โรคผิวหนัง เวียดนาม โรคผิวหนังเวียดนาม โรคผิวหนังแข็ง


1,052 ผู้ชม


โรคผิวหนัง เวียดนาม โรคผิวหนังเวียดนาม โรคผิวหนังแข็ง

                โรคผิวหนัง เวียดนาม

สธ.แจง โรคผิวหนังเวียดนาม ไม่ระบาดไทย

สธ.แจง โรคผิวหนังเวียดนาม ไม่ระบาดไทย


โรคระบาดเวียดนาม
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก inewp.com 
          กรม ควบคุมโรค ชี้แจง โรคผิวหนังที่ระบาดในเวียดนามจนมีผู้เสียชีวิต ไม่ระบาดเข้ามาในไทย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก ส่วนคนที่กลับจากเวียดนามหากไม่แน่ใจ โทรสอบถามที่ 1422

          จากข่าวเกิดการระบาดของโรคผิวหนังร้ายแรงที่ยังไม่ทราบสาเหตุในจังหวัดกวาง งาย ประเทศเวียดนาม จนมีผู้เสียชีวิตไปแล้วหลายคนนั้น วันนี้ (23 เมษายน) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาระบุว่า ขอให้คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกกับโรคผิวหนังดังกล่าว เพราะจากข้อมูลเชื่อว่า โรคนี้น่าจะเกิดจากการแพ้สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรกรรมและแหล่งอื่น ๆ ไม่น่าจะเป็นโรคระบาดจากการติดเชื้อ เนื่อง จากรัฐบาลเวียดนามไม่ได้ออกประกาศเตือนโรคติดเชื้อ แต่ออกประกาศแนะนำให้ประชาชนของตัวเองให้ล้างมือ ล้างเท้า หลังกลับจากไร่นาก่อนเข้าบ้าน และให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีนั้น
          นพ.พร เทพ กล่าวต่อว่า จากรายงานในประเทศเวียดนาม พบว่า โรคผิวหนังดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2554 และพบที่เฉพาะจังหวัดกวางงายเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยว ส่วนที่พื้นที่อื่นไม่มีรายงานการเกิดโรคนี้ ดังนั้น ในประเทศไทยก็ยังไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก เพราะหากเป็นโรคระบาดก็คงลุกลามไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว เนื่องจากพบโรคนี้มาแล้ว 2 ปี ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการรับมืออะไรเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคก็ได้ประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์โรคดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งเบื้องต้นยังไม่มีอะไรน่ากังวล
          ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่เดินทางกลับจากประเทศเวียดนาม หากรู้สึกไม่สบายใจ หรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ก็สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วน 1442 ของกรมควบคุมโรคได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


[21 เมษายน] เวียดนามพบโรคระบาดลึกลับ ดับแล้ว 19 ราย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
          เวียดนามขอความช่วยเหลือ WHO ไขปริศนาโรคระบาดลึกลับ คร่าชีวิตเด็กเล็กในถิ่นทุรกันดารแล้ว 19 ราย ล้มป่วยอีก 171 ราย
          เมื่อวันที่ 20 เมษายน สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ว่า ขณะนี้ทางการเวียดนามได้ร้องขอความช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ให้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุอาการป่วยด้วยโรคลึกลับ ในพื้นที่ท้องถิ่นทุรกันดาร อำเภอบาโถ จังหวัดกวางงาย ทางภาคกลางของประเทศ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน

          นาย เลอ ฮัน ฟอง ประธานคณะกรรมการประชาชน อำเภอบาโถ ระบุว่า โรคดังกล่าวได้ทำให้มีเด็กเล็กเสียชีวิตไปแล้ว 19 ราย และป่วยแต่ยังไม่เสียชีวิตอีก 171 ราย โดย ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มต้นจากไข้ขึ้นสูง เบื่ออาหาร และมีเม็ดผื่นคันบริเวณผิวหนังตามมือและเท้า หากผู้ป่วยรายใดไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ตับจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และสุดท้ายอวัยวะภายในหลายส่วนจะล้มเหลว

          อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังอำเภอบาโถ เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจหาสาเหตุของโรคนี้ได้ ดังนั้นรัฐบาลเวียดนามจึงต้องร้องขอความช่วยเหลือดังกล่าว
          ทั้งนี้ สำหรับอาการป่วยด้วยโรคนี้ ถูกตรวจพบครั้งแรกตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว แต่จำนวนผู้ป่วยลดลงในเดือนตุลาคม ก่อนจะเริ่มระบาดอีกครั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

              โรคผิวหนังเวียดนาม

สาธารณสุขชี้โรคผิวหนังเวียดนามไม่ติดต่อในไทย

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2555 เวลา 14:58 น.

. วันนี้ 23 เม.ย. นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีพบประชาชนชาวเวียดนามเป็นโรคผิวหนังร้ายแรงจนมีผู้เสียชีวิต ว่า ทราบว่าโรคผิวหนังดังกล่าวเกิดขึ้นที่หมู่บ้านบาเตียน จ.กวางงาย โดยเมื่อปี 2554 พบผู้ป่วยทั้งหมด 150 คน เสียชีวิต 12 คน จากการที่ตับถูกทำลาย ปี 2555 มีผู้ป่วยทั้งหมด 63 คน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 คน ทั้งนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าโรคดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด แต่เมื่อดูจากการที่รัฐบาลเวียดนามประกาศเตือนประชาชนของตัวเองว่าควรล้าง มือล้างเท้าหลังกลับจากออกไร่นาก่อนเข้าบ้าน และให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีนั้น จึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อ แต่น่าจะเกิดจากการแพ้สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรกรรมและแหล่งอื่นๆ มากกว่า ดังนั้นไม่ควรตื่นตระหนก

นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า กรมควบคุมโรคไม่ได้นิ่งนอนใจโดยได้หารือกันเมื่อช่วงเช้าวันที่ 23 เม.ย. ที่ผ่านมา  โดยได้ข้อสรุปว่าเป็นโรคผิวหนังผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ สำหรับมาตรการที่เกี่ยวข้องกับคนไทยนั้นต้องเรียนว่าจ.กวางงายไม่ได้เป็น แหล่งท่องเที่ยว ประชาชนที่นั่นยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก อีกทั้งการเดินทางยังไม่สะดวกจึงไม่มีคนไทยเดินทางไปยังจังหวัดดังกล่าว และเชื่อว่าหากประชาชนที่นั่นป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดดังกล่าวจริงคงไม่เดิน ทางไปไหนเช่นกัน แต่เพื่อความสบายใจ หากประชาชนชาวไทยคนใดที่เดินทางกลับจากประเทศเวียดนามแล้วเกิดความไม่มั่นใจ สามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่สายด่วน 1422 ยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมายมาควบคุมเนื่องจากยัง ไม่มีการยืนยันว่าเป็นโรคติดต่อ

“ถ้าเป็นโรคระบาดคงลุกลามทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว เพราะโรคนี้เป็นมาตั้ง 2 ปีแล้ว อีกอย่างโรคนี้ยังเกิดเฉพาะพื้นที่เป็นพักๆ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง ม.ค.-เม.ย. และนี่ก็เพิ่งจะกลับมาพบอีก อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคจะร่วมกับองค์การอนามัยโลกติดตาม เรื่องนี้ต่อไป ” นพ.พรเทพ กล่าว.

          Link    https://www.dailynews.co.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

              โรคผิวหนังแข็ง

โรคผิวหนังแข็ง

ภาควิชาตจวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

           โรค ผิวหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วยจะสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อบางชนิดของตนเอง มีการกระตุ้นเซลล์ไฟโบบลาสต์ให้สร้างสายใยคอลลาเจนเพิ่มมากขึ้นทั้งในผิว หนังและอวัยวะภายในอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น เช่น อาการผิวหนังแข็งตึง ปลายนิ้วเขียวคล้ำเวลาสัมผัสความเย็น ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น ลำไส้ดูดซึมไม่ดี หรือ พังผืดเพิ่มขึ้นในปอดทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อย ถ้าโรคเป็นไม่มาก อาการจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แทรกตัวอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ มีปริมาณน้อย อาจไม่รบกวนการทำงานของอวัยวะเหล่านี้และไม่ปรากฏอาการให้เห็น
อาการของโรค
            แตก ต่างกันได้มากในแต่ละบุคคล บางรายมีอาการเฉพาะทางผิวหนัง แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการในระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กลืนลำบากหอบเหนื่อย หรือ ปวดข้อ
โรคผิวหนังแข็ง เกิดจากสาเหตุใด
           ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีการสร้างเนื้อเยื้อเกี่ยวพัน หรือ คอลลาเจนเพิ่มมากขึ้นในผิวหนัง และอวัยวะภายใน
            ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีประวัติบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัวเป็นโรคผิวหนังแข็งมาก่อน และบุตรหลานของผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งมักไม่เป็นโรคนี้
โรคผิวหนังแบ่งเป็น 2 ชนิด
โรคผิวหนังแข็งเฉพาะที่ (LOCALIZED SCLERODERMA)
- พบในวัยเด็ก
- อาการผิวหนังแข็งผิดปกติเกิดเฉพาะที่ เช่น ปลายมือ ปลายเท้าเท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นทั่วร่างกาย
- อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งเฉพาะที่ อาจเกิดอาการจากอวัยวะภายในบางระบบขึ้นได้ แต่พบน้อยมาก
โรคผิวหนังแข็งทั่วตัว (SYSTEMIC SCLEROSIS)
- พบในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ อายุเฉลี่ย 40 ปี
- พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 4:1
- มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ผิวหนังและในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด หัวใจ หลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร
- หลอด เลือดฝอยบริเวณปลายนิ้วหดรัดตัวและมีขนาดเล็กลง ทำให้อุดตันได้ง่าย เมื่อสัมผัสอากาศเย็น จึงเกิดอาการปลายนิ้วซีด เขียวคล้ำหรือเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงได้ และเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นที่ปลายนิ้ว แผลจะหายช้ากว่าคนปกติ
- ผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่มีอาการเกิดขึ้นกับอวัยวะภายใน ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน
การรักษาโรคผิวหนังแข็ง
           การรักษาโรคผิวหนังแข็งต้องการการดูแลปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
การ รักษาในปัจจุบันเน้นการรักษาตามอาการเป็นหลัก เช่น ให้ยาที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสร้างและสะสมตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใน อวัยวะต่าง ๆ ให้ยาขยายหลอดเลือดเพื่อลดอาการปลายนิ้วซีดเขียวและลดอาการปวด ในกรณีทีมีอาการกลืนลำบาก ปวดแสบท้องบริเวณลิ้นปี่ ให้ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ยาที่ช่วยการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ผู้ป่วยบางรายสามารถหยุดพักการรักษาได้เมื่อโรคสงบลง เนื่องจากอาการรุนแรงไม่เท่ากันในแต่ละราย ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งแต่ละคนจึงได้รับการรักษาไม่เหมือนกัน การรักษามุ่งเน้นเพื่อจะลดหรือบรรเทาอาการต่าง ๆ ลง ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
- หลีก เลี่ยงการสัมผัสความเย็น อากาศเย็น การสูบบุหรี่ เพราะปัจจัยเหล่านี้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือซีด เขียว ปวด จะกำเริบมากขึ้น
- มารับการตรวจและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
- ควรทำกายภาพบำบัด นิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึดและข้อผิดรูปของนิ้วมือ
- ทำ ความเข้าใจกับโรคที่เป็นเพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง อย่าซื้อยารับประทานเอง โดยไม่มีความรู้เรื่องยาที่จะใช้เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงจากยา
- หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก หายใจลำบากอึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

             Link     https://www.si.mahidol.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด