ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่


7,521 ผู้ชม


ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

                 ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน

โรคความดันโลหิตต่ำ


ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่
ความดันเลือดตํ่า
สำหรับ คนทั่วไป หากมีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ วิงเวียน เวลาลุกนั่งเกิดอาการโคลงเคลง ควบคุมตัวเองไม่ได้ มึนศีรษะ เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง อ่อนเพลีย ใจเต้น ใจหวิว ใจสั่น ฯลฯ ก็มักจะกล่าวถึงอาการรวม ๆ เหล่านี้ว่า "เป็นความดันเลือดต่ำ" อาการของความดันเลือดต่ำ
ความดันเลือดต่ำ โดยคำจำกัดความ คือความดันเลือดที่ต่ำกว่า 90/60 มม.ปรอท ส่วนอาการที่จะเกิดขึ้นนั้นกว้างมาก เป็นอาการดังข้างต้นที่กล่าวมา หรือไม่มีอาการเลยก็ได้
แท้ที่จริงแล้ว อาการของความดันเลือดต่ำยังมีอีกหลายอาการที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นอาการเพิ่มเติมจากที่กล่าวมาข้างต้น ได้แก่ หายใจไม่อิ่ม ใจสั่น ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อต้นคอเกร็ง ปวดต้นคอ ไอมีเสมหะ ทองเสียเรื้อรัง อาเจียน กลืนลำบาก ปัสสาวะขัด ปัสสาวะมีกลิ่นแรง หลงลืม ไม่รู้สติ อ่อนเพลียมาก ตาพร่ามัว กระทั่งเป็นลมหมดสติ
จึงกล่าวได้ ว่า อาการความดันเลือดต่ำ น่าจะเป็นอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวโดยทั่วไป หากใครสงสัยว่าความดันเลือดจะต่ำ ก็เพียงแต่ไปวัดความดันเลือดเสียก็จะรู้แน่ชัดว่าใช่หรือไม่
สาเหตุของความดันเลือดต่ำ
ความดันเลือดต่ำมีหลายสาเหตุคือ
1. เลือดน้อย หรือปริมาณน้ำเลือดมีน้อย ซึ่งอาจจะเกิดจากเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก กรดโฟลิค หรือจากการเสียเลือดปริมาณมากเช่น มีประจำเดือนมากเกินไป อาจจะเกิดจากเพราะกินน้ำน้อย เหงื่อออกมาก ท้องเสียหรืออาเจียนแล้วเสียน้ำมาก บางครั้งการอดอาหารก็ทำให้ความดันเลือดต่ำลงจากการกินที่น้อยเกินไป รวมทั้งการใช้ยาขับปัสสาวะที่มากเกินไป สองกรณีหลังนี้มักจะพบในสาว ๆ ท ำลังกินยาลดน้ำหนัก
2. ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน มีฮอร์โมนในร่างกายหลายตัวที่ เป็นสาเหตุทำให้ความดันเลือดลดต่ำลงเพราะ เมื่อฮอร์โมนบางชนิดไม่อยู่ในสมดุล จะทำให้หลอดเลือดขยายตัวกว่าเดิม ซึ่งทำให้ความดันเลือดลดลงจากปกติ เช่นกลุ่มฮอร์โมนเพศ ซึ่งทำให้ผู้หญิงในวัยทองบางครั้งก็เกิดอาการความดันเลือดต่ำ บางคนในระยะมีประจำเดือนความดันเลือดก็จะลดลง
3. ประสาทอัตโนมัติไม่อยู่ในสมดุล ระบบประสาทอัตโนมัติ คือซิมพาเตติกและพาราซิมพาเตติกจะเป็นตัวควบคุมความดันเลือด พาราซิมพาเตติกจะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ส่วนพาราซิมพาเตติกจะทำให้ หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ความดันเลือดลดลง โดยทั่วไปทั้งสองส่วนของระบบประสาทจะอยู่ในสมดุล เราจึงมีอาการเป็นปกติ แต่เมื่อใดที่เราเกิดอาการ เครียดจัด ไม่สบายเรื้อรัง ประสาทอัตโนมัตินี้ทำงานผิดเพี้ยนไป ก็จะทำให้ความดันเลือดต่ำได้
4. เครียดจัด นอนไม่หลับ หรือมีอารมณ์แปรปรวน เหล่านี้ทำให้ความดันเลือดลดต่ำลงได้ทั้งสิ้น
5. เกิดจากผลข้างเคียงของยา มียาหลายตัวที่ทำให้ความดันเลือดลดลง โดยเฉพาะกลุ่มยาลดความดันเลือดสูงนั่นแหละ ทำไปทำมา หากหมอให้ยามากเกินไปก็จะทำให้ความดันเลือดลดต่ำลงมากเกินไปด้วย
6.โรค หัวใจ คนที่มีหัวใจโต คนที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คนที่เคยมีอาการหัวใจวาย ก็อาจจะมีความดันเลือดต่ำได้ด้วย เพราะหัวใจไม่มีแรงบีบเลือดส่งไปเลี้ยงร่างกายได้เท่ากับคนปกติ ความดันเลือดจึงลดต่ำ
7. ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาเคมี หัวใจและระบบไหลเวียนของเลือดจะอ่อนระโหยโรยแรงไปหมด ก็มีความดันเลือดที่ต่ำกว่าปกติ
การรักษาความดันเลือดต่ำ
การ รักษาความดันเลือดต่ำต้องรักษาตามต้นเหตุ เช่นเลือดน้อยก็ต้องกินยาบำรุงเลือด กินธาตุเหล็ก กรดโฟลิค ท้องเสียก็อาจจะต้องดื่มน้ำเกลือแร่ ประจำเดือนมากก็ต้องไปหา หมอสูตินรีเวชหาสาเหตุแล้วรักษาอาการประจำเดือนมามากเสียก่อน หากอดอาหารแล้วความดันเลือดต่ำก็ต้องไปพิจารณาว่า วิธีการอดอาหารของคุณนั้นมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้หรือไม่

หาก ใครที่มีความดันเลือดสูงอยู่เดิม แล้วกลับมีอาการไม่สบายที่กล่าวมาข้างต้น หรือวัดความดันเลือดแล้วต่ำมาก ให้คิดไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นเพราะยาลดความดันเลือดที่มากเกินไป ให้กลับไปหาหมอคนที่รักษาโดยเร็วเพื่อปรับยาเสียใหม่ ก่อนที่จะเกิดอาการร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา
หากเป็นเพราะระบบประสาท อัตโนมัติไม่สมดุล คุณจะต้องหาทางคลายเครียดด้วยการลดการทำงานที่เครียดลง หากนอนไม่หลับก็ต้องหาทางแก้ไข และขอเน้นว่าต้องเป็นวิธีการทางธรรมชาติเท่านั้นจึงจะได้ผล ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฝึกชี่กง โยคะ นวดคลายเครียด แช่น้ำอุ่น อบสมุนไพร อบซาวน่า ใช้เสียงเพลง ใช้น้ำมันหอมระเหย ทำงานอดิเรก ฯลฯ จึงจะแก้ไขความดันเลือดต่ำได้
สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจและมีความดัน เลือดต่ำ ควรใช้อาหารเสริม CoQ10 (100 mg) ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1-2 ครั้งแล้วแต่อาการ โดยกินรวมไปกับยาที่ใช้อยู่
วิธีแก้ไขความดันเลือดต่ำแบบไทย ๆ
สำหรับ ภูมิปัญญาไทย เรามีวิธีแก้อาการสารพัดที่อาจจะเกิดจากความดันเลือดต่ำง่าย ๆ โดยการใช้ยาหอม ยาหอมของไทยทุกรูปแบบจะมีส่วนประกอบสำคัญ คือ เกสร 5 หรือมีเกสรดอกไม้หอม 5 ชนิดได้แก่ พิกุล บุนนาค มะลิ สารภี และบัวหลวง ทั้งหมดนี้มีผลในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด บำรุงหัวใจ คลายกังวล ซึ่งสามารถแก้สาเหตุของความดันเลือดต่ำทั้งหมดได้เป็นอย่างดี
สำหรับ ยาหอมที่ออกฤทธิ์เร็วคือยาหอมภูลประสิทธิ์ ของมรว.สะอาด ทินกร ให้ใช้ครั้งละ ?-1 หลอด มากน้อยแล้วแต่อาการ จะใช้เฉพาะเวลามีอาการก็ได้ หรือจะกินทุกวันก็ได้
สำหรับยาหอม ไม่ว่ายาหอมอะไร หากต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็วให้เทยาหอมใส่ปากเลย อย่าใช้วิธีละลายน้ำ อมยาหอมไว้เช่นนั้นสักครู่ แล้วค่อยดื่มน้ำตาม ตัวยาจะออกฤทธิ์ในทันที สามารถแก้ปัญหาฉุกเฉินได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าสาเหตุของความดันเลือดต่ำจะเป็นอะไร
การกินยาหอมโดยเอายาหอม ละลายน้ำ จะทำให้ตัวยาออกฤทธิ์รักษาอาการความดันเลือดต่ำช้ากว่า เช่น 5-10 นาทีหลังจากกินยาลงไป (แต่ถ้าเกิดอาการไม่สบาย เช่นหน้ามืด ตาลาย ใจหวิว เพราะมีลมในท้องมาก การละลายยาหอมดื่มก็น่าจะดีกว่า)
จึงแนะนำว่าหาก ใครมีอาการดังข้างต้นที่กล่าวมา ควรพกยาหอมติดตัวไว้เพื่อความมั่นใจ เมื่อทำท่าว่าอาการจะไม่ค่อยดี ก็เอายาใส่ปากอมได้เลย ไม่ต้องพะวักพะวนเรียกหาน้ำอุ่น ฯลฯ
แต่ถ้าจะแก้ปัญหาความดันเลือดต่ำอย่างยั่งยืน ก็ต้องแก้ที่สาเหตุดังได้กล่าวมาแล้ว

Link    https://www.bloggang.com/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                  ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์

ความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มี อาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆอ่านที่นี่

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

ส่วนใหญ่ของคนที่เป็นความดันโลหิตสูงจะไม่ทราบสาเหตุเรียก Primary hypertension สาเหตุอาจจะเกิดจากโรคไต โรคต่อมหมวกไต จากยา อ่านที่นี่

การวัดความดันโลหิต
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องต้องไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มกาแฟก่อนการวัดความดันโลหิตประมาณครึ่งชั่วโมงอ่านที่นี่

การป้องกันความดันโลหิตสูง
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

สำหรับคนที่เป็นความดันโลหิตสูงแล้วหรือเริ่มจะสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้อ่านที่นี่

ทำไมต้องรักาษาโรคความดันโลหิตสูง
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

ผู้ที่ความดันโลหิตสูงไม่มากหรือความดันค่อยๆสูงมักจะไม่มีอาการ แต่หากไม่รักษาจะก่อให้เกิดผลเสียต่อหัวใจ ไต สมองอ่านที่นี่

โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

ดรคความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้หลายระบบ ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต เท้า ตาอ่านที่นี่

การรักษา
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

การรักษาแบ่งได้เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา อ่านที่นี่

ความดันโลหิตและสุภาพสตรี
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

สตรีจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงหากรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์หรือวัยทอง อ่านที่นี่

 

 

ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด

เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง

  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงในเด็ก

เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูงการค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรกจะ สามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

                Link    https://www.siamhealth.net/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



              ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่

ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่  
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่
 

สำรวจ ยา ต้องเลี่ยง ช่วงแม่ท้อง

ก่อนที่เวลาจะเดินหน้าไปถึงจุดหมายปลายทาง ของการคลอด เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย ย่อมต้องผ่านการคิดแล้วคิดอีกของคุณแม่ โดยเฉพาะเรื่องยา ปกติคุณหมอไม่แนะนำให้กินยาโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นระยะที่มีการสร้าง และพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยาบางชนิดอาจไปขัดขวางจนส่งผลร้ายต่อลูกอย่างคาดไม่ถึง อยากรู้ใช่ไหมว่ายาใดบ้างที่ต้องระวังให้ดี เรามีบัญชียาสารพันชนิดที่ส่งผลกับชีวิตลูกมาฝากค่ะ

ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่


สำรวจชนิดยา ค้นหาความเสี่ยงภัย
ยารักษาความดันโลหิต
Nifedipine : ใช้กรณีที่อาการรุนแรงแล้วใช้ยาอื่นไม่ได้ผล ยาอาจยับยั้งการคลอดได้ ควรหลีกเลี่ยงระยะใกล้คลอด
Enalapril : ไตรมาส 2 – 3 ยาอาจทำให้ทารกผิดปกติ มีความดันโลหิตต่ำ รุนแรง ไตทำงานบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยง
Atenolol : ถ้าใช้ในไตรมาสแรกทารกอาจมีภาวะรูท่อปัสสาวะเปิดใต้องคชาติ ถ้าใช้ในไตรมาส 2-3 อาจทำให้น้ำหนักตัวทารกน้อย
Amlodipine : ยังไม่มีข้อสรุปควมปลอดภัย แต่ก็ไม่ควรใช้ในขณะตั้งครรภ์
Propranolol : การใช้ในไตรมาสที่ 2-3 ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ควรหลีกเลี่ยง
Verapamil : หากจำเป็นให้ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ในระยะใกล้คลอด เพราะยาอาจมีผลคลายกล้ามเนื้อมดลูกได้
ยาขับปัสสาวะและลดความดัน
Acetazolamide ยาโรคหัวใจในกลุ่มขับปัสสาวะ : ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในไตรมาสแรก
Furosemide : อาจทำให้รูท่อปัสสาวะทารกเปิดใต้องคชาติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก
Spironolactone : ควรหลีกเลี่ยง ยกเว้นผู้ที่มีโรคหัวใจร่วมด้วย
Hydrohlorothiazide (HCTZ) : แม่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน มีความดันโลหิตต่ำ ทำให้ทารกเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดช้า ควรหลีกเลี่ยง
Amiloride +HCTZ (Moduretic) : ถ้าใช้ในไตรมาสแรกจะเสี่ยง ทารกอาจเสียชีวิตจากการที่แม่มีความดันโลหิตต่ำ ถ้าใช้ระยะใกล้คลอด อาจทำให้มดลูกไม่บีบตัว ทำให้คลอดช้า ไม่ควรใช้
ยาฆ่าเชื้อ
Chloramphenicol : แม่ที่ได้รับในระยะท้ายอาจทำให้ลูกเกิดภาวะขาดออกซิเจน ควรระวังการใช้ในขนาดสูง
Clarithromycin : งดใช้ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ยาอื่นรักษาเชื้อแบคทีเรียแทน ควรหลีกเลี่ยงในระยะตั้งครรภ์ครึ่งแรก
Ciprofloxacin : อาจทำให้ข้อต่อกระดูกทารกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก ใช้ยาอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน
Erythromycin : ฮอร์โมนในปัสสาวะแม่อาจลดลง ลูกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อาจแท้ง ระวังการใช้ไตรมาสแรก
Fluconazole : ไม่ใช้ต่อเนื่องในไรมาสแรก อาจทำให้ทารกผิดปกติ แม้ใช้น้อยแล้วเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็ควรระวัง
Norfloxacin และ Ofloxacin : งดใช้ในไตรมาสแรก หรือใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มอื่นที่ปลอดภัยกว่า
Tetracycline : งดใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป เพราะกระดูกและฟันที่กำลังสร้างตัวจะผิดปกติ ฟันเปลี่ยนสี ทารกพิการแต่กำเนิด และเป็นพิษต่อตับแม่
Metronidazole : งดใช้ยารักษาโรคติดเชื้อของแม่เพราะอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด อาจทำให้แท้งในไตรมาสแรก
Indomethacin : งดใช้ยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบติดต่อกันนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติ คลอดช้า
ความดันต่ำ ส่งผลประจำเดือน ความดันต่ำ ความดันสูง ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์มีความดันต่ำเป็นอันตรายหรือไม่
ยาลดไข้
Aspirin : ไม่ควรใช้ขนาดสูงต่อกันนาน เพราะระบบเลือดแม่ลูกอาจผิดปกติได้ งดใช้ไตรมาส 3 เมื่อใกล้คลอด เพราะจะยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของลูกในครรภ์ แม่ลูกเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เลือดไหลไม่หยุดและคลอดช้า
Oseltamivir (Tamiflu) : ให้ใช้ยารักษาไข้หวัดใหญ่ชนิด A นี้ได้ ถ้าพิจารณาแล้วไม่ทำให้แม่และลูกเกิดความเสี่ยง
รู้ทันยา : ยาแก้ไข้หวัดมักประกอบด้วยยาลดไข้พาราเซตามอล ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก โดยทั่วไปไม่มีอันตราย ถ้าใช้นานควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยาชุดตามร้านขายยา เพราะอาจมียาแก้แพ้อักเสบบางอย่าง และสเตียรอยด์ปนมาด้วย
ยาแก้ปวด ลดอักเสบ
Diclofenac : ไม่ควรใช้ไตรมาสสุดท้าย ระยะใกล้คลอด เพราะจะทำให้คลอดช้า ไตทารกทำงานบกพร่อง
Tramadol : แม้ตัวยาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ก็ไม่ควรใช้ในช่วงตั้งครรภ์ต้นๆ
Morphine sulfate : ใช้ในไตรมาส 1 และ 2 ได้บ้างแต่ห้ามใช้ติดต่อกันนาน หรือใช้ในไตรมาสสุดท้าย ถ้าใช้ต่อเนื่องกันนาน ใช้ขนาดสูงใกล้คลอด จะทำให้กดการหายใจของทารกได้
Hyoscine-N-butylbromide : ใช้ลดการปวดเกร็งท้องให้แม่ได้ แต่งดเมื่อใกล้คลอด เพราะทำให้ลูกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
Mefenamic acid : ห้ามใช้ในไตรมาส 3 โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด
Iduprofen : ใช้ในไตรมาส 1-2 ได้ แต่ห้ามใช้ในไตรมาส 3 ระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้คลอดช้า
Colchicine : งดใช้ยารักษาข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ ส่วนผู้ชายอาจทำให้จำนวนอสุจิลดลง บางรายงานชี้ว่ายาอาจมีผลให้อสุจิกลายพันธุ์ ทำให้เกิดความผิดปกติในทารก เช่น เกิด Down’s syndrome ได้
Methotrexate : งดใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบหรือสะเก็ดเงิน เพราะจะกดการทำงานของไขกระดูกทารก เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ถ้ายาตกค้างอยู่ในร่างกายนาน ทำให้ทารกผิดปกติได้ แม้จะหยุดใช้หลายปีก็ตาม
รู้ทันยา : ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่ใช้กันบ่อย แม้เจ็บคอเพียงเล็กน้อย หรือเป็นหวัดก็อาจซื้อมากินแล้ว ที่จริงไข้หวัดมักเกิดจากเชื้อไวรัส การใช้ยามักไม่ได้ผล นอกจากเสียเงินยังอาจทำให้ดื้อยา จึงไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ ผู้หญิงทั้งที่ท้องหรือไม่ท้อง ถ้าใช้ยานี้บ่อยจะทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา โดยมีอาการตกขาวและคันในช่องคลอดมากอีกด้วย
ยาแก้ไอ
Bromhexine : ยังมีข้อมูลจำกัด ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในไตรมาสแรก
Diazepam : ถ้าใช้ในไตรมาสที่ 1 ทารกอาจปากแหว่ง เพดานโหว่ ไตรมาส 2 ระบบเลือดและหัวใจอาจผิดปกติ ถ้าใช้ต่อเนื่องนาน ใช้ขนาดสูงช่วงใกล้คลอด อาจทำให้กล้ามเนื้อทารกอ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม เกร็ง สั่น ท้องเสีย
Actifed : ควรงดใช้ไตรมาสแรก มีรายงานว่ายาแก้แพ้อากาศนี้ อาจทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และแท้งได้
ยาแก้ไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีน : ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมอง
รู้ทันยา : อาการไออาจมีสาเหตุจากการกินยาบางอย่างหรือเป็นอาการเรื้อรังของโรคทางเดิน หายใจ ยาจิบแก้ไอ หรือระงับอาการไอที่ดีที่สุด คือ น้ำอุ่น การใช้ยาอม เช่น ยาอมมะแว้ง สามารถลดอาการไอได้ แต่สตรีมีครรภ์หรือเด็กเล็กก็ไม่ควรใช้ยานี้จิบแก้ไอ
ยาฆ่าเชื้อรา
Ketoconazole : ใช้ได้ถ้าจำเป็น โดยเฉพาะแม่ที่ติดเชื้อเอช ไอ วี เพื่อป้องกัน รักษาการติดเชื้อราในช่องคลอด
Itraconazole : ควรงดใช้ เพราะอาจมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
Griseofulvin : งดใช้ ถ้าใช้ในไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกผิดปกติมากกว่าไตรมาส 2-3 เช่น หัวใจผิดปกติ ถ้าเป็นแฝดอาจแยกตัวได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าใช้ภายใน 20 วันแรกหลังไข่ตก
ยาลดกรด
Allopurinol : ใช้ได้ถ้าไม่มีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่า หรือโรคที่เป็นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตแม่และลูกในครรภ์
Antacid : ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
Magnesium hydroxide : ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
Omeprzole : งดใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ครึ่งแรก เพราะเคยพบว่าเสี่ยงต่อทารก
รู้ทันยา : ยาลดกรดที่มีส่วนผสมแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง
ยาขยายหลอดเลือด
Cinnarizine : งดใช้ถ้าไม่จำเป็น ไม่ใช้ยาต้านฮิสตามีนนี้ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาได้
Salbutamol : อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แม่มีความดันโลหิตต่ำรุนแรง เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทั้งแม่และลูกในครรภ์ ลูกอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เฝ้าระวังใกล้ชิด
Theophylline ยาขยายหลอดลม : การใช้ในไตรมาสสุดท้ายระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว
ยารักษาเบาหวาน
Glibenclamide และ Glipizide : ทารกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถ้าแม่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่คงที่ ควรงดใช้ชนิดกินหันไปใช้ Insulin แทนจนกว่าจะคลอด
Metformin : ไม่พบว่ายาทำให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อทารกในครรภ์ แต่เนื่องจากยาอาจให้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในแม่ได้ไม่ดีนัก ไม่ควรใช้ ใช้ Insulin จะปลอดภัยกว่า
รู้ทันยา : ยา รักษาเบาหวานถ้าเป็นชนิดฉีดอินซูลินใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดกินอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ และเคยมีรายงานว่ายากลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการได้
ยารักษาอาการชัก
Phenobarbital : ถ้าใช้ในไตรมาส 1 และ 3 อาจทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เลือดไหลไม่หยุด หากจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุดเพื่อควบคุมการชักของแม่
Phenytoin : ควรงดใช้เพราะยาอาจทำให้กะโหลกศีรษะใบหน้าทารกผิดปกติ นิ้ว เล็บมือไม่สมบูรณ์ ปากแหว่ง เพดานโหว่ หัวใจผิดปกติ แต่ถาขาดยาแล้วชัก แม่ลูกอาจเป็นอันตรายก็ได้ ใช้ได้แต่ต้องระวังให้ดี
Carbamazepine : งด ใช้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะไตรมาสแรก ควรให้โฟเลทเสริม หากใช้ในไตรมาสสุดท้าย ควรให้วิตามินเค หรือติดตามภาวะเลือดออกในทารกด้วย
รู้ทันยา : ส่วนใหญ่ยากันชักมักทำให้ทารกเกิดความพิการ มีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิดอาจทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า
ยารักษาโรคผิวหนัง
Dapsone : ต้อง ระวังการใช้ยานี้รักษาโรคเรื้อน โรคทางผิวหนัง มาลาเรีย และนิวโมเนียจากการติดเชื้อ เพราะอาจทำให้ระบบเลือดผิดปกติ ต้องติดตามใกล้ชิดระหว่างใช้ยา
Clofazimine : อาจมีผลให้ทารกและน้ำคร่ำมีสีเขียว ซึ่งก็หายเป็นปกติได้ แต่อาจใช้เวลานาน ถ้าจำเป็นให้ใช้ยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แต่ก็ไม่ควรใช้ในไตรมาสแรก
ยาเบ็ดเตล็ด
Chlorpheniramine ยาแก้แพ้ : เด็กที่เกิดมาผิดปกติ เช่น มีนิ้วเกิน หูและตาผิดปกติพบว่าแม่เคยใช้ในไตรมาสแรก ถ้าใช้ชั่วคราวไม่ส่งผลมากนัก ถ้าใช้ติดต่อกันนานทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจมีเลือดไหลผิดปกติ
Ergotamine + Caffeine : ทำให้มดลูกหดตัว แท้ง คลอดก่อนกำหนด ถ้าใช้บ่อยขนาดสูง จะขัดขวางการไหลเวียนเลือดสู่ทารก งดใช้ยาแก้ปวดศีษระกลุ่มที่มีเออโกตามีนเพราะทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งคลอดก่อนกำหนดได้
Digoxin ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว : ควรระวังขนาดที่ใช้ หากใช้เกินขนาดจะทำให้ทารกที่เกิดมาเสียชีวิตได้
Dimenhydrinate ยาแก้คลื่นไส้ วิงเวียน เมารถ : ใช้ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงแบบฉีด เพราะยาทำให้มดลูกบีบตัวมาก หลีกเลี่ยงการใช้ยาในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนคลอดด้วย
Doxycycline ยารักษาสิว : หลีกเลี่ยงโดยเฉพาะตั้งครรภ์ครึ่งหลัง ซึ่งมีการสร้างกระดูกและฟันของตัวอ่อน ควรติดตามดูผลการทำงานของตับในแม่ที่จำเป็นต้องได้รับยาด้วย
Gemfibrozil ยาลดไขมันในเลือด : ทำให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะไตรมาสแรก
Lorazepam ยานอนหลับ : ยาผ่านรกทำให้ทารกผิดปกติแต่กำเนิดได้ ถ้าใช้ตามแพทย์สั่งไม่เป็นไร แต่ไม่ควรซื้อใช้เอง ถ้าใช้สูงจนติด ลูกที่เกิดจะหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้าคล้ายคนิดยา ชักกระตุก ทำให้ลูกมีเลือดออกผิดปกติ
Misoprostol ยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ : อาจทำให้แท้ง หากไม่แท้งก็ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด
Pyridostigmine bromide (Mestinon) ยารักษาโรคกล้ามเนื้อ : ยาผ่านรกไม่ได้ หรือผ่านได้น้อยมาก ไม่พบว่าทำให้ทารกผิดปกติ จึงให้ใช้ได้ แต่ระวังการใช้รูปแบบฉีดระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด
Bisacodyl ยาระบาย : ควรเลือกใช้สารที่ออกฤทธิ์ให้อุจจาระเป็นก้อนนิ่ม (เช่น เมล็ดแมงลัก) หรือยาที่มีฤทธิ์เพิ่มแรงตึงผิว (เช่น ยาระบายแมกนีเซีย) ก่อน จะปลอดภัยกว่า
Proctosedyl ยาเหน็บริดสีดวง : ใช้ได้แต่ก็ไม่ควรมาก และไม่ใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน

        Link   https://women.sanook.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด