โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารมีอะไรบ้าง ภาพเด็กขาดสารอาหาร โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร


4,394 ผู้ชม


โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารมีอะไรบ้าง ภาพเด็กขาดสารอาหาร โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

                 โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารมีอะไรบ้าง


โรคขาดสารอาหาร

   คือ โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการบกพร่องทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด มีสาเหตุดังนี้

  1. รับประทานอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งไม่มีอะไรทดแทนในการป้องกัน
    โรคอาจเนื่องมาจากความยากจน ห่างไกลความเจริญและแหล่ง อาหาร
  2. รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง อาจเนื่องมาจากการขาดความรู้ ในการเลือกกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการรับประทาน
    อาหารไม่ถูต้อง หรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการรับประทาน อาหารจากผลวิจัยพบว่าขาดธาตุเหล็กมีผลกระทบไม่เฉพาะเด็กหญิง เท่านั้นเพราะธาตุเหล็กทำให้มีสมาธิในการเรียน
  3. มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีโรคประจำตัว

สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร

   เกิดจากพฤติกรรมและนิสัยส่วนตัวในการกินอาหาร และด้วยปัจจัยทาง
ด้านเศรษฐกิจ(ฐานะยากจน) จึงทำให้เด็กต้องกินอาหารเท่าที่พ่อแม่จะหา
มาได้การดูแลเรื่องการกินอาหาร (โภชนาการ) ของเด็กในวัยเรียนเหล่านี้ จะเห็นว่าเด็กไม่ได้กินตามหลักโภชนาการ
แต่กินเพียงเพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอดเท่านั้น ส่วนมากคนที่มีความสำคัญที่ต้องคอยดูแลในเรื่อง โภชนาการของเด็ก
คือ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู (ญาติ) ที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทำให้เด็กเกิดโรคขาดสาร
อาหารโดยไม่รู้ตัว

โรคขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่สำคัญ

   ของประชากรและเป็นสาเหตุให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น หากไม่ถึงกับเสียชีวิตร่างกายก็จะแคระแกร็น ไม่
เจริญเติบโต ทั้งทางด้านพฤติกรรมและสังคม การแก้ไขปัญหาโรคขาดสารอาหารที่เกิดกับเด็ก ทำได้โดยการทำให้
ประชาชนตระหนักถึงการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สมบูรณ์และดีที่สุด สำหรับใช้เลี้ยงทารก
หากเป็นไปได้ควรให้เด็กได้ดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองด้วย

ตัวอย่างการแก้ไขและป้องกันโรคขาดสารอาหาร(โปรตีน)

   สำหรับคนที่มีรายได้น้อยโดยการกินอาหารที่ให้โปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง โปรตีนจากพืช
เรียกว่า “โปรตีนเกษตร” มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์และให้คุณค่าทางโภชนาการ (โปรตีน) ไม่น้อยไปกว่าเนื้อสัตว์ ใน
ราคาที่ไม่แพงนัก การนำโปรตีนเกษตรมาประกอบอาหารให้เด็กเล็กกิน จะช่วยให้เด็กได้รับโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหาร
ที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก

โดยสรุปก็คือต้องมีความรู้ทางโภชนาการ

   รู้จักการเลือกกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
หากสารอาหารที่จำเป็นมีราคาแพง เช่น เนื้อสัตว์ก็หาสิ่งที่มาทดแทน (โปรตีนเกษตร) เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่
จำเป็น ครบถ้วนและไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร.

โรคขาดธาตุเหล็ก เหล็กเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำ
ไปใช้ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติทั่วไปหญิงมีครรภ์ และหญิงที่มี
ประจำเดือนต้องการธาตุเหล็กมากกว่าชาย เพราะสูญเสียเลือดมากกว่า ทำให้เป็น
โรคโลหิตจางกันมาก และเป็นได้ทุกวัย โรคนี้พบมากในภาคเหนือและภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ

สาเหตุ

   เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก กินอาหารที่มีเหล็กไม่พอหรือร่างกายเสียเลือดมาก หรือเป็นโรคพยาธิลำไส้ นอกจากนี้อาจเนื่องจากขาดโปรตีน วิตามินบี 12 และกรด
โฟลิค โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์และทารก และเด็กทารกและเด็กเป็นโรคนี้ได้ โดย
เฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเลือดจาง และในทารกที่คลอดก่อน
กำหนด หญิงมีครรภ์และวัยรุ่นซึ่งต้องการเหล็กมากกว่าปกติ อาจเป็นโรคเลือดจาง
ได้ง่าย

อาการ

  1. เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  2. หงุดหงิด มึนงง ปวดศีรษะ
  3. ผิวพรรณซีด
  4. เล็บบาง เปราะและซีด

โรคเหน็บชา

  เป็นผลจากการขาด วิตามินบี 1 ซึ่งทำหน้าที่ เร่งปฏิกิริยาในการ เผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อร่างกายขาดวิตามิน
บี 1 จะทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจาก
ปกติ เป็นโรคที่พบบ่อยในหญิงมีครรภ์ ผู้ใช้แรงงาน ทารกและ ผู้ดื่มสุราเป็นประจำ

สาเหตุ

   เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอกับความ ต้องการของร่างกายและการขาดความรู้

อาการ

เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ชาตามมือและเท้า ปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง แขน-ขาลีบ ไม่มีแรงเดินเปะปะ หายใจลำบาก หัวใจบวมโต ถ้าไม่รักษาอาจถึงแก่ชีวิตได้ด้วยโรคหัวใจวาย

การป้องกัน

โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่ เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูก สัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง เช่น เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยว ใบเมี่ยงให้น้อยลง และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้ สุกเสียก่อน เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้

    Link     https://www.thaigoodview.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                    ภาพเด็กขาดสารอาหาร

เผยภาพสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า

เผยภาพสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า

เผยภาพสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า

เผยภาพสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก youtube โพสต์โดย SomaliService
           เป็นที่รู้กันดีว่า พื้นที่แถบแอฟริกาตะวันออก หรือที่เรียกว่า ฮอร์น ออฟ อเมริกา เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงมากที่สุดในโลก จนทำให้เด็กและประชากรหลายคนต้องมีสภาพเป็นคนผอมโกรก ขาดสารอาหาร และอดอยากตายกันมาแล้วนับไม่ถ้วน และในปีนี้ ดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวจะเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นตามสภาพอากาศที่ร้อน ระอุขึ้นทุกวัน ส่งผลให้เด็กที่อยู่ในพื้นที่นี้หลายคนเผชิญกับความอดอยากและขาดสารอาหารกัน มากขึ้น
           ล่าสุด เว็บไซต์เดลิเมล ของอังกฤษ ได้เผยแพร่ภาพสุดสลดของเด็กที่อาศัยอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออกอย่างเคนย่า และเอธิโอเปีย พร้อมกับบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสะเทือนใจของเด็กหลายคนที่นี่ที่ต้องอดอยาก ผอมโกรก ขาดสารอาหาร จนมีโอกาสรอดเพียง 50% เท่านั้น และหนึ่งในนั้น คือ มิแฮก เกดิ ฟาราห์ หนูน้อยเพศชายวัยเพียง 7 เดือน ที่ต้องเผชิญกับภาวะอดอยากตั้งแต่เกิด จนทำให้มีสภาพร่างกายผอมจนเนื้อติดกระดูก ตากลมกลวงโบ๋ มีแขนขาลีบเล็ก และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่ควรจะเป็นถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
เผยภาพสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า

           โดยหนูน้อยคนนี้ ได้ถูกแม่อุ้มเดินมายังศูนย์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในเคนย่าซึ่งต้องใช้เวลา นานกว่า 7 วัน เพื่อหนีความอดอยากและความแห้งแล้ง ซึ่งเมื่อมาถึงศูนย์ เจ้าหน้าที่ก็เร่งให้ความช่วยเหลือทันที เพื่อให้หนูน้อยมีชีวิตรอด แต่แล้วด้วยความที่ยังเป็นเด็ก ภูมิต้านทานยังมีไม่มาก ซ้ำยังต้องฝ่าแดดลมร้อนมาหลายวัน และไม่มีอาหารประทังชีวิต ทำให้หนูน้อยมีโอกาสรอดเพียง 50% เท่านั้น นับว่าสร้างความเศร้าสลดให้กับคนเป็นแม่ และสะเทือนใจผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก
           และ ไม่ใช่เพียงหนูน้อย มิแฮก เกดิ ฟาราห์ เท่านั้น ที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ แต่ในขณะนี้ มีเด็กอีกหลายพันคนที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหาร ต้องอยู่อย่างอดอยาก และไม่เพียงแค่นั้น ยังมีรายงานระบุอีกว่า ภาพของเด็กและผู้ใหญ่ที่อดอยากจนเสียชีวิต กลายเป็นภาพที่พบเห็นได้ปกติในพื้นที่แถบนี้เสียแล้ว

           อย่างไรก็ดี ล่าสุด นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ขอบริจาคเงินช่วยเหลือจากปลายประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือประชาชนกว่า 12 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แถบนี้ และประเมินปัญหาความแห้งแล้งอดอยากออกมาได้ว่า ในปีนี้ ประเทศแถบนี้ที่แห้งแล้งอยู่แล้วนั้น จะแห้งแล้งรุนแรงขึ้นอีกจนหนักที่สุดในรอบ 60 ปีเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้ทุกประเทศร่วมมือกัน เพราะแค่เพียงสหรัฐฯ ประเทศเดียวคงไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือ ขณะที่อัตราการล้มป่วยและเสียชีวิตของเด็กและสัตว์ต่าง ๆ ในพื้นที่นี้ ก็ยิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวันแล้ว
คลิปสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า

คลิปสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า


คลิปสุดสลด เด็กน้อยผอมโกรกใกล้ตายในเคนย่า

                       Link  https://hilight.kapook.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

โรคขาดสารอาหารที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 4 โรค คือ
1. โรคขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน
2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
3. โรคขาดสารไอโอดีน
4. โรคขาดวิตามิน
1.โรค ขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน โรคนี้พบมากในเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน (อายุต่ำกว่า 5 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวเร็ว มีความต้องการอาหารทั้งปริมาณและคณภาพยิ่งกว่าวัยอื่น ๆ เมื่อเด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอจึงเกิดโรคนี้ขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อง่าย เช่น โรคท้องเสีย หวัด ปอดบวม เป็นต้น ถ้าเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงอาจถึงตายได้ แต่ถ้าไม่ตายจะทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองไม่ดีเท่าที่ควร
สาเหตุ
ทางตรง เกิดจากการที่ทารกและเด็กได้รับอาหารที่ให้โปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ซึ่งอาจเนื่องมาจาก
1. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมผสมไม่ถูกส่วนหรือเลี้ยงทารกด้วยนมข้นหวาน
2. เมื่อถึงวัยอันควร เด็กไม่ได้รับอาหารตามวัยที่ถูกต้อง เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์
3. การเตรียมอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจจะทำให้เด็กท้องเสียและเกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ
ทางอ้อม เกิดปัญหาความยากจน ไม่มีจะกิน
ผลกระทบของโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน
1. ผลต่อเด็ก
1.1 ถ้าเป็นรุนแรงเด็กอาจตายได้ ทำให้อัตราตายขอทารก และเด็กวัยก่อนเรียนสูง
1.2 ผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักน้อย และตัวเล็กกว่าปกติ ภูมิต้านทานโรคที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายและเมื่อเป็นแล้วมักจะรุนแรง เช่น โรคท้งร้วง หัด อัตราตายจะสูงกว่าเด็กปกติ
1.3 ผลต่อสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ ถ้าเป็นโรคนี้ เมื่ออายุยังน้อย จะมีจำนวนเซลล์ในสมองน้อยกว่าปกติ และขนาดของสมองก็เล็กกว่าปกติ จึงทำให้การพัฒนาทางสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ด้อยไปด้วย2. ผลต่อครอบครัว ทำให้สิ้นเปลืองในการดูแลรักษาลูกที่เจ็บป่วยบ่อย ๆ และเสียเวลาในการทำมาหากิน
3. ผลต่อประเทศชาติ ทำให้ได้พลเมืองที่ไม่มีคุณภาพทั้งด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และด้านร่างกาย เป็นผลทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา
การ ป้องกันการขาดโปรตีน เนื่องจากปัญหาโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน มีความสำคัญมากต่อสุภาพและคุณภาพชีวิตคน จึงควรร่วมมือร่วมใจป้องกันทุกฝ่าย ทั้งในชุมชนและในทุกหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
1. ค้นหาปัญหาและการเฝ้าระวังติดตามทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด 5 ปี ทุก ๆ 3 เดือน
2. ให้อาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโปรตีน และกำลังงานแก่เด็กอย่างเพียงพอ
3. เพิ่มผลผลิตอาหาร
4. ให้โภชนศึกษา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องอาหารและโภชนาการแก่บิดามารดาของเด็ก
ที่มา https://www.dekdern.com/
2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคนี้พบมากในกลุ่มหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน โดยมีเครื่องชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดภาวะโลหิตจางของประชากรกลุ่มอายุต่าง ๆ ใช้ค่าเฮโมโกบิล หรือค่าเฮมาโตคริต ตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก โดยกลุ่มประชากรดังกล่าวหากมีค่าต่ำกว่าที่กำหนด หมายถึง อยู่ในภาวะโลหิตจาง
สาเหตุของการขาดสารอาหารที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางส่วนใหญ่ เนื่องมาจาการขาดธาตุ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง คือ
1. ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
2. เป็นโรคพยาธิปากขอ
3. สูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร จากการรับประทานยาแก้หวัดเป็นประจำ
อาการของโรคโลหิตจาง
1.เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แม้ทำงานเล็กน้อยก็หายใจหอบ
2. รู้สึกหัวใจเต้น ปวดศีรษะ หงุดหงิด มึนงง เป็นลมวิงเวียน หน้ามืดเสมอ
3. เล็บเปราะบาง และซีด
4. ลิ้นเลี่ยนเรียบ ไม่มีตุ่ม และอักเสษ
5. ผิวพรรณซีดและตาซีด
ผลเสียของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
1. การขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และประสิทธิภายการทำงานของร่างกายในทุกกลุ่มประชากร
2. ในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดต่ำและมีอัตราตายของทารกขณะคลอดและหลังคลอดสูง
3. ในทารก และเด็กก่อนวัยเรียน จะทำให้เจริญเติบโต และการพัฒนาของร่างกายและสมองช้า และมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็กวัยเรียนด้วย
4. ทำให้ระบบการป้องกันโรคของร่างกายต่ำ
การป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
1. ให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และผักใบเขียว
2. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคพยาธิ โดยการปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
3. การเสริมธาตุเหล็ก ในรูปของยาเม็ดหรือน้ำไซรับ ในกลุ่มประชาชนเป้าหมาย คือหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
ที่มา healthnet.md.chula.ac.th

3. โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาโภชนาการที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบมากทีในแถบถิ่นทุรกันดาร แถบภูเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง รวมทั้งภาคใต้ของประเทศสาเหตุ 1. ปัจจัยทางธรรมชาติ อันได้แก่ ดินและน้ำในพื้นที่มีปัญหา ซึ่งพบว่าทั้งดินและน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง มีปริมาณไอโอดีนในดินและในน้ำต่ำกว่าในกรุงเทพฯ ประมาณ 4-7 เท่า และยังพบว่าพืช ผัก ชนิดเดียวกับในบริเวณที่มีอัตราคอพอกสูงมีปริมาณไอโอดีนต่ำ 2. การกระจายอาหารที่มีไอโอดีนสูงไม่ทั่งถึง เนื่องจากการคมนาคมลำบาก ไม่มีอาหารทะเลสำหรับบริโภคสม่ำเสมอประกอบกับอาหารทะเลราคาแพง ไม่มีอำนาจซื้อเพราะเศรษฐกิจไม่ดี 3. ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจต่อโรคนี้ ตลอดไปจนถึงความรู้ถึงสาเหตุและวิถีทางป้องกันโรคที่จะนำไปปฏิบัติได้ง่าย


ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีนต่อร่างกาย


เมื่อ ร่างกายขาดสารไอโอดีน มีผลทำให้ร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่สำคัญและประการ เรียกว่าภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีน (Iodine Deficiencies Disorders หรือ IDD) จะมีอาการดังนี้

1. คอพอก หมายถึง ต่อมไทรอยด์ที่คอโตกว่าปกติ ถ้าโตมาก ๆ จะกดหลอดลม ทำให้ไอ สำลัก หายใจลำบาก ถ้ากดหลอดลมอาหารจะกลืนลำบาก

2. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีไทรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะมีอัตราการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ลดลง การนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ตลอดจนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะเป็นไปได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายหยุดชะงัก เติบโตช้าลงได้ ในผู้ใหญ่ มีอาการเกียจคร้าน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ง่วงซึม ผิวหนังแห้ง ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ ท้องผูก เสียงแหบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในวัยเด็ก นอกจากอาการที่แสดงดังกล่าวแล้ว ยังพบอาการเชื่องช้า ทางจิตใจและเชาว์ปัญญาอีกด้วย ในวัยแรกเกิด มีความสำคัญและรุนแรงมากจะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้ เรียกว่าภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในเด็กแรกเกิด

3. ครีตินนิซึม หรือเอ๋อ แม่ที่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ลูกที่คลอดออกมาจะมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ตั้งแต่แรกเกิด ถ้าแม่มีการขาดไอโอดีนรุนแรง อาจทำให้ทารกตายตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้ง หรือพิการตั้งแต่กำเนิด และถ้าทารกได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 20ไมโครกรัม/วัน จะพบครีตินมิซึม เฉพาะในทารกจะแสดงอการผิดปกติทางร่างกายติดต่อไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำรุนแรง หูหนวก เป็นใบ้ มีความผิดปกติทางระบบประสาทเด่นชัด คือ การกระตุกตาเหล่ ท่าเดินผิดปกติ และกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ลักษณะที่ 2 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำมาก การเจริญเติบโตทางร่างกายช้ามากจะเตี้ยแคระแกร็น ผิวหนังหนา ปวดกดไม่บุ๋มแต่หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้โดยทั่วไปต่อมไทรอยด์ไม่โต


การป้องกันการขาดสารไดโอดีน


1. เฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน เพื่อประเมินสถานการณ์ทางโรคโดย ก. ตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนประจำปี ข. การตรวจหาระดับไทรอยด์สติบูเลติ้งฮอร์โมน (TSH) ในเลือดจากสายรกของทารกแรกเกิด ค. การตรวจหาระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กวัยเรียนในจุดที่มีระบาดสูง ทำปีละครั้ง

2. ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องการใช้เกลือเสริมไอโอดีน และน้ำปลาเสริมไอโอดีน ในการปรุงอาหารอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน

3. การเสริมไอโอดีน

ก. การดื่มน้ำเสริมไอโอดีน ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 4 แก้ว โดยหยดสารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยวมีหลอดหยด หยดลงในน้ำดื่มอัตราส่วน 2 หยดต่อน้ำ 10 ลิตร

ข. การใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหาร ควรใช้เกลือเสริมไอโอดีนประกอบอาหารอย่างน้อยวันละ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน เพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

ค. การใช้น้ำปลาเสริมไอโอดีน สามารถใช้สารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยว หยดลงในน้ำปลา 6 หยด/ขวด


ที่มา https://www.wedding.co.th/


4. โรคขาดวิตามินเอ เป็นโรคที่พบในเด็กวัยทารก และเด็กวัยก่อนเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน



สาเหตุ


1. เกิดจากการกินอาหารที่ขาดวิตามินเอ ซึ่งมีมากในผลไม้ ผักสีเขียว เหลือง ตับสัตว์ ไข่ นม นอกจากนี้อาจขาดอาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น ไขมัน ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมและเก็บสะสมวิตามินเอในร่างกาย 2. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมข้นหวานเลี้ยงทารกและไม่ได้รับอาหารตามวัยที่มีวิตามินเอผลของการขาด วิตามินเอ การขาดวิตามินเอ ก่อให้เกิดอาการ ดังนี้ 1. ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก อำนาจต้านทานโรคต่ำ 2. อาการทางตา จะมีอาการเสื่อมของการเห็นในที่มืด มีอาการตาฟางมองไม่ชัดเจนในเวลากลางคืนและในที่มืด ที่ตาขาวมีเกล็ดกระดี่เป็นกลุ่มฟองสบู่ ตาดำจะขุ่นขาวเป็นแผล และในที่สุดตาบอดสนิทอย่างถาวร 3. อาการที่เกี่ยวกับผิวหนัง ผิวหนังจะแห้งเป็นเกล็ด หรือเกิดเป็นตุ่มสาก ๆ บนผิวหนังเรียก Follicular hyperkeratosisโดยเฉพาะบริเวณข้อศอก หัวเข่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของตุ่มขุมขน ถ้าเป็นมาก ๆ ผิวหนังจะขรุขระ คล้ายหนังคางคก

การป้องกันการขาดวิตามินเอ

1. กินอาหารพวกผลไม้ ผักสีเขียวให้มาก พวกไข่ ตับ นม ร่วมกับการบริโภคอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกวัยก่อนเรียน หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

2. ให้โภชนศึกษาแก่ประชาชน โดยการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ที่มา www.thaigoodview.com
(ที่มา https://edtech.kku.ac.th/)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด