รักษาโรคหูแว่ว การรักษาโรคหูแว่ว โรคหูแว่วยา


1,153 ผู้ชม


รักษาโรคหูแว่ว การรักษาโรคหูแว่ว โรคหูแว่วยา

             รักษาโรคหูแว่ว
รักษาโรคหูแว่ว การรักษาโรคหูแว่ว โรคหูแว่วยา
รักษาโรคหูแว่ว การรักษาโรคหูแว่ว โรคหูแว่วยา

       โฆษกกรมสุขภาพจิตวอนคนในสังคมเฝ้า ระวังผู้มีอาการโรคจิตเภทคาดมี 600,000 คนทั่วประเทศ เนื่องจากสารเคมีในสมองผิดปกติ มีอาการหูแว่วประสาทหลอน หลงผิด คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ก่อเหตุรุนแรงเพราะสติหลุดต้องดูแลให้กินยาสม่ำเสมอ คุมอาการไม่ให้กำเริบ ลางบอกเหตุอาจเกิดเรื่องคือพฤติกรรมเปลี่ยน “ไม่กินยา เก็บตัว สะสมอาวุธ พูดคนเดียว”
       
       นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน นายแพทย์ใหญ่กรมสุขภาพจิตในฐานะโฆษกกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ลูกชายวัย 16 ปีใช้อาวุธมีด จี้จับแม่เป็นตัวประกันเพราะมีอาการทางจิต หูแว่ว ประสาทหลอน เกิดหลงผิดคิดว่าจะมีคนมาทำร้าย ว่าทีมจิตแพทย์ของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเข้าคลี่คลายเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจนเรื่องยุติลงด้วยดีนั้น อาการดังกล่าวทางจิตแพทย์เรียกรวมว่าเป็นโรคจิตเภท ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคนี้ แต่พบว่าผู้ป่วยจิตเภทมีสารเคมีในสมองที่เรียกว่า “โดปามีน” สูงผิดปกติ บางรายเกิดจากการเสพยาบ้า เกิดจากโรคทางสมองอาการเหล่านี้ใช้ยารักษาให้อาการสงบได้ คาดว่าประชากรไทย ร้อยละ 1 หรือกว่า 600,000 คนทั่วประเทศเป็นโรคจิตเภท
       
       นพ.ทวีศิลป์ กล่าวย้ำว่า ผู้ป่วยโรคจิตเภทต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ตรงตามเวลาที่แพทย์สั่ง มีทั้งยาเม็ด ยาน้ำและยาฉีด โดยทั่วไปนิยมให้รับประทานยาเม็ด บางรายที่ไม่ให้ความร่วมมือแพทย์อาจสั่งยาน้ำ ให้ญาติผสมในน้ำดื่มหรืออาหาร เมื่อคนไข้รับประทานทำให้อาการสงบลงได้ นอกจากนี้ยังมียาฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพียง 1 เข็มออกฤทธิ์ได้ 2-4 สัปดาห์ ประการสำคัญต้องได้รับยาสม่ำเสมอ
       
       “อาการหูแว่วประสาทหลอน กลัวคนมาทำร้ายเกิดจากสารเคมีในสมองเสียสมดุลยาจะปรับให้สารเคมีในสมองสมดุล ขึ้นคนเหล่านี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90 อยู่ในสังคม ชุมชนได้ อาการปกติ ไม่ต้องหวาดกลัว แต่หากเขาขาดยาจะเกิดความก้าวร้าวรุนแรงขึ้น เป็นที่สนใจของสังคม แต่คนประเภทนี้จะไม่ทำร้ายใคร การที่เขาจับตัวประกันเพราะเขาหวาดระแวง หวาดกลัว ณ เวลานั้น สิ่งที่ทำให้เขามีความมั่นใจ คือ หาใครก็ได้มาอยู่ร่วมกันเป็นเพื่อน ต้องกำลังบังคับคนที่เขาเลือกมักเป็นคนที่อ่อนแอกว่า คือ เด็ก ผู้หญิง ทำให้เขาเกิดความมั่นคงทางจิตใจ ไม่มีใครมาทำร้าย ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาจากสารเคมีในสมองผิดปกติ สั่งงานผิดปกติให้หูได้ยินเสียงแว่ว ตาเห็นภาพหลอนว่ามีคนมาทำร้าย สั่งการระบบความคิดคลาดเคลื่อนจากความจริง ถ้าได้ยารักษาโรคจิตในช่วงที่มีอาการ เขาจะเหมือนคนปกติ”นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
       
       โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ครอบครัวควรเฝ้าระวังสังเกตอาการ คือ ถ้าคนมีประวัติขาดยา ไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยา เก็บตัว แยกจากครอบครัว มีอารมณ์หงุดหงิดเปลี่ยนจากเดิม ไม่ร่วมมือในการกินยา เรื่องเล็กน้อยทำให้เขาคุมอารมณ์ไม่ได้ ถ้ามีอาการทางโรคจิต พูดพึมพำคนเดียวเหมือนคุยกับคนอื่นแต่อยู่คนเดียว สะสมอาวุธ ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ดูแลให้กินยาสม่ำเสมอ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หากไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่โรคจิตได้
       
       “ช่วงอายุที่พบโรคจิตเภทได้มาก คือ อายุ 15-25 ปี มีการตรวจพบว่าสารโดปามีนในสมองสูงผิดปกติคนที่เสพยาบ้าก็ทำให้เกิดภาวะนี้ ได้ หากเขาเป็นผู้ป่วยโรคจิตตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ได้รับการดูแลที่ดี เราจะสูญเสียคนวัยทำงาน กำลังสำคัญของประเทศไป คนที่ซึมเศร้า เครียดเรื้อรัง หากไม่รักษาจะทำให้เกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิดทำร้ายตัวเองได้” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
       
       นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า หากถูกผู้มีอาการทางจิตจับเป็นตัวประกันให้ตั้งสติอยู่ในความสงบ อย่าโวยวาย เพราะคนที่ก่อเหตุสติขาดหลุดไปแล้วเรากำลังอยู่กับคนที่สมองสั่งการผิดปกติ เราต้องตั้งหลักชักจูงเขาให้ความมั่นใจว่า ไม่มีใครมาทำร้าย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยทางจิตที่ก่อเหตุก้าวร้าวลักษณะนี้มีจำนวนน้อยคนไข้โรคจิตเป็นกรรม ของเขาที่เป็นเช่นนี้ แต่เมื่อสังคมเข้าใจ เขาไม่ได้แกล้งไม่ใช่อาชญากรแต่เป็นอาการตามสภาพโรคเพราะสารเคมีผิดปกติ ขอสังคมร่วมกันดูแลให้เขามีโอกาสอยู่ในสังคม เมื่อได้รับยาเขาก็เป็นลูกที่น่ารัก
            Link   https://www.manager.co.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=


               การรักษาโรคหูแว่ว

อันตราย อาการหูแว่ว ได้ยินเสียงโทรศัพท์อยู่เรื่อย

โทรศัพท์มือถือ

อันตราย....อาการหูแว่ว ได้ยินเสียงกริ่งโทร.มือถืออยู่เรื่อย (สยามดารา)
          ผู้ ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีอาการหูแว่ว มักได้ยินเสียงกริ่งดัง หรือเครื่องสั่นเรียกอยู่เรื่อย ให้สงสัยตัวเองไว้ก่อนว่า อาจมีอาการที่เรียกกันว่า "ผีโทรศัพท์" เป็นอาการทางจิต ไม่ใช่ความเจ็บป่วยตามร่างกาย โดยอาการเกิดคันมือคันไม้จะต้องควักกระเป่าหยิบมันขึ้นมาดูบ่อย ๆ เพราะคิดว่ามันดังขึ้นหรือสั่น ซึ่งอาการแบบนี้กำลังมีผู้เป็นกันมากขึ้นอยู่ทั่วโลก

          คณะนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในนครลอสแอนเจลิสของสหรัฐฯ ได้พิสูจน์พบแล้วว่า การใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการ "ผีโทรศัพท์" ขึ้นได้ แม้จะยังไม่ได้สุ่มตัวอย่างศึกษาดู
          ในอินเดียเอง พวกหมอเปิดเผยว่า ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการแบบนั้นไปหาจิตแพทย์มีไม่ต่ำกว่า 25% ที่เป็นผู้มีอาการดังกล่าว โดยหูมักจะแว่วได้ยินเสียงกริ่งโทรศัพท์ของตนเอง ยิ่งเป็นคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากเท่าใด ก็มักจะหูแว่วได้ยินบ่อยเท่านั้น
          นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ผู้ใช้โทรศัพท์ส่วนใหญ่ยังมักเป็นผู้ป่วยด้วยโรคของหลอดเลือดหัวใจ และโรคทางประสาทอีกด้วย
          ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยอัลลิแอนต์ อินเตอร์เนชั่นแนลของอเมริกากับกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ที่อยู่ในวัยระหว่าง 18-26 ปี พบว่าเป็นกลุ่มคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่าใครหมด นอกจากใช้พูดแล้วยังใช้ในการส่งข้อความสั้นกันด้วย รายงาน ผลการศึกษาแสดงว่า มีผู้เกิดมีอาการเช่นนั้นมากถึง 67% และคนญี่ปุ่นเป็นกันมากที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ใช้โทรศัพท์ที่ใช้การส่งข้อความสั้น ๆ ในการติดต่อกับเพื่อนฝูงและคนที่ตนรักทั้งหมด จะเป็นคนที่มีความรู้สึกหงอยเหงาและทุกข์ร้อนเกี่ยวกับสังคม

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            โรคหูแว่วยา

โรคจิตเภทคืออะไร

โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตเรื้อรังซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ความคิด[thinking} ความรู้สึก{feeling} และพฤติกรรม[behavior]

สาเหตุ

เป็นโรคทางพันธุกรรมทำให้มีการพัฒนาของระบบประสาทผิดปกติ เมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็เกิดโรคนี้ ได้แก่

  • การที่เกิดขาอออกซิเจนในระหว่างการคลอด
  • มารดาเป็นไข้ในตั้งครรภ์ไตรมาสที่2
  • มารดาเป็นไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์

อาการแสดง

อาการแสดงจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่

  1. อาการนำก่อนป่วย[prodome] อาการนำก่อนป่วยในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาการชัด บางคนอาการไม่ชัด อาการนำมักจะเกิดขณะวัยเรียน อาการนำอาจจะมีอาการเป็นเดือนก่อนเกิดปรากฏอาการทางจิต
  • แยกตัวเล่น ไม่ยุ่งกับใคร
  • แปลกประหลาด ไม่สามารถปฏิบัติตนให้สมบทบาทได้ เช่นบทบาทของการเป็นเพื่อน ลูก
  • ไม่ดูแลตัวเอง เช่นไม่อาบน้ำหรือหวีผม
  • บุคลิกเปลี่ยนจนเพื่อนสังเกตเห็น
  • มีความคิดแปลกๆ
  • ห่วงใยรูปร่างหน้าตา ชอบดูกระจก กลัวผิดปกติ
  • มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
  1. อาการทางจิต ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันได้มาก แม้แต่ผู้ป่วยคนเดียวกัน ต่างเวลาอาการของเขาก็อาจจะแตกต่างกันอาการที่ทำให้ผู้ป่วยพบแพทย์

  1. อาการทางจิต ผู้ป่วยจะมีอาการ

  • ประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ตาฝาด
  • ระแวง กลัวคนทำร้าย คิดว่ามีคนสะกดรอยตามปองร้าย แปลความหมายเหตุการณ์รอบตัวผิดจากความเป็นจริง เช่นเพื่อนลูปหน้าแปลว่าหน้าด้านไม่รู้จักอาย
  • อาละวาด ทำลายข้าวของ
  • พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายผู้อื่น
  1. ความสามารถในการดำเนินชีวิตเสื่อมลง

  • การเรียนเลวลง หรือเรียนไม่ได้
  • การงานบกพร่อง ทำงานไม่ได้เท่าที่เคยทำ เกียจคร้าน
  • ความสัมพันธ์กับบุคลอื่นไม่ราบรื่น เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ระแวง คิดแปลเจตนาของผู้อื่นในทางลบ หงุดหงิด
  • ไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งตัวให้เรียบร้อย ไม่หวีผม ห้องนอนสกปรก
  1. ผู้ป่วยบางรายมาหลังจาก

  • ดื่มเหล้ามาก
  • ใช้สารเสพติด
  • การป่วยทางกาย

ลักษณะทั่วไป

ผู้ป่วยจะมีกริยาท่าทางประหลาด แต่งตัวไม่เรียบร้อย สกปรก มีกลิ่นเหมือนไม่อาบน้ำแปรงฟัน การเคลื่อนไหว บางคนหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่อยู่นิ่ง ลุกลน

พฤติกรรมทางสังคม เก็บตัว แยกตัว หรือวุ่นวายเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ควร

การพูดมีหลายแบบ พูดจาได้ความดี พูดไม่รู้เรื่อง พูดน้อย หรือไม่พูดเลย

อารมณ์ บางคนสีหน้าราบเรียบ ไม่แสดงอารมณ์อะไร บางรายสีหน้าไม่สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด และบางรายสีหน้าปกติ

ความคิด Though

ผู้ป่วยบางรายไม่มีความคิดออกมาเลย บางรายมีความคิดหลั่งไหลออกมารวดเร็วและบางคนคิดเหมือนคนปกติ ความคิดมักจะไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องก่อนที่เรื่องกำลังกล่าวจะจบ มีอาการหลงผิด เช่นหวาดระแวงว่าคนจะทำร้าย หูแว่ว ตาฝาด และประสาทหลอน และมักจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารทั้งการรับและการส่ง เช่นโกรธอย่างรุนแรงโดยไม่มีเหตุผลหรือเฉยไม่ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย

การดำเนินของโรค

ผู้ป่วยจะเริ่มด้วยอาการนำ แล้วตามมาด้วยอาการของโรคอาจจะเกิดแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป อาการสงบลงสลับกับกำเริบขึ้นอีกเป็นครั้งคราว ผ่านไปหลายปีอาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่เช่นเดียวกับอาการนำ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโดยอาการเป็นสำคัญ ผู้ป่วยมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ
  • ป่วยเรื้อรัง
  • ความสามารถในการดำรงชีวิตเสื่อมถอย เช่น ทำงานไม่ได้ พึ่งตนเองไม่ได้
  • เมื่อป่วยแล้วไม่หายเป็นปกติเหมือนก่อนป่วย

ต้องวินิจฉัยแยกโรคต่อไปนี้

  • Bipolar disorder โรคนี้เวลาหายจะเหมือนคนปกติ การป่วยบางครั้งเป็น
  • โรคจิตเพราะพิษสุรา หรือสารเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชา ยาลดความอ้วน
  • โรคทางกาย เช่น SLE โรคลมชัก โรคเนื้องอกในสมอง

การรักษา ทำได้ 3 ทางด้วยกัน

  1. รักษาอาการให้หาย

เป็นการใช้ยาในการรักษายาที่ใช้ได้แก่

  • Haloperidol
  • Resperidone
  • Clozapine
  1. ป้องกันมิให้กลับเป็นซ้ำ หากกินยาสม่ำเสมอการกำเริบจะน้อย สาเหตุที่กำเริบคือการถูกตำหนิติเตียนเป็นประจำ การป้องกันไม่ให้โรคกำเริบคือ

  • กินยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง
  • อย่าบ่นว่า ตำหนิ วิจารณ์ซ้ำซาก

สิ่งที่สำคัญในการรักษาคือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีแนวโน้มในการฆ่าตัวเองสูง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวเองสูงมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ญาติและผู้ป่วยคาดในความสำเร็จสูง
  • ปรับตัวรับสภาพโรคจิตไม่ได้
  • ช่วงเวลาที่ต้องระวังในการฆ่าตัวเองคือ ขณะที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล ระยะ 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล มีการสูญเสีย เช่นหย่า ตกงาน เปลี่ยนแพทย์ผู้รักษา
  • อาการดีขึ้นหลังจากป่วยหนักและรู้ว่าตัวเองเป็นโรคจิต

สัญญาณบ่งบอกว่าจะฆ่าตัวตาย

  • ผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวเอง
  • มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ
  • มีแรงกดดันผู้ป่วยมากได้แก่ ขาดที่พึ่ง ตกงาน ญาติโกรธ ถูกไล่ออกจากบ้าน
  • อาการกำเริบ หูแว่ว หวาดกลัว รู้สึกมีคนปองร้าย
  • หมอโกรธ
  1. ฟื้นฟูจิตใจและฝึกอาชีพ เนื่องจากผู้ป่วยพลาดการเล่าเรียน และการเรียนรู้ชีวิต การต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค ทางครอบครัวและผู้รักษาต้องประคับประคองให้เขาเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา และการฝึกอาชีพ

                  Link      https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด