อาหารสำหรับผู้สูงวัยโรคเก๊า โรคเก๊าท์ ทำประกัน โรคเก๊า กิน น้ำพริกกะปิ ได้ไหม
อาหารสำหรับผู้สูงวัยโรคเก๊าอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคในข้อ กรดยูริคมาจากสารพิวรีนพบว่าเป็นในเพศชายมากกว่าในเพศหญิงผู้ที่เป็นจะมี อาการปวดบวมแดง โดยเฉพาะบริเวณหัวแม่เท้า หากปล่อยให้โรคนี้นาน ๆ ไม่รักษาหรือเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง นิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะทำให้ข้อบิดเบี้ยว ค่าปกติกรดยูริคในเลือด ผู้ชายไม่เกิน 7 มิลลิลิตร/ เดซิลิตร และผู้หญิง ไม่เกิน 5.7 มิลลิตร/เดซิลิตร
อาหารกับโรคเก๊าท์
ผู้ ที่เป็นโรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากการกินอาหารชนิดที่มีสารพิวรีนมาก เช่น ตับ ไต สมอง และกินอาหารไขมันมาก ทำให้การขับถ่ายกรดยูริคเป็นไปได้ยาก จึงควรกินอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในหลักเกณฑ์ปกติ
อาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ ได้แก่ อาหารที่มีเส้นใย เช่น ผัก ผลไม้
อาหารที่ควรกิน
- อาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเก๊าท์ สามารถกินได้ไม่จำกัดได้แก่ นม ไข่ ธัญพืชต่าง ๆ ผักสดต่าง ๆ ผลไม้
- อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง กินได้น้อย (หากกินรวมกันต้องไม่เกิน 100 กรัมต่อวัน ) ได้แก่
1. เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ที่ไม่ติดมัน ปลา กระแพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง
2. ข้าวโอ๊ต
3. พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา สะตอ ดอกกะหล่ำ ผักโขมก
อาหารที่มีสารพิวรีนสูง
ได้แก่ เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ปลาดุก
อาหารที่ไม่ควรกิน
อาหารที่มีสารพิวรีนสูง ได้แก่
- เนื้อ สัตว์ เป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ หัวใจ ตับอ่อน ไต มันสมอง ปลา เช่น ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ ปลา กุ้ง หอย กะปิ
- ผัก เช่น เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก หน่อไม้
- ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วแระ ถัวเขียว ถั่วเหลือง
- เบียร์ ขนมปังผสมยีสต์ น้ำต้มกระดูก
Link https://www.agingthai.org/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคเก๊าท์ ทำประกัน
ป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น
เราได้ทำประกัน ของ AIA ให้แม่เป็นประกันชีวิตและได้เพิ่มคุ้มครองโรคร้ายด้วย อาทิเช่น โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต พูดง่ายๆคือโรคที่ร้ายแรง ในกรมธรรม์บอกไว้ว่า ถ้าผู้ประกันเป็นโรคร้ายจะจ่ายเลยก่อน 300,000 บาท(แล้วแต่เบี้ยประกันของแต่ละคน) หลังจ่ายนั้นจะจ่ายค่าผ่าตัด ค่ายา ค่าห้อง อื่นๆ แล้วแต่เบี้ยที่ทำ
ก่อนทำเราก็มั่นใจแล้วว่าประกันชีวิตของ AIA น่าจะดีที่สุดแล้ว เพราะมีชื่อเสียงมานาน เราจึงตัดสินใจทำให้แม่เรา โดยยอมอดออมไว้เพื่อไปจ่ายค่าประกันทุกปี เพื่อที่จะได้ไว้พึ่งพาบ้างเวลาแม่เราป่วยขึ้นมา เชื่อว่าทุกคนที่ทำก็มีวัตถุประสงค์เดียวกับเรา
แต่สิ่งที่เราไม่เคยคิดมาก่อนก็เกิดขึ้นแม่เราป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งโชคยังดีที่เป็นระยะแรกซึ่งสามารถรักษาหายได้ ปัจจุบันกำลังฉายแสงอยู่ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 700,000 บาทแล้ว ซึ่งเราต้องสำรองจ่ายไปก่อน
ซึ่งตามกรมธรรม์ที่ทำไว้เราต้องได้ค่าคุ้มครองโรคร้ายก่อน 300,000 บาทตามที่ทำไว้ และค่าอื่นๆก็เบิกได้อีกตามเบี้ยประกัน ** แต่แล้ว AIA บอกว่าขอสืบประวัติก่อนที่จะจ่ายเงิน ใช้เวลาสืบประมาณ 5 เดือน **
หลังจาก 5 เดือนผ่านไปมีจดหมายจาก AIA ส่งมาที่บ้าน บอกว่าทางบริษัทขอคืนเบี้ยประกันทั้งหมดเพราะไม่สามารถจ่ายเงินตามกรมธรรม์ได้
** เนื่องผู้ป่วยมีประวัติเคยความดันขึ้น**มาก่อนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และไม่ยอมแจ้งทาง AIA ฉนั้นทางบริษัทขอยกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้
ช๊อค!สิครับ ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เราก็พึ่งรู้นะว่าความดันขึ้นเพราะความเครียดเนี๊ยมันต้องยกเลิกกรมธรรม์เลย เราข้องใจเลยไปปรึกษาหมอด้านความดัน คุณหมอบอกว่าไม่เกี่ยวกันเลยความดันกับมะเร็งคนละเรื่องกัน คุณหมอก็แนะนำให้ไปฟ้อง สคบ. ตอนนี้ทางเรากำลังดำเนินการอยู่
ตอนนี้ที่บ้านเรายกเลิกประกันของ AIA ทั้งหมด ไปทำกะบริษัทอื่นแล้ว ทุเรศมาก เอาเปรียบผู้บริโภค ตอนทำแทบจะก้มลงกราบ พอป่วยก็ถีบหัวส่ง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
โรคเก๊า กิน น้ำพริกกะปิ ได้ไหม
อันเนื่องมาจากกระทู้ของคุณธนาธิปใน Impressive songs
พูดถึงโรคเก๊าท์ ...จึงขอยกมาเป็นหัวข้อใหม่ตรงนี้
เผื่อสมาชิกท่านอื่นจะได้สนใจศึกษาไปด้วย
โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง
ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดยูริกภายในข้อ
และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย
คนแต่ละวัย ก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้
เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ
และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย
ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะเป็นเพศชาย
โรคเกาต์ ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เกิดจากปัญหาในเรื่องอาหารการกิน
วิธีการป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด
คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง
เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก
ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
-เป็นที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ท่านสามารถจะอยู่เป็นปกติสุขได้
ถ้าเพียงแต่ท่านจะปฏิบัติตนกลาง ๆ อย่างพอสัณฐานประมาณ
เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ ท่านควรปฏิบัติตน ดังนี้
-รับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ
ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ไม่ควรรับประทานชนิดของอาหารตามที่แพทย์สั่งห้าม
-นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ
จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดฉับพลันได้ง่าย
-สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ลดความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ
เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป
จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
-ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไป
จะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์ยุ่งยากซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น
-ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย
การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) จะช่วยได้มากในเรื่องนี้
-ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด
-ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบว่าท่านเป็นโรคเก๊าท์ ในกรณีที่ท่านจะได้รับการผ่าตัด
แม้การผ่าตัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
จึงควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบก่อนทำการผ่าตัด
เพื่อศัลยแพทย์จะได้หามาตรการบางอย่างเพื่อปฏิบัติต่อไป
ข้อพึงงดเว้น
-อย่าเอาความวิตกกังวลไปเป็นเพื่อนนอน
เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
-อย่าออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงานหาความเพลิดเพลิน
และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา แต่อย่าให้มากเกินไป
-อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป
ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้
ฉะนั้น จึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
-อย่ารับประทานยาอื่นใดนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง หรือก่อนที่จะปรึกษากับแพทย์ของท่าน
เพราะยาบางอย่างอาจออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฤทธิ์ของยารักษาโรคเก๊าท์
-อย่าดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์มากจนเกินไป
ปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
ขอให้ท่านปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์
เป็นหลักที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปว่าผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาติอาหารพิวรีน (Purines) สูง
อาหารพวกนี้ เช่น เนื้อสัตว์ปีก ได้แก่ เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ
ตารางอาหารที่มีปริมาณพิวรีนระดับต่างๆ
ธัญพืช ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์จากนม
.. | <- เจละติน |
(ข้อมูลจาก https://th.answers.yahoo.com, https://www.yourhealthyguide.com)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++