บำบัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีธรรมชาติ อาการข้างเีคียงการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี การออกกำลังกายหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี


1,923 ผู้ชม


บำบัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีธรรมชาติ อาการข้างเีคียงการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี การออกกำลังกายหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

             บำบัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีธรรมชาติ

บรรยากาศคอร์สล้างพิษตับ-นิ่วในถุงน้ำดี


โครงการส่งเสริมและช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายกลับคืนสภาพเดิม

โค รการนี้ไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรมชาติแบบองค์รวมซึ่ง มีความเชื่อมั่นว่า “ร่างกาย” มีกลไกลในการดูแลปรับสภาพต่างๆให้อยู่ในภาวะสมดุลย์ได้ด้วยตัวเองการที่เกิด การเจ็บป่วย เนื่องมาจากการเสียสมดุลย์ของร่างกาย ดังนั้นวิธีการคือ ต้องดูแลช่วยเหลือให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้ง เพื่อที่จะได้ทำหน้าที่ “เยียวยา” รักษาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
                
            
                ตารางคอร์ส ล้างพิษวิธีธรรมชาติบำบัด                                                                                                                             

วันที่ 1 
15.00 น.เป็นต้นไป         หยุดรับประทานของขบเคี้ยว ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเปล่าได้
                                       ลงทะเบียน ตรวจ/กรอกขอมูลสุขภาพ / วัดความดัน/ ชั่งน้ำหนัก / รับอุปกรณ์ 
                                       แนะนำตัววิทยากร / แนะนำเกี่ยวกับการเข้าคอร์ส
16.30-17.00น.              สวนลำไส้ระบายพิษ
18.00 น.                        ดื่มน้ำสมุนไพรขับพิษ 1 แก้ว
20.00 น.                        พักผ่อน

วันที่ 2
04.30-05-30น.              ตื่นนอน , เช็คค่าน้ำลาย , อมน้ำมันมะพร้าวกลั้วในปาก
05.30-06.00น.               ออกกำลังกาย
06.00-06.30น.               ดื่มน้ำชาข้าวกล้องงอก / น้ำสมุนไพร 5 แก้ว ดื่มไปเรื่อยๆ
06.30-09.00น.               แช่เท้า 30 นาที , พอกหน้าด้วยสมุนไพร ทำดีท็อกซ์สวนล้างลำไส้ 
09.00.09.15น.               ดื่มน้ำสมุนไพรขับพิษ 1 แก้ว                                                                                                                                
10.30-11.00น.               ดื่มน้ำมะละกอดิบผสมน้ำสับประรด 1 แก้วเพื่อล้างลำไส้ช่วยให้ขับนิ่วในไต       
                                        และนิ่วถุงน้ำดี
11.00-12.00น.               กิจกรรม
12.00-12.15น.               ดื่มน้ำสมุนไพรขับพิษ 1 แก้ว
13.00-13.15น.               ดื่มน้ำแอปเปิ้ล ช่วยล้างลำไส้และขจัดสารพิษออกจากร่างกาย / น้ำผลไม้หมัก
15.00 น.                         ดื่มน้ำสมุนไพรขับพิษ 1 แก้ว                        
16.40-18.00น.               ทำดีท็อกซ์จนลำไส้สะอาด ( อาจมากกว่า 1 ครั้ง )
18.00-18.15น.               รับประทานดีเกลือครั้งที่ 1
20.00-20-15น.               รับประทานดีเกลือครั้งที่ 2
20.15-22-00น.               กิจกรรม
22.00-22.15น.               ดื่มน้ำมันมะกอก 150 cc ผสมน้ำมะนาว 150 cc
22.15-22.30น.               หลังดื่มน้ำมันมะกอกแล้วควรนอนตะแคงขวา หรือนอนหงายยกศรีษะสูง
หลัง 02.00 น.                  หากมีการขับถ่ายให้เริ่มเก็บสิ่งขับถ่ายไว้ในถังที่เตรียมไว้ เพื่อให้ทีมวิทยากร /
                                        ผู้ดูแลได้วินิจฉัยต่อไป

วันที่ 3 
05.30-06.00น.               อมน้ำมันมะพร้าว   ออกกำลังกาย
06.00-06.30น.               ดื่มน้ำชาข้าวกล้องงอก / น้ำสมุนไพร 5 แก้ว ดื่มไปเรื่อยๆ
06.30-09.00น.               แช่เท้า 30 นาที , พอกหน้าด้วยสมุนไพร
08.00 น.                         รับประทานดีเกลือครั้งที่ 3
10.30-11.00น.               ทำดีท็อกซ์ สวนล้างลำไส้ และเก็บสิ่งขับถ่ายไว้เพื่อการวินิจฉัยดูแล
12.00น.                          รับประทานอาหารอ่อนๆ ทานครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ
13.00น.                          สรุปการเข้าร่วมโครงการแนะแนวทางการปฎิบัติตัวเพื่อปรับสมดุลการ    ใช้ชีวิต
                                       ให้มีสุขภาพที่ดี ปิดโครงการ
****ระหว่างวันควรคื่มน้ำข้าวกล้องงอก น้ำสมุนไพร น้ำอัลคาไรน์บ่อยๆ เมื่อรู้สึกหิว                       
อ่อนเพลีย หรือผิดปกติใดๆควรแจ้งทีมวิทยากร / ผู้ดูแล****

จากแนวคิดเรื่อง นาฬิกาชีวิต เผยแพร่โดยอาจารย์สุทธิวัฒน์ คำภา ได้ กล่าวไว้ว่าถุงน้ำดีจะเปิดตอนห้าทุ่ม-ตีหนึ่ง การดื่มน้ำมันมะกอกผสมน้ำมะนาวจะถูกดูดซึมเข้าสู่ตับและถุงน้ำดีโดยตรงส่งผล ให้เก็บกวาดและทำความสะอาดตับและถุงน้ำดีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


โครงการล้างพิษด้วยวิธีธรรมชาติบำบัดสวนอินดี


ครั้งที่ 1

ลงทะเบียน  ตรวจ / กรอขอมูลสุขภาพ
ฟังคำแนะนำการเข้าคอร์ส
สมุนไพรขับพิษ


วิทยากรให้ความรู้การล้างพิษตับ
วัดความเป็นกรดด่างของน้ำลาย
อมน้ำมันมะพร้าว
รำกระบองตอนเช้า


แช่เท้า
ผิงไฟ
กัวซา


        

น้องที่มาเข้าคอร์สค่ะ
พระเอกมาแล้วค่ะ








อาหย่อย




ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์น่ะค่ะ โชคดีค่ะ





ผลงานบางส่วนจากผู้เขาคอร์ส

การล้างพิษตับและถุงน้ำดีเป็นการรักษาจากต้นตอของการเกิดความผิดปกติในร่าง กาย  การฟื้นตัวของร่างกายขึ้นอยู่ที่คุณภาพของตับในขณะที่ทำการล้างพิษตับ ถ้าตับมีคุณภาพดีร่างกายก็จะฟื้นตัวเร็ว     ถ้าตับย่ำแย่ก็ฟื้นตัวช้า  นิ่วเกิดที่ตับ ไม่ใช่เกิดที่ถุงน้ำดีฉะนั้นการตัดถุงน้ำดีทิ้งแทบไม่เกิดประโยชน์อะไรแถม เจ็บตัวเปล่าๆ  เราสามารถทำการล้างพิษตับได้เดือนละครั้ง บางท่านนิ่วจะออกมาหลังล้างพิษตับได้ 1-3 วัน ในวันที่ล้างพิษตับ (วันที่ดื่มน้ำมันมะกอกผสมน้ำมะนาว)  จากการถ่ายจะมีนิ่ว    ออกมาครั้งละ 50 เม็ด ถึง 400 เม็ด ขนาดของนิ่วที่ออกมาจะมีขนาดตั้งแต่เท่า เมล็ดงา เมล็ดข้าวสาร เมล็ดข้าวโพด หัวแม่มือ จนกระทั่งเท่าลูกมะกรูดขนาดเขื่องๆ  สีของนิ่วที่ออกมาจะมีหลายสี  ส่วนใหญ่จะมีสี
เขียว และสีเทา นิ่วที่มีสีเขียวจะเป็นพวกคอลเลสเตอรอล ( cholesterol ) เวลาถ่ายออกมาจะลอย นิ่วสีเทาจะเป็นพวกแคลเซี่ยม (calcium ) เวลาถ่ายออกมาจะจม  ในตับสามารถเกิดนิ่วได้มากกว่า 20,000 เม็ด นิ่วจะออกมากที่สุดในช่วงการล้างพิษตับ ครั้งที่ 6-7 แล้ว  เมื่อนิ่วออกหมดแล้วให้ล้างพิษตับปีละ 2 ครั้งสุขภาพก็จะดีตลอดไป ตับที่มีสุขภาพแข็งแรงจะต้องกลั่นกรองเลือดประมาณ 1,500 ml ต่อนาที และหลั่งน้ำดี 1-1.5 L ต่อวัน ซึ่งนั่นจะสามารถทำให้ตับและอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกายสามารถทำงานได้อย่าง ปกติ นิ่วในถุงน้ำดีจะไปอุดตันท่อ ทำให้ตับไม่สามารถขับสารพิษในเลือดได้อย่างเต็มที่และยังทำให้ตับไม่สามารถ ส่งสารอาหารและพลังงานที่จำเป็นไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายไดอย่างทันการ ปัญหาโรคกระดูกพรุนนั้นมีต้นเหตุมาจากน้ำดีที่หลั่งไม่พอและปัญหาระบบการดูด ซึมไขมัน ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการดูดซึมแคลเซี่ยมได้ไม่พอเพียง นอกจากสลายไขมันในอาหารแล้ว น้ำดียังช่วยขับพิษในตับ ช่วยลดกรดในลำไส้ และทำความสะอาดลำไส้อีกด้วย  เมื่อการหลั่งน้ำดีในตับขาดความสมดุล ผลึกคอลเลสเตอรอล ( ผลึกไขมัน ) ก็จะไปผนึกกับน้ำดี กลายเป็นก้อนนิ่ว และไปอุดตันในท่อน้ำดีเล็กๆทำให้น้ำดียิ่งไหลได้ช้าลง เป็นเหตุให้น้ำดีผนึกตัวกับผลึกไขมันเหล่านี้ได้มากขึ้นไปอีก ท่อตับนั้นจะถูกนิ่วในตับ ( นิ่วที่ก่อขึ้นภายในตับ ) นับไม่ถ้วนอุดตัน ทำให้ประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารลดลงเนื่องจากว่าตับจะหลั่งน้ำดีออกมา เรื่อยๆ ดังนั้นจึงมีผลึกตัวของน้ำดีมากขึ้นเรื่อยๆน้ำดีบางส่วนจะไหลเข้าสู่เส้น เลือด เมื่อใดที่น้ำดีเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว จะทำให้มีตัวเหลือง(ดีซา่น) แต่ละคนล้วนมีนิ่วในตับอยู่จำนวนหนึ่ง บางคนมีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดีด้วยเช่นกัน เมื่อใช้วิธีการบำบัดชะล้างตับและดูแลสุขภาพที่ถูกเราก็จะมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรงขึ้น  หากอยากรู้ว่าคุณมีนิ่วอยู่ในตับหรือไม่มีวิธีคือ การล้างพิษตับ แล้วคุณจะพบว่าเมื่อคุณได้ขับนิ่วที่ก่อตัวเป็นผลึกออกไปแล้ว อาการโรคต่างๆภายในร่างกายก็จะค่อยๆหายไปและทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้
โครการล้างพิษตับ -นิ่วในถุงน้ำดี คือการดูแลฟื้นฟูร่างกายแบบธรรมชาติเหมาะสำหรับทุกคน ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ที่ทานอาหารไม่ถูกหลักอนามัย เช่นอาหารทอด ปิ้ง ย่าง ผู้ที่มีความเครียดสูง พักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีสารพิษสะสม อันเป็นสาเหตุให้ตับทำงานหนัก และเกิดโรคต่างๆตามมาเช่น    ไขมันเกาะตับ ( fatty liver ) ตับอักเสบ ตับแข็ง มะเร็งในตับ โรคนิ่ว โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลและปลอดภัย และทำความสะอาดลำไส้ด้วย

          Link     https://cheewathum.blogspot.com
+++++++++++++++++++++++++++++++


                  อาการข้างเีคียงการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

บำบัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีธรรมชาติ อาการข้างเีคียงการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี การออกกำลังกายหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

มะเร็งถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดได้อย่างไร

ตับ  liver เป็นอวัยวะสร้างน้ำดี ซึ่งจะส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี เมื่อต้องการไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีก็บีบตัวส่งน้ำดีไปตามท่อน้ำดี common bile duct เข้สู่ลำไส้  doudenum และย่อยอาหาร น้ำดีประกอบด้วย น้ำ ,cholesterol ,ไขมัน, bile salt เมื่อน้ำในน้ำดีลดลงก็ทำให้เกิดนิ่ว พบบ่อยๆมี 2 ชนิดคือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และนิ่วที่เกิดจากเกลือต่างๆ

นิ่วในถุงน้ำดีอาจจะหลุดและอุดทางเดินน้ำดีทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว

  • คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มี cholesterol เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
  • การได้ฮอร์โมน estrogen จากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับ cholesterol ในน้ำดีสูง
  • เชื้อชาติ
  • เพศ หญิงพบมากกว่าชาย
  • อายุที่พบบ่อยอายุ 60 ขึ้นไป
  • ได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้ cholesterol ในน้ำดีสูง
  • ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีระดับ triglyceride สูง
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี

ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการอะไร บางรายมีอาการปวดเฉียบพลัน

  • ปวดท้องบนขวาปวดตลอดอาจจะปวดนานเป็นชั่วโมง
  • ปวดมักจะปวดอยู่บริเวณสะบัก
  • อาจจะปวดร้าวไปไหล่ขวา
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเรื้อรังโดยมากมักจะสัมพันธ์กับอาหารมัน อาการอื่นที่พบมี

  • ท้องอืด
  • รับประทานอาหารมันแล้วทำให้ท้องอืด
  • ปวดมวนท้อง
  • เรอเปรียว
  • มีลมในท้อง
  • อาหารไม่ย่อย

ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์

  • ไข้สูง และมีเหงื่อออก
  • ไข้เรื้อรัง
  • ตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกดีซ่าน
  • อุจาระเป็นสีขาว

การวินิจฉัย

หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายหากสงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์จะส่งตรวจ ultrasound โดยใช้คลื่นเสี่ยงความถี่สูงตรวจหานิ่ว บางรายแพทย์จะตรวจพิเศษ เช่น Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) เป็นการตรวจโดยการส่องกล้องเข้าในท่อน้ำดีเพื่อหาตำแหน่งของนิ่วในท่อน้ำดี

การรักษา

นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นิ่วที่มีอาการต้องผ่าตัดเอานิ่วออกวิธีทีนิยมคือ laparoscopic cholecystectomy โดยการเจาะที่หน้าท้องเป็นรูหลายรูแล้วใส่เครื่องมือเพื่อตัดเอาถุงน้ำดีออกมา วิธีนี้สะดวก เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเก่า และอยู่ในโรงพยาบาลไม่นาน ผู้ป่วยบางรายหลังส่องดูแล้วผ่าตัดแบบ laparoscopic cholecystectomy ไม่ได้ต้องเปลี่ยนโดยการผ่าตัดแบบเก่า

นิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีอาจจะเอาออกโดยการทำ Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) และเอานิ่วออก

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดผลที่ได้ยังไม่ดี คือ

  • Oral dissolution therapy เป็น bile acid ใช้ละลายนิ่วที่เป็น cholesterol ที่ก้อนไม่ใหญ่ ต้องใช้เวลานานในการละลาย ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดท้องร่วง และตับมีการอักเสบเล็กน้อย
  • Extracorporeal shockwave lithotripsy (ESWL).โดยการใช้คลื่นแสงกระแทกให้นิ่วแตก หลังการทำผู้ป่วยอาจจะปวดท้อง และอัตราผลสำเร็จต่ำ

ถุงน้ำดีถูกตัดออกไปแล้วมีผลอย่างไรต่อร่างกาย

เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นที่เก็บน้ำดีไว้ เมื่อต้องการใช้ถุงน้ำดีก็จะบีบตัวไล่น้ำดีออกมา คนที่ถูกตัดถุงน้ำดีจะมีน้ำดีไหลออกมาตลอดทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องร่วง บางรายงานแนะนำต้องตรวจระดับ cholesterol

              Link    https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

              การออกกำลังกายหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี

 

 

 

นิ่วในทางเดินน้ำดี
     
เป็นโรคที่พบบ่อย. พบได้ประมาณ 5-10% ของประชากร  โดยพบในเพศหญิงมากกว่าชาย ประมาณ 2-3 เท่า  และพบ ได้มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น (ส่วนใหญ่ พบในอายุ มากกว่า 40 ปี, ในคนอายุเกิน 70 ปี พบได้ถึงประมาณ 15-30%)
        นิ่วในถุงน้ำดี (gallstone) เกิดจากการตกผลึกของสารโคเลสเตอรอล (ไขมัน) ปกติน้ำดี   ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่ย่อยอาหารกลุ่มไขมัน จะมีสารโคเลสเตอรอลละลายอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ    จำนวนหนึ่งคนที่จะเป็นนิ่ว      มักจะมีการหลั่งโคเลสเตอรอลออกมาในน้ำดี มากเกินปกติ ประกอบกับเยื่อบุผิวภายในถุงน้ำดีมีความผิดปกติอันเกิดจากการติดเชื้อ เรื้อรัง (แบบไม่รู้ตัวคือไม่มีอาการ ผิดปกติให้เห็น) ทำให้มีการดูดซึมน้ำและกรดน้ำดีออกไปจากน้ำดี    ทำให้สัดส่วนของสารต่างๆในน้ำดีเสียดุลไป  เป็นเหตุให้มีการตกผลึกของ โคเลสเตอรอลขึ้น โดยมีสารแคลเซียม (หินปูน) จับตัวร่วมด้วยในสัดส่วนต่างๆ กลายเป็นก้อนนิ่วในถุงน้ำดี  ซึ่งอาจเป็นก้อนนิ่วเดี่ยว หรือเป็นก้อนเล็กๆหลายก้อนก็ได้

อาการ

     คนที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี หากมีการเคลื่อนตัวของก้อนนิ่วไปอุดตันของทางเดินน้ำดี จะมีอาการปวดท้องตรงบริเวณใต้ชายโครงขวา
หรือลิ้นปี่   ลักษณะปวดบิดเกร็งเป็นพักๆ (แบบท้องเดิน) อาจมีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา มักปวด นานเป็นชั่วโมง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยอาการปวดท้องมักเกิดขึ้นหลังกินอาหารมันๆ หรือหลังกินอาหารมื้อหนัก อาการ ปวดท้องอาจทุเลาไปได้เอง แต่ก็อาจกำเริบเป็นครั้งคาว โดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร  เวลาปวดท้อง ใช้มือกดดูบริเวณที่ปวดจะไม่เจ็บ
1. ไม่มีอาการ : นิ่วในถุงน้ำดี ส่วนใหญ่ (มากกว่า 50%) ไม่มีอาการ และในกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดอาการขึ้นได้ ประมาณ 1-2% ต่อปี
2.  มีอาการ
     2.1 ท้องอืด แน่นท้อง (Dyspepsia) : โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังรับประทานอาหารมัน ซึ่งอาการแบบนี้ อาจเกิดจากโรคระบบ ทางเดินอาหารอื่น เช่น โรคกระเพาะอาหารหรือ โรคของลำไส้ใหญ่ ก็ได้
     2.2 ปวดเสียดท้อง (Biliary colic) :  อาการ ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่. ซึ่งมักเป็นหลังรับประทานอาหารมัน แต่อาการอาจเป็นอยู่นานหลายชั่วโมง (แต่มักไม่เกิน 8 ชั่วโมง) แล้วค่อยกลับเป็นปกติ อาจร้าวไปสะบักขวา หรือที่หลัง
สาเหตุ มี 3 ปัจจัยหลัก คือ

  1. ความอิ่มตัวของน้ำดี 
  2. การบีบตัวของถุงน้ำดีไม่ดี หรือมีการอุดตันของทางเดินน้ำดี 
  3. การติดเชื้อในทางเดินน้ำดี 

      ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความอ้วน, เบาหวาน, โรคโลหิตจางบางชนิด, อาหารไขมัน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ามีอุบัติการณ์ของโรคนี้ สูงขึ้น
      นิ่วในถุงน้ำดี หากไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า จะต้องผ่าตัด, เพราะ อาจไม่มีอาการเลยตลอดชีวิต,ยกเว้นในคนไข้บางกลุ่ม
ที่แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด เช่น อายุน้อย (เพราะว่า มีโอกาสเกิดอาการขึ้นมาได้ในอนาคต), โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นต้น
ส่วนนิ่วในถุงน้ำดี ที่มีอาการ หรือมีภาวะแทรกซ้อนแล้ว ควรได้รับการผ่าตัด
การรักษานิ่วในถุงน้ำดี 
1.
การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ซึ่งวิธีมาตรฐานดั้งเดิม ใช้วิธีการ ผ่าตัดเปิดหน้าท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา
(Open Cholecystectomy) โดยศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน ทำเป็นครั้งแรก   เมื่อประมาณกว่า 100 ปี มาแล้ว(พ.ศ. 2427) วิธีนี้ จะมีแผลผ่าตัดที่ยาว ประมาณ 10 ซม. โดยหากมีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย ก็จะทำการเปิดท่อน้ำดี เพื่อเอานิ่วออกได้ไปพร้อมกัน
2. การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก โดยใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)
โดยศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส ทำเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2530 นี้เอง. วิธีนี้ กำลังเป็นที่นิยม และทดแทนการผ่าตัดวิธีมาตรฐานดั้งเดิม
เนื่องจากมีแผลผ่าตัดที่เล็กลง (เป็นแผลเล็ก ๆ จำนวน 4 แผล ขนาด 0.5-1 ซม. เท่านั้น แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เนื่องจากมีการใช้ กล้องและอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติมหลายอย่าง. ในการผ่าตัดวิธีนี้ หากมีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย ก็สามารถเอาออกได้ หรืออาจใช้
วิธีส่องกล้องผ่านทางเดินอาหาร (จากปากเข้าไปถึงลำไส้เล็ก) เพื่อเอานิ่วในท่อน้ำดีออกก็ได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เช่นกัน ( เรียกวิธีการนี้ว่า อีอาร์ซีพี : Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography )

ข้อดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีออกโดยใช้กล้อง
1. อาการปวดเจ็บที่แผลผ่าตัดมีน้อยกว่า
2. ระยะเวลาที่ต้องอยู่ ร.พ. สั้นกว่า (ประมาณ 1-2 วัน หลังผ่าตัด, เทียบกับ 5-7 วัน ในการผ่าตัดแบบเดิม)
3. การกลับไปปฏิบัติหน้าที่การงานหลังการรักษาเร็วกว่า
4. แผลผ่าตัดสั้นกว่า จึงมีผลต่อความสวยงามของหน้าท้อง

ข้อเสีย
1. ต้องใช้เครื่องมือพิเศษบางอย่าง ทำได้เฉพาะใน ร.พ. เพียงบางแห่ง
2. ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
3. ต้องใช้ศัลยแพทย์ที่มีความสามารถในการผ่าตัดวิธีนี้

คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด

  1. การเตรียมตัวมานอนโรงพยาบาล โดยเตรียมของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น ผู้ป่วยที่จะรับการผ่าตัดจะต้องมานอนโรงพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการผ่าตัด
  2. การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดย  1 วันก่อนผ่าตัดผู้ป่วย จะต้องทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน
  3. การลงนามยินยอมผ่าตัดผู้ป่วยที่บรรลุนิติภาวะที่มีความ สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ให้ลงนามยินยอม รักษาโดยการผ่าตัดด้วยตนเอง   หากผู้ป่วยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะให้ผู้ปกครองลงนามยินยอม  และเตรียมญาติเพื่อเป็นพยาน ในการลงนามยินยอมในการรักษาโดยการผ่าตัด
  4. การเตรียมค่าใช้จ่ายในการเสียส่วนเกินหากผู้ป่วยเลือกการรักษาโดยการผ่าตัดด้วยกล้องวิดีทัศน์
  5. การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด หลังผ่าตัดหากผู้ป่วยมีอาการปวดแผลแจ้งเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยเพื่อรับยาแก้ ปวดตามแผนการรักษา หากมีอาการผิดปกติเช่นปวดแผลมาก ท้องอืดแข็งตึงหรือมีไข้แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วย
  6. การปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน การรับประทานอาหาร ในช่วง 4- 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย และ มีแคลอรีสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ แป้ง  และจำพวกวิตามินซึ่งมีในพวกผักผลไม้ต่างๆ หลังจากนั้นผู้ป่วยรับประทานอาหาร ได้ตามปกติ เพราะ น้ำดีสามารถไหลผ่านไปยังลำไส้เล็กส่วนต้นได้ดีมากขึ้น เพื่อช่วยย่อยไขมัน แต่ต้องระวังไม่ให้รับประทาน อาหารที่มีไขมันมากเกินไป
  7. การสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง เช่นปวดท้อง มีไข้หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน แนะนำให้ไปโรงพยาบาลหรือสถานี อนามัยใกล้บ้าน
  8. การพักผ่อนและการออกกำลังกาย แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอประมาณวันละ 6 -8 ชั่วโมง และให้มีกิจวัตรประจำวัน ได้ตามปกติ และสามารถออกกำลังกายตามความเหมาะสมตามสภาพร่างร่างกาย
  9. การทำงาน หลีกเลี่ยงการทำงานหนักในระยะแรกหลังผ่าตัด 3 เดือน หากจำเป็นต้องเริ่มทำงานก็สามารถทำได้ โดยหลีกเลี่ยง การยกของหนัก 6 สัปดาห์ หลังจากครบ  3 เดือน  ผู้ป่วยสามารถเริ่มทำงานหนักได้
  10. การรับประทานยา รับประทานยาให้ถูกต้องตามแผนการรักษาของแพทย์พร้อมทั้งสังเกตอาการที่จะเกิด ขึ้นจากการแพ้ยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นขึ้น ให้รีบกลับมาพบแพทย์
  11. การทำความสะอาดแผลและการตัดไหม ส่วนใหญ่เย็บด้วยไหมละลาย หากผู้ป่วยที่ที่ต้องตัดไหมให้ไปตัดไหมที่โรงพยาบาล และสถานีอนามัยใกล้บ้าน
  12. การมาตรวจตามนัด ควรมาพบแพทย์ตามวันเวลาที่แพทย์กำหนดในใบนัด โดยต้องนำบัตรประจำตัวโรงพยาบาล ใบนัดและบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วยทุกครั้งที่มาพบแพทย์

        Link           https://www.phraehospital.go.th

+++++++++++++++=+++++

อัพเดทล่าสุด