อาการโรคฉี่หนูในคน หน้าฝน โรคฉี่หนู กรมควบคุมโรค โรคฉี่หนู รักษาได้


956 ผู้ชม


อาการโรคฉี่หนูในคน หน้าฝน โรคฉี่หนู กรมควบคุมโรค โรคฉี่หนู รักษาได้

โรคฉี่หนู Leptospirosis

โรคฉี่หนูเป็นที่มักจะระบาดหน้าฝน โดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนู สุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค

เชื้อที่เป็นสาเหตุ

ลักษณะของตัวเชื้ออาการโรคฉี่หนูในคน หน้าฝน โรคฉี่หนู กรมควบคุมโรค โรคฉี่หนู รักษาได้

เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แมาน้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง

เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans เป็นเชื้อแบคทีเรียมี 16 serogroup เชื้อที่เป็นสาเหตุในกรุงเทพ คือ bataviae และ javanica ส่วนในภูมิภาคเป็น akiyami,icterohemorrhagia มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง

การเกิดโรค

พบได้ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลกเนื่องจากมีสัตว์ทั้งสัตว์ เลี้ยงและสัตว์ป่าปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อนี้

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
  • คนงานฟาณืมเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
  • กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
  • กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา

แหล่งรังโรค

หมายถึงเป็นที่พักของเชื้อ สัตว์ที่เป็นแหล่งพักได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข แรคคูณสัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือ อาจจะตลอดชีวิตสัตว์ ทำให้มีการติดต่อของเชื้อในสัตว์

  • จากการสำรวจหนูใน 27 จังหวัดเมื่อปี 2508 พบว่าทั้งหนูท่อ หนูบ้าน หนูนา เป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญโดยพบเชื้อร้อยละ 10-50 รองลงมาได้แก่สุนัข
  • จากการสำรวจหนูนาพบว่าหนูพุกติดีเชื้อร้อยละ 40
  • จากการสำรวจสัตว์ในกรุงเทพเมื่อปี 2508 พบว่าหนูท่อติดเชื้อ 66% สุนัขติดเชื้อ 8 % แสดงว่าหนูเป็นตัวแพร่เชื้อ
  • การสำรวจเมื่อปี 2540 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบภูมิคุ้มกันในความ31% โค 28.25% แพะแกะ 27.35% สุกร 2.15%

การติดต่อของโรค

สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน

  • เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา หรือแผล ผิวหนังปกติที่เปียกชื้นเชื้อก็สามารถไชผ่านไปได้เช่นกัน
  • เชื้ออาจจะเข้าร่างกายโดยการดื่มหรือกินอาหารที่มีเชื้อ

ระยะฟักตัวของโรค

  • โดยเฉลี่ยประมาณ 10 วันหรืออยู่ระหว่าง4-19 วัน

ระยะติดต่อ

  • การติดต่อจากคนสู่คนเกิดได้น้อยมาก

อาการที่สำคัญ

อาการทางคลินิกของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม

  1. กลุ่มที่ไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง กลุ่มนี้อาการไม่รุนแรง หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วันโดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรคได้แก่ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการอาจจะมีตั้งแต่ 1-หลายวัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
    1. ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด Leptospiremic เมื่อเชื้อเข้าร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้คือ
    • ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันที มักจะปวด บริเวณหน้าผาก หรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง
    • ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลังและมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้อ
    • ไข้สูง 28-40 องศา เยื่อบุตาแดง
    อาการโรคฉี่หนูในคน หน้าฝน โรคฉี่หนู กรมควบคุมโรค โรคฉี่หนู รักษาได้

อาการต่างๆอาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง

การตรวจร่างกายในระยะนี้ที่สำคัญจะตรวจพบ ผู้ป่วยตาแดง มีน้ำตาหรือขี้ตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว

  1.  
    1. ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็งมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และมีเชื้อออกมาในปัสสาว
  2. กลุ่มที่มีอาการเหลือง กลุ่มนี้ไข้จะไม่หายแต่จะเป็นมากขึ้นโดยพบมีอาการเหลือง และไตวาย มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตับและไตวาย ดีซ่าน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ อาจจะมีอาการไอเป็นเลือด อาการเหลืองจะเกิดวันที่ 4 ของโรค ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้หรือในต้นสัปดาห์ที่สามจากไตวาย

อาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่อาการโรคฉี่หนูในคน หน้าฝน โรคฉี่หนู กรมควบคุมโรค โรคฉี่หนู รักษาได้

  1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
  3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  5. อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

การวินิจฉัย

จากประวัติการสัมผัสโรค และตรวจร่างกายเมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะตรวจ

  • CBC การตรวจเลือดทั่วไป จะพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่ม บางรายเกร็ดเลือดต่ำ
  • ESR เพิ่ม
  • ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง ไข่ขาวในปัสสาวะรวมทั้งพบน้ำดีbilirubin ในปัสสาวะ
  • ตรวจการทำงานของตับ พบการอักเสบของตับโดยจะมีค่าSGOT,SGPT  สูงขึ้น
  • ในรายที่รุนแรงการทำงานของไตจะเสื่อม ค่าCreatinin,BUN จะเพิ่มขึ้น
  • การเพาะเชื้อจากเลือดสามารถเพาะได้ในระยะแรกของโรค
  • การตรวจทางภูมิคุ้มกัน สามารถตรวจพบหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์

การรักษา

ผู้ที่มีอาการรุนแรง

  • ควรให้ยาpenicillin,tetracyclin,streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค

ผู้ที่มีอาการปานกลางอาจจะเลือกยาดังนี้

  • doxycycline 100 mgวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
  • amoxicillin 500 mg วันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน

การรักษาตามอาการและภาวะแทรกซ้อน

  • การให้ยาลดไข้
  • การให้ยาแก้ปวด
  • การให้ยากันชัก
  • การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • การให้สารน้ำและเกลือแร่

การรักษาโรคแทรกซ้อน

  • หากเกร็ดต่ำหรือเลือดออกง่ายก็อาจจะจำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดหรือน้ำเหลือง
  • การแก้ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • การแก้ปัญหาตับวาย
  • การแก้ปัญหาไตวาย

ทบทวน 14 เมษายน 2549

เอกสารอ้างอิง

คู่มือวิชาการ โรคเลปโตสไปโรซิส ISBN 974-7897-90-3

ที่มา : เว็บไซต์ siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด