เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ชื่อว่าอะไร คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทษไทยชื่อว่าอะไร
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ในสมัยโบราณได้มีชาติต่าง ๆ ได้พยายามคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยในการคำนวณ ชาวจีนเป็นชาติแรกที่ได้คิดประดิษฐ์ลูกคิด (Abacus หรือ Soroban) ขึ้นมาใช้ ซึ่งต่อมาชาติอื่น ๆ ก็คิดประดิษฐ์อุปกรณ์ต่าง ๆ พอจะสรุปเป็นวิวัฒนาการดังนี้
- ค.ศ. 1614 จอห์น เนเปียร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ ชาวสก๊อต ได้คิดอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณ โดยอาศัยหลักการของอัลกอริทึม (Algorithms) เรียกว่า เนเปียร์โบน (Napier's bones) อุปกรณ์ชิ้นนี้ทำมาจากกระดูก แบ่งออกเป็นแท่งตัวเลขหลาย ๆ แท่ง ซึ่งมีผลคูณของตัวเลขต่าง ๆ ไว้คล้ายกับตารางสูตรคูณ
- ค.ศ. 1630 วิลเลี่ยม ออดเทรด ( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์สไลด์รูล (Slide Rule) ไม้บรรทัดคำนวณ ต่อมากได้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Analog Computer
- ค.ศ. เบลส์ ปาสคาล (Blaise Pascal) ชาวฝรั่งเศส ได้ออกแบบเครื่องคำนวณที่ทำการทดได้ด้วยตนเองเรียกว่าปาสคาลไลน์ ( Pascaline Calculater) นับได้ว่าเป็นพื้นฐานในเครื่องคิดเลขแบบใช้ฟันเฟืองซึ่งระบบนี้ถูกนำมาใช้ เป็นหลักในการประดิษฐ์เครื่องคิดเลขรุ่นต่อมา
- ค.ศ. 1822 ชาร์ล แบบเบจ (Charles Bavvage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่องกลที่ใช้ในการคำนวณขึ้นมา 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็นเครื่องคำนวณเรียกว่า เครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) สำหรับใช้ในการคำนวณ และพิมพ์ค่าตารางทางคณิตศาสตร์ เพื่อที่จะใช้แก้สมการแบบโพลีโนเมียล (Polynomial)
ต่อมา เขาได้พยายามสร้างเครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครื่องวิเคราะห์ (Analytic Engine) โดยมีหลักการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ใช้เก็บข้อมูล ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานให้เป็นอัตโนมัติ และส่วนที่ทำหน้าที่ในการคำนวณ หลักการและแนวความคิดนี้นำมาใช้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ดังนั้น ชาร์ล แบบเบจ จึงได้รับยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
ต่อมามีสุภาพสตรีผู้หนึ่งซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อว่า เอดา ออกุสตา (Ada Augusta) เป็นผู้ที่เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องที่ ชาร์ล แบบเบจ สร้างขึ้นเป็นอย่างดีได้เขียนวิธีการใช้เครื่องนี้เพื่อแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ โดยได้ค้นพบว่าสามารถนำชุดบัตรเจาะรูที่บรรจุคำสั่งมาใช้ซ้ำได้เมื่อเราต้อง การกระทำชุดคำสั่งนั้นซ้ำอีก ซึ่งหลักการดังกล่าวเข้ากับลักษณะการวนลูป (loop) และการใช้รูทีนย่อย (subroutine) นั่นเอง ดังนั้นเอตา ออกุสตา จึงได้รับยกย่องว่าเป็น โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คนแรก ของโลก
- ค.ศ. 1882 ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช (Dr.Herman Hollerith) ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรูในการเก็บข้อมูล และต่อมาเครื่องนี้ก็ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นและได้นำมาใช้ในการประมวล ผลข้อมูลในการสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ 1890 บัตรที่ ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช คิดขึ้นนี้ เรียกว่าบัตรฮอลเลอริช หรือบัตรเจาะรู หรือบัตร 80 คอลัมน์
- ค.ศ. 1944 ดร.เฮาเวิร์ด เอเคน (Dr. Howord Aiken) ได้ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม จำกัด ได้สร้างเครื่องคำนวณแบบที่ แบบเบจ เคยใฝ่ฝันไว้เป็นผลสำเร็จให้ชื่อว่า Automatic Controlled Calculator ( ASCC ) หรือ Mark I เป็นเครื่องขนาดใหญ่มากทำงานเสียงดังอย่างไรก็ตาม Mark I ยังไม่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง เป็นเพียงเครื่องคิดเลขไฟฟ้าหรือ เครื่องคำนวณอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก
- ค.ศ. 1942 -1946 จอห์น มอชลี ( John Mauchy ) และเปรสเปอร์ เอคเคิร์ท ( Presper Eckert) ได้ร่วมกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกมีชื่อว่า ENIAC ( Electronic Numerical Integer and Calculator ) เป็น เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกที่ใช้หลอดสูญญากาศ
- ค.ศ. 1945 ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ (Dr.John Von Neumann) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งและข้อมูลทั้งหมดไว้ในหน่วย ความจำของเครื่องจากแนวความคิดของนิวแมนน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นมีชื่อว่า EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) และต่อมาในปี ค.ศ. 1952 ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์คล้ายกับ EDVAC โดยให้ชื่อว่า EDASC (Electronic Delayde Storage Automatic Computer) ซึ่งอาจถือได้ว่าเครื่อง EDVAC และ EDSAC เป็น คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก
- ค.ศ. 1951 มอชลี และ เอคเคิรท์ ได้ออกแบบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานธุรกิจเป็นเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า UNIVAC I (Universal Automatic Computer I) เป็นการผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อขายหรือเช่าเป็นเครื่องแรก
-ประเทศไทยเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในยุคนี้ ในปี พ.ศ. 2506 คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1620 โดยได้รับมอบจากมูลนิธิ เอ ไอ ดี และ บริษัท IBM ซึ่งติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้วและเก็บอยู่ที่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษา ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
ที่มา : เว็บไซต์ guru.google.co.th