การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง


1,302 ผู้ชม


การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง

                   การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง

หูดหงอนไก่ คือหูดที่เกิดขึ้นที่อวัยวะเพศซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ อาจติดต่อโดยเพศสัมพันธ์ หรือเกี่ยวกับการดูแลความสะอาดเฉพาะที่ หูดที่อวัยวะเพศจะขึ้นเป็นติ่งเนื่องอกอ่อนๆสีชมพูซึ่งลุกลามอย่างรวดเร็ว จนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ หูดหงอนไก่มีระยะฟักตัว ประมาณ 1 ถึง 6 เดือน หลังรับเชื้อมาแล้ว บางราย แค่สัปดาห์ก็แสดงอาการ บางรายเป็นเดือนๆค่อยแสดงอาการแต่หลายๆรายก็ไม่แสดงอาการเลยก็มี HPV หรือในชื่อเต็มว่า Human Papilloma Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดหูดชนิดต่างๆ มีมากกว่า 180 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็ก่อโรคหูดแตกต่างกันไป ที่สำคัญมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ที่ ก่อให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ เป็นหูดที่เรารู้จักกันดีมานาน แต่เดิมเราก็ไม่ได้เฉลียวใจถึงความร้ายกาจของมัน เป็นมาก็รักษากันไป แต่ในตอนหลังเราพบว่า หูดเหล่านี้นอกจากจะเกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ เบอร์ 6 และ เบอร์11 แล้วก็มีหลายรายที่เกิดจากสายพันธุ์เบอร์ 16 และเบอร์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดุมีโอกาสทำให้กลายเป็นมะเร็งได้ หูดหงอนไก่จึงไม่ใช่หูดธรรมดาๆ อย่างที่เราเคยรู้จักกันซะแล้ว การติดเชื้อ HPV มีมากแค่ไหน มีการประมาณการกันว่า ประชากรของไทยเรา ประมาณ 20 ? 40 % ติดเชื้อ HPV แต่ส่วนใหญ่การติดเชื้อนั้นไม่แสดงอาการ ส่วนที่มีอาการไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ธรรมดาหรือสายพันธุ์ดุ ก็มีโอกาสหายเองได้เหมือนกัน โดยที่คนอายุน้อยมีโอกาสหายได้เองมากกว่าคนอายุมาก หูดของอวัยวะสืบพันธุ์ มีอาการแสดงออกหลายแบบ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 4 กลุ่มดังนี้ 1. หูดหงอนไก่ ( condyloma accuminata) เป็นหูดที่เรารู้จักกันดี โดยเฉพาะนักเที่ยวทั้งหลายทราบซึ้งกันเป็นอย่างดี มีลักษณะเป็นดอกกะหล่ำหรือแบบหงอนที่หัวไก่ชน เป็นติ่งเนื้ออ่อนๆ สีชมพูคล้ายหงอนไก่หูดชนิดนี้ชอบขึ้นตรงบริเวณที่อับชื้นและอุ่น 2. หูดผิวเรียบ (smooth papular warts) มีสีเนื้อ ผิวเรียบขนาด 1 ? 4 มิลลิเมตร มักพบบริเวณเยื่อบุต่างๆ แต่ที่ผิวหนังก็อาจพบได้ ที่พบบ่อยๆ ก็ตรงโคนอวัยวะที่ถุงยางอนามัยคลุมไม่ถึง 3. หูดผิวหนัง (keratotic genital warts) ลักษณะก็เหมือนหูดตามผิวหนังทั่วไป บางรายอาจพบหูดนี้ ตามร่างกายก่อนที่จะเป็นที่อวัยวะเพศด้วยซ้ำไป 4. หูดแบน (flat warts) อาจเป็นหลายจุดใกล้ๆกันแล้วรวมตัวเป็นปื้นใหญ่ มักพบตามเยื่อบุต่างๆ หรือตามผิวหนังก็อาจพบได้ นอกจากนี้ยังมีชนิดย่อยๆ ที่พบได้เช่น หูดยักษ์ ( Giant Condyloma Accumunata หรือ Buschke-Lowenstein tumor) เกิดจาก HPV สายพันธุ์ไม่ดุ (6, 11) แต่ดูน่ากลัวเพราะมีขนาดใหญ่ หูดในท่อปัสสาวะ ( Urethral Meatus Warts) เป็นหูดที่มีปัญหาในการรักษามากที่สุด เพราะมักจะไม่หายขาด หายแล้วกลับมาเป็นอีก เพราะนอกจากจะเกิดบริเวณปลายท่อปัสสาวะให้เจ้าของเห็นแล้ว ก็อาจยังมีในท่อปัสสาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย หูดในทวารหนัก (Intra-Anal Warts) หูดพวกนี้พบมากในพวกเกย์ พบว่าเยื่อบุในทวารหนักมีลักษณะคล้ายกับบริเวณปากมดลูกจึงมีโอกาสเกิดมะเร็ง ได้เช่นเดียวกับปากมดลูก เมื่อปีที่แล้วมีรายงานใน New England Journal of Medicine ว่าพบมะเร็งที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในทวารหนักด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามะเร็งนั้นกลายพันธุ์มาจากหูดที่เกิดจากเชื้อ HPV อวัยวะเพศอักเสบจากหูด (Papillomavirus-associat balanoprosthitis) อันนี้พบค่อนข้างบ่อย จะเกิดรอยแผลแตกเป็นร่องๆ โดนน้ำหรือโดนของเหลวในช่องคลอดจะแสบ เวลาแข็งตัวหรือเวลาร่วมเพศจะเจ็บ รักษาไม่ค่อยจะหายขาด เป็นๆหายๆ มะเร็งปากมดลูก เดิมที่เราเคยโทษว่าเกิดจากเริมนั้น เดี๋ยวนี้พิสูจน์แล้วว่าเกิดจากเชื้อ HPV นี่แหละ ดังนั้นถ้าท่านเป็นหูดหงอนไก่ตรงอวัยวะเพศ ก็คงต้องตรวจป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) บ่อยหน่อย ตรวจปีละครั้งอาจไม่พอซะแล้ว หรือถ้าตรวจ Pap smear แล้วพบว่ามีเชื้อ HPV อยู่ละก้อ หมอก็ต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมด้วย หญิงมีครรภ์ ถ้าเป็นหูดหงอนไก่อยู่ด้วย หูดจะขยายตัวอย่างเร็วมาก เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากในช่วงตั้งครรภ์ ต้องรีบรักษาแต่เนิ่นๆ ไม่อย่างนั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการคลอดได้ ซึ่งถ้าพบตอนคลอด หมอก็จะผ่าให้คลอดทางหน้าท้องแทนการคลอดตามธรรมชาติ ในผู้ชาย: มักพบที่อวัยวะเพศ ส่วนที่อยู่ใต้หนังหุ้มปลายท่อปัสสาวะ อัณฑะ ในผู้หญิง: พบได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูกทวารหนัก และฝีเย็บ ระยะฟักตัว ประมาณ 1 ถึง 6 เดือน หลังรับเชื้อมาแล้ว บางราย แค่สัปดาห์ก็แสดงอาการ บางรายเป็นเดือนๆค่อยแสดงอาการ แต่หลายๆราย ก็ไม่แสดงอากรเลยก็มี การติดต่อ โดยการร่วมเพศ และสัมผัสทางเพศกับผู้ป่วย การป้องกัน ไม่มีวิธีอื่นใดที่จะป้องกันได้นอกจากใช้ถุงยางอนามัยกับหญิงอื่นที่มิใช่ ภรรยา หรือ ในชายรักร่วมเพศก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเท่านั้น การรักษา การรักษามีหลายแบบ ทั้งทายา จี้เย็น จี้ด้วยไฟฟ้า เลเซอร์หรือแม้แต่การตัดออก แต่โดยปกติหมอจะเริ่มด้วยการทายา ยาที่ทาตัวแรกเริ่มชื่อ podophylins 25 % ใช้มานมนานก็ยังคงได้ผลอยู่ การทาต้องให้แพทย์เป็นผู้ทาให้ โดยเฉพาะคนไข้หญิงมีซอกมีหลืบ บางครั้งเป็นที่ผนังช่องคลอดหรือปากมดลูก คนไข้ทาเองไม่ได้ ปกติการทานั้น 4-6 ชั่วโมงต้องล้างออก และทาสัปดาห์ละครั้ง ถ้าเชื้อดื้อต่อยาตัวนี้ ก็มียาตัวอื่นๆเป็นทางเลือก
              Link    https://www.inderm.go.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                  อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง

โรคหงอนไก่

โรคหงอนไก่เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเกิดจากเชื้อ HPV มักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะเป็นผื่นยื่นออกมา การรักษาจะทำได้โดยการจี้ด้วยยา

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิงโรคหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)


ตำแหน่งที่พบโรคหูด

โรคหูดที่อวัยวะเพศตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ คอ หลอดลม บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

ลักษณะของหูดเป็นอย่างไร

หูดจะมีลักษณะแบน สีออกชมภูหรือดำ มักจะไม่เป็นติ่ง มักจะเกิดได้หลายๆแห่ง

โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน

  • เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม
  • ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่นโรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกว้อน
  • โรคนี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดมีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ
การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิงการรักษาโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง อาการของโรคหูดหงอนไก่ในอวัยวะเพศหญิง อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง

อาการของโรคเป็นอย่างไร

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
  • ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
  • อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดคือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
  • ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก

แพทย์จะตรวจหาหูดได้ที่ไหนบ้าง

สำหรับผู้ชาย

  • พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
  • ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
  • หรือเยื่อบุในท่องปัสสาวะ
  • สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะก้อนบริเวณรอบทวารหนัก

สำหรับผู้หญิง

  • ผิวหนังแถวอวัยวะเพศ
  • แคมใหญ่ แคมเล็ก
  • ช่องคลอด
  • ทวานหนัก

แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง

การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่ โดยจะตรวจ

  • หนองในแท้ หนองในเทียม
  • โรคเอดส์
  • โรคซิฟิลิส
  • ตรวจภายในทำ PAP Smear
  • ตรวจหารการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ

การรักษา

หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดออกจะลดการติดต่อลง

  • การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy
    • ใช้ความเย็น(nitrogen เหลว) จี้บริเวณเนื้องอก 10-15 วินาที และสามารถทำซ้ำได้ ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณที่ดี
    • การใช้ความเย็นจี้เป็นวิธีการรักษาสำหรับหูดโดยเฉพาะที่รอบทวารหนัก
    • การตอบสนองต่อการรักาาดี และมีแทรกซ้อนน้อย
    • โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ เกิดผล ปวดขณะทำ สีผิวซีดลง
    • สามารถทำในคนท้องได้
  • การใช้ไฟฟ้าจี้ ไม่แนะนำเพราะควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
  • การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
    • การผ่าตัดจะให้ผลดี และมีโรคแทรกซ้อนต่ำ และอัตราการเป็นซ้ำต่ำ
    • อัตราการหาย 63-91%.
  • การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment
    • ใช้ Laserในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่ หรือเป็นซ้ำ
    • ข้อระวังควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
    • ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ทา
  • การใช้ยาทาภายนอกได้แก่
    • Podophyllin เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกที่ตัวหูด ให้ทาสัปดาห์ละครั้ง ข้อระวังของการใช้ยานเพื่อป้องกันมิให้ยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายี้ได้แก่
      • การใช้ยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน <0.5 mL
      • ขนาดของหูดไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปโดยไม่เกิน 10 cm2
      • บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผล เพราะยาอาจจะถูกดูดซึม
      • หลังทาปล่อยให้แห้ง และล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 1-4 ชม
    • TCA (trichloracetic acid)เป็นยาที่ใช้ทาภายนอก ห้ามถูกผิวหนังที่ดี
  • การให้ผู้ป่วยทายาเอง
    • Podofilox 0.5% solution or gel. ให้ทาที่ตัวหูดวันละสองครั้งเป็นเวลาสามวัน และหยุดทาสี่วันให้ทำซ้ำได้สี่ครั้ง ยานี้ไม่ควรใช้ในคนท้อง และไม่ควรใช้ยาปริมาณมากเกินไป
    • Imiquimod 5% cream ให้ทายานี้ก่อนนอน อาติตย์ละ 3 วันเป็นเวลา 16 สัปดาห์

การป้องกันการติดเชื้อโรคหูด

หญิงหรือชายวัยเจริญพันธุ์สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคหูดโดย

  • งดการมีเพศสัมพันธุ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่น้อยคนที่ทำได้
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะนั้นย่อมหมายถึงคุณก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • ไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน
  • หากผู้ที่มีหูดควรจัดการรักษาให้หายเรียบร้อยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธุ์
  • ให้สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันะธุ์ที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย
  • การฉีดวัคซีนป้องกัน      

              Link       www.siamhealth.net/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

               อาการโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง

 

นางชนากานต์ เกิดกลิ่นหอม

นางเพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์
ที่ปรึกษา อาจารย์แพทย์หญิงเจนจิต  ฉายะจินดา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์มานพชัย  ธรรมคันโท

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ อัมพัน เฉลิมโชคเจริญกิจ

หน่วยโรคติดเชื้อทางนรีเวชและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สตรี

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

  

              โรคหูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อฮิวแมนแปบปิโลมาไวรัส (Human papilloma virus) หรือเรียกสั้นๆว่า HPV   โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กมักมีอาการที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ในผู้ใหญ่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ  16-25 ปี เชื้อชนิดนี้ชอบอยู่บริเวณที่อับชื้น ทำให้เกิดรอยโรคที่อวัยวะสืบพันธุ์

 

การติดต่อ

               1.  ทางเพศสัมพันธ์ พบประมาณ 50 -70 % ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

               2.  จากแม่ไปสู่ลูก พบในกรณีที่ทารกคลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ แต่พบได้จำนวนน้อย

ระยะฟักตัว  

               ประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 8 เดือน โดยเฉลี่ยประมาณ 2 -3 เดือน แต่ผู้ที่สัมผัสเชื้อนี้ไม่ได้ติดโรคทุกราย ขึ้นอยู่กับภาวะภูมิคุ้มกันและจำนวนเชื้อที่ได้รับ ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการของโรคมากกว่าคนที่ไม่ตั้งครรภ์

อาการ

               เริ่ม จากรอยโรคเล็กๆแล้วขยายตัวใหญ่ขึ้น เป็นติ่งเนื้อขรุขระคล้ายหงอนไก่ บางชนิดไม่เป็นติ่งแต่มีลักษณะแบนราบ ผิวขรุขระ บางชนิดมีขนาดใหญ่มากและผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ ผู้ที่เป็นโรคนี้มีโอกาสติดเชื้อกามโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ซิฟิลิส หนองใน พยาธิในช่องคลอด  การติดเชื้อเหล่านี้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบ มีตกขาว คัน หรือมีแผลที่อวัยวะเพศเพิ่มขึ้น

       ตำแหน่งที่พบ

              ในผู้หญิง  พบ ได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูกทวารหนักและบริเวณฝีเย็บ หูดจะเริ่มจากขนาดเล็กๆและโตขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์จะทำให้หูดโตเร็วกว่าปกติ

            ในผู้ชาย  มักพบใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เส้นสองสลึง และรูเปิดท่อปัสสาวะ และอาจพบบริเวณรอบทวารหนักในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

             ใน ทารกที่คลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีหูดหงอนไก่ อาจจะทำให้เกิดโรคซึ่งมีอาการแตกต่างกัน ตั้งแต่เสียงแหบจนถึงมีการอุดกั้นของกล่องเสียง

 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

        1.    มีคู่นอนหลายคน

        2.    มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย

        3.    มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ

        4.    คู่นอนมีการติดเชื้อหูดหงอนไก่       

 

การเลือกใช้วิธีการรักษาชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างดังต่อไปนี้  

              1.  อาการของโรค

              2.  ค่าใช้จ่ายในการรักษา

              3.  การเดินทางของผู้ป่วย

              4.  ดุลพินิจของแพทย์

              5.  ตำแหน่งที่เป็น

              6.  การตั้งครรภ์

 

การรักษา

               1. การจี้ด้วยสารเคมี เช่น 80% กรดไตรคลอโรอะเซติค (Trichloroacetic acid)  และ 25% โพโดฟิลลีน   (Podophyllin)  จี้บริเวณที่เป็นหูดโดยบุคลากรทางการแพทย์สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกันทุกสัปดาห์จนหาย  ถ้า  รักษาติดต่อกันเกิน 6 ครั้งแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น หลังจี้ยาประมาณ 1 ชั่วโมงไม่ควรให้บริเวณที่ถูกจี้โดนน้ำ

               2. การใช้ยาทาบริเวณที่เป็นหูด เช่น  5% อิมิควิโมดครีม  (5% Imiquimod  cream) จะช่วยลดปริมาณไวรัสทำให้หูดหายไปและยังช่วยลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรค อีกทั้งสะดวกในการใช้เพราะผู้ป่วยสามารถนำกลับไปทา เองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียคือ   ราคาแพง

               3. การผ่าตัด ทำได้หลายวิธี คือ

               3.1  การจี้หรือการตัดออกด้วยไฟฟ้า

               3.2  การจี้หรือตัดออกโดยใช้ความเย็นจัด

               3.3  การผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ มักใช้รักษาหูดที่มีขนาดใหญ่

                 Link   https://www.si.mahidol.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด