดหายไปอาจทำให้เกิดปัญหาทาง ด้านจิตใจของพ่อแม่ และตัวเด็กด้วย ในการที่จะเก็บตัวอย่างโดดเดี่ยว ไม่กล้าพบปะกับผู้คนในสังคม
แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติ ความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้
เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการ ผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง
จุดมุ่งหมายของการรักษาผู้ป่วย
1. ต้องการให้ผู้ป่วยที่มีสภาพของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติได้รับการแก้ไขให้เป็นปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด มีสุขภาพกาย และใจแข็งแรง ปราศจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ2. สามารถพูดให้คนทั่วไปเข้าใจได้ชัดเจน ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด3. สามารถใช้อวัยวะในการเคี้ยว การกินอาหาร ให้เป็นปกติมากที่สุด4. ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ลดปมด้อยของตัวเอง และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างมีความสุข
การจัดทีมงานในการรักษาดูแลผู้ป่วย
จากปัญหาต่าง ๆ ของผู้ป่วย ปากแหว่ง เพดานโหว่ และแนวทางรักษาผู้ป่วย ที่ต้องมีแพทย์บุคลากรทางการแพทย์มากมายหลากหลายเข้ามาร่วมกัน ทำให้ต้องจัดตั้งเป็นทีมงานขึ้น เพื่อจะได้ดูแลผู้ป่วยได้ดีและมีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด ทีมงานเหล่านี้ประกอบด้วย1. ศัลยแพทย์ตกแต่ง2. ทันตแพทย์เด็ก, จัดฟัน, ศัลยกรรมช่องปาก, ใส่ฟัน3. นักฝึกพูด, อรรคบำบัด4. นักสังคมสงเคราะห์5. กุมารแพทย์6. รังสีแพทย์7. แพทย์ หู คอ จมูก และ ฯลฯ ทีมที่จัดตั้งขึ้น จะต้องร่วมกันศึกษาปัญหาอันซับซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย และช่วยจัดการวางแผนการรักษา ตั้งใจช่วยเหลืออย่างเต็มใจ และจริงจัง ที่สำคัญที่สุด คือการต่อเนื่อง โดยปรับแต่งแนวทางการรักษาตามพื้นฐานเศรษฐกิจ ฐานะของพ่อแม่ ลักษณะการผิดปกติของผู้ป่วย และข้อจำกัดในการให้การรักษาดูแลผู้ป่วยต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยในต่างจังหวัด ไม่สามารถเข้ารับการรักษาดูแลได้อย่างต่อเนื่อง เท่ากับผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยสังคมสงเคราะห์มาช่วย หรืออาจจัดวางแผนการรักษาผู้ป่วยชนิดที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสม เป็นต้น โดยการวางแผนการรักษาจะเป็นการวางแผนร่วมกันของทุกคนในทีม เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติ ความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้
เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการ ผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง
ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วย
อายุ 3 เดือนขึ้นไป น้ำหนักมากกว่า 5.6 กก. ผ่าตัดแก้ไขริมฝีปากครั้งแรกอายุ 12-18 เดือน ผ่าตัดแก้ไขเพดานครั้งแรกอายุ 2-3 ขวบ เริ่มดูแลความสะอาดฟัน-ช่องปากอายุ 3 ขวบ เริ่มฝึกพูด เริ่มผ่าตัดแก้ไขจมูกอายุ 5 ขวบ เริ่มรับการปรึกษาแนะนำกับทันตแพทย์จัดฟัน
ก่อน วัยเรียนผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น และความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น จมูก อีกครั้งผ่าตัดแก้ไขฟัน ผ่าตัดแต่งเติมลิ้นไก่ เพื่อให้การพูดชัดเจนยิ่งขึ้น
วัยรุ่นผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่เหลือให้ ใกล้เคียงปกติมากที่สุด รวมทั้งผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง หลังจากที่ได้รับการจัดฟันเรียบร้อยแล้ว

                Link   https://duangkaew-dkf.blogspot.com


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                  ประสบการณ์การเจ็บป่วยของเด็กโรคปากแหว่งเพดานโหว่


เมื่อรู้ว่าลูกปากแหว่งทำไงดี...

ปากแหว่งเพดานโหว่เกิดจาก....อะไรใครตอบได้

      นี้ คงเป็นคำถามแรกของพ่อแม่ทุกคนเมื่อรู้ว่าลูกตัวเองมีความผิดปกติทางช่องปาก ทุกคนล้วนคิดว่าทำไมต้องมาเกิดกับครอบครัวเรา ทำไมต้องเป็นเราไม่ใช่คนอื่น เราก็เป็นอีกคนที่มีความคิดแบบนี้ อย่าโทษตัวเองว่าดูแลตัวเองไม่ดีขณะที่ตั้งครรภ์ เพราะเราก็เป็นอีกคนหนึ่งที่อยากมีลูกมาก พอรู้ว่าตั้งท้องเราดูแลตัวเองจนถึงขนาดว่าตอนนี้่ลูกน้อยในครรภ์ได้กี่ สัปดาห์ ตอนนี้สัปดาห์ที่เท่าไรแล้วอะไรกำลังเจริญเติบโต เราต้องกินอะไร เพื่อที่จะให้ลูกออกมาสมบูรณ์ทั้งกาย ใจ สมอง สภาพแวดล้อมข้างกายที่มีอยู่ก็ดีแสนดี ไม่เคยคิดว่าลูกตัวเองจะมีความผิดปกติหัว อกของคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ไม่มีใครหรอกที่รู้ว่าลูกมีความผิดปกติแล้วจะไม่รู้สึกอะไรเลย ความรู้สึกของทุกคนที่เคยผ่านวินาทีตรงนั้นทุกคนช๊อค หูอือ ฟังอะไรไม่รู้เรื่อง  กินไม่ได้ นอนไม่หลับ คิดไปสารพัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมต้องเกิดกับลูกเรา แล้วก็เครียดๆๆๆ ทำอะไรก็ไม่มีจิตใจจะทำ....เริ่มโทษคนโน้น โทษคนนี้ โทษตัวเอง..หยุด...หยุด.ความ คิดเล่านั้นซะเพราะนั้นจะทำให้ทุกอย่างยิ่งแย่ลง เราเคยผ่านความรู้สึกตรงนั้นมาแล้วทุกคนที่มีลูกผิดปกติทางด้านปากแหว่งเพ ดานโหว่งหรือมีความผิดปกติอย่างอื่น ต่างก็รู้สึกแย่มากพอๆกัน เพียงแต่รู้สึกแย่คนละเวลาเท่านั้นเอง เริ่มตั้งสติใหม่นับจากนี้ ทางการแพทย์ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้เหมือนกันว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดขึ้นจาก อะไร สำหรับผู้ปกครองที่มีญาติหรือลูกหลานเป็น แล้วกำลังหาข้อมูลถึงสาเหตุที่เป็น เราข้อแนะนำว่าไม่ต้องหาสาเหตุที่เป็น แต่เปลี่ยนมาหาข้อมูลและทำความเข้าใจ วิธีการเลี้ยงดู ผลข้างเคียงต่างๆ การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด-หลังผ่าตัด สิ่งสำคัญที่สุดเราสามารถเลี้ยงลูกเราเหมือนเด็กปกติทั่วๆไปได้ และเลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนดี นี้คือสิ่งสำคัญมากกว่า...ใช่ไหม


    ปัจจุบัน มีโครงการ ยิ้มสวย เสียงใส เพื่อ เทิดพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างน้อยๆคนไทยถือว่าโชคดีที่มีโครงการนี้ขึ้นมา  เพราะระยะเวลาที่รักษาไม่ใช้เส้นทางสั้นๆ อย่างน้อยๆ 15-18ปี เป็นเส้นทางที่ยาวไกล แสนไกล ขอให้มองเชิงสร้างสรรค์ ลูกเราที่เป็นแบบนี้ถือว่าโชคดี เพราะเราจะรู้ตลอดเวลาว่าลูกเราต้องไปพบหมอเมื่อไร ผ่าตัดเมื่อไร เราจะรู้ก่อนว่าลูกต้องเจ็บตัววันไหน ช่วงไหน ซึ่งถ้าเป็นเด็กปกติจะไม่สามารถรู้อะไรล่วงหน้าได้เลย นึกจะเจ็บก็เจ็บ นึกจะป่วยก็ป่วย ที่สำคัญสิ่งที่ลูกเราเป็นพอรักษาแล้วก็หายขาดเพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลาเท่า นั้นเอง...มองโลกนี้ในเชิงบวกไว้กำลังใจจะเกิดขึ้นเอง

   ขอให้คิดว่านี้คือการเรียนปริญญาอีกหลักสูตรที่ต้องใช้ระยะเวลาเรียนถึง 15-18 ปี หลักสูตรนี้เน้นแต่ความรักความใส่ใจและการปฏิบัติซึ่งต้องปฏิบัติให้ถึง หัวใจจริงๆ แล้วความรู้บวกความรักจะเกิดขึ้นมาเอง หลักสูตรนี้ไม่มีในโลกนี้ เพราะยิ่งคุณเรียนรู้จากอาจารย์ใหญ่มากเท่าไร คุณก็ได้ความรู้มากขึ้น มันเป็นบทเรียนที่เราต้องตั้งโจทย์ให้กับตัวเอง ต้องหาคำตอบเอง เพราะนี้คือหลักสูตร... ปริญญาใจ 


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ปากแหว่ง เพดานโหว่ คืออะไร

  ปาก แหว่ง เพดานโหว่ ไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นความผิดปกติทางช่องปากของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ที่มีรอยแยกบริเวณริมฝีปาก กระดูกฟันและเพดานปากทำให้มักมีปัญหาต่อเนื่องตามมาคือ ดูดนมลำบาก สำลัก การเรียงตัวของฟันและการสบฟันผิดปกติ สุขภาพอนามัยในช่องปากไม่ดี การเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรบนผิดปกติทำให้เด็กๆ เหล่านี้บดเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี ออกเสียงพูดได้ไม่ชัดเจน มีรูปหน้าที่ผิดปกติและมีโอกาสที่จะติดเชื้อในช่องปากและเป็นหูน้ำหนวกได้ ง่าย และยังเป็นปมด้อยทางจิตใจอีกด้วย

ฝากถึงคุณพ่อและคุณแม่

    คุณพ่อคุณแม่คงเห็นแล้วว่า สมัยนี้ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นเรื่องที่แก้ไขได้แน่นอน แต่ต้องอาศัยการรักษาจากทีมแพทย์หลายสาขาและต้องมีการรักษาที่ต่อเนื่อง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยหมอได้ เพียงให้มีความมั่นใจว่าลูกรักษาได้ต้องพาลูกไปพบแพทย์ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขปากแหว่ง ตั้งแต่อายุ 3-6 เดือน อีกทั้งเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเพดาน เมื่ออายุ 9-18 เดือน และสิ่งที่สำคัญต้องพาลูกไปพบแพทย์ตามกำหนดนัดทุกครั้ง

รักษาแล้วจะเป็นอย่างไร

   จุดมุ่งหมายของการรักษา คือทำให้เด็กดูดี พูดดี กินดี มีรูปหน้าที่ปกติออกเสียงพูดได้ปกติ

รักษาได้แน่นอน แต่ต้องรักษาตั้งแต่แรกเกิด

 พ่อ แม่หรือญาติพี่น้องที่มีบุตรหลานมีความผิดปกติเรื่องของปากแหว่งเพดานโหว่ ขอให้คลายความวิตกกังวล เพราะเค้ามีช่วงเวลาในการรักษา สิ่งสำคัญต้องดูแลให้ลูกคุณมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะได้รับการรักษาต่อ ไป....

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยพึงได้รับจากโครงการยิ้มสวย เสียงใส

1.ได้รับการผ่าตัดและรักษาทุกขั้นตอนฟรี

ปากแหว่ง เริ่มผ่าตัดเมื่ออายุ 3-6 เดือน

เพดานโหว่ เริ่มผ่าตัดเมื่ออายุ 9-18 เดือน

(หากผ่าตัดช้ากว่าอายุที่กำหนด อาจทำให้เด็กพูดไม่ชัดไปตลอดชีวิต)

ยก เว้นในรายที่มีโรคแทรกซ้อนหรือโรคร่วมทางระบบอื่นๆ ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้หลังผ่าตัดจะได้รับการประเมินปัญหาทางการพูดและการสบ ฟันเพื่อรักษาต่อเนื่อง

2.ได้รับค่้าเดินทางมารับการผ่าตัด ครั้งละ 1,000 บาท เบิกจ่ายจากเหล่ากาชาดจังหวัด

3.ได้รับค่าเดินทางมารับการฝึกพูดและแก้ไขปัญหาการสบฟันครั้งละ 500 บาท เบิกจ่ายจากเหล่ากาชาดจังหวัด

ขั้นตอนการรักษาแบ่งเป็นขั้นตอนตามช่วงอายุ ดังนี้ ....

แรกเกิด-3 เดือน ทำเพดานเทียม

เพื่อ ให้เด็กสามารถดูดกลืนนมได้ปกติ(เฉพาะบางราย) ถ้าเด็กสามารถดูดนมได้ก็ไม่ต้องทำเพดานเทียม แต่มีข้อจำกัดเหมือนๆกันคือไม่ควรให้เด็กสำลักนม

อายุ 3-6 เดือน ผ่าตัดริมฝีปาก

     ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเย็บรอยแยกที่ริมฝีปาก ช่วงนี้ต้องพาเด็กมาตรวจผลการรักษาและตรวจฟันทุกๆ 2 เดือน

อายุ 9-18 เดือน ผ่าตัดเพดานปาก

     ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเย็บรอยแยกบริเวณเพดานปาก จากนั้นเมื่อฟันเริ่มขึ้นทันตแพทย์จะสอนวิธีการแปรงฟัน และการป้องกันฟันผุ ช่วงนี้ต้องพาเด็กมาตรวจฟันทุกๆ 4 เดือน

อายุ 9 เดือน - 8ปี ฝึกพูด

     เมื่อเด็กเริ่มพูดได้ เด็กจะถูกส่งไปพบนักแก้ไขการพูด เพื่อประเมินความผิดปกติและฝึกพูดเป็นระยะๆ

อายุ 8-18ปี จัดฟันใหม่

     ทันตแพทย์จัดฟันจะเริ่มใส่เครื่องมือบริเวณเพดานเพื่อแก้ไขกระดูกเพดานปาก ที่ล้มเข้ามาหากันป้องกันไม่ให้ฟันเก ฟันซ้อนและเริ่มจัดฟันเพื่อป้องกันฟันผุและรักษาสุขภาพช่องปาก

อายุ 8-11ปี ปลูกกระดูกและปิดรูทะลุ

     ศัลยแพทย์ตกแต่งหรือศัลยแพทย์ช่องปากจะผ่าตัด เพื่อปลูกกระดูกตรงที่เป็นรอยแยกกระดูกเบ้าฟัน เพื่อให้ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้งอกขึ้นมาได้ และเป็นการปิดรูทะลุระหว่างช่องปากกับจมูก

อายุ12-17ปี แก้ไขความผิดปกติที่พบและตรวจติดตามการรักษาทุกปี

     ทันตแพทย์จัดฟันจะแก้ไขการสบฟันผิดปกติที่เหลืออยู่ เช่น ฟันคร่อมกัน หรือบางรายจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขกระดูกขากรรไกรบนและล่างร่วมด้วย รวมทั้งประเมินและแก้ไขความผิดปกติของใบหน้า หลังจากนี้ควรพาลูกมาตรวจประเมินในหน้า การออกเสียงพูดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


ขอขอบคุณข้อมูล

จากสมุดบันทึกสุขภาพ โครงการ ยิ้มสวย เสียงใส

 

แนะนำวิธีการดูแลเด็กที่มีปากแหว่งเพดานโหว่จากประสบการณ์ของตัวเอง

1.สำคัญที่สุดต้องเริ่มจากความรักและความเข้าใจ ต้องคิดไว้เสมอว่าลูกเราไม่ได้เป็นโรคอะไรที่ร้ายแรง และมีทางรักษาให้หายเป็นปกติได้

2.ขั้น ตอนการให้นมก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ไม่ว่าลูกคุณจะให้ทางสายยาง หรือใช้ขวดนม คุณต้องให้ศรีษะของลูกคุณอยู่สูงๆ (ไม่ต้องสูงมาก) แต่อย่าให้นอนราบกับพื้นเพราะจะทำให้ลูกสำลักแล้วทำให้นมไหลย้อนเข้าปอดได้ ถ้านมไหลย้อนเข้าปอดจะทำให้ลูกคุณปอดบวมได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีเด็กที่ถูกเลี้ยงมาไม่ถูกวิธีคือสำลักนมบ่อย จนทำให้ปอดบวม จนทำให้เด็กเสียชีวิต แต่่ถ้าคุณป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนมได้ หรือสำลักน้อยที่สุดโอกาศที่เด็กจะเป็นปอดบวมก็น้อยลงเช่นกัน

3.หลังจากที่ลูกอิ่มแล้วไม่ควรให้ลูกนอนทันที ควรอุ้มพาดบ่าเพื่อให้เรอ

4.การนอนคว่ำและนอนตะแครง เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก

5.ควรดูแลให้เด็กได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ เพราะจะทำให้หลอดลมและปอดแข็็งแรง

6.พยายามอย่าให้ลูกมีไข้ ก่อนได้รับการผ่าตัด เพราะถ้ามีไข้ช่วงนั้นการผ่าตัดก็ต้องเลื่อนไปเรื่อยๆ

7.ถ้า ลูกคุณต้องใช้เพดานเทียม ขั้นการการทำความสะอาดนี้ก็สำคัญ โดยปกติจะทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาล้างขวดนมล้าง หลังจากล้างเสร็จแล้วควรนำไปล้างน้ำต้มสุกอีกครั้งและเก็บให้มิดชิดป้องกัน เชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกติดที่เพดานเทียม

8.ถ้า ลูกคุณต้องให้นมโดยผ่านสายยาง ในช่วงแรกๆส่วนใหญ่หมอจะใส่สายยางให้และสอนวิธีการป้อนนมและวิธีใส่สายยาง ให้แต่ถ้าสายยางหลุดแนะนำว่าควรไปที่ โรงพยาบาลใกล้บ้านให้หมอใส่ให้ดีที่สุด เพราะเราถูกสอนมาก็จริงแต่ประสบการณ์เราไม่มี และถ้าใส่พลาดนั้นหมายถึงชีวิตของลูกคุณ....

9.ควร เลือกจุกนมนิ่มๆ เป็นแบบยางพารา ควรเจาะรูให้กว้างขึ้น เด็กส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องของการดูดนม คือแรงดูดนมจะน้อย และถ้าใช้แบบแข็งที่เป็นแบบยางซิลิโคลน จะทำให้การดูดกลืนต้องออกแรงเยอะทำให้เด็กเหนื่อย และกินนมไม่อิ่ม update 9-2-54

10.เรื่องของสุขภาพในช่องปาก ไม่ควรมองข้าม เป็นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ควรดูแลเช็ดทำความสะอาดหรือให้กินน้ำเปล่าหลังกินนมทุกครั้ง เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักรักษาความสะอาดในช่องปาก Update 14-2-54

ข้อแนะนำดีๆจากผู้มีประสบการณ์

   คุณแม่ลำใยเล่าให้ฟังว่า " พี่มีวิธีการในการฝึกลูกให้พูดชัด พี่ใช้วิธีฝึกให้ลูกเป่าปาก เป่ากระดาษ เป่ายาง เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และเป็นการฝึกให้ลูกบังคับลมให้ออกทางช่องปาก เสียงจะไม่ขึ้นจมูก ตอนนี้ลูกสาวพี่อายุ 16 แล้ว ออกเสียงชัดเจนอาจารย์ที่โรงเรียนยังให้ออกไปกล่าวสุนทรพจน์หน้าแถวให้ เพื่อนๆฟังเลย"

**นี้ก็เป็นอีกวิธีที่จะฝึกลูกให้พูดชัด ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณแม่ลำใย ประธานโครงการยิ้มสวยเสียงใสจังหวัดลพบุรี

                     Link   https://nooyiew.siam2web.com

  

  +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             โรคปากแหว่งเพดานโหว่เย็บเหงือกตอนไหน

แก้ไขความพิการ

 

แก้ไขความพิการ...เพื่อความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ

     ความพิการ หรือความผิดปกติของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด เกิดขึ้นภายหลัง หรือเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ที่ประสบปัญหาความพิการไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตประจำ วัน และการอยู่ร่วมกับสังคม ความพิการที่พบนั้นมีหลายประเภท เช่น แขน-ขา หรือนิ้วขาด, ความพิการปากแหว่ง-เพดานโหว่, ความพิการที่เกิดจากไฟไหม้-น้ำร้อนลวก เป็นต้น  ความพิการบางประเภทสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น นิ้วขาด, นิ้วด้วน, ปากแหว่ง-เพดานโหว่ เป็นต้น

นิ้วขาด นิ้วด้วน ต่อใหม่ได้โดย...จุลศัลยแพทย์

     มือ เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก ซึ่งความผิดปกติทางมืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือความพิการแต่กำเนิด ย่อมทำให้การทำงานของมือเสียไป ในทางการแพทย์ได้ให้คำจำกัดความผิดปกติของ นิ้วมือ ดังนี้ นิ้วขาด หมายถึง นิ้วที่ขาดจากอุบัติเหตุหรือมีความพิการแต่ กำเนิดบางอย่างแล้วทำให้นิ้วสั้นลง นิ้วผิดรูป หมายถึง นิ้วที่มีลักษณะไม่ เหมือนปกติโดยมีสภาพต่างๆ เช่น สั้น ยาว ใหญ่ ไม่มีเล็บ คด งอ เป็นต้น

 

 

การรักษา

สำหรับนิ้วขาด แบ่งการรักษาเป็น 2 อย่าง คือ

1. การผ่าตัด

1.1 การผ่าตัดเอาเนื้อจากที่อื่นมาเพิ่ม เช่น เอานิ้วเท้ามาใส่ที่มือ เพื่อช่วยเพิ่มการทำงานให้ดีขึ้นใช้เวลาในการผ่าตัด
     ประมาณ 6-8 ชม. กระดูกจะติดเข้าที่ในเวลา 4-6 เดือน ซึ่งวิธีนี้แพทย์จะพยายามแก้ไขนิ้วของผู้ป่วยให้สามารถขยับได้
     และมีความรู้สึกมากที่สุด
1.2 การผ่าตัดยืดนิ้ว เป็นการผ่าตัดยืดทุกส่วนของนิ้วให้ยาวขึ้น ทั้งเนื้อเยื่อ เส้นเลือด เส้นประสาท เส้นเอ็น และกระดูก 
     ใช้เวลาผ่าตัด 2 ชม. ภายหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีเหล็กยึดกระดูกติดอยู่ที่มือ ประมาณ 3-4 เดือน จึงสามารถถอดออกได้

2. นิ้วเทียม มีหลายลักษณะและวัสดุที่ใช้ คือ

2.1 นิ้วเทียมไฟเบอร์
2.2 นิ้วเทียมซิลิโคน
2.3 นิ้วเทียมอคริลิค

นิ้วเทียม

ทุกชิ้น จะมีอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนขั้นตอนในการต่อนิ้วเทียมนั้น ควรรักษาแผลที่นิ้วให้หายสนิท จากนั้นต้องใช้ผ้าพันไว้เพื่อให้ปลายนิ้วเรียวขึ้น แล้วจึงวัดนิ้วโดยใช้นิ้วมือที่ดีเป็นแบบพิมพ์ทำนิ้วเทียมแทนนิ้วที่ผิดปกติ ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการทำนิ้วเทียม ในกรณีที่ตอนิ้วมีความยาวมากกว่า 1.5 ซ.ม. สามารถสวมใส่ได้เลย หากตอนิ้วสั้นมากอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม โดย

1. การฝังเหล็กในกระดูกนิ้วเป็นแกน
2. ยืดกระดูกให้ยาวขึ้น เพื่อใส่นิ้วเทียม

 

 

แก้ไขปากแหว่ง...เพดานโหว่ เพื่อรอยยิ้มที่สดใส

     ความพิการปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการที่เกิดขึ้นมาแต่กำเนิด แต่ปัจจุบันความพิการปากแหว่ง-เพดานโหว่สามารถผ่าตัดแก้ไขให้หายได้ สำคัญว่าพ่อแม่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาและมารับการรักษาอย่าง ถูกต้องตามกำหนดเวลา ก็จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณกลับมามีอวัยวะที่สมบูรณ์และใช้งานได้ทั้งปากและ เพดานรวมทั้งฟันและกระดูกใบหน้า เมื่อโตขึ้นก็จะมีลักษณะเกือบจะปกติ การรักษาความพิการปากแหว่ง-เพดานโหว่ แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาความผิดปกติร่วมอื่นๆ หากพบจะได้ทำการแก้ไขไปพร้อมๆกัน โดยแพทย์จะทำการตรวจและประเมินก่อนว่าเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ชนิดใด ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแยกได้ดังนี้

  • ปากแหว่ง แบ่งออกเป็น : ปากแหว่งแบบสมบูรณ์ คือ แหว่งเข้าไปถึงรูจมูก และปากแหว่งแบบไม่สมบูรณ์ คือ แหว่งเฉพาะที่ริมฝีปาก ซึ่งการแหว่งอาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  • เพดานโหว่ แบ่งออกเป็น : เพดานโหว่แบบสมบูรณ์ คือ โหว่ตั้งแต่ลิ้นไก่ถึงเพดานแข็งด้านหน้า และเหงือก และเพดานโหว่แบบไม่สมบูรณ์ คือ โหว่เฉพาะส่วนเพดานอ่อนด้านหลังเท่านั้น ซึ่งการโหว่อาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  • ปากแหว่งเพดานโหว่ ที่ร่วมกับความผิดปกติของส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เช่น กลุ่มความพิการใบหน้าชนิดต่างๆ, ความพิการของโรคที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรเล็กผิดปกติ เป็นต้น

      เมื่อทราบว่าเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ชนิดใดแล้ว ก่อนการรักษาแพทย์จะตรวจสภาพร่างกายทั่วๆไปอีกครั้งว่ามีความพร้อมต่อการผ่า ตัดมากน้อยเพียงใด ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำการรักษาความพิการแฝงก่อน เช่น ความผิดปกติของหัวใจ ปอด ฯลฯ หรือรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายสนิทเสียก่อน เช่น ไข้หวัด ปอดอักเสบ หูอักเสบ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ส่งผลต่อการผ่าตัดและการดมยาสลบ ส่วนการผ่าตัดนั้นเนื่องจากจะทำโดยการดมยาสลบทุกราย ฉะนั้น เด็กจะต้องงดน้ำ นม และอาหารอื่น ๆ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารระหว่างดมยาสลบ

       กรณีเด็กที่พิการปากแหว่ง โดยทั่วไปช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดนั้นจะกำหนดอายุประมาณ 3 เดือน น้ำหนักเด็กมากกว่า 5 กก. และไม่มีปัญหาเรื่องซีดหรือการติดเชื้ออื่น ๆ ในร่างกาย โดยการผ่าตัดจะมีหลายวิธี แพทย์จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับลักษณะความพิการของปากและจมูก รวมถึงความถนัดของแพทย์ แต่โดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดโดยการเลื่อนกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ผิดที่ผิดตำแหน่งให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และใช้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ บนใบหน้ามาหนุนสร้างความนูน ความสูง ลักษณะของจมูกและริมฝีปาก โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้นเอง

       ในกรณีเพดานโหว่โดยไม่มีความพิการของปากร่วมด้วย อายุที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดมักจะประมาณ 10 เดือนถึง 1 ขวบครึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กจะเริ่มใช้เพดานในการพูด หากเด็กได้รับการผ่าตัดที่สมบูรณ์แล้วโอกาสที่เด็กจะพูดได้ใกล้เคียงกับเด็ก ปกติมีค่อนข้างสูง สำหรับวิธีการผ่าตัดนั้นแพทย์มักอาศัยเนื้อเยื่อของเพดานด้านข้างทั้งสอง เลาะออกจากกระดูกเพดานแล้วเลื่อนเข้ามาหากันตรงกลาง โดยการเลาะเนื้อเยื่อส่วนโพรงจมูก กล้ามเนื้อเพดาน และเยื่อบุเพดาน มาเย็บเข้าหากันเป็นสามชั้น ที่สำคัญที่สุด คือ กล้ามเนื้อของเพดานอ่อนที่แพทย์จะพยายามซ่อมให้ได้กล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ที่ สุด ส่วนด้านข้างของเพดานที่แพทย์เลาะเลื่อนเข้ามานั้นจะค่อย ๆ งอกเองจนเป็นเพดานเต็มผืนในที่สุด (ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน) แต่ถ้ามีความพิการทั้งปากแหว่งเพดานโหว่ร่วมกัน แพทย์จะทำการผ่าตัดเพดานหลังจากการผ่าตัดริมฝีปากประสบผลสำเร็จและได้ริม ฝีปากที่สมบูรณ์แข็งแรงดีแล้ว โดยทั่วไปมักจะทำหลังการผ่าตัดริมฝีปากประมาณ 6 เดือนขึ้นไป

       ภาย หลังการผ่าตัดแก้ไขจะต้องดูแลแผลริมฝีปากและเพดานให้ถูกต้อง เพราะถ้าดูแล ไม่ดีอาจทำให้แผลหายช้า อักเสบ หรือแผลที่เย็บไว้แยกออกจากกันได้ ที่สำคัญผลการรักษาที่ได้จะไม่สมบูรณ์ รวมทั้งการใช้งานของเพดานหรือริมฝีปากก็อาจไม่ปกติได้

      โดย ทั่วไปแพทย์จะให้เด็กงดดูดนมนานประมาณ 1 เดือน จนกว่าแผลจะหายดีและแข็งแรง เพียงพอ ในช่วงนี้จึงควรเลี่ยงไปใช้ช้อนหรือหลอดหยดน้ำหรือนมแทนไปพลาง ก่อน ส่วนการดูแลแผลผ่าตัดก็ทำไปตามที่แพทย์แนะนำและควรมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผลการรักษา รวมถึงการรักษาต่อเนื่องอื่น ๆ เช่น การฝึกการใช้ริมฝีปาก เพดาน การดูแล การจัดฟัน การผ่าตัดซ่อมแซมเหงือกหรือแก้ไขจมูกที่ยังไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเติบโตพร้อมกับสภาพของใบหน้าและโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ที่สุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์ : [email protected] 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด