อาการโรคความดันต่ำ สมุนไพรแก้ความดันต่ำ โรคความดันต่ำ


1,333 ผู้ชม


อาการโรคความดันต่ำ สมุนไพรแก้ความดันต่ำ โรคความดันต่ำ

              อาการโรคความดันต่ำ

บทนำ

โรค หรือ ภาวะ ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือภาวะที่ความดันโลหิต (เลือด) ซีสโตลิค (Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic blood pressure) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตต่ำอาจต่ำเพียงความดันซีสโตลิค หรือ ไดแอสโตลิกตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้ ซึ่งโดยทั่ว ไปแพทย์ไม่จัดความดันโลหิตต่ำเป็นโรค แต่จัดเป็นภาวะ

ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นภาวะที่ยังไม่มีการบันทึกอุบัติการณ์ที่แน่นอน เพราะเมื่อความดันโลหิตต่ำไม่มาก มักไม่ก่ออาการ และเมื่อมีอาการ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ เช่น วิงเวียน เป็นลม ไม่ได้มาด้วยเรื่องความดันโลหิตต่ำ ดังนั้น การจดบันทึกของโรงพยาบาล จึงมักไม่ได้ระบุว่า เป็นอาการจากความดันโลหิตต่ำ

อย่างไรก็ตาม ภาวะความดันโลหิตต่ำ พบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

อะไรเป็นสาเหตุและกลไกให้เกิดความดันโลหิตต่ำ?

โรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีกลไกการเกิดดังนี้

  • ปริมาณน้ำ ของเหลว และ/หรือเลือด (โลหิต) ในการไหลเวียน เลือดลดลง จึงมีเลือดกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง หัวใจจึงเต้นบีบตัวลดลง ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง เช่น ภาวะขาดน้ำ และ/หรือขาดเกลือแร่ ภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะร่างกายเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรง หรือจากมีแผลไหม้รุนแรง การลุกขึ้นทันทีจากท่านอนโดยเฉพาะเมื่อนอนนานๆ เมื่อไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเมื่อนั่งนานๆ (ปริมาณเลือดจะคั่งที่ขา เมื่อลุกขึ้นทันที เลือดจึงไหลกลับหัวใจได้น้อย ความดันโลหิตจึง ต่ำลงทันที) ซึ่งกลไกนี้ พบเป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุจากไม่ค่อยดื่มน้ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า (Postural or Orthostatic hypoten sion)
  • ภาวะโลหิตจาง เพราะส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง ส่งผลให้ปริมาตรในภาพรวมของเลือดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
  • ในบางคนภายหลังกินอาหารมื้อหลักปริมาณสูงมาก จึงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหาร และลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดภาวะคล้ายมีเลือดคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานเพิ่มขึ้น จึงขาดปริมาณเลือดโดยรวมในการไหลเวียนในกระแสโลหิต เลือดจึงกลับเข้าหัวใจน้อยลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Postprandial hypotension
  • จากโรคของประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด และการบีบตัวของหัวใจ จึงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดขยาย เลือดจึงคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้น การไหลเวียนโลหิตจึงลดลง เลือดกลับเข้าหัวใจลดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และโรคความจำเสื่อมบางชนิด ซึ่งเรียก ภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurogenic orthostatic hypotension
  • จากภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต/เลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นพร้อมๆกัน รวมทั้งเกิดการล้มเหลวในการทำงานของหัวใจและปอด จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • จากการแพ้ยา หรือแพ้อาหาร หรือแพ้สารต่างๆอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วตัวขยายตัวทันที และร่วมกับมีของเหลว/น้ำในเลือดซึมออกนอกหลอดเลือด จึงเกิดการขาดเลือดไหลเวียนในกระแสโลหิต ความดันโลหิตจึงต่ำลง เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Anaphylaxis
  • จากโรคหัวใจ หัวใจจึงบีบตัวเต้นผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • จากการตั้งครรภ์ มักเกิดในระยะ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากการที่ต้องเพิ่มเลือดหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนโลหิต หรือปริมาตรโลหิตในมารดาจึงลดลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ แต่ร่างกายมารดามักปรับตัวได้เองเสมอเมื่อมารดามีสุขภาพแข็ง แรง
  • จากโรคของต่อมไร้ท่อซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงาน ของหัวใจ ของหลอดเลือด และของเกลือแร่ต่างๆที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนโลหิต จึงเกิดความดันโลหิตต่ำได้ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไต หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในโรคเบาหวาน
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาไวอะกรา (Viagra) หรือ ยาทางจิตเวชบางชนิด
  • จากมีการกระตุ้นวงจรประสาทอัตโนมัติและสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ หลอดเลือด และหัวใจ ซึ่งเมื่อเกิดการกระตุ้นวงจรนี้ จะส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจทำ งานผิดปกติ ความดันโลหิตจึง ต่ำลงได้ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurally mediated hypotension เช่น จากอารมณ์/จิตใจ (กลัวมาก ตกใจ เห็นภาพสยดสยอง หรือ เจ็บ/ปวดมาก) จากการยืน หรือ นั่งไขว่ห้างนานๆ การอยู่ในที่แออัด และ/หรืออบอ้าว การอาบ น้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ?

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ ได้แก่

โรคความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ

  • วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม
  • ตาลาย
  • คลื่นไส้ อาจอาเจียน
  • มือ เท้าเย็น
  • เหงื่อออกมาก
  • ชีพจรเบา เต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว เหนื่อย
  • กระหายน้ำ ตัวแห้ง ปัสสาวะน้อย เมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
  • บางคนอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว หน้า ตัวบวม เมื่อเกิดจากการแพ้สิ่งต่างๆ
  • อาจชัก
  • หมดสติ เมื่อความดันโลหิตต่ำมาก

แพทย์วินิจฉัยโรคความดันโลหิตต่ำได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำได้จาก การวัดความดันโลหิต และวินิจฉัยหาสาเหตุได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติกินยาต่างๆ หรือ กินอาหาร หรือถูกสัตว์/แมลงต่อย การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมต่างๆ ทั้งนี้ขึ้น กับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อสงสัยโรคหัวใจ หรือการตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลเมื่อสงสัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน เป็นต้น

รักษาโรคความดันโลหิตต่ำได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ การเพิ่มความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามสาเหตุ เช่น ให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำเมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ การให้เลือดเมื่อเสียเลือดมาก หรือการให้ยาเพิ่มความดันโลหิต/ยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือด เมื่อเกิดจากหลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ

นอกจากนั้น คือ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปรับยาเบาหวานเมื่ออาการเกิดจากโรคเบาหวาน

โรคความดันโลหิตต่ำรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โดยทั่วไป โรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำมักไม่รุนแรง คนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตต่ำ และเมื่อมีอาการ ภายหลังการพักผ่อน ผู้ป่วยมักกลับมามีความดันโลหิตปกติได้

อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ ขึ้นกับสาเหตุ เช่น เมื่อเกิดจากดื่มน้ำน้อย ความรุนแรงต่ำ เมื่อเกิดจากเสียน้ำ เสียเลือดมาก ความรุนแรงสูงขึ้น หรือเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความรุนแรงจะสูงมาก

ผลข้างเคียงจากโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ สมองขาดเลือด อาจหมดสติ จึงเกิดการล้ม หรือ การชักได้

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีโรคความดันโลหิตต่ำ ได้แก่

  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
  • เมื่อจะเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนอนเป็นยืน โดยเฉพาะผู้สูงอายุต้อง ค่อยๆเปลี่ยนท่าทาง จากนอนอาจต้องลุกนั่งพักสักครู่ก่อนแล้วจึงยืน จากนั่งอาจต้องยืนยึดจับสิ่งยึดเหนี่ยวให้มั่นคงก่อน จึงก้าวเดิน
  • หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ แต่ถ้าเป็นอาชีพ อาจต้องใส่ถุงน่องช่วยพยุงหลอดเลือดไม่ให้เกิดการแช่ค้างของเลือด และไม่นั่งไขว่ห้างนานๆ เพื่อลดการเบียดทับหลอดเลือด จึงเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • กินยาต่างๆอย่างถูกต้อง และรู้จักผลข้างเคียงของยาที่กินอยู่
  • กินอาหารแต่ละมื้ออย่าให้ปริมาณมากเกินไป
  • ต้องจำให้ได้ว่าแพ้อะไร เพื่อการหลีกเลี่ยง
  • ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ
  • ควรพบแพทย์เมื่อ
    • มีอาการของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำบ่อยๆ ควรต้องหาสาเหตุ เพื่อการรักษาควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ
    • อาการต่างๆเลวลง หรือ ไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง
    • อาการต่างๆรุนแรง โดยเฉพาะอาการทางการหายใจ และการแน่นเจ็บหน้า อก เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
    • กังวลในอาการ

ป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำอย่างไร?

การป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อการดูแลตนเองที่สำคัญ คือ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • ระมัดระวังในการเปลี่ยนท่าทางโดยเฉพาะเมื่อต้องลุกขึ้นยืน เปลี่ยนท่าทางให้ช้าลง ทำทีละขั้นตอนเสมอ เช่น จากนอน เป็นนั่งพัก แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน
  • รักษา และควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • ระมัดระวังการใช้ยาต่างๆ ไม่ซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อน และกินยาแต่ละชนิดควรต้องรู้ผลข้างเคียงจากยา

บรรณานุกรม

  1. Hypotension. https://en.wikipedia.org/wiki/Hypotension [2012, Feb 3].
  2. Figueroa, J. et al. (2010). Preventing and treating orthostatic hypotension: as easy as A,B,C. Cleveland Clinic Journal of Medicine. 77, 298-306.
  3. Freeman, R. (2008). Neurogenic orthostatic hypotension. N Engl J Med. 358, 615-624.
  4. Lanier, J. et al. (2011). Evaluation and management of orthostatic hypotension. Am Fam Physician. 84, 527-536.
  5. Neurally mediated hypotension https://brendashue.tripod.com/nmh2.html [2012, Feb3].

                   Link    https://haamor.com/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              สมุนไพรแก้ความดันต่ำ

ถ้าพูด​ถึง​ความดัน​โลหิตต่ำนั้น อาจกล่าว​ได้ว่า​เป็นภาวะอา​การ​ไม่​ใช่​โรค​และยัง​ไม่ทราบสา​เหตุของ​การ​ เกิด​โรคที่​แน่นอน ​โดยอาจจะ​เกิดจาก​โรคอื่นๆ ​ได้ ​เช่น ​โรคหัว​ใจ ภาวะขาดน้ำ ​เสีย​เหงื่อมาก ถ่ายอุจจาระมาก​หรือ​เสีย​เลือด ภาวะอ่อน​เพลีย ​การอดนอน ​โลหิตจาง ​ความดันต่ำอาจจะ​ไม่​เป็นอันตราย​ก็จริง​แต่​ก็​ทำ​ให้​ผู้ป่วย​ไม่มี​แรง วิง​เวียนศีรษะอยู่ตลอด​เวลา หน้ามืด อาจส่งผลกับ​การ​ทำงานที่ต้อง​ใช้​แรง​หรือ​ความคิด ​แต่ถ้า​ความดัน​โลหิตลดลงต่ำมากจะ​ทำ​ให้อวัยวะดังกล่าวขาดออกซิ​เจน อาจ​ทำ​ให้​เป็นลม ช็อก​และอาจ​ถึงขั้น​เสียชีวิต​ได้ ​โดย​โรค​ความดัน​โลหิตต่ำจะพบ​ได้น้อยกว่า​โรค​ความดัน​โลหิตสูง​และมี​การ ดำ​เนินชีวิตที่สบายกว่า

อาการโรคความดันต่ำ สมุนไพรแก้ความดันต่ำ โรคความดันต่ำ

อาจารย์นิพันธ์พงศ์ พานิช กรรม​การ​ผู้จัด​การศูนย์​ความงาม​โอ​เรียลทอลบิวตี้ ​ได้​เผย​ถึงคำ​แนะนำสำหรับ​ผู้ที่มี​ความดันต่ำว่า ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่า​ให้ครบ​ทั้ง 5 หมู่ ​และรับประทานอาหารที่มี​แคลอรีสูง ย่อย​ได้ง่าย​และรวด​เร็ว มีน้ำตาลสูง ที่ต้องรับประทานอาหารที่มี​แคลอรีสูง​ก็​เพื่อสะสมพลังงาน​ให้ร่างกาย สามารถนำ​ไป​ใช้​ได้อย่างรวด​เร็ว อาทิ ซุป​ไก่สกัด ​และรับประทานยาหอม​แก้วิง​เวียน​และบำรุงหัว​ใจ ​โดยรับประทานวันละ 3 ครั้ง ​เช้า กลางวัน ​เย็น ​แต่​ไม่ควรรับประทานอาหารจำพวกกา​แฟ​และขนมปังต่างๆ

​และอย่านอนดึก พักผ่อน​ให้​เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่ว​โมง รวม​ทั้งต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำ​เสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ​เพื่อ​เพิ่ม​ความ​แข็ง​แรงของกล้าม​เนื้อหัว​ใจ​และหลอด​เลือด ​เช่น ​การ​เต้น​แอ​โรบิก​และว่ายน้ำ ​เป็นต้น ​และที่สำคัญ​การ​เปลี่ยนอิริยาบถ ​หรือ​การ​เปลี่ยนท่าทาง​ในกิจวัตรประจำวันควร​ทำอย่างช้าๆ ​เพื่อ​ให้ร่างกายปรับตัว​ได้ทัน​และป้องกันมิ​ให้​เกิดอา​การหน้ามืด สุดท้ายคือรับประทานยา​และสมุน​ไพรที่ช่วยบำรุง​เลือด ​เนื่องจาก​ผู้ป่วยที่​เป็น​ความดันต่ำจะมี​เลือดน้อย ​จึงต้องบำรุง​และ​เพิ่ม​เลือดอย่างรวด​เร็ว

พร้อมกันนี้ อาจารย์นิพันธ์พงศ์ยัง​ได้​เผย​ถึง​การนำสมุน​ไพรมา​ทำยา ​เพื่อช่วย​ใน​การบำรุง​เลือด​และบำรุงสุขภาพ​ให้กับคน​เป็น​ความดันต่ำ ​โดยมีสรรพคุณ​และส่วนผสมดังนี้ 1.ดอกคำฝอย  มีสรรพคุณช่วย​ให้​เลือดหมุน​เวียนดีขึ้น, ช่วย สลายลิ่ม​เลือด ลดคอ​เลส​เตอรอล 2.ฝาง มีรสขื่นปนหวานฝาด ​ใช้​แก้ปวดท้องร่วง ​แก้ธาตุพิ​การ ​แก้ร้อน ยาบำรุง​โลหิตสตรี ขับประจำ​เดือน  ​แก้ปอดพิ​การ ขับหนอง ​แก้​โลหิตออกทางทวารหนัก​และ​เบา 3.ว่านสบู่​เลือด ​เป็นว่านตระกูล​เดียวกับว่านชักมดลูก มีสรรพคุณทาง​เภสัชชั้นยอด ​เป็นยาบำรุง​เซลล์สมอง​และบำรุงปลาย​เส้นประสาท​ได้ ​ซึ่งจะ​ทำ​ให้​ไม่​เป็น​โรค​ความจำ​เสื่อม 4.ผัก​เป็ด​แดง ​ใช้​ทั้งต้น​ทั้งราก​เป็นยาดับพิษ​โลหิต ฟอก​โลหิต​และ​เป็นยาระบายอ่อนๆ ​ทั้งฟอก​และบำรุง​โลหิตสตรี 5.กรักขี ​ไม้​เถา​เนื้อ​แข็งชนิดหนึ่ง ​แก่น​แดงๆ ​เสี้ยนดำๆ 6.​เถาคัน​แดง ​ใช้ส่วนของ​เถาปรุง​เป็นยาต้มกิน ​เป็นยารักษา​โรคกระษัย ​ทำ​ให้​เส้นหย่อน​เป็นยาขับลมขับ​เสมหะ ​เป็นยาฟอก​เลือด 7.กะ​เพรา​แดง สรรพคุณ​แก้ลม ขับลม จุก​เสียด​ในท้อง ​เป็นยาตั้งธาตุ 8.​เทียน​แดง สรรพคุณขับประจำ​เดือน ขับปัสสาวะ รักษาตา​เจ็บ ​แก้สะอึก สมานบาด​แผล ​แก้น้ำ​เหลือง​เสีย  ​แก้ท้อง​เสีย ​แก้ท้องร่วง ​แก้บิดมูก​เลือด ​แก้​เจ็บคอ รักษากาม​โรค ​แก้ปวดท้อง ​แก้ผิวหนังอัก​เสบ  9.​โกฐหัวบัว สรรพคุณตามยา​แผน​โบราณของ ​โกฐหัวบัวคือ หัว ​แก้ลม​ในกองริดสีดวง ขับลม​ในลำ​ไส้ ​ไม่ระบุส่วนที่​ใช้ขับลม ​แก้ลม บำรุง​โลหิต ​แก้​เสมหะ 10.สมุน​ไพรที่มีรส​เปรี้ยว 2 ชนิด ​ได้​แก่ รกมะดัน, ​ใบมะขามอ่อน ​หรือพืชที่จัดว่า​เป็นพืชตำรับ​เปรี้ยว​ก็​ได้

หลังจากนั้น​ให้นำสมุน​ไพร​ทั้งหมดมาบด​หรือต้มรวมกัน​เพื่อรับประทาน สำหรับ​การรับประทานนั้นมี 2 วิธีด้วยกันคือ 1.บด​เป็นผง​แล้ว นำมาอัด​ใส่​แคปซูล ​ให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง ​เช้า-​เย็น รับประทานครั้งละ 3-4 ​แคปซูล 2.รับประทาน​แบบต้ม ​โดย​ให้ต้มสมุน​ไพร​ทั้งหมดกับ น้ำ 3 ลิตร ต้ม​ให้​เหลือ​เพียง 1 ลิตร รับประทานวันละ 2 ครั้ง ​เช้า-​เย็น ​โดยรับประทานครั้งละ  30 cc. (1 ​แก้วชอร์ต)

ขณะ​เดียวกัน อาจารย์นิพันธ์พงศ์​ก็​ได้กล่าว​เน้นย้ำ​ใน​เรื่องของ​การนอนหลับพักผ่อน ​การออกกำลังกาย​ให้สม่ำ​เสมอ ​และ​การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง รวม​ทั้ง​การ​เปลี่ยน​แปลงพฤติกรรม​การนั่ง นอน ​เดิน ​ให้ขยับ​เขยื้อนร่างกายบ่อยๆ อย่าอยู่นิ่งๆ นานๆ ลุกขึ้นยืน ลุกขึ้นนั่งบ้าง หากปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติที่กล่าวมา​แล้วนั้น ​ก็จะสามารถช่วย​ใน​การลดอา​การ​ความดัน​โลหิตต่ำลง​ได้.

              Link   https://www.ryt9.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=


 

          โรคความดันต่ำ

- ความดันคืออะไร
ความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดภายในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มีการกำหนดค่าอยู่สองค่าคือ ค่าSystolic Blood Pressure SBP (เรียกไทยๆว่าความดัน"ตัวบน")
เป็นความดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นช่วงที่แรงดันในเส้นเลือดสูงสุด

ค่า Diastolic Blood Pressure DBP (เรียกไทยๆว่าความดัน"ตัวล่าง") เป็นความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว เป็นช่วงที่แรงดันในเส้นเลือดต่ำสุด

นึก ภาพคนโดนตัดคอ เลือดที่พุ่งปรี๊ดขึ้นฟ้าสูงสุดคือจังหวะของSBP และช่วงที่เลือดไหลปรี่ก่อนที่จะพุ่งขึ้นอีกทีก็คือ DBP ...... นึกภาพไม่ออกใช่ไหมครับ ผมก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรให้เข้าใจ แต่ผู้อ่านหลายๆท่านคงจะอธิบายได้ (ฝากด้วยแล้วกัน..ขอบคุณล่วงหน้าครับ)

ความ ดัน(โลหิต)สูง ก็คือ ค่าความดันที่ทางการแพทย์ถือว่าสูงเกินไป ซึ่งเมื่อสูงเกินค่าหนึ่งเป็นเวลานานๆก็จะทำให้อายุสั้นลงจากการเป็นโรคหัว ใจโรคไตโรคหลอดเลือดสมอง (ถ้าอยากรู้ที่มา ลองถามหมอที่คุณรู้จักถึง Framingham studyสิครับ) อาจารย์แพทย์บางท่านไม่ใช้คำว่า โรคความดันสูง แต่ใช้คำว่า ภาวะความดันสูงเนื่องจากโดยปกติภาวะความดันสูงมักไม่ก่ออันตรายทันที (ยกเว้นสูงมากๆหรือมีโรคอื่นอยู่ก่อน)

- ความดันต่ำล่ะ
ในทางกลับกัน ความดันที่ต่ำกว่าปกติสามารถก่อผลเสียอย่างทันทีได้มากมาย เนื่องจากอวัยวะสำคัญหลายชนิดต้องการเลือดและความดันเลือดในระดับหนึ่งจึง จะทำหน้าที่ได้ดี เมื่อความดันต่ำลงมาก อวัยวะต่างๆก็จะเริ่มหยุดทำงานที่สำคัญๆได้แก่ ไต ตับ หัวใจ สมอง โดยเฉพาะสมองที่จะก่อให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติ และในที่สุดอาจจะเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้แก้ไขสาเหตุของความดันต่ำ อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่าShock

สาเหตุที่พบแบ่งตามลักษณะการเกิดและการรักษาได้แก่
Hypovolumic shock ช๊อคความดันต่ำจากการเสียเลือดหรือเสียน้ำจากร่างกายมากๆ พบในอุบัติเหตุ หรือการติดเชื้อบางอย่าง(ท้องร่วง)
Distributive shock เกิดช๊อคความดันต่ำจากการที่เส้นเลือดทั่วร่างกายขยายตัว จนปริมาณเลือดในร่างกายดูเหมือนมีน้อยลง(เมื่อเทียบกับพื้นที่ๆเพิ่มขึ้น) พบในการแพ้อาหารยาแมลง การกระทบกระเทือนทางระบบประสาทอย่างรุนแรง และการติดเชื้อในกระแสโลหิต
Cardiogenic shock ความดันต่ำช๊อคจากการที่หัวใจทำงานแย่ลง พอตัวปั๊มเลือดทำงานแย่ ความดันเลือดก็ลดลง พวกนี้เจอในโรคหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายทั้งหลาย
สามตัวนี้ ถ้าปล่อยไว้ ตาย... (บางทีรักษาไม่ไหวก็ตาย)
Symptomatic hypotension อื่นๆ ได้แก่โรคหรือภาวะใดๆที่ทำให้ร่างกายเกิดความดันต่ำขึ้นชั่วขณะ มีหลายๆตัว อันตรายบ้างไม่อันตรายบ้าง แต่อาการที่ตรงกันก็คือจะมีอาการหน้ามืด เป็นลม เหงื่อแตก ใจเต้นเร็ว หมดสติหรือเกือบหมดสติ
ดังนั้น ถ้ามีความดันต่ำเกิดขึ้นจริง อย่างน้อยๆก็ควรจะหน้ามืด หัวใจเต้นเร็ว หรือหมดสติครับ

-ความดันต่ำแบบไทยๆ
จากที่ได้บอกมาแล้วว่าอาการความดันต่ำทางการแพทย์เป็นอย่างไร คราวนี้มาดูความดันต่ำแบบไทยๆบ้าง
ความดันต่ำทางการแพทย์ เมื่อเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็จะมีอาการเริ่มที่วิงเวียน ตาลาย หน้ามืด เป็นลม ใจเต้นเร็ว
มอง แบบไทยๆ อาการวิงเวียน ตาลาย หน้ามืด ก็แปลว่าเป็นความดันต่ำ(ชัวร์) ... ตรรกเดียวกับ เสือมีสี่ขา สัตว์สี่ขาก็คือเสือ แม้ว่าจะร้องเมี้ยวๆกินปลาทูหูชี้วิ่งหนีหมาก็ตามที
ถ้าหากจะเอาให้ครบ ถ้วน กินไม่ได้นอนไม่หลับกระสับกระส่ายตาลายคล้ายจะเป็นลมขมในปากอยากอาเจียน เวียนหัวปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ ล้วนเป็นความดันต่ำได้ทั้งนั้นถ้าคนตรวจชวนเชื่อได้ดีพอ

-ที่มาและเส้นทางสู่การเป็นความดันต่ำ
มี คนไทยจำนวนไม่น้อยที่คิดหรือถูกบอกกล่าวว่าตนเองเป็นความดันต่ำ บางคนมารักษาที่รพ.หลังจากรักษากับหมอตามบ้านมาหลายปีซึ่งเมื่อเอายามาดูก็ ดูไม่ออกว่าเป็นยาอะไร บางคนตรวจแล้วก็ไม่พบว่าผิดปกติอะไร บางคนตรวจแล้วก็หาโรคเจอว่าเป็นโรคอื่นที่รักษาแล้วอาการดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นเหตุที่ทำให้เกิดการวินิจฉัยว่าเป็นความดันต่ำมีได้หลาย สาเหตุ
1. วัดความดันผิด ไม่ว่าเครื่องมือ ฝีมือ หรือวิธีการวัดความดัน ถ้าผิดจากปกติก็สามารถได้ค่าความดันผิดปกติได้
2. ความดันต่ำจริง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ (งี้ชั้นก็แก่แล้วดิ - -") เนื่องจากร่างกายไม่ใหญ่โต ไม่ต้องการแรงดันเลือดมาก ความดันเลือดก็เลยต่ำ... แต่ต่ำโดยที่ไม่มีอาการอะไร เดินไปเดินมาใช้ชีวิตได้ปกติ ดังนั้นก็ไม่จำเป็นต้องรักษาอะไร
3. เป็นโรคที่มีอาการเวียนหัวใจสั่นหน้ามืดใจไม่ดี หรืออาการอื่นๆ พี่แกเล่นบอกว่าเป็นความดันต่ำหมดทุกคน

การ รักษาของคนกลุ่มนี้ มักจะให้ยากินพวกยาวิตามินยานอนหลับยาสเตียรอยด์ หรือบางคนก็ให้ยาแก้หอบยาแก้หวัด(ซึ่งผลข้างเคียงคือความดันขึ้น) ยาฉีดก็มักจะมียานอนหลับวิตามินน้ำเกลือน้ำเปล่าหรือแม้กระทั่งการบูร (ตัวนี้ไม่คิดว่าจะได้เห็นแล้ว แต่ก็ยังเห็นญาติคนไข้ถือมาให้ดู)

ในคน ที่ร่างกายไม่ได้ผิดปกติ พอได้ยาเหล่านี้ไปกลับบ้านไปพักผ่อนนอนหลับก็ดีขึ้น ส่วนคนที่อาการดังกล่าวเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ พอเจอยาบางอย่างเข้าไปก็ยิ่งซ้ำเติมให้อาการหนักไปอีก

ดังนั้นข้อดี ของการรักษาแบบนี้คือหลายคนสบายใจ เพราะไปแล้วเจอโรคเจอการรักษา แต่ข้อเสียคือเสียเงินเสียทอง ถ้าโชคร้ายหนักๆอาจจะเสียชีวิต


-ถ้าโดนบอกว่าเป็นความดันต่ำ จะทำอย่างไร
เนื่อง จากผมเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้นก็อยากจะบอกว่าถ้าโดนทักแบบนี้ ก็ควรมาตรวจที่รพ. โดยบอกถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึกว่าร่างกายไม่ปกติ... ทำไมต้องไปหาหมอคนนั้น(ไม่ค่อยอยากจะเรียกว่าหมอเท่าไหร่นัก) และมีอาการอะไร

ที่ต้องทำอย่างนี้ เพราะว่าอาการเวียนหัวใจสั่นหน้ามืด ซึ่งเป็นอาการที่มักถูกเหมาว่าเป็นความดันต่ำนี้ ต้องไปแยกจากกลุ่มโรค หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด กลุ่มโรคเส้นเลือดสมอง ความดันสูง โลหิตจาง ฯลฯ ซึ่งหากมัวแต่ไปกินยาความดันต่ำของหมอชาวบ้าน ก็จะทำให้เสียโอกาสในการรักษาและมีผลเสียตามมาอย่างมากมาย
ถ้าเป็นโรคอื่นๆทั่วไป ที่สามารถรักษาได้ ก็จะได้รักษาได้
หรือถ้าหมอหาไม่เจอ ก็จะได้สบายใจหรือหาการรักษาอื่นๆต่อไป

-หมอตรวจไม่เจออะไรเลย จะเป็นโรคนี้หรือเปล่า
ก็ ต้องบอกไว้ว่าใช่ว่าทุกคนที่มาตรวจที่รพ.ด้วย"โรคความดันต่ำ"จะเจอว่าเป็น โรค บางคนอาจจะเจอ ในขณะที่บางคนอาจจะตรวจไม่เจออะไรเลยไม่ว่าจะตรวจร่างกายหรือเจาะเลือดx- rayไปแล้ว

มีอยู่คนนึง (ซึ่งตั้งแต่ทำงานเป็นหมอมาก็มีคนนี้นี่แหละคนเดียวที่ถาม) ถามผมว่าจะเป็นโรคCFSหรือเปล่า ซึ่งรายนี้ง่ายที่จะบอกว่าไม่ใช่ เพราะตรวจเจอโรคจริงๆหลายโรค
เจ้าโรคCFSที่ว่ามีชื่อเต็มว่าChronic fatigue syndrome ในระบบการแพทย์ไทยสมัยก่อนไม่เคยมีสอน จนกระทั่งผมเรียนจบก็ยังไม่มีสอน ได้แต่อ่านเจอเอาในหนังสือหรืออินเตอร์เนท โดยสาระสำคัญคือมีน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการอ่อนเพลียเบื่อหน่ายใจสั่นโดย ที่ตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ฯลฯ

ขอเน้นว่าโรคนี้ไม่ควรที่จะไปตรวจเจอความผิดปกติอื่นที่อธิบายอาการผิดปกติได้
ดัง นั้นหากบังเอิญไปอ่านเจอมาว่าอาการที่คุณเป็น ไปเหมือนกับโรคCFSหรือโรคอื่นใดก็ตาม คุณก็ยังควรมาตรวจอยู่ดีว่าตกลงเป็นโรคนี้หรือเป็นโรคอื่น

เพราะอย่าง ไรเสียก็ตาม เจ้าโรค CFS นี้ การรักษาหรือลดอาการให้ดีขึ้นก็คือการ ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์และแป้งขาวข้าวขาวทั้งหลาย เปลี่ยนไปกินปลาและข้าวกล้องธัญพืช ผักผลไม้ รวมทั้งการแบ่งเวลาออกกำลังและผ่อนคลายจิตใจ
ไม่ต้องใช้ยาครับ และพ่วงท้ายสามารถป้องกันโรคเบาหวานความดันไขมันหัวใจได้อีกด้วย

จาก... หมอแมว

            Link    https://sesai.exteen.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด