อาหารโรคเก๊าท์ รักษาโรคเก๊าด้วยสมุนไพร โรคเก๊าท์


1,794 ผู้ชม


อาหารโรคเก๊าท์ รักษาโรคเก๊าด้วยสมุนไพร โรคเก๊าท์

              อาหารโรคเก๊าท์
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

             สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์  คือปัจจัยทางกรรมพันธุ์และภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดกรดยูริคสูงในเลือดซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับกรดยูริคหรือ สารพิวรีนเข้าไปมากหรือมีการสลายของคลีโอโปรตีนซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ มาก  หรือกรดยูริคที่มีอยู่ไม่สามารถถูกขับถ่ายออกมาทางไตได้ตามปกติ  ทำให้กรดยูริคคั่งอยู่ในเลือดมากเกิดภาวะยูริคสูงในเลือด

อาการของโรคเก๊าท์

            ระยะแรก  มักมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทันใดมักพบในอาการปวดที่หัวแม่เท้า  หัวเข่า  หรือข้อเท้าก่อน  อาการมักเกิดขึ้นภายหลังจากการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมากๆ  การดื่มเหล้ามาก  หรือการสวมรองเท้าที่คับ  บริเวณผิวหนังตรงที่ข้อที่อักเสบตึงร้อนเป็นมัน  ผู้ป่วยมักมีไข้  หนาวสั่น  อ่อนเพลียมีเม็ดเลือดขาวสูง  อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2-3  วัน  และหายไปเองในระยะ  5-7  วัน

            ระยะพัก  เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดงแต่กรดยูริคในเลือดมักสูง  และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีกจนถึงขั้นเรื้อรังอาจมีอาการเป็นระยะเนื่องจาก ผลึกยูเรตเ)้นจำนวนมากสะสมอยู่ในข้อกระดูก  เยื่ออ่อนของข้อต่อ  และบริเวณเส้นเอ็นทำให้เกิดโรคกระดูกเสื่อม เมื่อเป็นมากจะมีการสะสมของผลึกนี้เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อและเกิดปุ่มขึ้น ที่ใต้ผิวหนังมักเริ่มที่หัวแม่เท้าและปลายหูก่อนข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะ อยู่  อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูปและเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้น ๆ

อาการแทรกซ้อน

            พบว่าร้อยละ  25  ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์มักมีนิ่วในไตด้วย  ผลึกยูเรตอาจจะสะสมอยู่ในส่วนกรวยไตทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ  ถ้ามีการสะสมในไตมาก ๆ  จะขัดขวางการทำงานของไตหรือทำลายเนื้อไตทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว

การควบคุมอาหาร

            เนื่องจากกรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนดังนั้นในการรักษาโรคเก๊าท์  จึงต้องควบคุม

สารพิวรีนในอาหารด้วย  อาหารที่มีพิวรีน  อาจแบ่งเป็น  3  กลุ่ม  คือ

  •      อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย  (0-50  มิลลิกรัม  ต่อ  อาหาร  100  กรัม)

    •        นมและผลิตภัณฑ์จากนม

    •        ไข่เป็ด,ไข่ไก่,ไข่นกกระทา

    •        ธัญญาพืชต่าง ๆ

    •        ผักต่าง ๆ

    •        ผลไม้ต่าง ๆ

    •        น้ำตาล

    •        ไขมัน

    •        ผลไม้เปลือกแข็ง (ทุกชนิด)

  •      อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง  (50-150  มิลลิกรัม  ต่ออาหาร  100  กรัม)

    •        เนื้อหมู

    •        เนื้อวัว

    •        ปลากะพงแดง

    •        ปลาหมึก

    •        ปู

    •        ถั่วลิสง

    •        ใบขี้เหล็ก

    •        สะตอ

    •        ข้าวโอ๊ต

    •        ผักโขม

    •        เมล็ดถั่วลันเตา

    •        หน่อไม้

  •      อาหารที่สารพิวรีนสูง  (150  มิลลิกรัมขึ้นไป)

    •        หัวใจ  (ไก่)                                                       

    •        ไข่ปลา

    •        ตับไก่                                                

    •        มันสมองวัว

    •        กึ๋นไก่                                                

    •        หอย

    •        เซ่งจี๋  (หมู)                                                        

    •        ห่าน

    •        ตับหมู                                                               

    •        น้ำต้มกระดูก

    •        ปลาดุก                                                              

    •        ยีสต์

    •        เนื้อไก่,เป็ด                                                        

    •        ซุปก้อน

    •        กุ้งชีแฮ้                                                              

    •        น้ำซุปต่าง ๆ

    •        น้ำสกัดเนื้อ                                                        

    •        ปลาไส้ตัน

    •        ถั่วดำ                                                

    •        ปลาขนาดเล็ก

    •        ถั่วแดง                                                              

    •        เห็ด

    •        ถั่วเขียว                                                              

    •        กระถิน

    •        ถั่วเหลือง                                                            

    •        ตับอ่อน

    •        ชะอม                                                

    •        ปลาอินทรีย์

    •        กะปิ                                                  

    •        ปลาซาดีนกระป๋อง

การจัดอาหาร

  1. การ จัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารฟิวรีนอย่างเข้มงวด  ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษทั้งในด้านโภชนาการและรสชาติ  ลักษณะอาหาร  เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามกำหนดและได้รับสารอาหารเพียงพอ

  2. ในระยะที่อาการรุนแรง  ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากและให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ

  3. งด เว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก  ได้แก่  ขนมหวานต่าง ๆ  อาหารที่มีไขมันมาก  เช่น  อาหารทอดและขนมหวานที่มีน้ำตาลและไขมันมาก  เช่น  อาหารทอดและขนมหวานที่มีน้ำตาลและไขมันมาก

  4. จัดอาหารที่มีใยอาหารที่มีใยอาหารมากแก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้น้ำหนักลดลง

  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น

ตัวอย่างอาหารจำกัดพิวรีนอย่างเข้มงวด

 อาหารมื้อเช้า      ข้าวสวย               ไข่ต้ม

     ผัดผักบุ้ง               ส้มเขียวหวาน 

 อาหารมื้อกลางวัน  

     ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้วใส่ไข่  คะน้า

     ข้าวต้มน้ำวุ้น

 อาหารมื้อเย็น      ข้าวสวย                ต้มยำปลา

     ผัดคะน้าหมู            ไอศกรีม

 อาหารมื้อเช้า      ข้าวต้มหมู              ไข่ลวก

     ชาหรือโอวัลติน      

 อาหารมื้อกลางวัน      ข้าวสวย                ต้มยำหมู

     ไข่ตุ๋น                   มันต้มขิง

 อาหารมื้อเย็น      ข้าวสวย

     แกงส้มผักรวม  (ไม่ใส่กะปิ)

     ไข่เค็ม                  ผลไม้

  อาหารมื้อเช้า      ข้าวต้มปลาหมึก        ไข่ลวก

     ชาหรือโอวัลติน

 อาหารมื้อกลางวัน      ข้าวผัดหมู              ทับทิมน้ำเชื่อม
  อาหารมื้อเย็น      ข้าวสวย                แกงป่าหมู (ไม่ใส่กะปิ)

     ผัดเปรี้ยวหวาน          ผลไม้

  อาหารมื้อเช้า      ข้าวต้มหมู              ผัดคะน้าหมูกรอบ

     หมูหยอง               ชาหรือโอวัลติน

  อาหารมื้อกลางวัน      ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า       ขนมชั้น
  อาหารมื้อเย็น

     ข้าวสวย                ผัดดอกหอมปลาหมึก    

     หมูทอดอบ             ผลไม้  

         Link     https://www.ekachonhospital.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


            รักษาโรคเก๊าด้วยสมุนไพร

ยาแก้โรคเก๊าท์(ยาสมุนไพร)   เรืองแผนไทยเภสัช
สรรพคุณ แก้โรคเก๊าท์ โดยบำรุงไตให้ดีขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดกรดยูริค

ต้องขออภัยด้วย เนื่องจากช่วงนี้สมุนไพรขาด
จึงไม่สามารถผลิตยาแก้โรคเก๊าท์ได้

โรคเก๊าท์ (Gout)
โรคเก๊าท์เป็นอาการที่เกิดจากภาวะกรดยูริคในเลือดมีปริมาณที่สูงเกินกว่าการอยู่ในรูปของสารละลาย
ในเลือดได้ จึงเกิดการตกผลึกสะสมอยู่ในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ โดยเฉพาะในส่วนที่สัมผัสอากาศเย็นกว่า
บริเวณอื่น  เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้า ทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น
(tophus)

อาการของโรคเก๊าท์
อาการของโรคเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น
โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน
(ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้คิดไว้ก่อนว่าไม่ใช่โรคเก๊าท์)
โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อยๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท
ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใดๆ  ให้เห็น แล้วเมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก
อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้น หลายข้อมากขึ้น
เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค(tophus) สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย
ถ้าเป็นโรคเก๊าท์นานๆ จะทำให้ข้อบิดเบี้ยวได้

สาเหตุของโรคเก๊าท์
สาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากประสิทธิภาพของไตในการขับกรดยูริคออกจากร่างกายไม่ดี
ร่างกายจึงมีการสะสมของกรดยูริค เป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยมากกว่า20ปีขึ้นไป
สำหรับผู้ชาย ระดับกรดยูริคจะสูงตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะทำให้กรดยูริคไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับกรดยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตะกอน
ไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริคในเลือดสูง

เพศชาย ระดับกรดยูริคในเลือดไม่เกิน 7 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร(1 เดซิลิตร)
เพศหญิง ระดับกรดยูริคในเลือดไม่เกิน 6 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร(1 เดซิลิตร)

การรักษาโรคเก๊าท์
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แบ่งการรักษาโรคเก๊าท์ออกเป็น 2 ช่วง
ช่วงแรกผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะได้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยได้ยา colchicine หรือ ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ
หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยา colchicine โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 4 เม็ด
โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด

ในบางประเทศแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์กิน colchicine ทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียง
คือท้องเสีย นั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อที่อักเสบของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่เคยหายอักเสบก่อนเกิดอาการท้องเสีย
ดังนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึกไม่ดีต่อการใช้ยานี้ ถ้าการกินยา colchicine ไม่เกิน
4 เม็ดต่อวัน จะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้น้อยมาก

ช่วงต่อมาผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะได้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้งควรให้ยาลดกรดยูริค
การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับกรดยูริคในเลือดลง
ทำให้ตะกอนกรดยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมด ผู้ป่วยจะสามารถ
หายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ

  - ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กินๆ หยุดๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้
ไม่แนะนำให้กินยา
  - ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ถูกวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจกรดยูริคในเลือด

ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมีกรดยูริคสูง ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคเก๊าท์เสมอไป
มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยกินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่กรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่ได้เป็นโรคเก๊าท์
ซึ่งการกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้ (
ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบโรคเก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องกินยาลดกรดยูริค)

ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ห้ามนวดตรงข้อโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้ออักเสบรุนแรงขึ้น

การรักษาโรคเก๊าท์ด้วยยาสมุนไพรบำรุงไต
เนื่องจากกรดยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง
ทางการแพทย์แผนจีน จึงให้ความสำคัญกับไต ซึ่งทำหน้าที่ขับกรดยูริคออกจากร่างกาย

ดังนั้นความสำคัญของการรักษาโรคเก๊าท์ จึงอยู่ที่การใช้ยาสมุนไพรบำรุงไตให้แข็งแรง
มีศักยภาพในการขับกรดยูริคและปรับสภาพเลือด ให้ผลึกของกรดยูริคที่สะสมตามข้อสามารถละลายออกมา
ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ก็จะหายเป็นปกติได้     ส่วนผู้ที่ไม่เป็นโรคเก๊าท์ แต่ตรวจพบว่ากรดยูริคสูงในเลือดสูง
ก็สามารถรับประทานได้โดยไม่มีอันตราย

วิธีรับประทานยาแก้โรคเก๊าท์(ยาสมุนไพร) เรืองแผนไทยเภสัช
รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนหรือหลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง โดยเลี่ยงจากยาอื่นๆ 2 ชั่วโมง(ถ้ามี)
ในช่วงที่รับประทานยาแก้โรคเก๊าท์อยู่นี้ ควรงดกาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ห้ามรับประทานหน่อไม้และอาหารรสเค็ม อาหารที่เป็นโปรตีนสูง

          Link   https://www.brand-a.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

            โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์


        "โรคเก๊าท์" เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอันเนื่องมาจากการกินชนิดอิ่มหมีพีมันเกินไป กินดีอยู่ดีเกินไป และไม่ค่อยไม่ออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ชายในวัยประมาณ 40 ปี แต่ถ้าเกิดในผู้หญิงมักจะพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว

สาเหตุของโรค

        เกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ (ตับ, เซี่ยงจี้) เป็นต้น ซึ่งจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการ สร้างขึ้นพอดี สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูก โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

อาการของโรค

        มีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และเจ็บ อาจรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ จะทิ้งช่วงระยะเวลาเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดอาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

การรักษา

         โรคนี้เป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้มีน้อย ต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม วิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุด คือ พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

          เป็นที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ท่านสามารถจะอยู่เป็นปกติสุขได้ ถ้าเพียงแต่ท่านจะปฏิบัติตนกลาง ๆ อย่างพอสัณฐานประมาณ เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ ท่านควรปฏิบัติตน ดังนี้
รับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ไม่ควรรับประทานชนิดของอาหารตามที่แพทย์สั่งห้าม
นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดฉับพลันได้ง่าย
สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์ยุ่งยากซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น
ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) จะช่วยได้มากในเรื่องนี้
ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด
ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบว่าท่านเป็นโรคเก๊าท์ ในกรณีที่ท่านจะได้รับการผ่าตัด แม้การผ่าตัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ จึงควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบก่อนทำการผ่าตัด เพื่อศัลยแพทย์จะได้หามาตรการบางอย่างเพื่อปฏิบัติต่อไป

ข้อพึงงดเว้น

          อย่าเอาความวิตกกังวลไปเป็นเพื่อนนอน เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
อย่างออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงานหาความเพลิดเพลิน และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา แต่อย่าให้มากเกินไป
อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้ ฉะนั้น จึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
อย่างรับประทานยาอื่นใดนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ก่อนที่จะปรึกษากับแพทย์ของท่าน เพราะยาบางอย่างอาจออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฤทธิ์ของยารักษาโรคเก๊าท์
อย่าดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์มากจนเกินไป ปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ ขอให้ท่านปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์
อาหารกับโรคเก๊าท์
          เป็นหลักที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปว่าผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงจากของรับประทานที่มีธาติอาหารพิวรีน (Purines) สูง อาหารพวกนี้ เช่น ตับอ่อน (Sweetbreads) ตับ เซ่งจี๊ ม้าม ลิ้น นอกเหนือไปจากนี้แล้วก็ไม่มีกฎตายตัวอะไรสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานได้เช่นปกติ แต่บางรายอาจต้องจำกัดการรับประทานพวกธาติอาหารพิวรีนดังกล่าว ซึ่งก็สุดแต่แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าท่านจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ต้องการหรือต้องจำกัด หรือต้องงดอาหารประเภทใดบ้าง ก็ขอให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนำในการจำกัดสารอาหารพิวรีน

อาหารที่ต้องงด

   พวกเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ ไส้ สมอง เซ่งจี๊
   กะปิ
   ปลาซาดีน, ปลาซาดีนกระป๋อง
   ไข่ปลา
   น้ำซุบสกัดจากเนื้อสัตว์, น้ำเคี่ยวเนื้อ (Meat extracts)
   น้ำเกรวี (Gravies)
อาหารที่ต้องลด (ต้องจำกัด)
   เนื้อสัตว์ (เหลือวันละมื้อ)
   ปลาทุกชนิด และอาหารทะเลอื่น ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู (เหลือวันละมื้อ)
   เบียร์ และเหล้าต่าง ๆ
   ถั่วบางอย่าง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา
   ผักบางอย่าง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง, แอสพารากัส, กระหล่ำดอก, ฝักขม, เห็ด
   ข้าวโอ๊ต
   ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก (Whole-wheat cereal)
อาหารที่รับประทานได้ตามปกติ
   ข้าวต่าง ๆ (ยกเว้นข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก)
   ผัก (ยกเว้นชนิดที่ระบุให้จำกัด)
   ผลไม้
   น้ำนม
   ไข่
   ขนมปังเสริมวิตามิน
   เนย และเนยเทียม
าหารอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุให้งด หรือให้จำกัด

         Link   https://www.scc.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด