ถุงน้ำดีกับท่อน้ำดีเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับตับของเรา ตับมีหน้าที่หลายประการ หน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของตับคือสร้างน้ำดี แล้วส่งออกมาทางท่อน้ำดี น้ำดีที่ออกมาจากตับจะเป็นน้ำดีเจือจาง ร่างกายจะเก็บน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดี ถุงน้ำดีมีหน้าที่ทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นขึ้น เมื่อใดก็ตามที่เรากินอาหารมัน ๆ เข้าไป ถุงน้ำดีจะปล่อยน้ำดีออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร ทำให้ไขมันแตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ พร้อมที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นหน้าที่ของน้ำดีก็คือย่อยไขมันที่เรากินเข้าไปนั่นเอง หากถุงน้ำดีไม่สามารถทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น ไม่ว่าจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม การย่อยไขมันก็จะยากลำบากขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เรอมาก และคลื่นไส้ เป็นต้น น้ำดีของเราจะเจือจางลงในกรณีดังต่อไปนี้ + อายุเพิ่มมากขึ้น การทำงานของถุงน้ำดีมีประสิทธิภาพ ลดลง น้ำดีก็จะไม่เข้มข้นเท่ากับตอนที่เรายังเป็นหนุ่มสาว + ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง บางครั้งถุงน้ำดีก็อักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ บางครั้งอาการอักเสบมักจะกำเริบได้ + นิ่วในถุงน้ำดี + การตัดถุงน้ำดีออก จะทำให้น้ำดีของคุณเจือจางตลอดเวลา เพราะคุณจะไม่มีถุงน้ำดีคอยทำให้น้ำดีเข้มข้นอีก บางครั้งเมื่อเอกซเรย์พบนิ่ว หมอมักจะแนะนำให้ตัดเอาถุงน้ำดีออก สมัยนี้ผ่าตัดถุงน้ำดีเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว แค่เจาะรูที่หน้าท้อง 3 รูก็ได้แล้ว อาการแทรกซ้อนก็ไม่มาก แต่ที่เรามักจะไม่เข้าใจก็คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ไม่ได้แปลว่าอาการท้องอืด แน่น อาหารไม่ย่อยจะหายไป การผ่าตัดเอานิ่วออกเป็นการป้องกันการอักเสบของ ถุงน้ำดีต่างหาก ดังนั้นหลาย ๆ คนผ่าตัดถุงน้ำดีแล้วอาการ ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม บอกให้ก็ได้ว่า หากคุณเป็นโรคของถุงน้ำดีแล้ว จะผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัดก็ตาม หากไม่เปลี่ยนอาหาร ยังคงกินอะไรที่มัน ๆ เยิ้ม ๆ เช่นเดิม อาการที่เป็นอยู่จ้างก็ไม่หายอาหารที่เหมาะกับโรคของถุงน้ำดี ได้แก่ 1. อาหารไทยแท้ ๆ ที่ไม่มีไขมันเลย หากไม่อยากให้น้ำดีที่เจือจางไปแล้วมีปัญหาในการย่อยไขมัน ก็ลองงดอาหารทอด ผัด กะทิ นมวัว และ ผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมด ครีมเทียม ลองหันมากินแกงส้ม ต้มยำ ฯลฯ ดูสัก 1 สัปดาห์ คุณจะพบว่าอาการต่าง ๆ ที่เป็นอยู่จะดีขึ้นเอง 2. กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ในเนื้อสัตว์ทุกประเภท แม้แต่เนื้อแดง ๆ ที่มองไม่เห็นไขมันเลย ก็มีไขมันแทรกอยู่ทั้งสิ้น 3. กินอาหารน้อย ๆ แต่บ่อยมื้อ อย่าให้อิ่มมากนัก ลองปรับอาหารดูเอาเองก่อน ถ้าอาการหายไปไม่หมด ค่อยใช้ยาช่วยย่อย หรือจะปรับระบบย่อยด้วยวิธีอื่น เช่นการฝังเข็ม หรือใช้สมุนไพร ก็แล้วแต่ หากไม่มีถุงน้ำดี ปัจจุบันก็มีประชากรจำนวนมากที่ต้องสูญเสียถุงน้ำดีไปเช่นต้องท ำการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีเป็นต้น ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติค่ะ เพียงแต่ว่าโดยปกติหน้าที่ของถุงน้ำดีคือเป็นแหล่งเก็บและทำน้ำ ดีให้เข้มข้น ช่วยในการย่อยและดูดซึมพวกไขมันจากลำไส้และยังช่วยให้ cholesterol และ phospho- lipids ของน้ำดีคงอยู่ในรูปสารละลาย แต่หน้าที่และบทบาทดังกล่าวก็ไม่ได้มีมากนัก เนื่องจากอีก90% ของ น้ำดีถูกดูดซึมกลับคืนเข้าสู่ เนื้อตับอยู่แล้ว เช่นเดียวกับ cholesterol และ lecithin, electrolytes และ น้ำถูกดูดซึมคืนกับมาใช้อีก ส่วนน้ำดีถูกเปลี่ยนให้เป็น bilirubin นำมาทิ้งลงในลำไส้ สามารถทำงานได้ตามปกติค่ะ หากอวัยวะดังกล่าวทำงานไม่สมดุลย์กันจะเกิดนิ่วเกิดจากความไม่ส มดุลของส่วนประกอบต่างๆในน้ำดี ทำให้เกิดการตกตะกอนออกมาเป็นนิ่ว การตัดตำแหน่งดังกล่าวจึงจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นนิ่วในถุ งน้ำดีการผ่าตัดจะช่วยลดอาการอึดอัดแน่นท้องและท้องอืดจากอาหาร ไม่ย่อย ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้นค่ะ สรุปคือการที่มีถุงน้ำดีหากทำหน้าที่สม ดุลย์กันระบบทางเดินอาหา รก็จะสามารถทำงานได้อย่างปกติไม่มีอาการอึดอัดแน่นท้องหรือโรคน ิ่ว แต่สำหรับผู้ที่การทำงานของระบบดังกล่าวไม่สมดุลก็จะเกิดการคั่ งค้างของสารต่างๆเช่นแคลเซียม ไขมัน ซึ่งกลับเป็นผลเสียกลายเป็นนิ่วได้ดังนั้นเมื่ออวัยวะดังกล่าวท ำงานไม่สมดุลย์และไม่ดีเท่าที่ควรแพทย์อาจแนะนำให้ตัดอวัยวะส่ว นนั้นไปให้ทำหน้าที่ให้ดีขึ้นลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดปัญหาการ คั่งค้างของสารดังกล่าวข้างต้นเป็นต้นค่ะ ถุงน้ำดีถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่ายกาย โดยอยู่ใต้ต่อตับบริเวณชายโครงด้านขวา ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ถุงน้ำดีจะเป็นที่เก็บน้ำดีซึ่งสร้างจากตับ และจะมีท่อน้ำดีไปเปิดสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยน้ำดีมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทไขมัน ความผิดปกติของถุงน้ำดีที่พบบ่อย คือ นิ่วในถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดีมักพบผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน และอยู่ในวัยกลางคนอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย หรือบางรายอาจมีอาการแน่นอึดอัด เหมือนอาหารไม่ย่อยภายหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารที่มีไขมันสูง จะยิ่งมีอาการมากขึ้น โรคถุงน้ำดี อักเสบ มักจะเกิดร่วมกับคนที่มีนิ่วในถุงน้ำดี อาการของโรคนี้มักจะมีไข้สูง ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา อาจมีคลื่นไส้อาเจียนและตาเหลืองร่วมด้วย ถ้า สงสัยว่าจะเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของถุงน้ำดี โดยมีอาการดังกล่าวข้างต้นมาแล้ว ท่านควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะสอบถามอาการอย่างละเอียด ตรวจร่างกายเพื่อการวิเคราะห์โรคให้ถูกต้อง แพทย์อาจต้องส่งไปทำอัลตราซาวด์ของช่องท้อง ซึ่งสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีนิ่วในถุงน้ำดีหรือมีอาการอักเสบข องถุงน้ำดีหรือไม่ การทำอัลตราซาวด์จะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อผู้ป่วยแต่อย่างใ ด หลัง ผ่าตัดถุงน้ำดีปกติ จะค่อนข้างย่อยไขมันได้ช้า ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้งดอาหารประเภททอดๆ มันๆค่ะ หากไม่งดจะมีปัญหาเรื่องท้องอืดค่ะ | Link https://www.ladysquare.com ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ อาการนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดีเกิดได้อย่างไร ตับ liver เป็นอวัยวะสร้างน้ำดี ซึ่งจะส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี เมื่อต้องการไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีก็บีบตัวส่งน้ำดีไปตามท่อน้ำดี common bile duct เข้สู่ลำไส้ doudenum และย่อยอาหาร น้ำดีประกอบด้วย น้ำ ,cholesterol ,ไขมัน, bile salt เมื่อน้ำในน้ำดีลดลงก็ทำให้เกิดนิ่ว พบบ่อยๆมี 2 ชนิดคือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และนิ่วที่เกิดจากเกลือต่างๆ นิ่วในถุงน้ำดีอาจจะหลุดและอุดทางเดินน้ำดีทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว - คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มี cholesterol เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
- การได้ฮอร์โมน estrogen จากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับ cholesterol ในน้ำดีสูง
- เชื้อชาติ
- เพศ หญิงพบมากกว่าชาย
- อายุที่พบบ่อยอายุ 60 ขึ้นไป
- ได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้ cholesterol ในน้ำดีสูง
- ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีระดับ triglyceride สูง
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการอะไร บางรายมีอาการปวดเฉียบพลัน - ปวดท้องบนขวาปวดตลอดอาจจะปวดนานเป็นชั่วโมง
- ปวดมักจะปวดอยู่บริเวณสะบัก
- อาจจะปวดร้าวไปไหล่ขวา
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเรื้อรังโดยมากมักจะสัมพันธ์กับอาหารมัน อาการอื่นที่พบมี - ท้องอืด
- รับประทานอาหารมันแล้วทำให้ท้องอืด
- ปวดมวนท้อง
- เรอเปรียว
- มีลมในท้อง
- อาหารไม่ย่อย
ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ - ไข้สูง และมีเหงื่อออก
- ไข้เรื้อรัง
- ตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกดีซ่าน
- อุจาระเป็นสีขาว
การวินิจฉัย หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายหากสงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์จะส่งตรวจ ultrasound โดยใช้คลื่นเสี่ยงความถี่สูงตรวจหานิ่ว บางรายแพทย์จะตรวจพิเศษ เช่น Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) เป็นการตรวจโดยการส่องกล้องเข้าในท่อน้ำดีเพื่อหาตำแหน่งของนิ่วในท่อน้ำดี การรักษา นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นิ่วที่มีอาการต้องผ่าตัดเอานิ่วออกวิธีทีนิยมคือ laparoscopic cholecystectomy โดยการเจาะที่หน้าท้องเป็นรูหลายรูแล้วใส่เครื่องมือเพื่อตัดเอาถุงน้ำดีออกมา วิธีนี้สะดวก เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเก่า และอยู่ในโรงพยาบาลไม่นาน ผู้ป่วยบางรายหลังส่องดูแล้วผ่าตัดแบบ laparoscopic cholecystectomy ไม่ได้ต้องเปลี่ยนโดยการผ่าตัดแบบเก่า นิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีอาจจะเอาออกโดยการทำ Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) และเอานิ่วออก การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดผลที่ได้ยังไม่ดี คือ - Oral dissolution therapy เป็น bile acid ใช้ละลายนิ่วที่เป็น cholesterol ที่ก้อนไม่ใหญ่ ต้องใช้เวลานานในการละลาย ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดท้องร่วง และตับมีการอักเสบเล็กน้อย
- Extracorporeal shockwave lithotripsy (ESWL).โดยการใช้คลื่นแสงกระแทกให้นิ่วแตก หลังการทำผู้ป่วยอาจจะปวดท้อง และอัตราผลสำเร็จต่ำ
ถุงน้ำดีถูกตัดออกไปแล้วมีผลอย่างไรต่อร่างกาย เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นที่เก็บน้ำดีไว้ เมื่อต้องการใช้ถุงน้ำดีก็จะบีบตัวไล่น้ำดีออกมา คนที่ถูกตัดถุงน้ำดีจะมีน้ำดีไหลออกมาตลอดทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องร่วง บางรายงานแนะนำต้องตรวจระดับ cholesterol Link https://www.siamhealth.net ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ |