สมุนไพรรักษาโรคหูอื้อ รักษาโรคหูอื้อ โรคหูอื้อข้างเดียว


3,614 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคหูอื้อ รักษาโรคหูอื้อ โรคหูอื้อข้างเดียว

                   สมุนไพรรักษาโรคหูอื้อ


คำจำกัดความ

หูของคน แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. หูส่วนนอก (External ear) : ประกอบด้วย

  • ใบหู (Pinna) : มีหน้าที่ในการรวบรวมคลื่นเสียงที่มาจากที่ต่างๆ ส่งเข้าสู่รูหู
  • ช่องหูหรือรูหู (Auditory canal) : เป็นส่วนที่อยู่ถัดใบหูเข้ามาจนถึงเยื่อแก้วหู ทำหน้าที่เป็นทางเดินของคลื่นเสียงเข้าสู่หูส่วนกลาง ในรูหูมีขนและต่อมสร้างขี้หู ทำหน้าที่สร้างขี้หูไว้ดักฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปในรูหู ปกติในรูหูของเราจะทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในสภาพ ที่แห้ง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หูของเราสัมผัสความชื้น เช่น ว่ายน้ำมากเกินไป หรือการปั่นหู ที่ทำให้เยื่อบุรูหู ถลอก จะทำให้เราเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • แก้วหูหรือเยื่อแก้วหู (Tympanic membrane หรือ ear drum) : มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ทำหน้าที่สั่นสะเทือนเมื่อมีเสียงมากระทบและส่งต่อการสั่นสะเทือนไปยังหู ชั้นกลาง

2. หูส่วนกลาง (Middle ear) : เป็นส่วนที่ถัดจากแก้วหูเข้ามา ภายในมีกระดูก 3 ชิ้น ทำหน้าที่ในการขยายการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงให้มากขึ้น แล้วจึงส่งต่อการสั่นสะเทือนเข้าสู่หูส่วนใน
3. หูส่วนใน (Inner ear) อยู่ถัดจากหูส่วนกลางเข้ามา ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ส่งต่อสัญญาณเสียงไปยังสมองเพื่อแปลความหมายของสิ่งที่ได้ยิน และทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัว

โรคหูชั้นกลางอักเสบ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณหูชั้นกลาง พบบ่อยในวัยเด็กตอนต้น (เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี) และมักพบร่วมหรือหลังจากมีการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน เนื่องจากเป็นวัยที่ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดการเจ็บป่วย เช่น เป็นหวัดได้ง่าย ร่วมกับท่อยูสเซเชี่ยน (เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังช่องจมูก ทำหน้าที่ปรับความดันในหูชั้นกลางให้เท่ากับความดันบรรยากาศ) ยังอยู่ในแนวราบ ทำให้เชื้อโรคจากโพรงหลังช่องจมูกที่ทำให้เกิดหวัด แพร่กระจายไปยังหูชั้นกลางได้ง่าย ในขณะที่เมื่ออายุมากขึ้น ท่อยูสเซเชี่ยนจะอยู่ในแนวตั้งมากขึ้น ทำให้เชื้อโรคจากโพรงหลังช่องจมูกแพร่กระจายไปยังหูชั้นกลางได้ยากขึ้น จึงพบโรคนี้ได้ลดลง

โรคหูชั้นกลางอักเสบ แบ่งตามระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคได้ 3 ระยะ คือ

  • โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media) : เป็นโรคนี้น้อยกว่า 3 สัปดาห์
  • โรคหูชั้นกลางอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (subacute otitis media) : เป็นโรคนี้นาน 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน
  • โรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง (chronic otitis media) : เป็นโรคนี้นานมากกว่า 3 เดือน

อาการ

ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ : จะมาพบแพทย์ด้วยอาการ

  • ปวดหู
  • มีไข้
  • รู้สึกว่ามีอะไรขวางกั้นในหูหรือหูอื้อ
  • สูญเสียการได้ยินชั่วคราว
  • มีน้ำหรือหนองไหลออกจากหู

ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะที่ยังพูดไม่ได้ จะต้องสังเกตจากพฤติกรรมอื่นๆ แทน เช่น

  • บ่นว่าเจ็บหรือปวดหู
  • ดึงหูตนเองบ่อยๆ
  • มีไข้
  • มีของเหลวไหลออกจากหู
  • ร้องไห้มากกว่าปกติ
  • มีปัญหาการนอนหลับ
  • การได้ยินมีปัญหา เช่น เรียกแล้วไม่หัน
  • หงุดหงิดง่ายผิดปกติ

สาเหตุ

โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณหูชั้นกลาง ส่วนใหญ่เกิดร่วมกับหรือหลังจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน แล้วเชื้อโรคจากโพรงหลังช่องจมูกที่ทำให้เกิดหวัด แพร่กระจายมายังหูชั้นกลาง

เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ เกิดจาก

  • เชื้อไวรัส : พบได้ร้อยละ 10-40 ของผู้ป่วยโรคหูชั้นกลางอักเสบ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สามารถหายจากโรคได้เอง ไม่จำเป็นต้องได้ยาฆ่าเชื้อ
  • เชื้อแบคทีเรีย : เช่น Streptococcus pneumoniae, hemophilus influenzae, moraxella catarrhalis เป็นต้น

การวินิจฉัย

ประวัติ : ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการดังกล่าว

การตรวจร่างกาย :

  • มีไข้ : มักเป็นไข้สูง มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ใช้เครื่องมือส่องดูหู (Otoscope) : จะพบลักษณะที่แสดงถึงการอักเสบในหูชั้นกลาง คือ ระยะแรกอาจพบแค่เยื่อแก้วหูแดงๆ แต่ถ้าเป็นมากขึ้นจะเห็นเยื่อแก้วหูขุ่น (จากมีหนองอยู่ในหูชั้นกลาง) หรือเห็นน้ำอยู่หลังเยื่อแก้วหูและอาจดันจนเยื่อแก้วหูโป่งพองออกมาทางด้าน นอกได้
  • ใช้กล้องส่องหูชนิดเป่าลมได้ (Pneumatic otoscope) : ตรวจโดยส่องดูหูและพ่นลมให้กระทบที่เยื่อแก้วหู ในภาวะปกติเยื่อแก้วหูจะขยับได้เล็กน้อย แต่ถ้ามีของเหลวในหูชั้นกลาง จะพบว่าเยื่อแก้วหูไม่ขยับเลย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม : ไม่ต้องทำทุกราย อาจพิจารณาทำในรายที่อาการรุนแรงจนเยื่อแก้วหูทะลุและมีน้ำหรือหนองไหลออกมา อยู่ในหูชั้นนอก แพทย์มักจะเชื้อสำลีเช็ดเอาน้ำหรือหนองเหล่าน้ำไปเพาะเชื้อ เพื่อหาชนิดของเชื้อสาเหตุและดูความไวต่อยาของเชื้อ

ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่โรคหูชั้นกลางอักเสบจะหายได้เองหลังจาก 3 วันโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่ถ้าหากเป็นอยู่นานหรือกลับมาเป็นซ้ำอีก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • เยื่อแก้วหูฉีกขาด : ทำให้สูญเสียการได้ยิน
  • เกิดเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง (chronic otitis media) : การติดเชื้อเรื้อรัง ทำให้เยื่อแก้วหูทะลุ (มาพบแพทย์ด้วยอาการมีหนองไหลออกจากหูเรื้อรัง) และเชื้อโรคจะไปทำลายกระดูกหูบางส่วน ทำให้เกิดอาการหูอื้อหรือสูญเสียการได้ยิน แต่ผู้ป่วยมักจะไม่มีไข้และไม่ค่อยปวดหู
  • หนองแตกทะลุจากกระดูกหูที่บริเวณท้ายทอย (mastoid bone) และเซาะไปเกิดเป็นหนองที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ ( Bezold’s abscess) และหนองใต้เยื่อหุ้มกระดูก (subperiosteal abscess) โดยเฉพาะบริเวณหลังหู
  • การติดเชื้อลุกลามเข้าไปในหูชั้นใน ทำให้ท่อในหูชั้นในที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัวเกิดการ อักเสบ (Suppurative labyrinthitis)
  • การติดเชื้อลามจากหูชั้นกลาง ขึ้นไปทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง (Meningitis) หรือเกิดเป็นฝีหนองในสมอง (epidural or subdural or brain abscess)

การรักษาและยา

การรักษาโรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน ประกอบด้วย
1. การรักษาตามอาการ เช่น

  • ให้ยาแก้ปวด ทั้งกลุ่มพาราเซตามอลหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ให้ยาลดน้ำมูกและแก้คัดจมูก ในรายที่เป็นหวัดร่วมด้วย

2. การให้ยาปฏิชีวนะ : ยาปฏิชีวนะที่เลือกใช้ คือ amoxicillin แต่ไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยโรคหูชั้นกลางอักเสบทุกราย เพราะส่วนหนึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถหายได้เอง ภายใน 7-10 วัน ดังนั้นจะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ให้ยาปฏิชีวนะเลยตั้งแต่ครั้งแรกที่มาพบแพทย์ : ได้แก่
    • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
    • เด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี แต่มีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส หรือปวดหูมาก
    • เด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ที่ไม่สามารถมาติดตามอาการซ้ำได้ที่ 2-3 วันต่อมา
    • เด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ที่มาติดตามอาการซ้ำที่ 2-3 วันต่อมา แล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • กลุ่มที่ยังไม่เข้าเกณฑ์การให้ยาปฏิชีวนะ : แพทย์จะให้การรักษาตามอาการก่อน แล้วนัดมาติดตามอาการซ้ำใน 2-3 วันถัดมา

3. การดูดของเหลวในหูชั้นกลางออก : เพื่อบรรเทาอาการปวด

ยาที่เกี่ยวข้อง

ยาที่ใช้บ่อย Amoxicillin and Clavulanate (Amoxycillin and Clavulanate), Amoxicillin หรือ Amoxycillin, Ibuprofen, Paracetamol,

แหล่งอ้างอิง

1. พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อ. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด. 2548, 149-161.
2.สุภาวดี ประคุณหังสิต, บรรณาธิการ. ตำราโสต ศอ นาสิกวิทยา. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด. 2537, 81-92.
3. พิชิต สิทธิไตรย์, สายสวาท ไชยเศรษฐ และสุวิชา อิศราดิสัยกุล, บรรณาธิการ. ตำราหู คอ จมูก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. เชียงใหม่ : ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553, 245-256.
4. เสาวรส อัศววิเชียรจินดา, บรรณาธิการ. โรคหู. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด. 2537, 57-60.
5. กรีฑา ม่วงทอง, ประสิทธิ์ มหากิจ เจริญ และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราโรคหู คอ จมูก. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์. 2548, 99-108.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                     รักษาโรคหูอื้อ

หูอื้อ

ผมดำน้ำทุกวันลึกประมาณ 5-6 เมตร ทำให้หูอื้อ และปวดลึกๆ ในหู เป็นมา 2 ปีแล้ว สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่

ผู้ถาม วิศณุ/นราธิวาส
ผู้ตอบ นพ.บุญชู กุลประดิษฐารมณ์

ถาม
ปัญหา ของผมมีอยู่ว่า หูอื้อ ปวดลึกๆ ในหู และปวดเมื่อยไปที่คอด้านเดียวกัน ทำให้ผมรู้สึกทรมานเป็นอย่างมาก เรียนหนังสือก็ไม่ค่อยมีสมาธิเท่าที่ควร ก่อนหน้าที่ผมจะมีอาการเป็นอย่างนี้ ตอนนั้นผมดำน้ำทุกวัน ลึกประมาณ 5-6 เมตร ส่วนอาการเป็นหวัดก็เป็นบ้างแต่ไม่ค่อยบ่อย สีของเสมหะเป็นสีขาวใส และผลการตรวจช่องหูและแก้วหูที่ผมได้ไปตรวจมานั้น ปกติทุกอย่าง อาการที่ผมเล่ามานี้ผมเป็นมาได้ประมาณ 2 ปีแล้ว ผมไม่ทราบว่าจะมีปัญหาต่อการรักษาหรือไม่

ตอบ
อาการ หูอื้อและปวดลึกๆ ในหูนี้เป็นได้ทั้งจากการเป็นหวัดบ่อยๆ หรือการดำน้ำลึกขนาด 5-6 เมตรที่เล่าไปได้ทั้งนั้น อาการที่เป็นอยู่ไม่เป็นปัญหาในการรักษา แม้จะเป็นมา 2 ปีแล้วก็ตาม แต่จะต้องให้แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก เท่านั้นเป็นผู้ดูแลรักษา

ถาม
กรุณาแนะนำชื่อยาที่จะบำบัดรักษาโรคนี้ให้หายเป็นปกติได้

ตอบ
ยา ที่จะแนะนำนี้อาจช่วยได้บ้างแต่ไม่ทำให้หายขาด (เพราะยังไม่ได้ตรวจหาสาเหตุ) คือยาแก้แพ้คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต 4 มิลลิกรัม 1 เม็ด 3 เวลาหลังอาหาร ร่วมกับยาลดบวม (decongestant) สูโดเอฟรีดีน 50 มิลลิกรัม 1 เม็ด 3 เวลาหลังอาหารเช่นกัน ทั้งหมดนี้ใช้ได้เฉพาะในกรณีท่อต่อระหว่างหูชั้นกลางกับหลังโพรงจมูกตีบ หรืออักเสบเท่านั้น

ถาม
นอกจากการบำบัดรักษาด้วยการกินยาแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีกหรือไม่ที่จะรักษาอาการของผมให้หายเป็นปกติได้ และมีการรักษาที่ไหนบ้าง

ตอบ
ถ้า เป็นอย่างกรณีแรกไม่มีวิธีรักษาโดยวิธีอื่น ถ้าเป็นสาเหตุอื่นต้องรักษาตามสาเหตุ คุณสามารถไปรับการตรวจที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่หาดใหญ่ได้


           Link    https://www.doctor.or.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

               โรคหูอื้อข้างเดียว

หูดับ ฟังเสียงดังนาน ๆ ต้องระวัง

หูดับ ฟังเสียงดังนาน ๆ ต้องระวัง

หูดับ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ใคร ที่มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ความสามารถการได้ยินลดลง แถมยังทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือชอบเปิดเครื่องเล่น MP 3 เสียงดัง ๆ บ่อย ๆ เท่ากับว่า คุณกำลังเสี่ยงกับอาการ หูดับ อยู่ค่ะ แล้วอาการ หูดับ คืออะไร เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วยหรือไม่ วันนี้มีข้อมูลเรื่อง หูดับ มาฝากกัน
โรคหูดับ คืออะไร
          โรคหูดับ หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sudden Hearing Loss (SHL) เป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โดยผู้เป็น โรคหูดับ จะมีอาการที่หูได้ยินเสียงน้อยลง หรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว
          อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีแล้วนั้น โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันได้มาก และระดับเสียงที่ไม่ได้ยิน อาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ไม่แน่นอนเสมอไป และอาการของ โรคหูดับ อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นอย่างถาวรก็ได้
อาการของ โรคหูดับ
          จากสถิติพบว่าผู้ป่วย โรคหูดับ หนึ่งในสามมักจะมีอาการ หูดับ ในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย
กลุ่มเสี่ยง โรคหูดับ
          โรคหูดับ เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชาย และเพศหญิง มักเป็นในทุกอายุ ตั้งแต่ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง ที่ต้องทำงานในสถานที่เสียงดัง รวมทั้งวัยรุ่น วัยทำงานที่ชอบฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดัง ๆ
สาเหตุการเกิด โรคหูดับ
          ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่หาสาเหตุได้ ว่าอาการ หูดับ เกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษาพบว่า โรคหูดับ หรือ เส้นประสาทหูเสื่อม เกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
1.เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด
          ในบางรายงานทางการแพทย์ พบสาเหตุของ โรคหูดับ ว่าเกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม mumps, รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด varicella-zoster ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้
2.เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
          เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็น โรคหูดับ ได้
3.ปฏิกิริยาทางอิมมูน
          เนื่องจากพบหลักฐานว่า มีผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปัส กลุ่มอาการโคแกน ฯลฯ มีอาการหูดับร่วมด้วย จึงเชื่อกันว่า โรคหูดับ อาจจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตน เอง หรือที่เรียกว่า autoimmunity
4.การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane
          โดยเยื่อดังกล่าวจะทำหน้าที่แยกหูชั้นใน ออกจากหูชั้นกลาง และแบ่งช่องของสารน้ำ ที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน หากเยื่อนี้ฉีกขาด จะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้
          อย่างไรก็ตาม การได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้ หูดับ ได้ จนสูญเสียได้ยินในทันที นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยบางรายเป็น โรคหูดับ เพราะความเครียด ไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอน เพราะโหมทำงานหนักมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิด โรคหูดับ ได้เช่นกัน
          ทั้ง นี้ยังมี โรคหูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ที่อยู่ ๆ ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ยินเสียงขึ้นมาเฉย ๆ จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งอาการ หูดับเฉียบพลันนี้ อาจเกิดจาก
            เนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
            การผิดปกติของเลือด
            เป็นโรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียน กระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบ หรืออุดตัน
            การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
            การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นใน เช่น ไอ หรือจามรุนแรง เกิดการผสมของน้ำในหู 2 ชนิด
            การได้รับการผ่าตัดหู
            ความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์
            ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป
            การผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
            การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นใน หรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง
            โรคซิฟิลิสของหูและประสาท
            ไม่ทราบสาเหตุ
          ส่วน โรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน อาจทำให้หูดับได้ทันที แต่อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุดคือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงซ่า ๆ รบกวนในหู เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคเมเนียร์ (Maniere's Disease) โดยมักพบให้หญิงที่มีอาย 40-60 ปีมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ

การวินิจฉัย โรคหูดับ
          เมื่อผู้ป่วยฟังเสียงไม่ได้ยิน หรือมีอาการ หูดับ ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที โดยแพทย์ หู-คอ-จมูก จะตรวจหูอย่างละเอียด และพิจารณาส่งไปตรวจวัดการได้ยิน ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี
          โดยการตรวจวัดระดับการได้ยิน เรียกว่า Hearing tests หรือ Audiometry แบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
            ระดับเล็กน้อย (mild) 25-39 เดซิเบล
            ระดับปานกลาง (moderate) 40-68 เดซิเบล
            ระดับรุนแรง (severe) 70-94 เดซิเบล
          นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เอ็มอาร์เอ MRA และ เอ็มอาร์ไอ MRI เป็นการตรวจเส้นประสาทหูชั้นในและชั้นกลางอย่างละเอียด รวมทั้งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทหู เพื่อดูว่ามีโรคอื่นแทรกซ้อนทำให้ไม่ได้ยินหรือไม่ และสามารถตรวจพบเนื้องอกภายในสมองบริเวณนั้นที่อาจเป็นสาเหตุได้ โดยเนื้องอกดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า อะคูสติก นิวโรมา (acoustic neuroma)
การรักษา โรคหูดับ
          การรักษาที่สำคัญคือ ต้องให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ห้ามฟัง หรือเข้าใกล้เสียงดังมาก ๆ และหากหยุดทำงานได้จะดีที่สุด เพื่อจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้าน
          ทั้ง นี้ อาการของ โรคหูดับ จะดีขึ้น หรือหายได้เองได้ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด เช่นนั้นแล้ว ใครที่เป็น โรคหูดับ ไม่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่ต้องรับการรักษามากมาย
          นอกจากนี้ยังมีการรักษา โรคหูดับ ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส ชื่อ อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) สำหรับโรคที่เกิดจากไวรัส  HSV-1 และจะยิ่งได้ผลดีขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ส่วนยาลดปฏิกิริยาอักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์ corticosteroids ก็ได้ผลดีเช่นกัน
การป้องกัน โรคหูดับ
          ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค หูดับ คือ ควรหลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น ไม่ควรเปิดฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดังจนเกินไป และฟังเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก ๆ ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด