อาการเริ่มแรกของโรคหูดับ ฝังเข็มรักษาโรคหูดับ อาการโรคหูดับ


3,037 ผู้ชม


อาการเริ่มแรกของโรคหูดับ ฝังเข็มรักษาโรคหูดับ อาการโรคหูดับ

                      อาการเริ่มแรกของโรคหูดับ


 

ภาวะอาการ"หูดับ"

      หมายถึง อาการที่หูไม่ได้ยินเสียงเลย หรือได้ยินเสียงน้อยลง ซึ่งอาจเกิดข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียว โดยที่อาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ภาษาอังกฤษเรียกว่า sudden hearing loss เรียกย่อๆ ว่า SHL
ใน ทางทฤษฎีแล้วนั้นโรคหูดับ หรือ SHL หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันได้มาก และระดับเสียงที่ไม่ได้ยิน อาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ไม่แน่นอนเสมอไป อาการของโรค SHL อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นอย่างถาวร
โรค SHL เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทั้งเพศชายและหญิงอายุระหว่าง 30-60 ปี จากสถิติพบว่าผู้ป่วยหนึ่งในสามเกิดอาการในตอนเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากตื่นนอนใหม่ๆ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว รู้สึกบ้านหมุน และมีเสียงดังในหู
สาเหตุ
ส่วน ใหญ่โรค SHL เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาวิจัยในระยะหลังๆ พบว่าการเกิดโรค SHL มักจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งเป็นการติดเชื้อในหูชั้นในและเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 อีกทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายกลไกการเกิดโรค SHL และได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เชื่อว่าการเกิดโรค SHL เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางอิมมูนที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน
1. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
ใน บางรายงานทางการแพทย์ พบสาเหตุของโรค SHL เกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า seroconversion ส่วนไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม mumps, รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด varicella-zoster
รายงาน การศึกษาที่ยืนยันแนวความคิดที่ว่าการติดเชื้อไวรัสเป้นสาเหตุหนึ่งของโรค SHL คือการที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเพาะเชื้อไวรัสคางทูมจากสารน้ำในหูชั้นใน และเพาะเชื้อไวรัส CMV จากสารน้ำในหูชั้นในของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัส CML ตั้งแต่แรกเกิด
ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ ที่อาจพบเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้บ้าง ได้แก่ ไวรัสหัด measles, เฮอร์ปีไวรัส herpes-1 และไวรัสอินเฟ็คเชียสโมโนนิวคลิโอสิส infectious mononucleosis ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไวรัสในตระกูลเฮอร์ปี herpes family ทั้งสิ้น
เป็น ที่น่าสังเกตว่า ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาจากเนื้อเยื่อหูชั้นในของผู้ป่วยที่เป็นโรค SHL จะพบการตายของเซลล์หลายชนิดภายในหูชั้นใน รวมทั้งลักษณะที่บ่งบอกถึงการเสื่อมของเซลล์อย่างชัดเจน
2. ภาวะหูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
เป็น ทฤษฏีที่เชื่อกันมาเป็นเวลานาน เนื่องจากหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก และในสัตว์ทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน มีผลทำให้เกิดการตายของเซลล์ได้ง่าย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการอุดตัน ตีบตัว การแตก ของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในจึงอาจเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง
3. ปฏิกิริยาทางอิมมูน
หลัก ฐานที่สำคัญที่ทำให้เชื่อว่าปฏิกิริยาทางอิมมูนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค SHL คือการพบอาหารหูดับในผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปุส กลุ่มอาการโคแกน เป็นต้น ปัจจุบันแม้ยังไม่สามารถตรวจ marker ที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่งานวิจัยช่วงหลังๆ เชื่อว่า โรค SHL น่าจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตน เอง หรือที่เรียกว่า autoimmunity
4. การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน intracochlear membrane
เยื่อ ดังกล่าวทำหน้าที่แยกหูชั้นในออกจากหูชั้นกลางและแบ่งช่องของสารน้ำที่เป็น ของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน ในกรณีที่มีการฉีกขาด จะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้ นอกจากนี้เสียงที่ดังมากๆ ทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้หูดับ ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินทันที
บาง รายสาเหตุเกิดจากความเครียดไม่ได้นอนพักผ่อน อดหลับอดนอน หรือเป็นเพราะโหมงานหนักมากเกินไป ผู้ที่ตรากตรำทำงานหนัก ติดต่อกันโดยไม่พักผ่อน อาจทำให้เกิดอาการหูดับขึ้นได้เช่นกัน

การวินิจฉัยโรค
เมื่อ มีอาการหูดับหรือฟังเสียงไม่ได้ยิน ควรมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยในทันที แพทย์หูคอจมูกจะทำการตรวจหูโดยละเอียด และพิจารณาส่งตรวจวัดการได้ยิน ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี
การตรวจวัดระดับการได้ยิน เรียกว่า Hearing tests หรือ Audiometry แบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ
 ๐ ระดับเล็กน้อย (mild) 25-39 เดซิเบล
 ๐ ระดับปานกลาง (moderate) 40-68 เดซิเบล
 ๐ ระดับรุนแรง (severe) 70-94 เดซิเบล
การตรวจพิเศษอื่นๆ
การ ตรวจพิเศษโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เอ็มอาร์เอ MRA และ เอ็มอาร์ไอ MRI เป็น การตรวจเส้นประสาทหูชั้นในและชั้นกลางอย่างละเอียด รวมทั้งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทหู เพื่อดูว่ามีโรคอื่นแทรกซ้อน ทำให้ไม่ได้ยินหรือไม่และสามารถตรวจพบเนื้องอกภายในสมองบริเวณนั้นที่อาจ เป็นสาเหตุได้ เนื้องอกดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า อะคูสติก นิวโรมา (acoustic neuroma)
แนวทางการรักษา
การ รักษาที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนเพื่อรักษาอาการอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และห้ามฟังหรือเข้าใกล้เสียงที่ดังมาก หากสามารถหยุดทำงานได้ก็จะเป็นการดี และควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน ถ้าไม่สะดวกอาจพิจารณาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการของโรคจะดีขึ้นหรือหายได้เอง ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด ดังนั้นในรายที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาที่มากมาย เนื่องจากไม่ช่วยให้อัตราการหายจากโรคเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
การ รักษาโดยยาต้านไวรัสได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลักษณะอาการเข้าได้กับการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสเฮอร์ปีซิมเพล็ก herpes simplex virus จากการศึกษาวิจัยพบว่าเชื้อไวรัสในตระกูลเฮอร์ปี เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้บ่อย การรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสชื่อ อะซัยโคลเวีย acyclovir พบว่าได้ผลดีในสัตว์ทดลองที่เกิดโรคจากเชื้อไวรัส HSV-1 และได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ดังนั้นถ้าคิดว่าสาเหตุอาจเกิดจากเชื้อเฮอร์ปี แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสดังกล่าว
การใช้ยาลด ปฏิกิริยาอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ corticosteroids ได้ผลดีเช่นกัน แพทย์อาจพิจารณาใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ จากการศึกษาวิจัย พบว่าการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดในขนาดสูงได้ผลดีที่สุด แต่ก็มีการศึกษาที่ให้ผลในทางตรงข้าม จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดในปัจจุบัน มีรายงานการรักษาโดยฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในเยื่อแก้วหู พบว่าได้ผลดีเช่นกัน
ใน ปี 2001 ได้มีรายงานการศึกษาวิจัยที่ใช้วิธีการรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง หรือที่เรียกว่า hyperbaric oxygen therapy โดยใช้ออกซิเจน 2.2 ความดันบรรยากาศเป็นเวลานาน 90 นาที ทั้งหมดรวม 10 ครั้ง พบว่าได้ผลดี แต่ยังคงต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
โดย นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ


หูดับ


ที่มา
 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

                    
                        ฝังเข็มรักษาโรคหูดับ


เวชศาสตร์แผนจีน (ฝังเข็ม)

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคและหรือบรรเทาอาการด้วย วิธีฝังเข็ม ไว้ดังนี้

1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัด เป็นพิเศษ
         อาการปวด ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจากการเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดศีรษะ มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมีประจำเดือน ปวดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน อาการซึมเศร้า
         โรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นเหียรอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด

2. การรักษาที่ให้ผลดี อาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู สายตาสั้นในเด็ก เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด

3. การรักษาที่ได้ผล ท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ

การฝังเข็ม (Acupuncture) คืออะไร
         การฝังเข็ม เป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรคด้วยการใช้เข็ม ซึ่งมีหลายขนาด แทงลงไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน

การฝังเข็มเจ็บหรือไม่
         ขณะที่เข็มผ่านผิวหนัง จะมีอาการเจ็บอยู่บ้างแต่ไม่มาก และเมื่อเข็มแทงเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อๆ หรือปวดหน่วงๆ และปวดร้าว ไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ

เข็มที่ใช้ฝังเป็นอย่างไร
         เข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม มีขนาดเล็กและบางมาก เป็นเข็มตัน ปลายตัด ไม่มีสารหรือยาชนิดใดเคลือบเข็มอยู่ เข็มที่ใช้ในหน่วยเวชศาสตร์แผนจีน ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นเข็มใหม่ จะใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้ใหม่โดยเด็ดขาด

ชนิดการรักษาในหน่วยเวชศาสตร์แผนจีน
         1. การฝังเข็มร่างกาย (Body Acupuncture)
         2. การฝังเข็มที่ศีรษะ (Scalp Acupuncture)
         3. การฝังร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า (Electro Acupuncture)
         4. การฝังเข็มหรือ Magnetic Ball บนใบหู (Ear Acupuncture)
         5. การเคาะกระตุ้นผิวหนัง (Cutaneous Needle)
         6. การเจาะปล่อยเลือด (Blood Letting)
         7. การครอบแก้ว (Cupping)
         8. การรมยา (Moxibution)

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
         หลังจากที่ฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษโดยเฉพาะ เป็นกระแสไฟฟ้าตรงประมาณ 9 โวลท์ จึงไม่สามารถทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะรู้สึกกระตุ้นที่กล้ามเนื้อเป็นจังหวะ แรงพอทนได้ ทำให้เข็มกระดิก เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า และไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้

การครอบแก้ว (Cupping)
         เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัด ทำให้รักษาอาการปวดได้ หลังจากการทำแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีสีม่วงคล้ำเป็นจ้ำ แต่ไม่มีอันตราย และจะหายได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์

ข้อห้ามในการฝังเข็ม
         1. สตรีตั้งครรภ์
         2. โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
         3. โรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
         4. โรคที่ต้องการการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน

การเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม
         1. รับประทานอาหารก่อนมาฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในช่วงผู้ป่วยหิวหรืออ่อนเพลีย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมง่าย
         2. พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย
         3. ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป ควรสวมกางเกงที่หลวม และสวมเสื้อแขนสั้น
         4. ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง
             ฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้มากมาย ได้แก่
         - กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน
         - อัมพฤกษ์ อัมพาต
         - โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหู หูดับ
         - โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
         - โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
         - โรคทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ผมร่วง งูสวัด ผื่นต่างๆ
         - โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
         - โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน ริดสีดวงทวาร สะอึก ปวดท้องเรื้อรัง
         - โรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ
         - โรคเบาหวาน
         - ลดความอ้วน และเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
         - เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด
         - เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
         - โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป

ข้อแนะนำในการฝังเข็ม
         1. ขณะฝังเข็ม ควรอยู่ในท่านั่งหรือนอน ไม่เครียดจนเกินไป หรือตามคำแนะนำของแพทย์
         2. ขณะรับอาการฝังเข็ม อาจมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น หน้ามืดเป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที
         3. หลังจากที่ฝังเข็มและคาเข็มไว้แล้ว ควรนั่งพักหรืออยู่ในท่านั้นๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที ไม่ควรขยับเขยื้อนแขนขา หรือบริเวณที่เข็มคาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เข็มบิดงอ จะทำให้ปวดได้

ต้องมารับการรักษาฝังเข็มนานเท่าไร
          จะต้องมาฝังเข็มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และต้องมาฝังเข็มอย่างน้อย 10 ครั้ง หรือแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์

หน่วยเวชศาสตร์แผนจีน เปิดบริการอย่างไร
          เปิดบริการรับบัตรคิว
          - วันจันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เวลา 07.00 - 14.00 น.
          - วันอังคาร                            เวลา 07.00 - 11.00 น.
         เปิดบริการฝังเข็มตั้งแต่เวลา 08.30 - 15.30
          - วันจันทร์ พุธ ศุกร์          รศ.นพ.วิชัย สุภนรานนท์
          - วันอังคาร                      พญ.สุดารัตน์ ศรีคิรินทร์
          - วันพฤหัสบดี                  นพ.อัศจรรย์ จันทนพ          
          ถ้าท่านต้องการมารับบริการฝังเข็ม กรุณาโทรศัพท์มาสอบถามที่หมายเลข
          - 0-2-306-9149
          - 0-2354-9100 ต่อ 1225,1226 หรือ 1420

ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็มแต่ละครั้ง
          - ค่าบริการฝังเข็ม 300 บาท (เบิกได้ 100 บาท)

            Link         https://www.tm.mahidol.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             อาการโรคหูดับ

หูดับ ฟังเสียงดังนาน ๆ ต้องระวัง

หูดับ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ใคร ที่มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ความสามารถการได้ยินลดลง แถมยังทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือชอบเปิดเครื่องเล่น MP 3 เสียงดัง ๆ บ่อย ๆ เท่ากับว่า คุณกำลังเสี่ยงกับอาการ หูดับ อยู่ค่ะ แล้วอาการ หูดับ คืออะไร เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วยหรือไม่ วันนี้มีข้อมูลเรื่อง หูดับ มาฝากกัน
โรคหูดับ คืออะไร
          โรคหูดับ หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sudden Hearing Loss (SHL) เป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โดยผู้เป็น โรคหูดับ จะมีอาการที่หูได้ยินเสียงน้อยลง หรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว
          อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีแล้วนั้น โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันได้มาก และระดับเสียงที่ไม่ได้ยิน อาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ไม่แน่นอนเสมอไป และอาการของ โรคหูดับ อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นอย่างถาวรก็ได้
อาการของ โรคหูดับ
          จากสถิติพบว่าผู้ป่วย โรคหูดับ หนึ่งในสามมักจะมีอาการ หูดับ ในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย
กลุ่มเสี่ยง โรคหูดับ
          โรคหูดับ เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชาย และเพศหญิง มักเป็นในทุกอายุ ตั้งแต่ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง ที่ต้องทำงานในสถานที่เสียงดัง รวมทั้งวัยรุ่น วัยทำงานที่ชอบฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดัง ๆ
สาเหตุการเกิด โรคหูดับ
          ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่หาสาเหตุได้ ว่าอาการ หูดับ เกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษาพบว่า โรคหูดับ หรือ เส้นประสาทหูเสื่อม เกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
1.เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด
          ในบางรายงานทางการแพทย์ พบสาเหตุของ โรคหูดับ ว่าเกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม mumps, รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด varicella-zoster ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้
2.เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
          เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็น โรคหูดับ ได้
3.ปฏิกิริยาทางอิมมูน
          เนื่องจากพบหลักฐานว่า มีผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปัส กลุ่มอาการโคแกน ฯลฯ มีอาการหูดับร่วมด้วย จึงเชื่อกันว่า โรคหูดับ อาจจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตน เอง หรือที่เรียกว่า autoimmunity
4.การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane
          โดยเยื่อดังกล่าวจะทำหน้าที่แยกหูชั้นใน ออกจากหูชั้นกลาง และแบ่งช่องของสารน้ำ ที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน หากเยื่อนี้ฉีกขาด จะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้
          อย่างไรก็ตาม การได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้ หูดับ ได้ จนสูญเสียได้ยินในทันที นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยบางรายเป็น โรคหูดับ เพราะความเครียด ไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอน เพราะโหมทำงานหนักมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิด โรคหูดับ ได้เช่นกัน
          ทั้ง นี้ยังมี โรคหูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ที่อยู่ ๆ ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ยินเสียงขึ้นมาเฉย ๆ จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งอาการ หูดับเฉียบพลันนี้ อาจเกิดจาก
            เนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
            การผิดปกติของเลือด
            เป็นโรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียน กระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบ หรืออุดตัน
            การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
            การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นใน เช่น ไอ หรือจามรุนแรง เกิดการผสมของน้ำในหู 2 ชนิด
            การได้รับการผ่าตัดหู
            ความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์
            ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป
            การผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
            การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นใน หรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง
            โรคซิฟิลิสของหูและประสาท
            ไม่ทราบสาเหตุ
          ส่วน โรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน อาจทำให้หูดับได้ทันที แต่อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุดคือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงซ่า ๆ รบกวนในหู เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคเมเนียร์ (Maniere's Disease) โดยมักพบให้หญิงที่มีอาย 40-60 ปีมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ

การวินิจฉัย โรคหูดับ
          เมื่อผู้ป่วยฟังเสียงไม่ได้ยิน หรือมีอาการ หูดับ ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที โดยแพทย์ หู-คอ-จมูก จะตรวจหูอย่างละเอียด และพิจารณาส่งไปตรวจวัดการได้ยิน ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี
          โดยการตรวจวัดระดับการได้ยิน เรียกว่า Hearing tests หรือ Audiometry แบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
            ระดับเล็กน้อย (mild) 25-39 เดซิเบล
            ระดับปานกลาง (moderate) 40-68 เดซิเบล
            ระดับรุนแรง (severe) 70-94 เดซิเบล
          นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เอ็มอาร์เอ MRA และ เอ็มอาร์ไอ MRI เป็นการตรวจเส้นประสาทหูชั้นในและชั้นกลางอย่างละเอียด รวมทั้งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทหู เพื่อดูว่ามีโรคอื่นแทรกซ้อนทำให้ไม่ได้ยินหรือไม่ และสามารถตรวจพบเนื้องอกภายในสมองบริเวณนั้นที่อาจเป็นสาเหตุได้ โดยเนื้องอกดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า อะคูสติก นิวโรมา (acoustic neuroma)
การรักษา โรคหูดับ
          การรักษาที่สำคัญคือ ต้องให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ห้ามฟัง หรือเข้าใกล้เสียงดังมาก ๆ และหากหยุดทำงานได้จะดีที่สุด เพื่อจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้าน
          ทั้ง นี้ อาการของ โรคหูดับ จะดีขึ้น หรือหายได้เองได้ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด เช่นนั้นแล้ว ใครที่เป็น โรคหูดับ ไม่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่ต้องรับการรักษามากมาย
          นอกจากนี้ยังมีการรักษา โรคหูดับ ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส ชื่อ อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) สำหรับโรคที่เกิดจากไวรัส  HSV-1 และจะยิ่งได้ผลดีขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ส่วนยาลดปฏิกิริยาอักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์ corticosteroids ก็ได้ผลดีเช่นกัน
การป้องกัน โรคหูดับ
          ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค หูดับ คือ ควรหลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น ไม่ควรเปิดฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดังจนเกินไป และฟังเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก ๆ ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อัพเดทล่าสุด