รักษาโรคหูอื้อ หมอรักษาโรคหูอื้อเก่งๆ สาเหตุโรคหูอื้อ
รักษาโรคหูอื้อ
หูอื้อหมายถึงอะไร? มีกี่ชนิด? วินิจฉัยและรักษาอย่างไร?
หูอื้อ หรือเสียงในหู (Tinnitus) เป็นอาการ หรือ ภาวะที่ พบได้ทั่วไป ทั้งนี้ในสหรัฐ อเมริกามีคนป่วยเป็นโรคหูอื้อถึงสี่สิบล้านคน แต่มีเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้นที่รู้สึกว่าหูอื้อเป็นปัญหาสำคัญ
ในด้านความหมาย อาการหูอื้อ หมายถึง การได้ยินลดลง หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูอยู่ หรือรู้สึกมีเสียงดังในหู ซึ่งอาจเป็นเสียงแหลม วี๊ดๆ คล้ายมีแมลงบินในหู หรือเสียงหึ่งๆ หรือเสียงตุบๆคล้ายชีพจรเต้น หรือแม้แต้เสียงการกลืนอาหาร หรือเสียงลมหายใจ และไม่ใช่ทุกคนที่ได้ยินเสียงหูอื้อจะรู้สึกรำคาญจนทนไม่ได้ บางคนอาจไม่มีปัญหากับอาการหูอื้อ ทั้งนี้หูอื้อบางชนิดก็ไม่มีอันตราย บางชนิดก็มีอันตราย ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป
-
หูอื้อแบบมีเสียงแหลม วี๊ดๆ
คล้ายมีแมลงในหูหรือเสียงหึ่งๆ ประเภทนี้มักเกิดจากมีความผิดปกติของหูชั้นใน หรือของเส้นประสาทหู มักเกิดร่วมกับอาการประสาทหูเสื่อมและการได้ยินลดลง อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการหูอื้อมักเกิดร่วมกับ อาการนอนไม่หลับ ซึ่งบ่อยครั้งผู้ป่วยมักเข้าใจว่าเสียงดังในหูทำให้นอนไม่หลับ เครียด หรือภาวะซึมเศร้า และภาวะทั้งหมดมีส่วนเสริมซึ่งกันและกันทำให้อาการยิ่งเป็นมากขึ้นสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีอาการหูอื้อชนิดนี้ มักเป็นปัจจัยเดียวกับที่ทำให้ประสาทหูเสื่อม เช่น การฟังเสียงดังๆ การใช้ยาปฏิชีวนะที่มีผลข้างเคียงต่อประสาทหู การผ่าตัดรักษาโรคทางสมอง หรือทางหูบางโรคที่อาจกระทบกระเทือนประสาทหู ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็งบางชนิด หรือการฉายรังสี (รังสีรักษา) บริเวณศีรษะเพื่อรักษาโรคมะเร็ง การใช้ยาขับปัสสาวะบางชนิด การใช้ยาลดการอักเสบกลุ่มแอสไพริน การที่มีอายุมากขึ้น (ผู้สูงอายุ) หูก็อาจเสื่อมเองได้ การติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อซิฟิลิส หรือเชื้อไวรัสที่ทำให้หูชั้นในอักเสบ และโรคเนื้องอกบริเวณประสาทสมองคู่ที่แปด (Acoustic neuroma) เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดจากเนื้องอก มักเป็นอาการหูอื้อข้างเดียว ข้างที่เกิดโรค
การวินิจฉัยหูอื้อชนิดนี้ สามารถทำได้โดยการซักประวัติทางการแพทย์ที่อาจเป็นสาเหตุตามที่กล่าวมาข้าง ต้น รวมทั้งการตรวจร่างกายภายในช่องหู ซึ่งหากพบความผิดปกติก็จะสามารถทำการรักษาให้ตรงกับสาเหตุได้
นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาโรคที่อาจซุกซ่อนอยู่ เช่น การตรวจ หาเชื้อซิฟิลิส การวัดระดับการได้ยิน (Audiometry) การวิเคราะห์การทำงานของเส้นประสาทหูส่วนก้านสมองเพื่อหาหลักฐานว่ามีเนื้อ งอกเส้นประสาทหูหรือไม่ (ABR, Audiotory brain stem response) หรือการทำการสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก/เอ็มอาร์ไอ (MRI, Magnetic resonance imaging) ก็จะทำให้เห็นเนื้องอกที่เส้นประสาท หรือในสมองได
การดูแลรักษาหูอื้อชนิดนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่า หูอื้อชนิดนี้ยากต่อการรักษาให้หายขาด เนื่องจากจำเป็นต้องรักษาโรคของประสาทหูเสื่อม เช่น งดฟังเสียงดังจากแหล่งต่างๆ การให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท การให้ยาขยายหลอดเลือดในรายที่มีการตีบตันของหลอดเลือดหูชั้นใน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามบางครั้งการรักษาอาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะ หรือโรคอื่นอยู่ด้วย เช่น เครียด นอนไม่หลับ หรือมีโรคซึมเศร้า ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขภาวะ/โรคเหล่านี้ไปด้วยกัน เช่น การออกกำลังกาย การรักษาทางจิตวิทยา/จิตเวช และมีผู้ทดลองใช้อุปกรณ์ที่มีเสียงในลักษณะพิเศษมาช่วยกลบเสียงหูอื้อ เช่น การใช้วิทยุเปิดเบาๆ หรือการใช้เทปเสียง หรือซีดี หรือแพทย์อาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง ซึ่งช่วยทำให้เสียงจากสิ่ง แวดล้อมดังขึ้นเพื่อช่วยกลบเสียงรบกวนจากหูอื้อได้ ปัจจุบันมีผู้คิดเครื่องสร้างเสียงดนตรีที่ไม่เป็นเพลงเพื่อช่วยดึงความสนใจ ออกไปจากภาวะหูอื้อ บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยสามารถปรับตัวให้อยู่กับเสียงในหู/หูอื้อได้ จนเป็นความคุ้นเคย และไม่รำคาญอีกต่อไป
-
หูอื้อแบบรู้สึกตุบๆ
กลุ่มนี้เกิดจากมีเนื้องอกใน ช่องหู (Glomus tumor) ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจอาจสามารถได้ยินเสียงอื้อนั้นด้วย การวินิจฉัยจะต้องทำการซักประวัติทางการ แพทย์ของผู้ป่วย ต้องทำการตรวจช่องหูชั้นกลาง อาจเห็นเนื้องอกเป็นสีแดงๆ หากพบเป็นเนื้องอก ต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่นเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาขอบเขตการลุกลามของเนื้องอก และให้รักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งหูอื้อจากสาเหตุนี้ มักเกิดเพียงข้างเดียว คือข้างที่เกิดเนื้องอก -
หูอื้อแบบได้ยินเสียงภายในร่างกายชัดกว่าปกติ
เช่น เสียงพูดของตัวเอง หรือเสียงลมหายใจ มักเกิดจากมีความผิดปกติของหูชั้นนอก หรือหูชั้นกลาง บางครั้งเกิดจากโรคภูมิแพ้ ทำให้ท่อระบายอากาศของหู (Eustachian tube) บวมและถ่ายเทอากาศไม่ได้ ผู้ ป่วยอาจสังเกตได้ว่า อาการมักเป็นๆ หายๆ หรือเวลาขึ้นเครื่องบิน หรือดำน้ำจะมีอาการปวดหู และมีหูอื้อ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะพบได้น้อย แต่อาจเกิดจากโรคมะเร็งโพรง หลังจมูกได้ โดย เฉพาะถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือร่วมกับมีต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอ โต คลำได้ ซึ่งถ้าเป็นหูอื้อจากมะเร็งมักเป็นหูอื้อเพียงข้างเดียว ข้างที่มีก้อนมะเร็งโตจนอุดกั้นท่อระบายอากาศของหู อนึ่ง โรคมะเร็งชนิดนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยในบ้านเรา มักพบในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดย เฉพาะมีเชื้อสายจีน ดังนั้นถ้ามีอาการหูอื้อข้างเดียว จึงควรรีบพบแพทย์ หู คอ จมูก
การวินิจฉัยสาเหตุโรคนี้ ต้องซักประวัติโรคทางหูในอดีต หรืออาการภูมิแพ้ ต้องตรวจหาความผิดปกติของช่องหู เมื่อเจอสาเหตุมักสามารถรักษาให้หายได้ เช่น หากเป็นโรคภูมิแพ้ ก็ต้องรักษาโรคภูมิแพ้ หรือมีหูอักเสบก็ต้องรักษาภาวะหูอักเสบ เป็นต้น
ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหูอื้อ?
คนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหูอื้อ คือ
- ทำงาน หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังโดยไม่มีเครื่องป้องกันหูที่ถูกต้อง
- สูงอายุ อายุมากกว่า 65 ปี
- คนที่หูได้ยินลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
- เป็นชาวตะวันตก
- มีปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจจากการถูกทำร้ายร่างกาย (Post traumatic stress disorder) โดยผู้ป่วยมักมีอาการเมื่อมีคนพูดเสียงดัง
เมื่อมีหูอื้อควรดูแลตนเองอย่างไร?
เมื่อมีอาการหูอื้อควรใช้การสังเกตว่า เป็นหูอื้อแบบไหน เป็นเวลาเป็นหวัดภูมิแพ้หรือเปล่า หรือมีอาการได้ยินลดลงซึ่งกรณีมีการได้ยินลดลงนี้ควรรีบพบแพทย์ด้านหู คอ จมูก เพราะอาจมีอาการประสาทหูเสื่อมได้
นอกจากนั้น คือ
- ควรหลีกเลี่ยงเสียงดัง หรือควรใส่เครื่องป้องกันหูจากเสียงดังเสมอ
- เมื่อเกิดความรำคาญจากเสียงในหู อาจเปิดเพลงเบาๆ เพื่อกลบเสียงในหู
- เปิดพัดลมที่มีเสียงเบาๆ อาจช่วยกลบเสียงในหูลงได้
- รักษาสุขภาพจิต เพราะพบว่า การมีความเครียด จะรู้สึกว่าเสียงในหูดังขึ้น
- งด/เลิกบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะมีรายงานว่า อาจทำให้อาการหูอื้อเลวลงได้
- งด/เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ได้ยินการไหลเวียนของเลือดในหูดังขึ้น/หูอื้อมากขึ้น
- ดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ
- ยอมรับ เข้าใจในอาการ และปรับตัว ลดความกังวล ลดความเครียด
อาการหูอื้อรุนแรงไหม? รักษาหายไหม?
หูอื้อมักมีอาการไม่รุนแรง แต่น่ารำคาญ บางรายนอนไม่หลับทำให้กระทบกับสุขภาพส่วนอื่น แต่ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุด้วย ซึ่งถ้าเกิดจากเนื้องอกประสาท Glomus tumor หรือโรคมะเร็ง ก็จะเป็นโรคที่รุนแรงได้ แต่สาเหตุนี้พบได้น้อยกว่าสาเหตุอื่นๆ
ควรพบแพทย์เมื่อไร?
ควรพบแพทย์ เมื่อ
- มีหูอื้อหลังจากเป็นโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ หรือไซนัสอักเสบ ทั้งนี้โดยอาการหูอื้อไม่ดีขึ้น/ไม่หายไปภายใน 1 สัปดาห์หลังอาการจากโรคต่างๆดังกล่าวหายแล้ว
- มีหูอื้อที่ร่วมกับการได้ยินลดลง หรือมีอาการเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุน
- มีหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยหาสาเหตุไม่ได้/ไม่รู้สาเหตุ เพราะอาจเกิดจากเนื้องอกประสาท หรือโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกได้
ป้องกันอาการหูอื้อได้ไหม?
การป้องกันหูอื้อ ทำได้โดยการงด/หลีกเลี่ยงฟังเสียงดังๆ หรือถ้าต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง ต้องมีที่อุดหูป้องกัน หรือถ้าเป็นหวัด หรือภูมิแพ้ ต้องทำการรักษา และงดการดำน้ำในช่วงนั้น
นอกจากนั้น คือ การดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อแรก
บรรณานุกรม
- Cummings: Otolaryngology: Head & Neck Surgery, 4th ed.
- Tinnitus. https://www.mayoclinic.com/health/tinnitus/DS00365/DSECTION=risk-factors [2012, Feb 14].
Link https://haamor.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมอรักษาโรคหูอื้อเก่งๆ
Link https://topicstock.pantip.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สาเหตุโรคหูอื้อ
หูเป็นอวัยวะรับเสียงของร่างกาย โดย เสียงจะผ่านจากช่องหูชั้นนอกเข้าสู่แก้วหูและกระดูกหูซึ่งเป็นส่วนของหูชั้น กลางโดยแต่ละส่วนจะมีคุณสมบัติพิเศษช่วยขยายสัญญาณเสียงให้ดังเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นเสียงจะถูกส่งเข้าหูชั้นในรูปหอยโข่ง (Cochlea) เพื่อแปลงสัญญาณเสียงเป็นคลื่นประสาท ส่งผ่านตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 เพื่อเข้าสู่สมองและแปลผลต่อไป
หูอื้อคืออะไร?
คือมีการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู
จะรู้ได้อย่างไรว่าหูอื้อ?
ส่วน ใหญ่อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันนั้นตัวผู้ป่วยเองมักรู้สึกถึงความผิด ปกติ แต่ในกลุ่มที่อาการค่อยๆ เป็น เจ้าตัวมักไม่ทราบต้องอาศัยผู้ใกล้ชิดปกติ เช่น เรียกไม่ค่อยได้ยินหรือเปิดโทรทัศน์เสียงดัง เป็นต้น
วิธีทดสอบการได้ยินด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ มีดังนี้ คือ
ลองใช้นิ้วมือถูกันเบาๆ หน้าหูทีละข้าง สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน ซึ่งการทดสอบนี้จะใช้ได้เมื่อหูสองข้างได้ยินไม่เท่ากันเท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ มีหลายสาเหตุพอแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ดังนี้
1) การอุดกั้นสัญญาณเสียง ซึ่งจะเกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบจากการปั่นหูหรือว่ายน้ำบ่อยๆ และหูชั้นกลางอักเสบจากหวัด เป็นต้น
2) ความผิดปกติในส่วนอวัยวะรับเสียงในหูชั้นในและหรือเส้นประสาทนำเสียงสู่สมอง
ถ้ารู้ว่าหูอื้อควรทำอย่างไร?
ต้องแก้ไขตามสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้ คือ
- ขี้หูอุดตัน ไม่แนะนำให้ใช้การแคะหู เพราะ มักจะเอาขี้หูไม่ออก แล้วยังจะทำให้ขี้หูอัดแน่นและถูกดันลึกมากขึ้น นอกจากนั้นอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดแผล มีเลือดออกและมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ซึ่งเรียกว่าเกิดภาวะหูชั้นนอกอักเสบได้ ส่วนวิธีที่ปลอดภัยกว่า และแนะนำให้ใช้คือ ลองหยอดยาละลายขี้หู โดยหยอดให้ท่วมรูหูทิ้งไว้สักครู่แล้วเทออก ถ้ายังรู้สึกอื้อ ให้ทำซ้ำอีก 2 - 3 ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อทำการตรวจหูโดยละเอียด และทำความสะอาดช่องหู
- อาการหูอื้อที่เกิดจากหวัด ควรได้รับการตรวจหูเพื่อดูความผิดปกติในหูชั้นกลาง และตรวจภายในโพรงจมูกร่วมด้วยเนื่องจากมักพบจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือไซนัสอักเสบได้บ่อย ในภาวะดังกล่าว
- อาการหูอื้อที่เกิดหลังจากได้ยินเสียงดังมากๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด หรือหูอื้อที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือมีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะตรวจช่องหูและอวัยวะอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ จากนั้นจะส่งตรวจวัดระดับการได้ยิน และอาจส่งตรวจการทำงานของระบบประสาทหู และตรวจเลือดเพิ่มเติม
- กลุ่มหูตึงในผู้สูงอายุ ควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ และรับการประเมินระดับการได้ยินว่าสมควรใช้เครื่อช่วยฟังหรือไม่ เพื่อเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป
Link https://www.si.mahidol.ac.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=