โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ


960 ผู้ชม


โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

             โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ถ้าอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์จะพบว่าผู้มีชื่อเสียง ดารา เสียชีวิตจากโรคหัวใจไม่เว้นแต่ละวัน โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ทำให้โรคนี้พบมากขึ้น โรคหัวใจเป็นโรคใกล้ตัว คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เสี่ยง และเป็นโรคหัวใจหากคุณตั้งอยู่บนความประมาท ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมกันทำบุญโดยคุณอ่านบทความนี้จนจบ โปรดแนะนำญาติ คนใกล้ชิด หรือคนรู้จักให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

หากท่านผู้อ่านสามารถให้ความรู้และป้องกันการเสียชีวิตได้หนึ่งรายจะทำญาติให้ผู้ป่วยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาที่จะกล่าวจะแบ่งเป็นส่วนๆดังนี้

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดไป เลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอาจจะเกิดหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ

กลไกการเกิดโรค
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

กลไกการเกิดโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Unstable Angina หรือ Non STMI จะเป็นแบบหลอดเลือดค่อยๆตีบ ส่วนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด อ่านที่นี่

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก เจ็บนาน เจ็บมากจนเหงื่อตก อ่านที่นี่

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้หลอดเลือดแดงตีบ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อ่านที่นี่

วินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัยประวัติการเจ็บปวย การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด อ่านที่นี่

ความรุนแรงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

หากหลอดตีบไม่ มากจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก หากขาดเลือดมากจะมีอาการกล้ามเนื้อขาดเลือดแบบ Non ST Elevate MI หากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดจะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ ST Elevate MI อ่านที่นี่

การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

การรักษาโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะต้องทำให้เลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจให้เร็วที่สุด ซึ่งอาจจะให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการใช้สายสวนหัวใจ อ่านที่นี่

โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคแทรกซ้อน ของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการเต้นของหัวใจผิดปรกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือเกิดจากลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน อ่านที่นี่

ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจแบ่งเป็นสองแบบคือปฐมภูมิ และทุติยภูมิคือการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้ว อ่านที่นี่


              Link    https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                   โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา

หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น


สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่

  1. ความดันโลหิตสูง ขณะ ที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หาก หัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ

  2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจโรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วน ใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา

  3. โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ใน ประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

  4. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มาก บ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ

  5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะ สำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว

  6. โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอก จากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ

อาการ

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจ ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่ เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจ ล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจสามารถให้การวินิจฉัยได้จาก การซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้

ภาพรังสีทรวงอกบอก ขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่ง ช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ

การรักษา

หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็น การให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น

นอกจากนั้นยังควรให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้

             Link     https://www.dae.mi.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

             โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

Heart attack หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน| โรคหลอดเลือดแข็ง| หัวใจวาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือดและออกซิเจนมาสู่หัวใจ หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด จะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery disease เป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย

อุบัติการณ์

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ

  1. Rigrt coronary artery
  2. Left main coronary artery ซึ่งจะแตกออกเป็นสองแขนงได้แก่
  • Left anterior ascending
  • circumflex artery

Acute Coronary Syndrome

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตของการเสียชีวิตของประเทศที่ เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีได้หลายลักษณะได้แก่

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด Myocardial infarction
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องหัวใจวาย Congestive heart failure
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตเฉียบพลัน Sudden cardiac death

Acute Coronary Syndrome เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน แต่เดิมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่คือ

กลไกการเกิดโรค

ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะทำให้รู้หลอดเลือดแคบลง

การที่คนเกิดปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบเร็วขึ้น

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงควรจะเริ่มทำเมื่อไร

คนทั่วไปจะเคยชินกับวิถีชีวิตไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิด ขึ้นในอนาคต ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่สูบบุหรี่ก็พยายามหาคำตอบเพื่อให้เขาเหล่านั้นไม่ต้องปรับพฤติกรรม แต่หากเวลาผ่านไปคราบไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเกิดอาการก็จะทำให้การ รักษาลำบากยิ่งขึ้น

มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสถิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลง และรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

ดังนั้นเราควรจะรณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังในเด็ก และโรคอ้วนในเด็กเพื่อที่อนาคตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะได้ลดลง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะพบมากในผู้ที่ออกกำลัง กายอย่างหนักมากกว่าที่เคยออก พบว่าจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น6 เท่าสำหรับผู้ที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้น 30 เท่าในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • ความเครียดทางอารมณ์
  • โรคติดเชื้อ เช่นปอดบวม
  • ช่วงเช้าประมาณ 9 เชื่อว่าช่วงนี้เกร็ดเลือดจะเกาะกันง่าย

การป้องกัน

หากท่านเป็นโรคหัวใจจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงดังนั้นท่านควรจะป้องกันมิให้เป็นโรคหัวใจ วิธีการง่ายดังนี้

การรักษา

  • การรักษาเพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบ อ่านที่นี่
  • การรักษาโดยยา
    • ยาลดไขมันยาที่ใช้ได้แก่ Statin,fibrate,niacine เป็นยาที่ลดระดับไขมันเลือด
    • Aspirin เป็นยาที่ป้องกันเกร็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดเพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
    • ยากลุ่ม Beta block ยาในกลุ่มนี้จะลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดอัตราการเสียชีวิต
    • Nitroglycerine ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก
    • ยาต้านแคลเซียม Calcium channel blocking agent ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • กลุ่มยา ต่างๆที่ช่วยรักษา เช่น ยาต้านอนุมูลอิสระ โฟลิกเป็นต้น
  • การผ่าตัดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงได้แก่
    • การทำบอลลลูนหลอดเลือด เมื่อเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หากเป็นมากหรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจว่าหลอดเลือดตีบมากน้อยแค่ไหน หากตีบมากหรือตีบเส้นใหญ่แพทย์จะทำบอลลูน โดยการใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กๆ แล้วสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง และแยงสายเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อถึงตำแหน่งที่ตีบก็บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • การผ่าตัด bypass โดยการใช้เส้นเลือดดำที่เท้าแทนเส้นเลือดหัวใจที่ตีบ
    • Anthrectomy คือการผ่าตัดเอาคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดออกโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

Heart attack | กลุ่มโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ | อาการเจ็บหน้าอก | ความเสี่ยงของการเกิดโรค | การตรวจพิเศษโรคหัวใจ | การตรวจเลือด | การเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ | การรักษา | ยาต้านเกร็ดเลือด | ยาละลายลิ่มเลือด | ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ | ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

ข่าวเกี่ยวกับโรคหัวใจ

  • การรับประทานแคลเซียมอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น อ่านที่นี่
  • การรับประทานยาแก้ปวดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกดโรคหัวใจ อ่านที่นี่

               Link      https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด