โรคหน้าฝนในเด็ก โรคหน้าฝน 2012 โรคเกี่ยวกับหน้าฝน


880 ผู้ชม


โรคหน้าฝนในเด็ก โรคหน้าฝน 2012 โรคเกี่ยวกับหน้าฝน

                โรคหน้าฝนในเด็ก

โรคในเด็ก ที่มากับฝน

อันตรายต้องระวัง

          ฤดู ฝนแต่ละปี จะพบเด็กไม่สบายบ่อย เพราะอากาศเริ่มเย็น และชื้นมากขึ้น แถมยังมีเชื้อไวรัสอีกมากมายที่ทำให้เด็กๆ ไม่สบายได้ โรคเด็กที่พบบ่อยในฤดูฝนคือ โรคติดเชื้อเฉียบพลันในทางเดินหายใจ โรคที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ ถ้ามีน้ำท่วมขัง ก็จะมีโรคเท้าเปื่อยด้วย

          โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ แบ่งได้เป็น

          - โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ

          - โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ โรคทางเดินหายใจอุดตันกะทันหันจากกล่องเสียงอักเสบ (CROUP) และโรคหอบหืด

          อาการ ส่วนใหญ่ จะมีน้ำมูกไหล คันตา จาม ไอ และอาจจะมีเจ็บคอ ไข้ ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นใน 5-7 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ (เจ็บหู) หรือไซนัสอักเสบ (ปวดศีรษะ) หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น อาจจะสังเกตได้จากน้ำมูกที่เปลี่ยนสีจากใสๆ เป็นเขียวๆ เหลืองๆ ไอมากขึ้น ไข้สูงนานกว่า 3 วัน หรือหายใจลำบาก ควรจะพาไปพบกุมารแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

          บาง รายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่มา ก็จะมีอาการที่รุนแรง และอยู่นานกว่าไข้หวัดธรรมดา ในรายที่เป็นไม่มาก สามารถดูแลอยู่ที่บ้านได้โดย ให้เด็กพักผ่อน ดื่มน้ำอุ่นๆ รับประทานยาลดไข้ (ถ้ามีไข้) ดูแลให้สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นถ้าอากาศเย็น ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมขณะที่เป็นไข้หวัด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ในเด็กเล็กๆ ที่มีน้ำมูกอาจจะช่วยโดยใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำเกลือเช็ดจมูก หรือหยดน้ำเกลือในโพรงจมูกแล้ว ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออก ก่อนดูดนมและก่อนนอน ก็จะช่วยให้เด็กดูดนมและนอนหลับดีขึ้น

          โรคปอดบวม

          เป็น จากการติดเชื้อไวรัส และ/หรือแบคทีเรีย อาการส่วนใหญ่จะมีเหมือนไข้หวัดมาก่อน แต่จะเริ่มหายใจเร็วขึ้น มีไข้สูง และถ้าเป็นมากขึ้น เด็กจะเริ่มหอบ หายใจลำบากขึ้นจนมีจมูกบาน หรือชายโครงบุ๋ม ริมฝีปากเขียว และถ้าเริ่มเห็นอาการเหล่านี้ ควรพาไปพบแพทย์

          โรคหลอดลมอักเสบและหอบหืด

          ส่วน ใหญ่จะเริ่มจากมีน้ำมูกใสๆ ไข้ต่ำๆ ไอ ซึ่งอาจจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนหายใจเข้าได้ไม่เพียงพอ หรือถ้ามีอาการหอบ ก็อาจจะได้ยินเสียงวี้ด (WHEEZING) หายใจ เร็วขึ้น ชายโครงบุ๋มและจมูกบานได้ ส่วนมากถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน อาการหอบครั้งแรก มักจะเป็นจากการติดเชื้อไวรัส หรือจากปอดบวม ส่วนเด็กที่มีอาการหอบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ อยู่เรื่อยๆ จนโต จะเรียกว่า โรคหอบหืด ซึ่งจะต้องระวัง เพราะอาการหวัดก็สามารถทำให้เด็กพวกนี้หอบได้

          โรคทางเดินหายใจอุดตันกะทันหันจากการบวมอักเสบของกล่องเสียงที่ลามไปถึงหลอดลมใหญ่ (VIRAL CROUP) ใน ฤดูฝนจะมีเชื้อไวรัสบางชนิดที่จะทำให้เกิดอาการนี้ได้ ส่วนใหญ่จะเห็นในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 3 ขวบ และจะมาด้วยอาการไข้ ไอเสียงก้อง (BARKING COUGH) เริ่มหายใจเสียงดัง และใช้กล้ามเนื้อส่วนคอในการหายใจเข้า ซึ่งจะเห็นได้เมื่อหลอดลมเริ่มอุดตันจากอาการบวมมากขึ้น ควรพาไปพบแพทย์ทันที

          ไข้หวัดและโรคแทรกซ้อนจากหวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ เพราะยังไม่มีภูมิต้านทานที่ดีพอ ฤดูฝนเป็นฤดูที่มีเชื้อไวรัสหลายชนิดที่ทำให้เกิดเป็นหวัดได้ และสามารถติดต่อกันได้ง่ายจากอากาศที่หายใจ

         Link     https://www.thaihealth.or.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                  โรคหน้าฝน 2012 

“เชื้อโรคจิ๋ว” วายร้ายในหน้าฝน

  ในช่วงหน้าฝนมักทำให้พื้นดินเปียกและชื้นแฉะ เรามาดูกันค่ะว่าในพื้นดินและแหล่งน้ำที่ที่เต็มไปด้วยวายร้ายตัวจิ๋วปะปน อยู่ไปทั่วมีอะไรอยู่บ้าง

          1. พยาธิปากขอ มักจะพบในดินที่ชื้นแฉะระยะตัวอ่อนที่ไชเข้าผิวหนัง จะเข้ากระแสเลือดสู่หัวใจ ปอด ผ่านหลอดลม มายังหลอดอาหาร แล้วไปเจริญเติบโตเป็นระยะตัวเต็มวัยที่ลำไส้เล็ก ผิวหนังบริเวณที่พยาธิตัวอ่อนไชเข้าไป จะเกิดเป็นตุ่มแดงและคัน พยาธิปากขอระยะตัวเต็มวัยจะใช้ส่วนปากเกาะผนังลำไส้และดูดเลือดเป็นอาหาร ทำให้เกิดโลหิตจาง ผู้ที่มีภาวะซีดเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ในกรณีที่ระยะตัวอ่อนของพยาธิปากขอของ “สุนัข” หรือ “แมว” ไช เข้าผิวหนังของคน พยาธิจะเคลื่อนที่ในผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ทำให้เกิดรอยโรคนูนแดงเป็นทางคดเคี้ยว
          2. พยาธิสตรองจีลอยด์ มัก พบในดินที่ชื้นแฉะ ระยะตัวอ่อนที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง จะเคลื่อนที่ไปในร่างกายทำนองเดียวกับระยะตัวอ่อนพยาธิปากขอ ผิวหนังบริเวณที่พยาธิตัวอ่อนไชเข้าไป จะเกิดเป็นตุ่มแดงคัน และเกิดรอยโรคนูนแดงเป็นทางคดเคี้ยว ระยะตัวเต็มวัยที่ลำไส้เล็ก จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะเกิดโรคอุจจาระร่วงเรื้อรังและเกิดภาวะขาด สารอาหาร และซ้ำร้าย หากพยาธิชนิดนี้เดินทางไปอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย อาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้
          3. พยาธิใบไม้เลือด พบในแหล่งน้ำที่มีหอยน้ำจืด เมื่อคนเดินหรือแช่ขาในแหล่งน้ำ พยาธิตัวอ่อนระยะเซอร์คาเรียจากหอยจะไชเข้าผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มแดงและคันที่ผิวหนัง ระยะตัวเต็มวัย จะอาศัยในเส้นเลือดดำที่ช่องท้อง ทำให้มีไข้ ปวดท้อง อุจจาระเป็นมูกเลือด ตับม้ามโต ตับแข็ง ท้องมาน และเสียชีวิตได้ พยาธิใบไม้เลือดบางชนิดทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและถ่ายปัสสาวะเป็น เลือด

          4. พยาธิหอยคัน เป็นพยาธิใบไม้เลือดของสัตว์จำพวกโคกระบือ เมื่อคนเดินในแหล่งน้ำที่มีหอยคัน พยาธิตัวอ่อนระยะเซอร์คาเรียจากหอยจะไชเข้าผิวหนังที่ชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดตุ่มแดงและคันที่ผิวหนัง แต่ไม่เข้าสู่กระแสเลือด
          5.อะแคนทะมีบา เป็นโปรโตซัวจำพวกอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระตามดิน โคลน เลน และแหล่งน้ำต่างๆ เข้าสู่ร่างกายทางแผลที่ผิวหนัง ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง ลักษณะแผลนูน ขอบแผลไม่เรียบ โรคผิวหนังจากอะแคนทะมีบา มักจะพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเดินด้วยเท้าเปล่าในดินที่ชื้นแฉะ การเดินหรือแช่เท้าในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำขังหรือ แหล่งที่มีหอยที่เป็นโฮสต์กลางของพยาธิ อาจเกิดโรคหรืออันตรายที่เราคาดไม่ถึง การใส่รองเท้าที่ปกปิดเท้าหรือรองเท้าบู๊ทจะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคหรือ พยาธิได้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินที่ชื้นแฉะหรือแหล่งน้ำได้ ควรใช้สบู่ทำความสะอาดผิวหนังแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

ที่มา : เว็บไซต์ scimath

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          โรคเกี่ยวกับหน้าฝน

เตือนภัย 15 โรคติดต่อ ที่มาพร้อมกับฤดูฝน

เตือนภัย 15 โรคติดต่อ ที่มาพร้อมกับฤดูฝน

     เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในฤดูกาลนี้ เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิด สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ควรดูแลและป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน ซึ่งมี 5 กลุ่ม รวมทั้งหมด 15 โรค ได้แก่
     1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ
     2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนังที่พบบ่อย คือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือไข้ฉี่หนู อาการเด่นคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง และตาแดง
     3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม
     4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่
          4.1 ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน
          4.2 ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค
          4.3 โรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค
     5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรก กระเด็นเข้าตา
     นอกจากนี้ ในช่วงหน้าฝนต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดง ถ้าเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองออก และอันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่องที่หนีน้ำมาอาศัยในบริเวณบ้าน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังคือการรับประทานยาลดไข้ เช่น ยาในกลุ่มแอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรคที่สำคัญ 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น
     ในการป้องกันโรคในฤดูฝน ขอให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะเด็กกับผู้สูงอายุควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง หนาวเย็น จะทำให้ร่างกายที่มีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนวัยอื่นๆ อยู่แล้ว ต่ำลงไปอีก จึงมีโอกาสติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ควรดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้ม รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

                    Link      https://www.vibhavadi.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

อัพเดทล่าสุด