ยารักษาโรคหูด warts อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย ฮิวแมนปาปิโล โรคหูดอวัยวะเพศ


2,561 ผู้ชม


ยารักษาโรคหูด warts อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย ฮิวแมนปาปิโล โรคหูดอวัยวะเพศ

                  ยารักษาโรคหูด warts อวัยวะเพศ

โรคหูดคืออะไร? มีสาเหตุจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

หูด หรือ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า วอร์ท (Warts) คือ โรคติดเชื้อของผิวหนังและ เยื่อบุ (เยื่อเมือก/Mucosa เป็นเซลล์ในกลุ่มเดียวกับผิวหนัง แต่อยู่ภายในร่างกาย เช่น เซลล์เยื่อบุสายเสียง เป็นต้น)ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เอชพีวี (HPV หรือ Human papilloma virus) ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีมากกว่า 100 ชนิดย่อย โดยแต่ละชนิดย่อยใช้ตัวเลขในการเรียกชื่อ เช่น เอชพีวี 1 (HPV1) เอชพีวี 2 (HPV2) และ เอชพีวี 11 (HPV11) เป็นต้น เชื้อหูดจะทำให้เกิดโรคบริเวณผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ โดยที่ไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงไม่ใช่โรคมะเร็ง เชื้อ ไวรัสแต่ละชนิดย่อย ก่อให้เกิดโรคที่แตกต่างกันไป ที่รู้จักกันดีคือ ชนิด เอชพีวี 16 และ เอชพีวี 18 ซึ่งทั้งสองชนิดทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

สำหรับในโรคหูด เชื้อแต่ละชนิดย่อยก็ทำให้เกิดหูดที่ตำแหน่งต่างๆ และมีหน้าตาหูดแตกต่างกันไป เช่น เอชพีวี 1 ก่อให้เกิดหูดที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า และ เอชพีวี 6 ก่อให้เกิดหูดที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก

หูดบริเวณผิวหนัง พบได้บ่อยที่สุดในเด็กและคนอายุน้อย อัตราการพบสูง สุดอยู่ที่ช่วงอายุ 12-16 ปี ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดเท่ากัน คนผิวดำ และคนเอเชียเป็นมากกว่าคนผิวขาวประมาณ 2 เท่า

กลุ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นนอกจากเชื้อชาติ คือ บุคคลบางอาชีพ เช่น คนที่ต้องแล่เนื้อสัตว์ คนที่ผิวหนังมีความต้านทานต่อโรคต่ำ เช่น เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

ส่วนหูดบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (ซึ่งก็เป็นหูดที่ผิวหนัง แต่เป็นผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ) จะพบในวัยเจริญพันธุ์

โรคหูดติดต่อได้ไหม? ติดต่อได้อย่างไร?

หูด เป็นโรคติดต่อได้ โดย

  • หูดบริเวณผิวหนังติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง ผิวหนังที่มีบาดแผลจะติดเชื้อง่ายกว่าผิวหนังที่ปกติ
  • หูดบริเวณอวัยวะเพศ ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งก็เกิดจากการสัมผัสกันนั่นเอง
  • ทั้งนี้เมื่อได้รับเชื้อไวรัสหูดแล้ว เชื้อจะเข้าสู่เซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุ มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเชื้อ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุจนเห็นเป็นก้อนเนื้อ ที่เราเรียกว่า หูด

    โรคหูด มีระยะฟักตัวประมาณ 2-6 เดือน เนื่องจากเชื้อหูดจะแบ่งตัวเฉพาะที่ผิวหนังและเยื่อบุเท่านั้น ไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และไม่แพร่เชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ เชื้อหูดจึงไม่ติดต่อผ่านทางอื่นๆ เช่น ไอ จามรดกัน หรือ อย่างในกรณีที่มีหูดที่หน้า การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อหูด แล้วกลายเป็นหูดที่อวัยวะเพศหรือที่หน้า แต่ถ้าเกิดเอามือสัมผัสหน้า และมือไปสัมผัสอวัยวะอื่นๆ ก็จะทำให้ติดเชื้อหูดจากหน้าได้

    บางคนเป็นลักษณะ พาหะโรค คือ ผิวหนังดูปกติ ไม่มีตุ่มนูน แต่มีเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ซึ่งโดยการสัมผัสผิวหนังส่วนมีเชื้อเช่น เดียวกัน

    โรคหูดมีอาการอย่างไร?

    อาการพบบ่อยของโรคหูด คือ

    1. หูดที่ผิวหนัง อาจจะเรียบหรือนูนเล็กน้อย จนกระทั่งนูนออกมามากมีผิวขรุขระ แข็งกว่าหนังธรรมดา และเวลาตัดส่วนยอดของหูดแล้ว จะเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่อุดตันภายใน และมีจุดเลือดออกเล็กๆ ในบางครั้งการติดเชื้อหูดอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังใดๆเลยก็ได้

      ชนิดของหูดแบ่งกว้างๆตามลักษณะและตำแหน่ง ได้แก่

      • หูดทั่วไป (Common warts) ซึ่งพบได้บ่อยสุด เป็นหูดแบบนูนมีผิวขรุขระ ขนาดมีได้ตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร (ม.ม.) จนถึง 1 เซนติเมตร (ซ.ม.) มักพบบริเวณมือและหัวเข่า เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2 และ 4 (บ่อยสุด) แต่พบจาก เอชพีวีชนิดอื่นได้ เช่น 1, 3, 26, 27, 29, 41, 57, 65, และ 77
      • หูดคนตัดเนื้อ (Butcher's warts) พบในคนมีอาชีพแล่เนื้อดิบโดยไม่ ได้เกิดจากเนื้อที่แล่ (คือไม่ใช่หูดของ หมู วัว และอื่นๆ ) แต่เกิดจากการติดต่อจากคนสู่คน โดยมีเนื้อเป็นทางผ่าน ลักษณะหูดหน้าตาเหมือนหูด ทั่วไป แต่ใหญ่กว่า มีผิวขรุขระมากกว่า มักพบที่มือ ส่วนใหญ่เกิดจาก เอชพีวี 7 ที่เหลืออาจพบ เอชพีวี 1, 2, 3, 4, 10, 28
      • หูดชนิดแบนราบ (Plane warts หรือ Flat warts) ซึ่งจะยกนูนจากผิวหนังเพียงเล็กน้อย ผิวค่อนข้างเรียบ มีขนาดตั้งแต่ 1-5 ม.ม. อาจมีจำนวนตั้งแต่ 2-3 อัน ไปจนถึงหลายร้อยอัน และอาจมารวมกันเป็นกลุ่ม มักเกิดบริเวณใบหน้า มือ และหน้าแข้ง เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2, 3, 10, 26, 27, 28, 29, 38, 41, 49, 75, 76
      • หูดฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar and Plantar warts) เป็นตุ่มนูนกลม ผิวขรุขระ ถูกล้อมรอบด้วยผิวหนังที่หนาตัวขึ้น มักมีอาการเจ็บ แยกยากจากตาปลา(ผิวหนังจะด้าน หนา จากถูกเบียด เสียดสีบ่อยๆ) แต่ถ้าฝานดูจะมีจุดเลือดออกเล็กๆ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 1 มีบ้างที่เกิดจาก เอชพีวี 4 มักจะไม่เจ็บ และอาจเกิดรวมกลุ่มกัน ทำให้ดูเป็นหูดขนาดใหญ่

    2. หูดอวัยวะเพศ อาจเรียกว่าหูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง ในกลุ่มชายรักร่วมเพศอาจพบหูดบริเวณรอบทวารหนัก หูดมีลักษณะนูน ผิวตะปุ่มตะป่ำ คล้ายหงอนไก่ เกิดจาก เอชพีวี 6, 11, 16 , 18, 30-32, 42-44, และ 51-58

    3. หูดที่เยื่อบุ นอกจากเชื้อหูดจะทำให้เกิดโรคที่ผิวหนังแล้ว ยังสามารถก่อให้ เกิดโรคที่เยื่อบุได้ เช่น พบได้ที่สายเสียง และกล่องเสียง ซึ่งจะเกิดในเด็กที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อหูดบริเวณอวัยวะเพศ จึงได้รับเชื้อ จากการกลืน หรือสำลักขณะคลอดได้ หรืออาจเกิดในผู้ใหญ่จากการร่วมเพศโดยการใช้ปาก นอกจากนี้ยังอาจพบได้ที่เยื่อบุตา ลักษณะหูดจะเป็นตุ่มนูน มีผิวขรุขระ คล้ายหูดทั่วไป

    แพทย์วินิจฉัยโรคหูดได้อย่างไร?

    แพทย์วินิจฉัยโรคหูดได้จาก อาการของผู้ป่วย และการตรวจลักษณะก้อนเนื้อ และ อาจต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อ การตรวจทางพยาธิวิทยา

    รักษาโรคหูดได้อย่างไร?

    แนวทางการรักษาโรคหูด แบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยา (มักเป็นยาใช้ภายนอก) และด้วยการผ่าตัด รวมถึงการไม่รักษา ซึ่งการรักษาไม่ใช่การฆ่าไวรัส เพราะยังไม่มียาฆ่าไวรัสได้ แต่เป็นเพียงการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่เห็นเป็นโรค จึงอาจยังมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่รอบๆที่ผิวหนังที่เห็นเป็นปกติ ดังนั้นแม้จะเอาหูด และเนื้อเยื่อผิวหนังรอบๆหูด ออกไปกว้างพอ ก็ไม่เป็นการรับประกันว่าเชื้อจะหมดไป โรคจึงกลับมาเป็นใหม่ได้

    ในการจะรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะประเมินจากหลายๆปัจจัย เช่น ขนาดของหูด จำนวนหูดที่เกิด ลักษณะของหูด ตำแหน่งที่เกิด อายุ และสุขภาพโดย รวมของผู้ป่วย รวมทั้งดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไป วิธีรักษาหูด ได้แก่

    1. การไม่รักษา ประมาณ 65% ของผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติ โรคหูดจะยุบหายเองภายใน 2 ปี ดังนั้นถ้าเป็นหูดขนาดเล็ก และมีจำนวนเล็กน้อย อาจเลือกวิธีนี้ได้
    2. การรักษาด้วยยา ซึ่งควรเป็นการรักษาโดยแพทย์เท่านั้น โดยมียาหลายชนิดให้เลือกใช้ แต่ ยังไม่มีวิธีไหนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
      • ยาแบบทา มีทั้งยาที่ผู้ป่วยสามารถหาซื้อมาทาเอง (ไม่แนะนำ เพราะควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ) และยาที่แพทย์ต้องเป็นผู้รักษาให้ เนื่องจากยาอาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้
      • ยาแบบฉีดเฉพาะที่ ใช้เมื่อยาแบบทาไม่ได้ผล โดยฉีดยาลงไปที่หูดโดย ตรง
      • ยากินและยาฉีดเข้าเส้น ยายังให้ผลไม่ดีนัก และยังอยู่ในการศึกษา และอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้มาก
    3. การผ่าตัด ซึ่งให้การรักษาโดยแพทย์เท่านั้น
      • โดยใช้ความเย็น คือ การใช้ไนโตรเจนเหลว ในระดับอุณหภูมิที่พอเหมาะ ป้ายไปบริเวณหูด อาจทำซ้ำทุกๆ 1-4 สัปดาห์ ใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผล ข้างเคียง คือค่อนข้างเจ็บ อาจเกิดแผลเป็น มีสีผิวเปลี่ยน และแผลจี้ติดเชื้อ วิธีนี้ อัตราการหายประมาณ 50-80%
      • การใช้เลเซอร์ ใช้สำหรับหูดที่ใหญ่ หรือเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ทั้งนี้ แพทย์ พยาบาลที่ให้การรักษา อาจติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อสามารถออกมากับควันที่เกิดขณะทำเลเซอร์ และหายใจเอาเชื้อเข้าไป โดยผลข้างเคียงจากการรักษาวิธีนี้ คือ ค่อนข้างเจ็บ อาจเกิดแผลเป็น และแผลผ่าตัดอาจติดเชื้อ อัตราการหายประมาณ 65%
      • การจี้ด้วยไฟฟ้า อาจมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ความเย็นจี้ แต่เจ็บมากกว่า และอาจเกิดแผลเป็นมากกว่า และเช่นเดียวกับเลเซอร์ ผู้รักษาอาจติดเชื้อได้ด้วยวิธีการเดียวกัน
      • การผ่าตัดแบบใช้มีด ซึ่งเหมือนการผ่าตัดทั่วไป

    โรคหูดก่อผลข้างเคียงอย่างไร? โรคหูดรุนแรงไหม?

    อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เมื่อไม่ได้รักษา 2 ใน 3 จะหายไปเองภายใน 2 ปี โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น แต่ในบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง มักไม่หายเอง การรักษาก็ไม่ค่อยได้ผล มีอัตราการเกิดเป็นใหม่สูง และหูดอาจกลายเป็นมะเร็งได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

    อนึ่ง หูดจากเชื้อเอชพีวี หลายชนิดย่อย ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่บางชนิดย่อย เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งได้ เช่น ชนิด 6, 11, 16, 18, 31, 35 ซึ่งมักเป็นชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของหูดบริเวณอวัยวะเพศ ดังนั้น การติดเชื้อหูดบริเวณนี้ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิด มะเร็งผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากมดลูก

    ดูแลตนเอง และป้องกันโรคหูดได้อย่างไร?

    การดูแลตนเอง และการป้องกันโรคหูด ได้แก่

    1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดของตนเอง (ในกรณีเป็นอยู่) เช่น การแคะแกะเกาหูดที่เป็นอยู่ การกัดเล็บ เพราะจะทำให้ผิวหนังบริเวณอื่นๆ ติดเชื้อแล้วกลายเป็นหูดได้
    2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดของผู้อื่น ผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน พยายามเลี่ยงการทำเล็บที่ร้านไม่สะอาด การตัดผมแบบที่มีการโกนขนหรือหนวดที่ใช้ใบมีดร่วมกัน และห้ามใช้เครื่องมือที่ใช้ตัดหรือเฉือนหูดร่วมกับผู้อื่น
    3. ในโรคหูดบริเวณอวัยวะเพศ การใช้ถุงยางอนามัย ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศภายนอกยังคงสัมผัสกันอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน
    4. ถ้าเป็นหูดที่อวัยวะเพศ ควรต้องรักษาหูดทั้งของตนเองและของคู่นอน ไปพร้อมๆกัน
    5. ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบบ 2 สายพันธุ์ และแบบ 4 สายพันธุ์ ซึ่งแบบ 4 สายพันธุ์นี้เองนอกจากจะสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคหูดที่เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 6 และ 11 (หูดบริเวณอวัยวะเพศ) ได้ประมาณ 80-90%

    ควรพบแพทย์เมื่อไร?

    เมื่อมีหูด หรือ ตุ่มผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เมื่อ

    1. หูด หรือ ตุ่มเนื้อต่างๆบนผิวหนัง นอกจากกระเนื้อ และไฝที่ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ควรพบแพทย์เสมอเพื่อการวินิจฉัยสาเหตุ เพราะตุ่มเนื้อต่างๆ บนผิวหนังเกิดจากหลายโรค ตั้งแต่โรคติดเชื้อ เช่น หูด โรคเนื้องอกของผิวหนัง หรือของเนื้อเยื่อชั้นไขมันใต้ผิวหนัง หรือ อาจเป็นมะเร็งของผิวหนัง
    2. เมื่อหูดที่เป็นอยู่และเป็นมานานหลายปี ไม่ยุบหายไป
    3. หูดมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ใหญ่ขึ้น ผิวขรุขระมากขึ้น ขอบของหูดลุกลามไปยังผิวหนังใกล้เคียง หรือ หูดมีเลือดออกเสมอ เพราะเป็นอาการอาจเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้

    บรรณานุกรม

    1. Phillip H. Mckee, infectious diseases, in Pathology of the Skin with clinical correlations, 2nd edition, Mosby-Wolfe, 1996.
    2. Pichard C. Reichman, human papillomaviruses, in Harrison’s Principles of Internal Medicine, 15th edition, Braunwald, Fauci, Kasper, Hauser, Longo, Jameson (eds). McGrawHill, 2001.
    3. Nongenital Warts. https://emedicine.medscape.com/article/1133317-overview#showall [2011, June 1].

                Link      https://haamor.com

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                    โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย

    โรคหงอนไก่

    โรคหงอนไก่เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเกิดจากเชื้อ HPV มักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะเป็นผื่นยื่นออกมา การรักษาจะทำได้โดยการจี้ด้วยยา

    ยารักษาโรคหูด warts อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย ฮิวแมนปาปิโล โรคหูดอวัยวะเพศโรคหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

    โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)


    ตำแหน่งที่พบโรคหูด

    โรคหูดที่อวัยวะเพศตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ คอ หลอดลม บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

    ลักษณะของหูดเป็นอย่างไร

    หูดจะมีลักษณะแบน สีออกชมภูหรือดำ มักจะไม่เป็นติ่ง มักจะเกิดได้หลายๆแห่ง

    โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน

    • เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม
    • ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่นโรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกว้อน
    • โรคนี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดมีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ
      ยารักษาโรคหูด warts อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย ฮิวแมนปาปิโล โรคหูดอวัยวะเพศ ยารักษาโรคหูด warts อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย ฮิวแมนปาปิโล โรคหูดอวัยวะเพศ ยารักษาโรคหูด warts อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศชาย ฮิวแมนปาปิโล โรคหูดอวัยวะเพศ

    อาการของโรคเป็นอย่างไร

    • ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
    • ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
    • อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดคือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
    • สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
    • ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก

    แพทย์จะตรวจหาหูดได้ที่ไหนบ้าง

    สำหรับผู้ชาย

    • พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
    • ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
    • หรือเยื่อบุในท่องปัสสาวะ
    • สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะก้อนบริเวณรอบทวารหนัก

    สำหรับผู้หญิง

    • ผิวหนังแถวอวัยวะเพศ
    • แคมใหญ่ แคมเล็ก
    • ช่องคลอด
    • ทวานหนัก

    แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง

    การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่ โดยจะตรวจ

    • หนองในแท้ หนองในเทียม
    • โรคเอดส์
    • โรคซิฟิลิส
    • ตรวจภายในทำ PAP Smear
    • ตรวจหารการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
    • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ

    การรักษา

    หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดออกจะลดการติดต่อลง

    • การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy
      • ใช้ความเย็น(nitrogen เหลว) จี้บริเวณเนื้องอก 10-15 วินาที และสามารถทำซ้ำได้ ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณที่ดี
      • การใช้ความเย็นจี้เป็นวิธีการรักษาสำหรับหูดโดยเฉพาะที่รอบทวารหนัก
      • การตอบสนองต่อการรักาาดี และมีแทรกซ้อนน้อย
      • โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ เกิดผล ปวดขณะทำ สีผิวซีดลง
      • สามารถทำในคนท้องได้
    • การใช้ไฟฟ้าจี้ ไม่แนะนำเพราะควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
    • การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
    • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
      • การผ่าตัดจะให้ผลดี และมีโรคแทรกซ้อนต่ำ และอัตราการเป็นซ้ำต่ำ
      • อัตราการหาย 63-91%.
    • การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment
      • ใช้ Laserในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่ หรือเป็นซ้ำ
      • ข้อระวังควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
      • ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ทา
    • การใช้ยาทาภายนอกได้แก่
      • Podophyllin เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกที่ตัวหูด ให้ทาสัปดาห์ละครั้ง ข้อระวังของการใช้ยานเพื่อป้องกันมิให้ยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายี้ได้แก่
        • การใช้ยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน <0.5 mL
        • ขนาดของหูดไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปโดยไม่เกิน 10 cm2
        • บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผล เพราะยาอาจจะถูกดูดซึม
        • หลังทาปล่อยให้แห้ง และล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 1-4 ชม
      • TCA (trichloracetic acid)เป็นยาที่ใช้ทาภายนอก ห้ามถูกผิวหนังที่ดี
    • การให้ผู้ป่วยทายาเอง
      • Podofilox 0.5% solution or gel. ให้ทาที่ตัวหูดวันละสองครั้งเป็นเวลาสามวัน และหยุดทาสี่วันให้ทำซ้ำได้สี่ครั้ง ยานี้ไม่ควรใช้ในคนท้อง และไม่ควรใช้ยาปริมาณมากเกินไป
      • Imiquimod 5% cream ให้ทายานี้ก่อนนอน อาติตย์ละ 3 วันเป็นเวลา 16 สัปดาห์

    การป้องกันการติดเชื้อโรคหูด

    หญิงหรือชายวัยเจริญพันธุ์สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคหูดโดย

    • งดการมีเพศสัมพันธุ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่น้อยคนที่ทำได้
    • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะนั้นย่อมหมายถึงคุณก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
    • ไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน
    • หากผู้ที่มีหูดควรจัดการรักษาให้หายเรียบร้อยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธุ์
    • ให้สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันะธุ์ที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย
    • การฉีดวัคซีนป้องกัน

                   Link   https://www.siamhealth.net

    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                   ฮิวแมนปาปิโล โรคหูดอวัยวะเพศ

    เมื่อไวรัสสายพันธุ์ฮิวแมนปาปิลโลมาหรือเอชพีวี (human papilloma virus: HPV) เล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายทางแผลเล็กๆ อาจทำให้เกิดหูดได้ทั่วร่างกาย หูดมีทั้งที่เป็นเม็ดเดียวและเป็นกลุ่ม มีลักษณะเป็นผิวขรุขระสีซีดกว่าผิวหนังปกติ ถ้าเป็นหูดที่ี่ฝ่าเท้า อาจทำให้เจ็บปวดเวลาเดินและทำให้เดินลำบาก ส่วนหูดที่อวัยวะเพศมักติดต่อได้ง่าย และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก

    ลอกออกด้วยเทป

    พัน สายไฟหรือเทปพันท่อ (duct tape) ปิดทับหูด การศึกษาล่าสุดพบว่าเทปพันสายไฟใช้รักษาหูดได้ผลดีกว่าไนโตรเจนเหลว ตัดเทปพันสายไฟเป็นชิ้นเล็กๆ ปิดทับหูดไว้นาน 6 วัน เมื่อครบกำหนดให้แกะเทปออก จุ่มบริเวณนั้นแช่น้ำไว้ 2-3 นาที แล้วใช้หินขัดถูผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดลอกออกมา ปล่อยหูดไว้หนึ่งคืนแล้วปิดด้วยเทปชิ้นใหม่ในวันรุ่งขึ้น ทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาย เทปพันสายไฟมีฤทธิ์ระคายเคืองผิวหนังเล็กน้อยจึงกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ ทำงานเพิ่มขึ้นและทำลายเชื้อไวรัสหูด

    ใช้กระเทียมสด

    นำกระเทียมสดบดหยาบทาบนหูดแล้วใช้ผ้าพันแผลปิดทับไว้ กระเทียม มีฤทธิ์ระคายเคืองทำให้หูดลอกตัวออกภายใน 1 สัปดาห์ แต่ควรเปลี่ยนกระเทียมใหม่ทุกวันและระวังอย่าให้สัมผัสผิวหนังปกติรอบข้าง (อาจป้องกันโดยใช้ปิโตรเลียมเจลลีทาผิวหนังโดยรอบ) นักสมุนไพรบางคนแนะนำให้กินกระเทียมสดหรือกระเทียมชนิดแคปซูลวันละ 3 เม็ด เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น

    น้ำส้มสายชู

    ใช้สำลีชุบน้ำส้มสายชูประคบหูดและพันพลาสเตอร์ปิดทับไว้อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงทุกวัน

    รักษาหูดด้วยกรด

    นำวิตามินซีชนิด เม็ดมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำเล็กน้อยให้เหนียวคล้ายแป้งเปียก ใช้ทาบนหูดแล้วปิดพลาสเตอร์ไว้ วิตามินซีมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยฆ่าเชื้อไวรัส ทำให้หูดลอกออกมา

    ยาในครัว

    • กล้วยนอกจาก มีประโยชน์ทางโภชนาการแล้ว เปลือกของมันยังนำมาใช้รักษาหูดได้ด้วย ให้ตัดเปลือกกล้วยเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ด้านในปิดบนหูดก่อนนอนทุกคืน ในเปลือกกล้วยมีสารเคมีที่สามารถทำให้หูดค่อยๆ ลอกตัวออกมา
    • เปลือก มะนาวก็สามารถนำมาใช้ได้ในลักษณะเดียวกัน คือนำเปลือกมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แปะบนหูดทุกคืน น้ำมันในเปลือกมะนาวจะทำให้หูดค่อยๆ ลอกออกมา
    • ใน มะละกอมีเอนไซม์ที่ย่อยเนื้อเยื่อที่ตายแล้วได้ ใช้มีดกรีดผิวมะละกอดิบตื้นๆ เพื่อให้ยางไหลออกมา นำยางสีขาวข้นนั้นมาผสมกับน้ำเล็กน้อย ใช้ทาหูดเช้า-เย็น ถ้าไม่ใช้มะละกอดิบ อาจใช้ยางจากลำต้นมะละกอเลยก็ได้

                     Link     https://www.readersdigestthailand.co.th

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    อัพเดทล่าสุด