โรคเก๊าท์กับอาหาร โรคเก๊าเกิดจากอะไร โรคเก๊าท์ กับการออกกำลังกาย
โรคเก๊าท์กับอาหารอาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์
อาหารที่ทานกับการเป็น โรคเก๊าท์

อาหารที่ทานกับการเป็นเกาต์ (Men's Health)
เรื่องโดย เจดีย์
ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ เขียนข้อความชวนอมยิ้มไว้ว่า "หลายคนมองว่าเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และเห็นภาพเจ้าตัวพุงพลุ้ยนั่งกระดกเบียร์เป็นเหยือก ๆ แกล้มขาหมูทอดมัน ๆ" ซึ่งอันที่จริงแล้วเกาต์เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกชน ชั้น และทุกวรรณะต่างหากล่ะ
ทั้งนี้เกาต์จะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายของเรามีกรดยูริคในเลือดมากจนเกินไป แล้วตกตะกอนภายในข้อ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรืออาจเกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้
มีรายงานจาก หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ระบุว่า เกาต์ มีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมที่ร่างกายของเรา อาจมีความสามารถในการขับกรดยูริคได้น้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า กรดยูริคในเลือดที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นั้นเกิดจากร่างกายผลิตเอง หลายท่านเลยให้ความเห็นว่า ดังนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยโรคเกาต์งดอาหารที่มีสาร "พิวรีน" (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค)
อย่างไรก็ตามมีแพทย์หลายท่านให้ข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ทานอาหารบางอย่าง (ซึ่งอาจเป็นของแสดงต่อร่างกายของเขา) จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้อาหารไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกาต์ แต่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นได้ในกรณีของคนที่มีอาการของ โรคอยู่แล้ว ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดการอักเสบ หรืออาหารบางอย่างที่จัดเป็นของแสลงต่อร่างกายตนเอง
คนป่วยโรคเกาต์ควรเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นอาจยังไม่จำเป็นต้องเลี่ยง เพียงแต่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อิ่มท้อง อิ่มใจ แบบไม่ต้องทรมานความอยากมากเกินไปก็พอแล้ว
เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่าพวกเรา (ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยพุงพลุ้ยหรือไม่ก็ตาม) ควรกินอะไรเพื่อให้ห่างไกลเกาต์ และลดปริมาณกรดยูริคในร่างกายลงได้บ้าง

"อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเกาต์" ดูเหมือนพวกเราจะได้ยินประโยคที่เต็มไปด้วยความห่วงใยอย่างนี้กันอยู่เนือง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไก่ก็มีความเกี่ยวพันกับอาการเกาต์จริง ๆ นั่นแหละครับ เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่สูงปานกลาง ถ้ากินเยอะ ๆ อาจกระตุ้นให้ผู้ที่มีอาการเกาต์อยู่แล้ว เกิดการอักเสบมากขึ้น ทว่าอย่าเพิ่งถึงขั้นงดกินเลยครับ เพราะนักกำหนดอาหารแห่งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ได้แนะนำว่า คงไม่ต้องถึงกับงดทานสัตว์ปีกหรอกครับ เพียงแต่อาจต้องลดความถี่ในการทาน หรือทานในบริเวณที่เสี่ยงน้อย เช่น ไม่ทานตรงข้อ หรือทานบริเวณอกไก่แทนก็ได้ครับ

ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า โดยมักพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน

นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บอกกับ Men’s Health ว่า "คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารทั้งหมด แต่อาจต้อง "ลด" ปริมาณลง" และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ว่าจะ "งดหรือลดอะไร" หากอยากห่างไกลจากอาการปวดข้ออันทรมาน










แม้เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จะมีพิวรีนไม่มาก (ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ระบุว่า เบียร์มีพิวรีนเยอะสุด) แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายจะทำให้เกิดกรดยูริคได้ ดังนั้นอดใจงดดื่มได้ก็งดเถอะครับ นอกจากนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาในอเมริกายังรายงานว่า น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลจากข้าวโพด จะไปเพิ่มกรดยูริคให้ร่างกายได้ด้วยครับ

จากหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ได้แนะนำอาหารที่ใช้ในการบำบัดหรือบรรเทาอาการของโรคเกาต์ไว้ดังนี้

งานวิจัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทดลองในผู้หญิงพบว่า ระดับกรดยูริคในเลือดลดลง แต่จะไปเพิ่มขึ้นในปัสสาวะ เมื่อให้หญิงสาวอดอาหารและกินเชอร์รีลูกโต นอกจากนี้ยังพบว่า เชอร์รีดำ เชอร์รีเหลือง และเชอร์รีแดง รสเปรี้ยว ก็มีประโยชน์เช่นกัน

คนที่มีอาการโรคเกาต์ ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือ ทานถั่วเหลือง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่า ผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือเทศ พริกหวานเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูง วันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้

มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูริคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม

น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จะช่วยชำระกรดยูริคออกจากร่างกายได้ แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

เมนู 3 วันที่จัดใส่จานเสิร์ฟถึงมือผู้อ่าน โดย หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร ประจำศูนย์เบาหวานไทรอยด์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์

มื้อเช้า – ซีเรียล (ไม่ขัดสี) ประมาณ 2 ถ้วยตวง นมปราศจากไขมัน 1 กล่อง
มื้อเที่ยง – ข้าวไก่อบ (เลือกอกไก่) ส้มเขียวหวาน 1-2 ผล
มื้อเย็น – สุกี้น้ำ (ใส่น้ำจิ้มเล็กน้อย) แก้วมังกร ½ ผล

มื้อเช้า – ข้าวต้มกุ้ง 1 ชาม กาแฟหรือชาร้อน 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ก๋วยเตี๋ยวน้ำไม่ใส่เครื่องใน แคนตาลูป 6-8 ชิ้น (พอดีคำ)
มื้อเย็น – ข้าวสวย แกงจืดเต้าหูหมูสับ น้ำส้มคั้น 100% 120 ซี.ซี.

มื้อเช้า – แซนด์วิชไข่ต้มใส่ผักกาดหอม และมะเขือเทศ โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ผัดผักรวมราดข้าว น้ำแตงโมปั่น (หวานน้อย) 1 แก้ว (200 ซี.ซี.)
มื้อเย็น – ข้าวสวย ต้มยำกุ้งน้ำใส แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล
ของหวานหรือขนม - วุ้นเจลาติน / เวเฟอร์ / สมูทตี้แบบไขมันต่ำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

โรคเก๊าเกิดจากอะไร
โรคเก๊าท์ เกิดได้ยังไง
ทำไมเก๊าท์มีแต่ผู้ชาย อายุมาก, ผู้หญิงไม่เป็นโรคนี้หรือ ? เนื่อง จากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลา ที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือด จะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนาน จนกว่าจะเริ่มมีอาการ คืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริค จะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง มีผลทำให้ยูริคในเลือดไม่สูงพบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10 เสียอีก ดังนั้นผู้ที่ไม่มียูริคสูงมาก่อน การกินอาหารที่มีพิวรีนสูง จึงไม่มีทางทำให้ระดับยูริคสูงได้ครับ ปวดข้อแล้วไปเจาะเลือดพบว่ายูริคสูง แสดงว่าเป็นเก๊าท์, ถ้ายูริคไม่สูง ไม่ใช่เก๊าท์ ? เป็น ความเข้าใจที่ผิดครับ การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายง่าย ๆ ครับ ข้ออักเสบจากเก๊าท์วินิจฉัยได้ง่าย เพราะผู้ป่วยจะมีอาการ "ปวด บวม แดง ร้อน" ที่ข้อชัดเจน เป็นเร็ว และมักเป็นข้อเดียว ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า ถ้าผู้ป่วยปวดข้อ แต่สงสัยว่ามีปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ หรือตรวจไม่พบ ไม่ชัดเจน ให้สงสัยว่าไม่ใช่เก๊าท์ ครับ รายที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบ ๆ ข้อ เช่น ข้อเท้า, ส้นเท้า, ข้อมือ, นิ้วมือ ได้ ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา
เก๊าท์ รักษาได้หายขาด จริงหรือ ? ต้องทำยังไง ?
ข้อคำนึงในการรักษาได้แก่
อาหารกับโรคเก๊าท์ ? / เป็นเก๊าท์ ห้ามกินสัตว์ปีก ? ไม่ ห้ามครับ เพราะเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น ยูริคที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง อาหารเป็นส่วนประกอบน้อยมาก ต่อระดับยูริคในเลือด มีการทดลองให้อาสาสมัคร กินอาหารที่มีพิวรีนสูง ทั้ง 3 มื้อ เช่น สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ไข่ปลา เป็นต้น เป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบว่าระดับยูริคในเลือดสูงขึ้นเพียง 1 มก./ดล. ดังนั้นคนธรรมดาที่ไม่ได้กินแต่อาหารที่มีพิวรีนสูงอย่างเดียว จึงแทบไม่มีผลต่อระดับยูริคในเลือดเลย นอกจากนี้ ผู้ป่วยเก๊าท์มักเป็นชายวัยกลางคนหรือสูงอายุ ซึ่งอาจมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน, ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องจำกัดหรืองดอาหารบางประเภทอยู่แล้ว การบอกให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารพิวรีนสูงเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยลำบากในการเลือกกินอาหารยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยเก๊าท์ที่กินยาลดยูริคอยู่แล้ว ยิ่งไม่มีความจำเป็นต้องเลี่ยงอาหารใด ๆ อีกจะเห็นได้ว่า โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่มีหลายคน ยังเข้าใจผิดถึงโรคและการปฏิบัติตัว ทำให้เกิดความลำบากในการรักษา และสร้างความทุกข์กับผู้ป่วยด้วย บทความนี้คงทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ และยิ่งถ้าผู้ป่วยได้อ่านจะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองยิ่งขึ้น Link https://www.joelookyoung.com ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเก๊าท์ กับการออกกำลังกาย ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคเกาท์![]() +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ |