โรคผิวหนังที่พบบ่อย สถาบันโรคผิวหนัง pantip โรคผิวหนังอักเสบ


6,705 ผู้ชม


โรคผิวหนังที่พบบ่อย สถาบันโรคผิวหนัง pantip โรคผิวหนังอักเสบ

            โรคผิวหนังที่พบบ่อย

โรคผื่นผิวหนังอักเสบ อีกโรคที่พบได้บ่อย

โรคผิวหนัง


โรคผื่นผิวหนังอักเสบ อีกโรคที่พบได้บ่อย  (ไทยรัฐ)

            โรค ผื่นผิวหนังอักเสบ เกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย สารหลายชนิดเป็นต้นเหตุที่สำคัญ ในบางรายอาจตรวจไม่พบสารที่เป็นสาเหตุ เมื่อเกิดการอักเสบจะแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ  แล้วแต่ระยะของโรค เช่น เป็นชนิดเฉียบพลัน หรือชนิดเรื้อรัง

            โรคผื่นผิวหนังอักเสบ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Eczema หรือ Dermatitis จัดเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง และมีชื่อเรียกได้ต่างๆ กันไป
 กลไกการเกิดโรค

            พบว่าเกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นที่ผิวหนังตำแหน่งต่างๆ เช่น ใบหน้า แขนขา ลำตัว มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี ปฏิกิริยาอักเสบที่เกิดขึ้นในคนหนึ่งอาจแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ได้
สาเหตุ
            การอักเสบของผิวหนังเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย สารหลายชนิดเป็นต้นเหตุที่สำคัญ ในบางรายอาจตรวจไม่พบสารที่เป็นสาเหตุ เมื่อเกิดการอักเสบจะแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้แล้วแต่ระยะของโรค เช่น เป็นชนิดเฉียบพลัน หรือชนิดเรื้อรัง

            โดยทั่วไปสามารถแบ่งตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคออกเป็นสองประเภท สาเหตุจากภายนอกร่างกาย และสาเหตุจากภายในร่างกาย
            สาเหตุจากภายนอกร่างกาย เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสผิวหนัง ส่วนมากเป็นสารที่พบเห็นหรือสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวัน ประเภทเครื่องใช้ประจำวัน เครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น บางครั้งจึงอาจเรียกว่าผื่นระคายสัมผัส
            โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม มักเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กๆ และเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาภูมิไวเกินของร่างกาย
การวินิจฉัยโรคผื่นระคายสัมผัส
            ผื่นระคายสัมผัสเกิดจากสาเหตุจากภายนอกร่างกาย  ส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสผิวหนัง ส่วนมากเป็นสารที่พบเห็นหรือสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวัน ประเภทเครื่องใช้ประจำวัน เครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น ผื่นชนิดนี้พบได้บ่อยมากและมักจะตรวจหาสาเหตุได้ โดยการวินิจฉัยสาเหตุอาศัยการทดสอบภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Patch test เป็นการทดสอบที่ง่าย ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด
            ผื่นสัมผัสนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะสารที่เป็นสาเหตุอาจมาจากการประกอบอาชีพ เช่น โลหะ ผลิตภัณฑ์ยาง  กาว หรืออาจแพ้เครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม  สารกันบูด  น้ำยาย้อมหรือดัดผม สิ่งต่างๆ
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสารที่สัมผัสง่าย ผู้ที่แพ้จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด มิฉะนั้นการรักษาจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ผื่นแพ้จากนิกเกิล

            ผื่นแพ้จากนิกเกิลเกิดได้หลายรูปแบบ เช่น เกิดบริเวณที่สัมผัสกับเครื่องใช้นั้น เช่น ที่ติ่งหู คอ ข้อมือ ผื่นแดงเป็นสะเก็ดที่หนังตาบน เนื่องจากสารติดมือไปถูกหนังตา อาจเป็นผื่นลามไปทั่วตัว หรือเป็นเป็นที่เฉพาะที่มือ
ผื่นแพ้ที่พบได้บ่อย
            ผื่นแพ้ยาย้อมผม จะคันและเป็นผื่นแดงบริเวณหนังตา หลังหู ต้นคอ และตีนผม รายที่แพ้มากจะหน้าบวม ตาบวมปิด อาจลามลงมาที่ไหล่และแขน
            ในรายที่แพ้เสื้อ จะมีผื่นบริเวณคอ ชายแขนเสื้อ ใต้รักแร้ หลัง ถ้าแพ้กางเกง จะพบผื่นรอบเอว ต้นขา ขาพับ และน่อง ถ้าแพ้รองเท้า จะมีผื่นบนหลังเท้าทั้งสองข้าง ตรงกับบริเวณที่ผิวสัมผัสกับรองเท้า
            แพ้ปูนซีเมนต์ จะแพ้ผื่นบริเวณหลังมือลามขึ้นมาตามแขน ขา เท้า ลำตัว ผื่นมักแห้งแตกเป็นร่อง
            แพ้ยาทาภายนอก จะเกิดผื่นบริเวณที่ทายา และเมื่อรับประทานยาที่แพ้ก็จะเกิดผื่นคันได้ด้วย
การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
            เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดที่เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โรคในกลุ่มนี้เรียกชื่อแตกต่างกันไปแบ่งตามลักษณะผื่นและบริเวณที่เป็น
ลักษณะของที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

            ระยะเฉียบพลัน ปรากฏเป็นตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำ มักจะบวมแดงและมีน้ำเหลืองร่วมด้วย
            ระยะปานกลาง สังเกตได้ว่าอาการบวมแดงลดน้อยลงและเริ่มมีสะเก็ดหรือขุยเกิดขึ้นให้เห็น
            ระยะเรื้อรัง จะมีลักษณะเป็นผื่นหนา แข็ง และมีลายเส้นของผิวหนังชัดเจนขึ้น ทั้งสามชนิดจะทำให้มีอาการคันมาก  ถ้าเกาก็จะเกิดผิวหนังอักเสบมากขึ้น และเวลาหายอาจมีรอยด่างดำเกิดขี้นได้
            ลักษณะผื่นจะเป็นเม็ดใส หรือเม็ดหนอง เล็กๆ ต่อมาเม็ดน้ำนี้ก็จะแตกกลายเป็นผื่นสีแดง หรือน้ำเหลืองเยิ้มออกมา พอน้ำเหลืองแห้งก็จะกลายเป็นสะเก็ด ในฤดูหนาวอาจจะเกิดการแตกถึงกับเลือดออกได้ ผื่นดังกล่าวนี้มักจะเริ่มที่ปลายนิ้วมือก่อนแล้วค่อยๆ ลามขึ้นมาจากนิ้วข้อที่หนึ่งมาข้อที่สอง บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นที่นิ้วเท้าด้วย
            การทดสอบภูมิแพ้สำหรับผื่นผิวหนังอักเสบ ที่เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย ใช้วิธีที่เรียกว่า Prick test และเมื่อทราบว่าแพ้สารใดบ้างก็ช่วยในการรักษา โดยวิธีอิมมูนบำบัด กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อสารที่แพ้

แนวทางการรักษาโรค

            แนวทางการรักษาผื่นผิวหนังอักเสบในระยะเฉียบพลัน ให้ประคบด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยา Burrow 1:40 หรือน้ำยากรดบอริก 3% วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อผื่นแห้งดีแล้วต้องหยุดประคบ มิฉะนั้นจะแห้งเกินไป ทำให้ตึงและแตก
            ในระยะปานกลาง พิจารณาใช้ยาทาสตีรอยด์ ตามลักษณะและตำแหน่งผื่นที่เป็น
            ส่วนในระยะเรื้อรัง ใช้ยาทาสตีรอยด์ผสม Salicylic acid ช่วยให้ผื่นหายเร็วขึ้น
            สำหรับอาการคัน ให้ใช้ยาต้านฮิสตามีนชนิดรับประทาน เช่น อินซิดาล (incidal) หรือ อะตาแรกซ์ (atarax) ควรระวังฤทธิ์ง่วงนอนที่เกิดจากการใช้ยาในกลุ่มนี้ หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะและการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและ ของมีคม
คำแนะนำบางประการสำหรับผู้ป่วย

             ป้องกันมิให้มือสัมผัสกับสิ่งระรายเคือง หรือสงสัยว่าจะแพ้ เช่น สบู่ ผงซักฟอก
             งดสระผมด้วยตัวเอง หรือสวมถุงมือ ไม่ทายานวดผม ย้อมผม
             หลีกเลี่ยงการฟอกมือหรือการล้างมือบ่อยๆ
             หลีกเลี่ยงการปลอกหรือบีบเปลือกผลไม้
             ไม่ใส่แหวนขณะทำงาน
             ควรใช้สบู่อ่อนในการล้างมือ
             เมื่อหายแล้วควรหยุดงานเสียระยะหนึ่งก่อน



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++==


                   สถาบันโรคผิวหนัง pantip

วันนี้ไปหาหมอที่สถาบันโรคผิวหนัง ที่อนุเสาวรีย์ตื่นตั้งแต่ตี 5ครึ่งเลยทีเดียว
นั่งรถไปลงที่รพ.พระมงกุฎแล้วเดินข้ามฝั่งมา ไปถึงประมาณ7โมงเช้า ได้คิวที่ 100 พอดี
เข้าไปก็เอาใบมากรอกประวัติเพราะเป็นผู้ป่วยใหม่ แล้วก็ไปกินข้าวรอเวลาเพราะรอคัดกรองตอน9โมง
ที่นี่ทำงานเป็นระบบมาก มีพยาบาลมาอธิบายขั้นตอนวิธีการคัดกรอง เข้าตรวจ จ่างเงิน และรับยาโดยละเอียดเลย
ได้เข้าพบคุณหมอตอนประมาณ 9โมงครึ่ง คุณหมอน่ารักมากๆเลยคะ เป็นกันเองมาก
ตอนนี้เอมอายุ19 คุณหมอบอกว่าต้องบำรุงบ้างเพราะว่าถ้าไม่บำรุงแก่ไปแล้วจะเป็นแบบหมอ
คุณหมอบอกว่าอายุแก่กว่าเอม10ปี แต่คุณหมอหน้าเด็กมากเหมือนนักศึกษาแพทย์เลยทีเดียว
พอพบคุณหมอเสร็จก็ ออกมารอคิวจ่ายเงินและรับยา เสร็จขั้นตอนทุกอย่าง10โมงกว่าๆเองคะ
มาดูตัวยากันดีกว่า
ตัวแรกกันแดดSpectraBAN Sensitive 20g
ลองใช้เมื่อตอนกลางวันผ่องเด้งดีคะ ตอนแรกนึกว่าจะมันๆเยิ้มๆเพราะเอมหน้ามันอยู่แล้ว
แต่พอลองใช้ไม่มันนะคะ ชอบมากว่าbiore อีกเพราะตัวนั้นใช้แล้วหน้าด้านมากมายเลย

 

           Link    https://topicstock.pantip.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

            โรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema หรือ Dermatitis) article

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema หรือ Dermatitis)



โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema หรือ Dermatitis)
คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ระยะของโรค สามารถแบ่งตามสาเหตุที่เกิดขึ้น ได้ดังนี้
สาเหตุจากภายนอกร่างกาย
(Exogenous หรือ Contact dermatitis)
เกิด จากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสกับผิวหนัง สามารถแบ่งออกเป็น ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis) พบได้ประมาณ 70-80%
ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) พบได้ประมาณ 20-30% การวินิจฉัยอาศัยการทดสอบภูมิแพ้ โดยวิธี Patch Test ผื่นสัมผัสนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะสารที่เป็นสาเหตุ อาจมาจากการประกอบอาชีพ (เช่น โลหะ, ผลิตภัณฑ์ยาง, กาว) เครื่องสำอาง (เช่น น้ำหอม, สารกันบูด, น้ำยาย้อม หรือดัดผม) ซึ่งทำให้เกิดโอกาสที่จะสัมผัสง่าย และหลีกเลี่ยงได้ลำบาก



สาเหตุจากภายในร่างกาย
(Endogenous eczema)
เกิด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โรคในกลุ่มนี้ เรียกชื่อตามลักษณะผื่น สาเหตุ และบริเวณที่เป็น เช่น Atopic dermatitis, Seborrheic dermatitis, Discoid หรือ Number dermatitis เป็นต้น



อาการ
ผู้ป่วยมักมีลักษณะของผื่นที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะเฉียบพลัน (Acute stage) เป็นตุ่มแดง, ตุ่มน้ำ อาจมีอาการบวมแดง และมีน้ำเหลืองด้วย
ระยะปานกลาง (subacute stage) อาการบวมแดงจะลดลง และมีสะเก็ดหรือขุยร่วมด้วย
ระยะเรื้อรัง (Chronic stage) ผื่นจะมีลักษณะหนา, แข็ง และมีลายเส้นของผิวหนังชัดเจนขึ้น (Lichenification)
อกจากนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งถ้าผู้ป่วยเกาก็จะยิ่งทำให้เกิดผิวหนังอักเสบมากขึ้น และเวลาหายอาจมีรอยด่างดำได้
การรักษา

1. รักษาตามระยะของผิวหนังที่เกิดการอักเสบ
1.1 ระยะเฉียบพลัน : ประคบผื่นด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยา Burrow 1:40 หรือ Boric Acid 3% วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อผื่นแห้งดีแล้วต้องหยุดประคบ มิฉะนั้น จะแห้งเกินไป ทำให้ตึงและแตก
1.2 ระยะปานกลาง : ใช้ยาทาสตีรอยด์ ตามลักษณะและตำแหน่งที่เป็นผื่น
1.3 ระยะเรื้อรัง : ใช้ยาทาสตีรอยด์ อาจผสมพวก Salicylic Acid หรือในรายที่เป็นผื่นหนาแข็ง อาจจำเป็นต้องฉีดยาที่บริเวณผื่น
2. การใช้ยารับประทาน
ผู้ ป่วยบางรายมีอาการคันมาก อาจต้องได้ยารับประทานชนิด Antihistamine ส่วนยาทาภายนอกที่มี Antihistamine ไม่ควรใช้ เพราะยาทาภายนอกชนิดนี้มีโอกาสแพ้ได้มาก ในกรณีที่เป็นระยะเฉียบพลัน ที่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยารับประทานชนิด Steroid ร่วมด้วย
3. การค้นหาสาเหตุ
การ แบ่งระยะโรคผิวหนังอักเสบนั้น เป็นประโยชน์ในแง่การรักษาชั่วคราวเท่านั้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดใด และมีการดำเนินของโรคเป็นอย่างไร ควรจะปฏิบัติตนเช่นไร เพราะโรคผิวหนังอักเสบส่วนมาก มักจะเป็นค่อนข้างเรื้อรัง และถ้าผู้ป่วยไม่เข้าใจก็อาจจะทำให้เกิดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้โรคผิวหนังอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ และอาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรังได้

          Link    https://www.ozonicinter.com/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด