ป้องกันโรคหน้าฝน สมุนไพรรักษาโรคหน้าฝน 10 โรคหน้าฝนหน้าฝน


921 ผู้ชม


ป้องกันโรคหน้าฝน สมุนไพรรักษาโรคหน้าฝน 10 โรคหน้าฝนหน้าฝน

              ป้องกันโรคหน้าฝน

     

โรคที่พบบ่อยในฤดูฝน

     

แพทย์หญิงกนกแก้ว วีรวรรณ

     

ในฤดูฝนแต่ละปี จะสังเกตได้ว่าเด็ก ๆ จะไม่สบายได้ง่าย เพราะอากาศจะเริ่มเย็นลงและชื้นมากขึ้น แถมยังมีเชื้อไวรัสอีกมากมายที่สามารถทำให้เด็ก ๆ ไม่สบายได้ โรคเด็กที่พบบ่อยในฤดูนี้คือ

1. โรคติดเชื้อเฉียบพลันในทางเดินหายใจ
2. โรคที่ยุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบ
3. ถ้ามีน้ำท่วมขังก็จะเห็นโรคเท้าเปื่อยด้วยค่ะ

1. โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ จะแบ่งได้เป็น

  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคไข้หวัด , ไข้หวัดใหญ่ , คออักเสบ , หูชั้นกลางอักเสบ , ไซนัสอักเสบ
  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น โรคปอดบวม , หลอดลมอักเสบ , โรคทางเดิน หายใจอุดตันกระทันหันจากกล่องเสียงอักเสบ [CROUP] และโรคหอบหืด

** โรคไข้หวัดและโรคแทรกซ้อนจากหวัด เป็น โรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ เพราะยังไม่มีภูมิต้านทานที่ดีพอ ฤดูฝนเป็นฤดูที่มีเชื้อไวรัสหลายชนิดที่ทำให้เกิดเป็นหวัดได้และสามารถ ติดต่อกันได้ง่าย จากอากาศที่หายใจ อาการส่วนใหญ่จะมีน้ำมูกไหล, คันตา, จาม, ไอ และอาจจะมีเจ็บคอ, ไข้, ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นใน 5-7 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน [เช่น หูชั้นกลางอักเสบ (เจ็บหู) หรือไซนัสอักเสบ (ปวดศีรษะมาก)] หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะสังเกตได้จากน้ำมูกที่เปลี่ยนสีจากใส ๆ เป็นเขียว ๆ เหลือง ๆ ไอมากขึ้น, ไข้สูงนานกว่า 3 วัน หรือหายใจลำบาก ก็ควรจะพามาพบกุมารแพทย์เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง บางรายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่มาก็จะมีอาการที่รุนแรงและอยู่นานกว่าไข้หวัด ธรรมดา ในรายที่เป็นไม่มากก็สามารถดูแลอยู่ที่บ้านได้โดย

  • ให้เด็กพักผ่อน
  • ดื่มน้ำอุ่น ๆ
  • รับประทานยาลดไข้ (ถ้ามีไข้)
  • ดูแลให้สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นถ้าอากาศเย็น
  • ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมขณะที่เป็นไข้หวัดโดยเฉพาะถ้าเด็กยังเล็กอยู่
  • ในเด็กเล็ก ๆ ที่มีน้ำมูกอาจจะช่วยโดยใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำเกลือเช็ดจมูก หรือหยดน้ำเกลือในโพรงจมูกแล้ว ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกก่อนดูดนมและก่อนนอน ก็จะช่วยให้เด็กดูดนมและนอนหลับดีขึ้น

** โรคปอดบวม จะ เปนได้จากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย อาการส่วนใหญ่จะมีเหมือนไข้หวัดมาก่อนแต่จะเริ่มหายใจเร็วขึ้นมีไข้สูง และถ้าเป็นมากขึ้น เด็กจะเริ่มหอบ หายใจลำบากขึ้นจนมีจมูกบานหรือชายโครงบุ๋ม ริมฝีปากเขียวและถ้าเริ่มเห็นอาการดังกล่าว ก็ควรพามาพบแพทย์ค่ะ

** โรคหลอดลมอักเสบและหอบหืด ส่วน ใหญ่จะเริ่มจากมีน้ำมูกใส ๆ ไข้ต่ำ ๆ ไอ ซึ่งอาจจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหายใจเข้าได้ไม่เพียงพอ หรือถ้ามีอาการหอบ ก็อาจจะได้ยินเสียงวี๊ด [WHEEZING] หายใจเร็วขึ้น, ชายโครงบุ๋มและจมูกบานได้ ส่วนมากถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน อาการหอบครั้งแรกมักจะเป็นจากการติดเชื้อไวรัสหรือจากปอดบวม ส่วนเด็กที่มีอาการหอบเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เรื่อย ๆ จนโตก็จะเรียกว่าเป็นโรคหอบหืด ซึ่งจะต้องระวังเพราะอาการหวัดก็สามารถทำให้เด็กพวกนี้หอบขึ้นมาได้

** โรคทางเดินหายใจอุดตันกระทันหันจากการบวมอักเสบของกล่องเสียงที่ลามไปถึงหลอดลมใหญ่

[VIRAL CROUP] ในฤดูฝนจะมีเชื้อไวรัสบางชนิดที่จะทำให้เกิดอาการนี้ได้ ส่วนใหญ่จะเห็นในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 3 ขวบ และจะมาด้วยอาการไข้ ไอเสียงก้อง [BARKING COUGH] และเริ่มหายใจเสียงดัง และใช้กล้ามเนื้อส่วนคอในการหายใจเข้า [STRIDOR] ซึ่งจะเห็นได้เมื่อหลอดลมเริ่มอุดตันจากอาการบวมมากขึ้น ถ้าคิดว่าลูกอาจจะเป็นโรคนี้ได้ควรจะพามาพบแพทย์ทันทีค่ะ

2. โรคไข้เลือดออกเด็งกี่ [DENGUE] เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ซึ่งจะมาจากยุงลายตัวเมืย ที่ดูดเลือดคนเป็นอาหารในเวลากลางวัน ยุงลายชนิดนี้จะวางไข่ในที่ ๆ มีน้ำขังนิ่ง ๆ ดังนั้นในหน้าฝนจึงมียุงลายชนิดนี้มาก อาการจะแบ่งได้เป็น

** ไข้เด็งกี่ [DENGUE FEVER] ซึ่ง จะมีไข้สูงลอย (39-40 องศา) 2-7 วัน, ปวดศีรษะ, ปวดท้องแถวลิ้นปี่,ปวดข้อและกล้ามเนื้อ, และอาจจะมีคอแดง, อาเจียร และจุดเลือดออกใต้ผิวหนังได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูกหรือไอร่วมด้วย โรคนี้สามารถหายเองได้ใน 4-5 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน

** ไข้เลือดออกเด็งกี่ [DENGUE HEMORRHAGIC FEVER] จะมีอาการเหมือนไข้เด็งกี่ แต่จะมีเลือดออกมากกว่า โดยเฉพาะในวันที่ 3-7 ของโรค เด็กจะเริ่มซึมลง อาเจียรมากขึ้น ปวดท้องและตับโตขึ้นได้ และถ้าเป็นมาก ๆ ความดันอาจจะต่ำและช็อคได้ ดังนั้นถ้าสงสัยว่าเด็กจะเป็นไข้เลือดออก ควรพามาตรวจร่างกายและตรวจเลือดเพื่อช่วยในการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

** เด็กบางคนอาจจะมีการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นที่มีอาการคล้ายไข้เด็งกี่ได้ แต่ อาการจะน้อยและสั้นกว่า วิธีป้องกันคือป้องกันยุงกัดโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน การใช้ยาฆ่ายุงและกำจัดแหล่งเพาะยุงตามที่ ๆ มีน้ำขัง ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคไข้เลือดออกก็ได้

3. โรคไข้สมองอักเสบจากไวรัส เจอี จะ เจอได้บิอยในภาคเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยยุงจะเป็นพาหะและจะมีอาการไข้สูง ,อ่อนเพลีย,คลื่นไส้,อาเจียร,ปวดศีรษะ และใน 3-4 วันจะเริ่มมีอาการทางประสาท เช่น ชักแกร็ง,ซึม และอาจจะเสียชีวิตได้ภายใน 10 วัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจจะมีโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม และกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน และระวังไม่ให้โดนยุงกัด

4. โรคเท้าเปื่อยหรือเชื้อราที่เท้า จะเห็นได้ในฤดูฝน โดยเฉพาะในแหล่งที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ดังนั้นถ้าสามารถหลีกเลี่ยงการลุยน้ำด้วยเท้าเปล่า หรือแช่เท้าในน้ำนาน ๆ ได้ ก็จะช่วยป้องกันโรคเท้าเปื่อยได้ ถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำสกปรกมาก็ควรจะล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้งทุก ครั้งค่ะ

       Link   https://office.bangkok.go.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                    สมุนไพรรักษาโรคหน้าฝน

ตำรับยาสมุนไพรแบบประหยัด รับหน้าฝน


ผ่าน ฤดูร้อนมาไม่นาน ย่างเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ฝนในบ้านเราขณะนี้แปลก ๆ อยากตกก็ตก บางวันฟ้าใสสว่างกลับแปรเป็นมืดครึ้ม และฝนกระหน่ำลงมาได้ภายในเวลาสั้น ๆ ทำให้คนที่ไม่ได้ตั้งตัว ไม่ได้เตรียมใจรับมือ ถูกฝนโปรยปรายหรือเปียกโชก เป็นหวัดคัดจมูกกันเป็นแถว ๆ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ :emo_074: :emo_074: :emo_074:
การรักษาที่ง่ายที่สุดเท่าที่คนไทยส่วนใหญ่คิดออกก็คือ เมื่อเป็นหวัดก็ซื้อยาแก้หวัดจากร้านขายยามารับประทาน หากไอก็ซื้อยาแก้ไอจากร้านขายยาร้านเดิมนั้นแหละมารักษา หากมีอาการไข้ก็ซื้อยาที่โฆษณากันครึกโครมมารับประทานกันเอง รักษากันเองเหมือนกัน นอกจากล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกไม่ไหวจริง ๆ นั่นแหละจึงไปหาหมอรักษากันเป็นเรื่องเป็นราวซึ่งก็คงไม่พ้นฉีดยา ทานยา ให้น้ำเกลือ นอนพักอะไรทำนองนี้
อาการที่มักเกิดจากการถูกฝนคือเป็น ไข้ ไอ มีเสมหะ บางรายมีน้ำมูก เจ็บคอ ที่เรียกกันว่าเป็นหวัด ซึ่งคนไทยคุ้นเคยกันดี ผู้สูงอายุที่เป็นหวัดก็มักใช้สมุนไพรแก้อาการดังกล่าว สมุนไพรที่ขึ้นชื่อว่าทั้งกันและแก้อาการหวัดหรืออาการข้างเคียงที่ชะงัดนักคือ มะขามป้อม และมะนาว
มะขาม ป้อมเป็นผลไม้ที่มีหลายรสคือ เปรี้ยว หวาน ฝาด ขม ซึ่งความหลากหลายของรสนี้ในทางยาไทยถือว่าสามารถรักษาโรคได้หลายโรค โดยเฉพาะรสฝาด ขม เปรี้ยว เป็นจุดเด่นของสมุนไพรชนิดนี้ หมอแผนโบราณหรือชาวบ้านจึงใช้มะขามป้อมแก้หวัด ซึ่งอาจเป็นเพราะมะขามป้อมมีวิตามินซีสูง และในสารสกัดของมะขามป้อมยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย
นอก จากแก้หวัดแล้ว มะขามป้อมยังแก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ไข้ ซึ่งผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระบุชัดเจนว่าในผลมะขามป้อมมีสารที่มีฤทธิ์ขับ เสมหะ บรรเทาอาการไอได้จริง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี นำมะขามป้อมมาทำเป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ รับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นที่ยอมรับของแพทย์ในโรงพยาบาลและคนไข้ทั่วไป จนขายดิบขายดี หน้าฝนอย่างนี้ยาแก้ไอมะขามป้อมของศูนย์สมุนไพรอภัยภูเบศรอาจจะขาดตลาดได้
วิธี รับประทานมะขามป้อมเพื่อทั้งกันและแก้อาการหวัดสามารถรับประทานได้ทั้งผล แห้งและผลสด ลองเลือกสักวิธีที่ง่าย ๆ และสะดวกดังต่อไปนี้
วิธีที่ 1 รับ ประทานลูกสดทั้งลูกวันละ 1-2 ลูก ตอนรับประทานเข้าไปทีแรกอาจรู้สึกเปรี้ยวและฝาด ๆ ขม ๆ แต่เมื่ออมไปสักครู่รสชาติจะเปลี่ยนเป็นหวานชุ่มคอดีนัก ยิ่งเวลาเหนื่อย ๆ กระหายน้ำจะชุ่มชื่นขึ้นทันที
วิธีที่ 2เลือก ผลสด ๆ แก่จัดสัก 20-30 ลูก ล้างน้ำผ่าเอาเมล็ดออก เอาเนื้อใส่เครื่องปั่นไฟฟ้า หรือตำด้วยครกไทยก็ได้ เติมน้ำ 2 ถ้วย ผสมด้วยน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้งประมาณ 1/3 ถ้วย เกลือ 1 ช้อนชา ชิมรสตามชอบ จะได้น้ำมะขามป้อมสีขาวขุ่น ๆ ใส่ภาชนะเก็บไว้ในตู้เย็น รินดื่มกันได้ทั่วหน้า
บางคนเลือกวิธีสะดวกกว่านั้นคือ เคี้ยวกันสด ๆ เหมือนวิธีแรก แต่อาจจิ้มเกลือนิดหน่อยหรือบางคนนำไปย่างก่อนก็มี ค่อย ๆ เคี้ยว อม กลั่นน้ำให้ได้รสทีละนิด ๆ อย่างนี้ได้รสชาติ และรักษาอาการเจ็บคอได้ชะงัดนัก
แต่หากเกิดอยากรับประทานมะขามป้อม เพื่อแก้อาการไข้หรือแก้หวัด ในหน้าที่หาผลสดยากก็มีผลแห้งขายตามร้านขายยาแผนโบราณทั่วไป ให้นำลูกมะขามป้อมแห้ง ๆ มาแช่น้ำก่อนเข้านอน น้ำ 1 แก้ว ใช้มะขามป้อมแห้ง 1-2 ลูก รุ่งเช้ารับประทานทั้งน้ำทั้งเนื้อตอนท้องว่างแก้หวัดได้ดีนักแล หรือจะต้มกินอุ่น ๆ ก็แก้ไขดีเช่นกัน
สำหรับ มะ อีกชนิดหนึ่งเป็นพืชใกล้ตัวที่รู้จักกันดี และที่จัดเป็นสมุนไพรรักษาอาการไอ เจ็บคอ หรือมีเสมหะติดคอ ซึ่งมักจะเป็นกันมากในหน้าฝนนี้คือ " มะนาว "
วิธีการปรุงง่าย ๆ คือ ใช้น้ำมะนาว 1 ส่วน ผสมน้ำสุกอุ่น 1 ส่วน น้ำเชื่อม 1 ส่วน เหยาะเกลือเล็กน้อย ผสมให้เข้ากันดีแล้วค่อย ๆ จิบทีละน้อย จะได้ผลดีกว่าดื่มรวดเดียวหมดแก้ว เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ที่คออย่างสม่ำเสมอ รักษาอาการไอ เจ็บคอในหน้าฝนอย่างนี้ดีนักเชียว
เพราะ น้ำมะนาวมีกรดอยู่เป็นจำนวนมาก กรดชนิดนี้ช่วยลดการกระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่น และเป็นยาฝาดสมานอย่างอ่อน ๆ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ระงับการเติบโตของเชื้อโรค จึงเหมาะสำหรับรักษาอาการไข้ อาการหวัด หรือไอ มีเสมหะ
ทั้งมะขามป้อมและมะนาว เป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่คนไทยรู้จักกันดี ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย และไม่มีผลข้างเคียงในการรักษา
เริ่มต้นกันเถอะ...เพราะทั้งมะขามป้อมและมะนาวกำลังออกผล แล้วท่านจะค้นพบวิธีดูแลสุขภาพใหม่ด้วยตัวของท่านเอง ในหน้าฝนปีนี้นี่แหละ
คัดย่อและอ้างอิงจาก
https://www.ku.ac.th/e-magazine/june4.../medicine.html
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 
 

           10 โรคหน้าฝนหน้าฝน

เตือนประชาชนระวัง 10โรคหน้าฝน

ระมัดระวังและรักษาสุขภาพ

 

 

          นาย วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ฤดูฝน ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกต่อเนื่องและเกิดน้ำท่วมขังได้ หากประชาชน โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุดูแลรักษาสุขภาพของตนไม่ถูกต้อง อาจทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ อาทิ โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางระบบผิวหนัง โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคไข้เลือดออก

โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร

          โรค ติดต่อทางน้ำและทางอาหารโดยเฉพาะในช่วงที่มีน้ำท่วม เช่น โรคท้องเดินหรือโรคอุจจาระร่วง โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศจากการไอ จาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากเมื่อเป็นโรคปอดบวมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ได้

ระวังอันตรายโรคฉี่หนู

          โรค เลปโตสไปโรซิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ สัตว์ป่าและสัตว์ฟันแทะที่เป็นสัตว์รังโรค โดยเชื้อปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก ที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง เมื่อคนเดินย่ำน้ำหรือเล่นน้ำนานๆ เชื้อก่อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เปื่อยยุ่ย บาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา เยื่อบุในช่องปาก และอาจติดเชื้อจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำปนเปื้อนฉี่หนู หากติดเชื้อและทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจเสียชีวิตได้

ยุงหลากชนิดนำพิษโรคร้าย

          โรค ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อถูกยุงที่มีเชื้อกัดและแสดงอาการต้องสงสัยติดเชื้อให้รีบพบแพทย์ หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้องทันเวลาอาจเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรีย เกิดจากเชื้อโปรโตซัว มียุงก้นปล่องที่มีแหล่งอาศัยในป่าตามแนวชายแดนของประเทศเป็นพาหะนำโรค เมื่อถูกยุงนำเชื้อกัดประมาณ 15–30 วันจะมีอากาศป่วย ต้องรีบพบแพทย์ตรวจและรักษาโดยเร็ว หากทิ้งไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำทุ่งนา ซึ่งยุงรำคาญได้รับเชื้อจากการกินเลือดสัตว์ เมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิต บางรายหายป่วยเกิดความพิการทางสมอง สติปัญญาเสื่อม หรือเป็นอัมพาตได้

หมั่นรักษาความสะอาดและหลีกเลี่ยงน้ำสกปรก

          โรค เยื่อตาอักเสบ หรือตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเชื้ออยู่ในน้ำตาและขี้ตา ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน การใช้น้ำไม่สะอาดล้างหน้า อาบน้ำ ถูกน้ำสกปรกที่มีเชื้อโรคกระเด็นเข้าตา หรือการใช้มือ แขน และเสื้อผ้าสกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อรา สาเหตุมาจากการทำงานที่ต้องลุยอยู่ในน้ำสกปรกนานๆ ทำให้ผิวหนังซอกนิ้วเท้าแดง ขอบนูนเป็นวงกลม คัน หากเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองเยิ้ม

สังเกตบริเวณบ้าน งดทานเห็ดพิษ

          อันตราย จากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง หนีมาหลบอาศัยในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะช่วงที่มีน้ำท่วมขัง และโรคอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษทุกปี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พ.ค. – พ.ย. ด้วยการรับประทานเห็ดที่ขึ้นเองในป่า สวน ไร่ หรือเห็ดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนมากพบในภาพเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          ขอ ให้ประชาชนระมัดระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพียงล้างมือฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ หลังจากเดินย่ำน้ำให้ล้างมือล้างเท้าทุกครั้ง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและระวังอย่าให้ยุงกัด อย่าใช้มือ แขน และผ้าสกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา ระวังไม่ให้น้ำสกปรกเข้าตา เมื่อน้ำสกปรกเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง หากมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือผิวหนังเริ่มเปื่อย เกิดตุ่มคัน น้ำกัดเท้า หรือมีบาดแผล ให้รีบพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มเป็น ก่อนที่อาการจะลุกลาม

             Link    https://www.thaihealth.or.th/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด